ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็ม1 เอบรามส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 306: บรรทัด 306:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
* Free Android Game "Tank Quiz 2" https://play.google.com/store/apps/details?id=com.knowworldoftanksmodern

[[หมวดหมู่:รถถัง]]
[[หมวดหมู่:รถถัง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:45, 29 กุมภาพันธ์ 2559

เอ็ม1 เอบรามส์
บทบาทรถถังหลัก
สัญชาติ สหรัฐ
ประจำการพ.ศ. 2523 – ปัจจุบัน
ผู้ใช้งานดูที่ประเทศผู้ใช้งาน
สงครามสงครามอ่าว
สงครามโคโซโว
สงครามอัฟกานิสถาน
สงครามอิรัก
ผู้ออกแบบไครสเลอร์ ดีเฟนซ์(ปัจจุบันเป็น เจเนรัล ไดนามิกส์)
บริษัทผู้ผลิตลิมา อาร์มี แทงค์ แพลนท์ (พ.ศ. 2523-ปัจจุบัน)[1]
ดีทรอยท์ อาร์เซนอล แทงค์ แพลนท์ (พ.ศ. 2525-2539)
มูลค่า6.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เอ็ม1เอ2)[2]
จำนวนที่ผลิตมากกว่า 9,000 คัน[3]
แบบอื่นดูที่รุ่นต่างๆ
น้ำหนัก61.3 ตัน
ความยาวรวมปืนที่ยื่นออกไปข้างหน้า 9.77 เมตร[4]
ตัวถัง 7.93 เมตร
ความกว้าง3.66 เมตร
ความสูง2.44 เมตร
ลูกเรือ4 นาย (ผู้บัญชาการรถถัง พลปืน พลบรรจุ และพลขับ)
เกราะเกราะช็อบแฮม เกราะอาร์เอช แผ่นเหล็กป้องกันยูเรเนียม
อาวุธหลักปืนใหญ่ลำกล้องเกลียวเอ็ม68 ขนาด 105 ม.ม. (เอ็ม1)
ปืนใหญ่ปัจจุบันไร้เกลียวเอ็ม256 ขนาด 120 ม.ม.(เอ็ม1เอ1 เอ็ม1เอ2 เอ็ม1เอ2เอสอีพี)
อาวุธรองปืนกลหนักเอ็ม 2 บราวนิง ขนาด 12.7 ม.ม.หนึ่งกระบอก
ปืนกลเอ็ม240 ขนาด 7.62 ม.ม.สองกระบอก (หนึ่งกระบอกบนฝาครอบ หนึ่งกระบอกข้างปืนหลัก)
เครื่องยนต์ฮันนีเวลล์ เอจีที1500ซี ให้แรงขับ 1,500 แรงม้า
กำลัง/น้ำหนัก24.5 แรงม้า/ตัน
ระบบส่งกำลังอัลลิสัน ดีโอเอ เอ็กซ์-1100-3บี
ระบบช่วงล่างทอร์ชั่นบาร์
ระยะห่างระหว่างตัวถังกับพื้น0.48 เมตร (เอ็ม1 เอ็ม1เอ1)
0.43 เมตร (เอ็ม1เอ2)
ความจุเชื้อเพลิง500 แกลลอน
พิสัย465.29 กิโลเมตร[5]
ติดตั้งระบบป้องกันนิวเคลียร์ชีวะเคมี 449.19 กิโลเมตร
ความเร็วบนถนน: 67.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
นอกถนน: 48.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เอ็ม1 เอบรามส์ (อังกฤษ: M1 Abrams) เป็นรถถังหลักรุ่นที่สามของสหรัฐอเมริกา ชื่อของมันมาจากนายพลเครกตัน เอบรามส์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐในสงครามเวียดนามตั้งแต่ปีพ.ศ. 2511-2515 มันมีอาวุธที่ดี เกราะขนาดหนัก และคล่องตัวตามที่มันถูกออกแบบมาเพื่อทำสงครามยานเกราะยุคใหม่[6] จุดเด่นของมันคือเครื่องยนต์เทอร์ไบที่ทรงพลัง การใช้เกราะผสม และการเก็บกระสุนแยกต่างหากจากห้องของลูกเรือ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประจำการ ด้วยน้ำหนักเกือบ 62 ตัน

เอ็ม1 เอบรามส์ได้เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐเมื่อปีพ.ศ. 2523 โดยเข้ามาแทนที่เอ็ม60 แพทตัน[7] อย่างไรก็ตามมันก็ทำงานร่วมกับเอ็ม60เอรุ่นที่ได้รับการพัฒนามาตลอดทศวรรษ ซึ่งเข้าประการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2521 รุ่นหลักๆ ของเอ็ม1 มีสามรุ่นด้วยกัน คือ เอ็ม1 เอ็ม1เอ1 และเอ็ม1เอ2 โดยมีการพัฒนาด้านอาวุธ การป้องกัน และระบบไฟฟ้า การพัฒนาเหล่านี้มีเพื่อทำให้มันมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น ในปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาเอ็ม1เอ3 มันเป็นรถถังประจัญบานหลักของกองทัพบกสหรัฐและเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ รวมทั้งกองทัพบกอียิปต์ กองทัพบกคูเวต กองทัพบกซาอุดิอาระเบีย กองทัพบกออสเตรเลีย และกองทัพบกอิรัก เอ็ม1 เอบรามส์จะประจำการจนถึงทศวรรษที่ 2593 ประมาณ 70 ปีหลังจากที่มันเข้าประจำการครั้งแรก

ประวัติ

การพัฒนา

เอ็กซ์เอ็ม1 เอบรามส์ขณะทำการสาธิตในรัฐเคนตักกี้เมื่อปีพ.ศ. 2552

ความพยายามครั้งแรกที่จะแทนที่รถถังเอ็ม60 แพทตันคือเอ็มบีที-70 ที่พัฒนาขึ้นด้วยการร่วมมือกับเยอรมนีตะวันตกในทศวรรษที่ 2503 เอ็มบีที-70 นั้นเป็นสิ่งที่ใหม่และมีแนวคิดหลายอย่างซึ่งได้พิสูจน์ว่าไม่ประสบความสำเร็จ ผลต่อมาคือโครงการที่ถูกยกเลิกไป ต่อมาสหรัฐก็เริ่มเอ็กซ์เอ็ม803 ซึ่งไม่ต่างอะไรจากรถถังเอ็มบีที-70 แต่เป็นรุ่นที่ลดความซับซ้อนและราคาลง[8]

