ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขเพิ่มเติม
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์ตามข้อมูลจริงจากวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งใน[[จังหวัดเชียงใหม่]] <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/3679.PDF ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ]</ref>
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งใน[[จังหวัดเชียงใหม่]] <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/3679.PDF ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ]</ref>


== ตำนานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่) '''[[พระพุทธสิหิงค์]]''' หรือ '''พระสิงห์''' เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางมารวิชัย สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร <ref>เทพชู ทับทอง,ต่วย'ตูน พิเศษ พฤษภาคม พ.ศ. 2546 หน้า 105</ref> (องค์จริงที่จังหวัดเชียงใหม่)ตามประวัติกล่าวว่า [[พระเจ้าสีหฬะ]] พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีป ทรงสร้างขึ้น เมื่อ [[พ.ศ. 700]] ต่อมา เจ้านครศรีธรรมราชได้ไปขอมาถวาย[[พระร่วง]]แห่ง[[กรุงสุโขทัย]] เมื่อ[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1]] แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ==
== ตำนานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) ==
[[ไฟล์:พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่.jpg
'''[[พระพุทธสิหิงค์]]''' หรือ '''พระสิงห์''' เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางมารวิชัย สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร <ref>เทพชู ทับทอง,ต่วย'ตูน พิเศษ พฤษภาคม พ.ศ. 2546 หน้า 105</ref> (องค์จริงที่จังหวัดเชียงใหม่)ตามประวัติกล่าวว่า [[พระเจ้าสีหฬะ]] พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีป ทรงสร้างขึ้น เมื่อ [[พ.ศ. 700]] ต่อมา เจ้านครศรีธรรมราชได้ไปขอมาถวาย[[พระร่วง]]แห่ง[[กรุงสุโขทัย]] เมื่อ[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1]] แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา

ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมือง[[กำแพงเพชร]]และ[[เชียงราย]] เมื่อ[[พระเจ้าแสนเมืองมา]] เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับ[[พระแก้วมรกต]] เมื่อ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ [[พ.ศ. 2205]] ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่[[วัดพระศรีสรรเพชญ์]]กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี
ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมือง[[กำแพงเพชร]]และ[[เชียงราย]] เมื่อ[[พระเจ้าแสนเมืองมา]] เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับ[[พระแก้วมรกต]] เมื่อ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ [[พ.ศ. 2205]] ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่[[วัดพระศรีสรรเพชญ์]]กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี



รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:47, 3 มีนาคม 2559

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
พระเจดีย์และพระอุโบสถ วัดพระสิงห์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระสิงห์
ที่ตั้งถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
นิกายเถรวาท
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์)
ความพิเศษประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) (ศิลปะเชียงแสน)
จุดสนใจสักการะพระพุทธสิหิงค์ ชมซุ้มประตูโขง และจิตรกรรมฝาผนัง
การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ไทยถิ่นเหนือ: ) พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"

ประวัติ

พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1888 ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก 2 ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลีเชียงพระ" สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย มาประดิษฐาน

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ [1]

ตำนานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่) พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางมารวิชัย สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร [2] (องค์จริงที่จังหวัดเชียงใหม่)ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีป ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 ต่อมา เจ้านครศรีธรรมราชได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา

ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 2205 ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี

เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน

พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ ในประเทศไทยมีด้วยกัน 3 องค์ คือองค์แรกพระสิงห์1ศิลปะแบบเชียงแสนรุ่น1ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ (องค์จริง) องค์ที่สองพระสิงห์2ศิลปะแบบสุโขทัย ปางสมาธิ ประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไทสวรรค์กรุงเทพมหานคร(อัญเชิญมาจาก สุโขทัย) ส่วนองค์ที่สามพระสิงห์3ศิลปะแบบล้านช้าง ปางสมาธิ(องค์เล็กสุด)ประดิษฐานอยู่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในสามที่นี้ล้วนแต่เป็นองค์จริงทั้งสิ้น

ลำดับเจ้าอาวาส

วัดพระสิงห์เป็นวัดเก่าแก่ มีเจ้าอาวาสครองวัดสืบมาเท่าที่ปรากฏนามมีดังนี้[3]

ลำดับที่ รายนาม ดำรงตำแหน่ง
1 พระอภัยจุลมหาเถระ พ.ศ. 1888 รัชสมัยพญาผายู
2 สมเด็จพระศรีนันทะ รัชสมัยพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์
3 พระเจ้าจันทรังสีมหาเถระ รัชสมัยพระเจ้ากาวิละ
4 สมเด็จพระจันทมหาเถระ รัชสมัยพระยาพุทธวงศ์
5 ครูบาโพธิ์ ?
6 พระกัญจนมหาเถระ พ.ศ. 2402 รัชสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
7 พระเจ้าคันธา คนฺธโร พ.ศ. 2453
8 ครูบาศรีวิชัย รักษาการในปี พ.ศ. 2467
9 พระแก้ว รักษาการในปี พ.ศ. 2475
10 พระโพธิรังสี (สีโหม้) พ.ศ. 2481-2492
11 พระอภัยสารทะ (สมบูรณ์ จนฺทวํโส) พ.ศ. 2492-2493
12 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) พ.ศ. 2493-2516
13 พระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร) พ.ศ. 2516-2552
14 พระราชสิงหวรมุนี (โสภณ โสภโณ) พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ
  2. เทพชู ทับทอง,ต่วย'ตูน พิเศษ พฤษภาคม พ.ศ. 2546 หน้า 105
  3. จรีย์ สุนทรสิงห์. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ดามคอมพิวกราฟิค, 2543. 64 หน้า. หน้า 23-24. ISBN 974-85311-1-2

4. ข้อมูลจากประวัติวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และตำนานพระสิงห์ ของวัดพระสิงห์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ อนุญาตให้เผยแพร่โดย เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ฯ พระเทพวรสิงหมุนี