สภาคองเกรสได้ยกเลิกเอ็มบีที-70 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2513[9]และเอ็กซ์เอ็ม803 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2515[10] และโอนงบประมาณไปที่เอ็กซ์เอ็ม815 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็กซ์เอ็ม1 เอบรามส์ตามชื่อนายพลเครกตัน เอบรามส์ ต้นแบบถูกส่งมอบในปีพ.ศ. 2519 โดยไครส์เลอร์ ดีเฟนซ์และเจเนรัล มอเตอร์สโดยติดตั้งอาวุธเป็นปืนใหญ่โรยัล ออร์ดแนวซ์ แอล7 ขนาด 105 ม.ม.ที่เทียบเท่ากับของลีโอพาร์ด 2 การออกแบบไครส์เลอร์ ดีเฟนซ์ถูกเลือกให้ได้รับการพัฒนาต่อไปให้เป็นรถถังเอ็ม1 ในปีพ.ศ. 2522 เจเนรัล ไดนามิกส์ก็ได้ซื้อบริษัทไครส์เลอร์ ดีเฟนซ์

มีเอ็ม1 เอบรามส์จำนวน 3,273 คันที่ถูกผลิคออกมาในช่วงพ.ศ. 2522-2528 และเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2523 มันมีอาวุธคือปืนใหญ่รถถังโรยัล ออร์ดแนนซ์ แอล7 ขนาด 105 ม.ม.ที่ผลิตตามใบอนุญาต รุ่นที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมเอ็ม1ไอพีที่ออกตัวในปีพ.ศ. 2527 เอ็ม1ไอพีถูกใช้ในการประกวดแข่งขันรถถังของแคนาดาเมื่อปีพ.ศ. 2528 และ 2530

มีเอ็ม1เอ1 เอบรามส์ประมาณ 5,000 คันที่ถูกผลิตออกมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529-2535 และมีจุดเด่นที่ปืนเอ็ม256 ขนาด 120 ม.ม.ที่ผลิตโดยไรน์เมทัล เอจีของเยอรมนีเพื่อใช้กับลีโอพาร์ด 2 เกราะที่แข็งแกร่ง และระบบป้องกันนิวเคลียร์ เคมี ชีวภาพ (นชค.)

โรงงานผลิตในโอไฮโอปัจจุบันเป็นผู้ผลิตเอบรามส์[11] และก่อนหน้านั้นคือโรงงานในมิชิแกนเมื่อปีพ.ศ. 2525-2539

สงครามอ่าวเปอร์เซีย

เมื่อเข้าประจำการในทศวรรษที่ 2523 เอบรามส์ก็เข้าทำหน้าที่ร่วมกับเอ็ม60เอ1และเอ3 และรถถังของนาโต้ในการซ้อมรบมากมายในช่วงสงครามเย็น การซ้อมรบเหล่านี้เกิดขึ้นในทางตะวันตกของยุโรป โดยเฉพาะในเยอรมันตะวันตก แต่ก็รวมทั้งในประเทศอื่นๆ อย่างเกาหลีใต้ ในการฝึกเหล่านี้ลูกเรือของเอบรามส์ได้พัฒนาทักษะของพวกเขาเพื่อใช้จัดการกับทหารและยุทรโธปกรณ์ของสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตามในปีพ.ศ. 2534 สหภาพโซเวียตก็ล่มสลายลงและเอบรามส์ก็พบหนทางของมันในตะวันออกกลาง

เอบรามส์ยังคงไม่ได้รับการทดสอบในการรบจนกระทั่งถึงสงครามอ่าวในปีพ.ศ. 2534 เอ็ม1เอ1 ทั้งหมด 1,848 คันถูกส่งเข้าซาอุดิอาระเบีย เอ็ม1เอ1นั้นเหนือชั้นกว่ารถถังที-55 และที-62 ของอิรักที่ผลิตโดยโซเวียต เช่นเดียวกันกับรถถังที-72 และไลออนออฟบาบีลอน ที-72 นั้นเหมือนกับรถถังรุ่นส่งออกทั่วไปของโซเวียตคือ ไม่มีเกราะแบบหลายชั้น และระบบควบคุมการยิงที่ด้อยกว่า เอ็ม1เอ1 เอบรามส์ จึงมีเอ็ม1เอ1 เพียง 23 คันเท่านั้นที่เสียหายร้ายแรงในสงครามอ่าว[12] และมีเพียงคันเดียวเท่านั้นที่สูญเสียลูกเรือไป บางคันได้รับความเสียหายเล็กน้อย มีเอบรามส์เพียงไม่กี่คันที่ถูกศัตรูยิง และมีเพียงคันเดียวที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก

เอ็ม1เอ1 สามารถจัดการเป้าหมายได้เกินระยะ 2,500 เมตร ด้วยระยะนี้ทำให้รถถังโซเวียตหมดโอกาสในปฏิบัติการพายุทะเลทราย เพราะว่าระยะหวังผลของรถถังโซเวียตของอิรักนั้นต่ำกว่า 2,000 เมตร (รถถังของอิรักไม่สามารถยิงขีปนาวุธต่อต้านรถถังได้เหมือนของโซเวียต) นั่นหมายความว่าเอบรามส์สามารถยิงใส่รถถังของศัตรูได้ก่อนที่พวกนั้นจะเข้าสู่ระยะยิง ในอุบัติเหตุการยิงใส่พวกเดียวกันเองเกราะของป้อมปืนนั้นสามารถรอดจากกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ของรถถังเอ็ม1เอ1 อีกคันได้ ไม่เหมือนกับเกราะด้านข้างของลำตัวกับเกราะด้านหลังของป้อมปืนซึ่งถูกทำลายโดยการยิงจากพวกเดียวกันเองที่ใช้กระสุนยูเรเนียมในยุทธการนอร์ฟอล์ก[13]

การพัฒนาในช่วงสงคราม

เอ็ม1เอ2 คือการพัฒนาขั้นต่อไปของเอ็ม1เอ1 ซึ่งมีกล้องตรวจการณ์ความร้อนของผู้บังคับรถ ("Commander Independent Thermal Vision, CITV") ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในแบบดิจิตอล ,ระบบหน้าจอแยกของพลขับ (Driver Independent Display, DID) ระบบเอสอีพีของเอ็ม1เอ2 หรือชุดเสริมระบบ (System Enhancement Package, SEP) ซึ่งได้เพิ่มแผนที่ดิจิตอล ความสามารถด้านเอฟบีซีบี2 (FBCB2) และระบบทำความเย็นที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้ลูกเรืออยู่ในสภาพอุณหภูมิที่เหมาะสมพร้อมกับระบบหลากคอมพิวเตอร์

การพัฒนาเพิ่มเติมยังรวมทั้งเกราะกันกระสุนยูเรเนียม ระบบที่ทำให้รุ่นเอ1 เหมือนเป็นรุ่นใหม่ทั้งหมด (เอ็ม1เอ1 เอไอเอ็ม) ชุดเสริมดิจิตอลสำหรับเอ1 (เอ็ม1เอ1ดี) โปรแกรมพื้นฐานที่ทำให้ทั้งของกองทัพบกและนาวิกโยธินสหรัฐเท่าเทียมกัน (เอ็ม1เอ1เอชซี) และการพัฒนาด้านไฟฟ้าสำหรับเอ2 (เอ็ม1เอ2 เอสอีพี)

เอ็ม1เอ1 บางคันได้รับการพัฒนาด้านเกราะในปฏิบัติการดีเซิร์ทชีลด์ ปฏิบัติการพายุทะเลทราย และในบอสเนีย มันสามารถติดตั้งเครื่องกวาดทุ่นระเบิดได้หากจำเป็น โครงสร้างของเอ็ม1 ยังเป็นต้นแบบให้กับยานวิศวกรรมรบกริซลี่และเอ็ม104 วูฟเวอรีน

มีเอ็ม1 และเอ็ม1เอ1 มากกว่า 8,800 คันที่ถูกผลิตขึ้นมาคันละ 2.35-4.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขึ้นอยู่กับรุ่นนั้นๆ

สงครามอิรัก

เอ็ม1เอ1 ขณะทำภารกิจลาดตระเวนในอิรักเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547

การรบต่อมาเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2546 เมื่อกองกำลังสหรัฐเข้าบุกอิรักและขับไล่ผู้นำซัดดัม ฮุสเซนของอิรักออกจากประเทศ เมื่อถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 มีเอบรามส์ประมาณ 80 คันที่เสียหายจนไม่สามารถทำงานได้โดยศัตรู[14] กระนั้น ในปฏิบัติการบุกก็ไม่มีลูกเรือของเอบรามส์คนใดที่เสียชีวิต แม้ว่าการครอบครองที่เกิดขึ้นภายหลังทำให้พวกเขาจำนวนมากถูกสังหารโดยพลซุ่มยิงและกับระเบิด

ความสำเร็จที่ไม่สมดุลที่สุดของเอ็ม1เอ2คือการทำลายรถถังที-72 ไลออนออฟบาบิลอน 7 คันในการรบระยะใกล้ที่ดุเดือด (ด้วยระยะน้อบกว่า 46 เมตร) ใกล้กับเมื่อมาห์เมาดิยาห์ซึ่งห่างจากแบกแดดไปทางใต้ 29 กิโลเมตร โดยฝ่ายอเมริกาไม่มีการสูญเสียเลย[15] นอกจากอาวุธขนาดหนักของเอบรามส์ ลูกเรือบางคนได้เพิ่มอาวุธต่อต้านรถถังพาดไหล่เอ็ม136 เอที4ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกเขาอาจเจอกับรถถังของศัตรูในเขตเมื่องซึ่งปืนใหญ่รถถังไม่สามารถเล็งได้

ด้วยบทเรียนจากปฏิบัติการพายุทะเลทราย เอบรามส์และยานรบอื่นๆ ของสหรัฐที่ใช้ในการรบจะติดตั้งแผงระบุฝ่ายเพื่อป้องกันการยิงพวกเดียวกันเอง พวกมันจะถูกติดตั้งบนด้านข้างและด้านท้ายของป้อมปืน โดยแผงดังกล่าวจะมีภาพกล่องสี่มุมซึ่งติดตั้งอยู่บนแต่ละด้านของป้อมปืน (อย่างที่เห็นในรูปด้านบน) เอบรามส์บางคันก็จะติดตั้งที่เก็บเสบียงเพิ่มที่ด้านหลังของป้อมปืนเพื่อให้ลูกเรือนั้นบรรทุกของได้มากขึ้น

เอบรามส์จำนวนมากถูกทำลาย (เฉพาะคันที่ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้) โดยพวกเดียวกันเองเพื่อไม่ให้พวกมันถูกยึด โดยปกติแล้วจะใช้เอบรามส์อีกคันเพื่อทำลาย ซึ่งพวกมันมักไม่ค่อยถูกทำลายโดยฝั่งตรงข้าม [16]

เอบรามส์ส่วนใหญ่มักได้รับความเสียหายจากระเบิดไออีดี[17]

เอบรามส์บางคันได้รับความเสียหายขณะที่ทหารราบฝ่ายอิรักเข้าบุก บ้างก็ใช้เครื่องยิงจรวดยิงเข้าใส่ที่สายพาน ด้านหลัง และด้านบน ส่วนรูปแบบอื่นั้นจะเป็นการใช้ปืนกลหนักยิงเช้าใส่จุดสำคัญ[18][19]

นอกจากนี้ยังมีลูกเรือของเอบรามส์จำนวนมากที่ถูกสังหารโดยพลซุ่มยิงในขณะที่พวกเขาโผล่ออกมาจากป้อมปืน

เนื่องมาจากความเสียเปรียบของมันเมื่ออยู่ในเมือง จึงมีการสร้างชุดอุปกรณ์อยู่รอดในเขตเมืองของรถถังหรือทัสค์ (Tank Urban Survival Kit, TUSK) ขึ้นมา ซึ่งเอบรามส์บางคนัใช้ มันมีแนมโน้มที่จะเพิ่มความสามารถในการต่อสู้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมือง

ในอนาคต

ระบบปืนหุ้มเกราะ เอ็ม8 ถูกเชื่อว่าจะเข้ามาร่วมกับเอบรามส์ในกองทัพสหรัฐสำหรับการรบที่เข้มข้นน้อยกว่าเมื่อต้นปีพ.ศ. 2533 คันต้นแบบถูกสร้างขึ้นแต่โครงการก็ถูกยกเลิกไป ระบบปืนเคลื่อนที่ เอ็ม1128 ที่มี 8 ล้อถูกออกแบบขึ้นมาในทางเดียวกัน มันได้เข้าสู่ประจำการและพบว่ามันอ่อนแอ

ระบบรบในอนาคตของกองทัพสหรัฐต้องการหารถถังเข้ามาแทนที่เอบรามส์และโครงการก็ถูกตัดออกจากงบประมาณของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ

เอ็ม1เอ3 เอบรามส์เป็นการออกแบบในช่วงแรก[20][21] กองทัพสหรัฐต้องการสร้างต้นแบบในปีพ.ศ. 2557 และเริ่มทำให้เอ็ม1เอ3 พร้อมเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2560

โครงการยานรบภาคพื้นดิน บีซีทีของกองทัพสหรัฐที่กำลังพัฒนา อาจเข้ามาแทนที่เอ็ม1 ทั้งในสหรัฐและประเทศอื่นอย่างถาวร อย่างไรก็ตาม กองทัพกล่าวว่าเอบรามส์ยังคงประจำการอยู่ไปจนถึงปีพ.ศ. 2593

การออกแบบ

การป้องกัน

ลายพราง

ไม่เหมือนกับยานพาหนะในยุคแรกๆ ของกองทัพบกสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเวียดนาม ซึ่งใช้โครงสีน้ำตาลเขียวเข้มและรูปดาวดวงใหญ่ เอ็ม1 (ขนาดปืน 105 ม.ม.) ในรุ่นผลิตแรกๆ นั้นจะใช้สีเขียวล้วนแลัะเปลี่ยนการใช้รูปดาวไปเป็นแต้มสีดำแทน บางหน่วยจะทำสีรถถังที่ประกอบด้วย 4 สี ปัจจุบันรถถังในภาคสนามที่ใช้สีเดิมที่เป็นสีเขียวนั้นแถบจะไม่มีแล้ว

เอ็ม1เอ1 (ขนาดปืน 120 ม.ม.) ที่ผลิตมาจากโรงงานจะมาพร้อมลายพราง 3 สีของนาโต้ คือ ดำ เขียว และน้ำตาลเขียว ปัจจุบันเอ็ม1 และเอ็ม1เอ1 ที่ประจำในสงครามอ่าวจะถูกทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทราย รถถังบางคันจะถูกทำสีให้ตรงตามกับหน่วยสังกัด เอ็ม1เอ2 ที่ถูกผลิตให้กับประเทศในตะวันออกกลางก็ทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทรายเช่นกัน

เอ็ม1 บางรุ่นกำลังถูกทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทรายเพื่อส่งเข้าทำหน้าที่ในอิรัก ชิ้นส่วนอะไหล่ (เช่น ล้อ แผงเกราะข้าง ล้อเฟือง เป็นต้น) จะถูกทำสีเป็นสีเขียวล้วน ซึ่งบางครั้งก็นำไปใช้กับทั้งรถถังคันที่เป็นสีเขียวและสีน้ำตาลทะเลทราย

การอำพรางตัว

ส่วนป้อมปืนนั้นจะมีท่อยิงระเบิดควันอยู่หกท่อ พวกมันสามารถสร้างกำแพงควันหนาที่ทำให้ศัตรูมองไม่เห็นแม้จะใช้กล้องตรวจจับความร้อนก็ตาม นอกจากนี้มันยังสามารถเปลี่ยนเป็นยิงชาฟฟ์ที่จะรบกวนเรดาร์ได้อีกด้วย ที่เครื่องยนต์มีการติดตั้งเครื่องสร้างควันที่จะเปิดได้โดยพลขับ เมื่อทำงาน มันจะพ่นเชื้อเพลิงตามท่อของเครื่องยนต์จนเกิดเป็นควันขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เนื่องมาจากการเปลี่ยนการใช้น้ำมันดีเซลไปเป็นเชื้อเพลิงเจพี-8 ระบบดังกล่าวจึงถูกปิดในรถถังส่วนมาก เพราะว่าเจพี-8 จะทำให้เครื่องยนต์ลุกเป็นไฟแทนหากพ่นมันไปตามท่อเครื่องยนต์

ระบบการป้องกันแบบเชิงรุก

นอกเหนือจากเกราะที่ก้าวหนาแล้ว เอบรามส์บางคันก็ยังติดตั้งอุปกรณ์ต่อต้านขีปนาวุธเอาไว้ ซึ่งมันสามารถรบกวนระบบนำวิถีของขีปนาวุธสายลวดและขีปนาวุธต่อต้านรถถังนำวิถีด้วยวิทยุ (เช่น เอที-3 เอที-4 เอที-5 เอที-6 ของรัสเซีย) และขีปนาวุธนำวิถีด้วยความร้อนและอินฟราเรดอื่นๆ[22] อุปกรณ์นี้จะติดตั้งอยู่บนป้อมปืนหน้าฝาปิดห้องลูกเรือ มันทำให้บางคนเข้าใจผิดว่ารถถังที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้คือเอ็ม1เอ2 เพราะว่าการติดตั้งช่องสำหรับผู้บัญชาการรถถังในตำแหน่งเดียวกัน

เกราะ

เอบรามส์นั้นได้รับการป้องกันจากเกราะที่มีการออกแบบมาจากเกราะช็อบแฮมของอังกฤษ ซึ่งมันคือการพัฒนาจากเกราะเบอร์ลิงตันของอังกฤษเช่นเดียวกัน ช็อบแฮมเป็นเกราะแบบผสมที่เกิดจากการซ้อนวัสดุที่ประกอบด้วย เหล็กอัลลอย เซรามิก พลาสติกผสม และเคฟลาร์ ทำให้มันมีเกราะหนาถึง 1,320-1,620 มิลลิเมตรที่ต้านทานสารเคมีและความร้อน พร้อมเกราะต้านกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์หนา 940-960 มิลลิเมตร[23] อาจมีการนำเกราะปฏิกิริยามาใช้ในส่วนล่างหากจำเป็น (ในการรบแบบเมือง) และเกราะแสลทที่ด้านท้ายของรถถังเพื่อป้องกันการโจมตีจากขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านรถถัง การป้องกันสะเก็ดระเบิดจะใช้เกราะเคฟลาร์ ในตอนแรกเมื่อปีพ.ศ. 2530 เอ็ม1เอ1 ได้รับการพัฒนาไปใช้เกราะที่ทำงานร่วมกับยูเรเนียมสิ้นอายุที่จะติดตั้งตรงด้านหน้าของป้อมปืนและด้านหน้าของตัวถัง เกราะแบบนี้มีประสิทธิภาพมากในการเพิ่มแรงต้านทานต่ออาวุธต่อต้านรถถังทุกรูปแบบ แต่มันก็ตามมาด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะว่ายูเรเนียมสิ้นอายุนั้นหนักกว่าตะกั่วถึง 1.7 เท่า[24]

เอ็ม1เอ1 รุ่นแรกๆ ที่ใช้เกราะแบบนี้ประจำการอยู่ในเยอรมนี เพราะว่าพวกมันคือแนวตั้งรับแรกสุดต่อสหภาพโซเวียต กองพันยานเกราะของสหรัฐที่ทำสงครามในปฏิบัติการพายุทะเลทรายได้รับการปรับเปลี่ยนไปใช้เกราะยูเรเนียมอย่างกะทันหันก่อนเริ่มการรบ เอ็ม1เอ2 นั้นใช้เกราะเนื้อเดียวที่หน้า 610 มิลลิเมตร ความแข็งแกร่งของเกราะนั้นพอๆ กับรถถังประจัญบานหลักของฝั่งยุโรปอย่างลีโอพาร์ด 2 ในสงครามอ่าว รถถังเอบรามส์รอดจากการถูกยิงหลายครั้งในระยะใกล้โดยรถถังไลออน ออฟ บาบิโลนและขีปนาวุธต่อต้านรถถังของอิรัก กระสุนของเอบรามส์ด้วยกันเองก็ยังไม่สามารถเจาะทะลุเกราะด้านหน้าและด้านข้างได้เช่นกัน ตัวอย่างที่ให้เห็นเกิดขึ้นเมื่อเอบรามส์คันหนึ่งต้องการทำลายเอบรามส์อีกคันที่ติดหล่มและขวางทางอยู่จนต้องทิ้งมันไว้[25]

การควบคุมความเสียหาย

ในกรณีที่เอบรามส์ได้รับความเสียหายจากการถูกยิงเข้าที่ส่วนห้องลูกเรือ รถถังจึงได้ติดตั้งระบบดับเพลิงเอาไว้ ซึ้งมันจะทำการดับเพลิงโดยอัตโนมัติทันทีเมื่อเกิดไฟไหม้

เชื้อเพลิงและกระสุนจะถูกเก็บเอาไว้ในส่วนที่หุ้มเกราะเพื่อป้องกันลูกเรือจากการระเบิดของกระสุนในรถถังเมื่อรถถังถูกยิง

อาวุธ

อาวุธหลัก

ปืนลำกล้องเกลียว เอ็ม68เอ1

อาวุธหลักของเอ็ม1 คันต้นแบบคือปืนใหญ่รถถังเอ็ม68เอ1 ขนาด 105 ม.ม. ที่จะยิงกระสุนหลากชนิด เช่น ระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถัง ระเบิดแรงสูง ฟอสฟอรัสขาว และกระสุนต่อต้านบุคคล ปืนแบบนี้ถูกสร้างจากปืนโรยัล ออร์ดแนนซ์ แอล7 ภายใต้ใบอนุญาตของอังกฤษ ในขณะที่มันเป็นปืนที่มีความน่าเชื่อถือและถูกใช้อย่างกว้างขวางในประเทศกลุ่มนาโต้ แต่ก็มีความต้องการปืนที่ยิงได้ไกลกว่า 3 กิโลเมตรอย่างแม่นยำเพื่อจัดการกับเกราะสมัยใหม่ เพื่อให้ได้ความแม่นยำในระดับนั้น เส้นผ่าศูนย์กลางของกระสุนจะต้องยาวมากขึ้น การทำงานในด้านความแม่นยำและการทะลุทะลวงเกราะของเอ็ม68เอ1 นั้นเทียบได้กับของเอ็ม256เอ1 ถึง 3 กิโลเมตร แต่หากไกลกว่านั้น กระสุนขนาด 105 ม.ม.จะสูญเสียพลังจลน์ที่ใช้เพื่อเจาะเกราะสมัยใหม่

ปืนใหญ่ลำกล้องเรียบ เอ็ม256
รถถังเอ็ม1เอ1 เอบรามส์ของนาวิกโยธินสหรัฐ ยิงเข้าใส่ตึกเพื่อข่มการยิงจากผู้ก่อการร้ายในฟอลลูจาห์ ประเทศอิรัก ในยุทธการฟอลลูจาห์ครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2547

อาวุธหลักของเอ็ม1เอ1 และเอ็ม1เอ2 คือปืนใหญ่รถถัง เอ็ม256เอ1 ขนาด 120 ม.ม. ซึ่งออกแบบโดยไรน์เมทอล เอจีในประเทศเยอรมนี ผลิตภายใต้ใบอนุญาตโดยวอเตอร์วเลียท อาร์เซนัลในสหรัฐอเมริกา เอ็ม256เอ1 เป็นแบบดัดแปลงมาจากปืนไรน์เมทอล 120 ม.ม. แอล/44 ที่ใช้กับรถถังลีโอพาร์ด 2 ของเยอรมัน รถถังลีโอพาร์ดนั้นมีหลายรุ่น รุ่นสูงสุดคือ ลีโอพาร์ด 2เอ6 ที่ใช้ปืนแอล/55 ที่ยาวกว่าแอล/44

เอ็ม256เอ1 สามารถยิงกระสุนได้อย่างหลากหลาย กระสุนแบบเอ็ม829เอ2 ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการกับภัยคุกคามอย่างรถถังที-90 หรือที-80 ของโซเวียตที่ติดเกราะระเบิดปฏิกิริยาคอนทักท์-5 นอกจากนี้มันยังใช้กระสุนระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถังอย่างเอ็ม830 ซึ่งรุ่นล่าสุด (เอ็ม830เอ1) ของมันจะทำงานร่วมกับชนวนสัมผัสไฟฟ้าที่ซับซ้อนและสะเก็ดระเบิด ซึ่งทำให้มันมีประสิทธิภาพกับพาหนะหุ้มเกราะ ทหารราบ และอากาศยานบินต่ำ เอบรามส์ใช้การบรรจุกระสุนด้วยมือ เพราะว่าเชื่อกันว่าการใช้คนบรรจุกระสุนนั้นรวดเร็วและน่าเชื่อถือกว่า[ต้องการอ้างอิง] และเพราะความต้องการพลประจำรถถังนายที่สี่ในรถถังซึ่งสามารถทำหน้าที่อื่นได้ เช่น การซ่อมบำรุงและสังเกตการณ์

กระสุนต่อต้านบุคคล เอ็ม1028 ขนาด 120 ม.ม.ได้ถูกนำมาใช้หลังจากสิ้นสุดการบุกอิรักเมื่อปีพ.ศ. 2546 มันบรรจุด้วยลูกปรายทำจากทังสเตนขนาด 3 ม.ม.จำนวน 1,098 ลูก ซึ่งจะกระจายออกจากปากกระบอกปืนเหมือนกับปืนลูกซอง โดยให้ระยะสังหารถึง 600 เมตร ลูกปรายทังสเตนนั้นสามารถถูกใช้เพื่อกำจัดศัตรูในพาหนะ การรบในเขตเมือง กวาดล้างช่องเชา หยุดการโจมตีจากทหารราบและตอบโต้ และสนับสนุนการโจมตีของทหารราบฝ่ายพันธมิตร กระสนุนดังกล่าวยังมีประสิทธิภาพอย่างมากในการสร้างช่องบนกำแพงเพื่อส่งทหารราบเข้าพื้นที่ โดยใช้ได้ไกล 75 เมตร[26]

นอกจากนี้แล้ว กระสุนรุ่นใหม่อย่าง เอ็กซ์เอ็ม1111 ก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเช่นกัน มันเป็นกระสุนแบบนำวิถีโดยมีระยะหวังผลประมาณ 12 กิโลเมตรและใช้หัวรบพลังงานจลน์ ซึ่งใช้จรวดขับเคลื่อน มันมีแนวโน้มที่จะเป็นกระสุนเจาะเกราะที่ดีที่สุดของสหรัฐ โดยสามารถเจาะทะลุเกราะที่หนา 790 ม.ม.ได้ แต่ได้ยกเลิกไปพร้อมกับโครงการระบบการรบอนาคต (Future Combat System, FCS)

อาวุธรอง

เอ็ม1เอ1 กำลังยิงปืนหลัก สามารถเห็นปืน เอ็ม240 ได้ที่เหนือช่องพลบรรจุกระสุน และปืนกล เอ็ม2 ที่ด้านขวา

รถถังเอบรามส์นั้นมีปืนกลทั้งสิ้น 3 กระบอก ได้แก่

  1. ปืนกลเอ็ม2เอชบี ขนาด .50 คาลิเบอร์ (12.7 ม.ม.) ซึ่งติดอยู่หน้าช่องของผู้บัญชาการรถถัง ในรุ่นเอ็ม1 เอ็ม1ไอพี และเอ็ม1เอ1 ปืนนี้จะใช้ระบบไฟฟ้าและสามารถยิงด้วยกล้องมอง 3 ระดับ โดยมักเรียกว่าอาวุธประจำสถานีของผู้บัญชาการหรือซีดับบลิวเอส (Commander's Weapon Station, CWS) ในรุ่นเอ็ม1เอ2 และเอ็ม1เอ2เอสอีพี ปืนนี้จะต้องยิงโดยลูกเรือเอง เมื่อใช้ชุดอุปกรณ์ทัสค์ รถถังจะสามารถติดตั้งปืนกลเอ็ม2เอชบีหรือเครื่องยิงลูกระเบิด มาร์ค 19 บนแท่นควบคุมได้ (แท่นควบคุมนี้จะทำงานเหมือนกับอาวุธประจำสถานีควบคุมระยะไกลโพรเทคเตอร์ เอ็ม151 ที่ใช้กับยานพาหนะตระกูลสไตรค์เกอร์ การพัฒนาขึ้นต่อคือ เอ็ม1เอ1 เอบรามส์ อินเตอร์เกรทเต็ด มาเนจเมนท์หรือเอไอเอ็ม (M1A1 Abrams Integrated Management, AIM) ซึ่งมีปืนขนาด .50 คาลิเบอร์ที่ติดตั้งกล้องจับความร้อนและอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อช่วยในการยิงเมื่อทรรศนะวิสัยไม่ชัด[27]
  2. ปืนกล เอ็ม240 ขนาด 7.62 ม.ม. ซึ่งติดตั้งอยู่หน้าช่องพลบรรจุกระสุน (ในภาพด้านขวา) บางครั้งจะมีการติดตั้งเกราะในช่วงสงครามอิรัก รวมทั้งกล้องมองกลางคืนด้วยเช่นกัน
  3. ปืนกล เอ็ม240 ขนาด 7.62 ม.ม. กระบอกที่สองนั้นจะอยู่ทางขวา ข้างปืนใหญ่หลัก มันจะถูกควบคุมและยิงโดยระบบคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับปืนใหญ่หลัก[28]
  4. ปืนกล เอ็ม2เอชบี ขนาด 12.7 ม.ม. กระบอกที่สองสามารถติดตั้งไว้เหนือปืนใหญ่หลักได้เช่นกัน (เป็นอีกทางเลือก)

สำหรับกองทัพสหรัฐ ในรถถังจะมีปืนเล็กยาว เอ็ม16 หรือเอ็ม4 คาร์ไบน์ ซึ่งเก็บเอาไว้ในส่วนป้อมปืนในกรณีฉุกเฉินเมื่อลูกเรือต้องสละรถถัง ในขณะเดียวกันลูกเรือเองก็จะมีเอ็ม9 เบเร็ทต้าเป็นอาวุธประจำกาย ในปัจจุบันลูกเรือของกองทัพสหรัฐจะมีปืนเล็กยาวหรือคาร์บินคนละหนึ่งกระบอก ในปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักลูกเรือบางนายจะใช้จรวดต่อสู้รถถังประทับบ่าเอ็ม136 เอที4 สำหรับจัดการกับยานเกราะในสภาพแวดล้อมที่คับแคบจนไม่สามารถใช้ปืนใหญ่หลักของเอ็ม1 เอบรามส์ได้

การเล็ง

ระบบกล้องเล็งของรถถังเอ็ม1 เอบรามส์นั้น จะประกอบไปด้วย ศูนย์เล็งหลักของพลยิง (Gunner Primary Sight,GPS) ซึ่งประกอบไปด้วยกล้องเล็งกลางวัน,กล้องเล็งชนิดตรวจจับความร้อนและเลเซอร์วัดระยะ โดยทั้งระบบจะมีระบบรักษาการทรงตัวอิสระในแนวดิ่ง และสำหรับในรุ่นเอ็ม1เอ2 ศูนย์เล็งจะรักษาการทรงตัวอิสระทั้งแนวดิ่งและแนวระดับ [29] ซึ่งผู้บังคับรถจะสามารถตรวจการณ์ผ่านศูนย์เล็งของพลยิงผ่านชุดถ่ายทอดศูนย์เล็ง และสำหรับรุ่นเอ็ม1เอ2 ผู้บังคับรถจะมีกล้องตรวจการณ์ความร้อนของผู้บังคับรถ ("Commander Independent Thermal Vision, CITV") สำหรับตรวจการณ์รอบทิศ และนอกจากนี้ พลยิงยังมีศูนย์เล็งสำรองสำหรับใช้ในกรณีที่ศูนย์เล็งหลักถูกทำลาย หรือ ไม่สามารถใช้การได้ รถถังเอบรามส์มีคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีที่จะรวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง เพื่อคำนวณ แสดงผล และทำงานร่วมกับปัจจัยในการทำงานทั้งสามอย่างของการยิง คือ มุม ชนิดกระสุน และระยะเป้าหมาย ปัจจัยทั้งสามจะต้องพึ่งพา เลเซอร์หาระยะ เซ็นเซอร์วัดแรงลม เซ็นเซอร์จุดศูนย์ถ่วง ข้อมูลการทำงานและการเคลื่อนที่ของกระสุนชนิดนั้นๆ ข้อมูลแนวปากกระบอกปืน อุณหภูมิกระสุน อุณหภูมิอากาศ แรงกดอากาศ ระบบอ้างอิงปากกระบอกปืน และเครื่องวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของเป้าหมาย ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้จะถูกคำนวณออกมาเป็นวิธีการยิงและทำการอัปเดต 30 ครั้งต่อวินาที การอัปเดตนั้นจะแสดงผลให้กับพลปืนหรือผู้บัญชาการ ทั้งภาพปกติและภาพความร้อน มุมและกระบอกปืนจะถูกเปลี่ยนให้เหมาะสมโดยคอมพิวเตอร์

ระบบควบคุมการยิงจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อประมวลการยิงให้กับพลปืน มันจะเพิ่มโอกาสในการยิงถูกเป้าหมายถึง 95% ในระยะปกติ ทั้งผู้บัญชาการและพลปืนสามารถทำการยิงปืนใหญ่หลักได้ นอกจากนี้กล้องตรวจการณ์ความร้อนของผู้บังคับรถของรถถังเอ็ม1เอ2 สามารถถูกใช้เพื่อระบุตำแหน่งเป้าหมายและส่งต่อเป้าหมายไปยังพลปืนเพื่อทำการยิงได้ ในขณะที่หาเป้าหมายต่อไป ในกรณที่เกิดเหตุขัดข้องหรือระบบเล็งได้รับความเสียหาย อาวุธหลักจะสามารถเล็งได้ด้วยมือ ป้อมปืนและปืนใหญ่สามารถปรับได้ด้วยข้อเหวี่ยงหากเกิดความเสียหายต่อระบบไฮดรอลิกหรือระบบควบคุมการยิง

การขับเคลื่อน

ทางยุทธวิธี

นาวิกโยธินสหรัฐขณะกำลังบรรจุเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ ฮันนีย์เวลล์ อีจีที1500 ลงไปที่ด้านท้ายของรถถังในคูเวต พ.ศ. 2546

เอ็ม1 เอบรามส์นั้นมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ ฮันนีย์เวลล์ เอจีที-1500 และระบบส่งกำลัง อัลลิสัน เอ็กซ์-1100-3บี ซึ่งมีความเร็วหกระดับด้วยกัน (เดินหน้าสี่และถอยหลังสอง) ทั้งสองอย่างนี้ทำให้มันสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนถนน และ 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนพื้นผิวทั่วไป มันสามารถทำความเร็วได้เกินสมรรถนะเป็น 97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่การวิ่งเร็วเกิน 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะสร้างความเสียหายให้กับตีนตะขาบและทำให้ลูกเรือได้รับบาดเจ็บได้ มีการสร้างถังสารพัดประโยชน์ขึ้นไว้รอบเครื่องยนต์[30] ถังดังกล่าวจะสามารถบรรจุได้ทั้งน้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด เชื้อเพลิงเจพี-4 หรือเจพี-8 ของเครื่องบินไอพ่น กองทัพบกสหรัฐใช้เชื้อเพลิงเจพี-8 เพื่อทำให้พลาธิการทางทหารง่ายขึ้น กองพันยานเกราะของออสเตรเลียใช้น้ำมันดีเซล เพราะว่ามันถูกกว่าและดูเหมาะสมกว่าในทางพลาธิการของกองทัพออสเตรเลีย

จากสงครามอิรัก กองทัพบกสหรัฐจึงเริ่มมองหาเครื่องยนต์มาแทนที่เอจีที-1500 เพราะปัญหาการใช้เชื้อเพลิง เครื่องยนต์เทอร์ไบน์นั้นให้การเร่งกำลังที่ดีกว่า แต่ใช้เชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซลถึงสองเท่า เครื่องยนต์เทอร์ไบน์นั้นมีน้ำหนักเบากว่าเครื่องยนต์ดีเซล แต่ก็ใช้พื้นที่และถังเชื้อเพลิงที่ใหญ่กว่า

ระบบขับเคลื่อนของเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์นั้นน่าไว้ใจกว่าทั้งในทางปฏิบัติและทางทฤษฎี แต่การผลาญเชื้อเพลิงที่มากของมันทำให้กลายเป็นปัญหาทางเสบียง[31] เครื่องยนต์นั้นผลาญเชื้อเพลิงมากกว่า3.8 ลิตรต่อหนึ่งไมล์และ 45 ลิตรต่อชั่วโมงเมื่อไม่ได้เคลื่อนที่[32] ลมที่มีความเร็วและความร้อนสูงเท่าไอพ่นของเครื่องบินจะถูกส่งออกมาจากด้านท้ายของรถถัง ซึ่งทำให้ทหารราบไม่สามารถติดตามรถถังได้ในกรณีที่ต้องทำการรบในพื้นที่เมือง นอกจากนี้เครื่องยนต์เทอร์ไบน์นั้นมีเสียงที่เบากว่าเครื่องยนต์ดีเซล

ทางยุทธศาสตร์

รถถังเอ1เอ็ม1ของกองทัพบกสหรัฐหลังจากถูกลำเลียงออกจากเครื่องบินซี-17 ณ ฐานทัพอากาศบาลัดในอิรักเมื่อปีพ.ศ. 2547

การเคลื่อนที่ทางยุทธศาสตร์ คือความสามารถของรถถังของกองกำลังติดอาวุธที่จะต้องเข้าสู่สนามรบได้ตรงเวลา มีประสิทธิภาพ และพร้อมเพรียงกัน รถถังเอบรามส์นั้นจะถูกลำเลียงด้วยเครื่องบินขนส่งซี-5 กาแลคซีหรือซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3 แม้ว่าในสงครามอ่าวเปอร์เซียรถถังเอบรามส์จำนวน 1,848 คันถูกลำเลียงโดยเรือ แต่ด้วยเนื้อที่ที่จำกัดบนเครื่องบินทั้งสองรุ่น (ซี-5 สามารถบรรทุกรถถังเอบรามส์พร้อมรบได้ 2 คัน ซี-17 สามารถบรรทุกได้ 1 คัน) ทำให้เกิดปัญหาในการลำเลียงรถถังอย่างมากในช่วงแรกของสงคราม

นาวิกโธยินของสหรัฐลำเลียงรถถังของหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินพื้นดินและอากาศด้วยเรือรบ โดยปกติแล้วเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้นวาสป์จะบรรทุกรถถังเอบรามส์ 4-5 คัน พร้อมกับหน่วยสนาวิกโยธินสำรวจทาง โดยจะทำการลำเลียงรถถังขึ้นฝั่งด้วยยานยกพลขึ้นบกแบบสะเทื้อนน้ำสะเทื้อนบกทีละหนึ่งคัน

นอกจากนี้แล้วรถถังเอบรามส์ยังสามารถถูกลำเลียงด้วยรถบรรทุกระบบขนส่งอุปกรณ์ขนาดหนัก|เอ็ม1070]] รถบรรทุกนี้สามารถเดินทางบนทางหลวง ถนนรอง และเดินทางข้ามประเทศได้ โดยใช้พลขับทั้งหมด 4 นายในการควบคุมรถบรรทุกดังกล่าว[33]

การลำเลียงรถถังเอบรามส์เข้าสู่สนามรบโดยตรงทางอากาศเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 โดยรถถังจากกองทหารราบที่ 1 ของสหรัฐถูกลำเลียงโดยเครื่องบินซี-17 จากเมืองรามสตีนในเยอรมนีเข้าสู่ทางเหนือของอิรัก เพื่อทำการสนับสนุนหน่วยเฉพาะกิจไวกิ้ง[34]

รุ่นต่างๆ และการยกระดับ

รถถังซีเอ็มวี กริซซ์ลี
พาหนะโจมตีฝ่าแนวรบที่กำลังยิงสายระเบิด
  • เอ็กซ์เอ็ม1-เอฟเอสอีดี: เป็นรุ่นทดสอบก่อนการผลิต มีรุ่นนี้ทั้งหมด 11 คันซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงพ.ศ. 2520-2521 พวกมันมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่าพาหนะนักบิน (Pilot Vehicle) จึงถูกทำสัญลักษณ์ด้วยอักษร PV-1 ถึง PV-11
  • เอ็ม1: เป็นรุ่นแรกที่เข้าสู่สายการผลิต การผลิตเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2522 จนถึงปีพ.ศ. 2528 รถถัง 100 คันแรกเป็นรุ่นการผลิตระยะเริ่มในอัตราต่ำ หรือ LRIP (Low Rate Initial Production) จึงถูกเรียกว่าเอ็กซ์เอ็ม1 เพราะว่าพวกมันถูกสร้างขึ้นก่อนที่รถถังดังกล่าวจะถูกจัดว่าเป็นรถถังชั้นเอ็ม1
    • เอ็ม1ไอพี (Improved Performance): เป็นรุ่นที่ถูกสร้างเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ในปีพ.ศ. 2527 ก่อนที่จะมีการสร้างเอ็ม1เอ1 รุ่นนี้ประกอบด้วยการยกระดับและการปรับปรุง เช่น ป้อมปืนแบบใหม่ที่มีเกราะส่วนหน้าที่หนาขึ้น เกราะที่เดิมทีมีความหนา 650 มิลลิเมตรได้ถูกเพิ่มเป็น 880 มิลลิเมตร
  • เอ็ม1เอ1: เป็นรุ่นที่เริ่มการผลิตในปีพ.ศ. 2528 มีระบบปรับความดันเพื่อป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ ชีวภาพ และเคมี ทีพื้นที่ส่วนด้านหลังสำหรับเก็บสัมภาระ เกราะระเบิดที่ออกแบบใหม่ และปืนเอ็ม256 ขนาด 120 มิลลิเมตร
    • เอ็ม1เอ1เอชเอ (Heavy Armor): เป็นรุ่นที่ติดตั้งส่วนประกอบเกราะยูเรเนี่ยมหมดอายุรุ่นแรกเข้าไป รถถังบางคันได้ติดตั้งยูเรเนี่ยมรุ่นที่สองเข้าไป โดยเรียกรถถังเหล่านั้นว่าเอ็ม1เอ1เอชเอ+
    • เอ็ม1เอ1เอชซี (Heavy Common): เป็นรุ่นที่ติดตั้งส่วนประกอบเกราะยูเรเนี่ยมหมดอายุรุ่นที่สอง มีการควบคุมเครื่องยนต์ด้วยระบบดิจิตอล และมีการยกระดับอีกเล็กน้อย
    • เอ็ม1เอ1ดี (Digital): เป็นการยกระดับแบบดิจิตอลของเอ็ม1เอ1เอชซี เพื่อให้มีการพัฒนาเท่าเทียมกับเอ็ม1เอ2เอสอีพี มีการผลิตเพียงสองกองพันเท่านั้น
    • เอ็ม1เอ1เอไอเอ็ม รุ่น 1 (Abrams Integrated Management): เป็นโครงการที่ซึ่งรถถังรุ่นเก่าถูกนำมาปรับสภาพให้เป็นรถถังที่ไม่เคยถูกใช้งานเลย[35]และได้มีการเพิ่มตัวเซ็นเซอร์อินฟราเรดมองข้างหน้าและตัวจับเป้าหมายระยะใกล้เข้าไป รวมทั้งมีโทรศัพท์ระหว่างรถถังและทหารราบ อุปกรณ์การสื่อสารที่รวมทั้งเอฟบีซีบี2 และตัวติดตามบลูฟอร์ซ เพื่อช่วยให้พลขับสามารถรับรู้ต่อสถานการณ์ได้ดีขึ้น และยังมีกล้องจับความร้อนสำหรับปืนกลขนาด .50 คาลิเบอร์อีกด้วย บริษัทเจเนรัลไดนามิกส์ได้รับสัญญาจากกองทัพบกสหรัฐให้ทำการสร้างรถถังรุ่นนี้ขึ้นมาอีก[27]
    • เอ็ม1เอ1เอไอเอ็ม รุ่น 2/เอ็ม1เอ1เอสเอ (Situational Awareness): เป็นรุ่นที่มีการยกระดับคล้ายกับเอไอเอ็ม รุ่น 1 ที่มาพร้อมกับส่วนประกอบเกราะยูเรเนี่ยมหมดอายุรุ่นที่ 3
    • เอ็ม1เอ1เอฟอีพี (Firepower Enhancement Package): เป็นการยกระดับที่คล้ายกับเอไอเอ็ม รุ่น 2 แต่สร้างให้กับนาวิกโยธินสหรัฐ
    • เอ็ม1เอ1เควีที (Krasnovian Variant Tank): เป็นเอ็ม1เอ1 ที่ได้รับการดัดแปลงภายนอกให้ดูคล้ายกับรถถังของโซเวียตเพื่อใช้ในศูนย์ฝึกระดับชาติ โดยมีระบบเลเซอร์และอุปกรณ์ฮอฟฟ์แมนติดตั้งอยู่ด้วย
    • เอ็ม1เอ1เอ็ม: เป็นรุ่นสำหรับส่งออกให้กับกองทัพบกอิรัก[36]
    • เอ็ม1เอ1เอสเอ (Special Armor): เป็นรุ่นที่ปรับแต่งให้กับกองทัพบกโมรอคโก[37]
  • เอ็ม1เอ2 (Baseline): เป็นรุ่นที่มีการผลิตเริ่มในปีพ.ศ. 2535 เอ็ม1เอ2 มีความสามารถในการทำให้ผู้บัญชาการรถถังสามารถยิงสองเป้าหมายได้ โดยไม่ต้องทำการเลือกเป้าหมายตามลำดับ นอกจากนี้แล้วยังมันยังใช้ส่วนประกอบเกราะยูเรเนี่ยมหมดอายุรุ่นที่สองอีกด้วย[38]
    • เอ็ม1เอ2เอสอีพี (System Enhancement Package): เป็นรุ่นที่ได้ยกระดับส่วนประกอบเกราะยูเรเนี่ยมหมดอายุรุ่นที่สามเป็นการเคลือบเกราะด้วยกราไฟท์
  • เอ็ม1เอ3: เป็นรุ่นที่อยู่ในการพัฒนา โดยจะมีต้นแบบออกมาให้เห็นในปีพ.ศ. 2557 และจะใช้งานได้จริงในปีพ.ศ. 2560[39] การพัฒนานั้นมีทั้งการใช้ปืนขนาด 120 มิลลิเมตรที่มีน้ำหนักเบากว่า การเพิ่มล้อที่มีระบบกันการสั่นสะเทือน สายพานที่ทนทานขึ้น เกราะที่เบาลง อาวุธระยะไกลที่มีความแม่นยำ กล้องอินฟราเรด และตัวตรวจจับเลเซอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ภายในแบบใหม่จะถูกติดตั้งเข้าไป โดยจะแทนที่ระบบลวดด้วยสายที่เป็นไฟเบอร์ออบติก ซึ่งสามารถลดน้ำหนักของรถถังลงไปได้ถึงสองตัน[40]
  • เอ็ม1 ทีทีบี (Tank Test Bed): เป็นรุ่นต้นแบบที่ใช้ป้อมปืนไร้คน จะมีลูกเรือสามคนในแคปซูลหุ้มเกราะที่ส่วนหน้าของรถถัง อาวุธหลักคือปืนขนาด 120 มิลลิเมตร ปืนเอ็ม256 ที่อาจถูกดัดแปลง และระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ
  • ซีเอทีทีบี – เป็นรุ่นทดลองที่มีปืนขนาด 140 มิลลิเมตร ป้อมปืนหุ้มเกราะหนัก และตัวถังที่ถูกยกระดับมาจากเอ็ม1 ทั่วไป มันมีระบบบรรจุกระสุนในตัวป้อมปืน เครื่องยนต์ใหม่ และอาจรวมทั้งการยกระดับอื่นๆ อีก รถถังรุ่นนี้ได้เข้าทำการทดสอบในปีพ.ศ. 2530-2531 ซีเอทีทีบีเป็นตัวย่อจาก Component Advanced Technology Test Bed หรือ ตัวทดสอบส่วนประกอบเทคโนโลยีขั้นสูง[41]
  • เอ็ม1ซีเอ็มวี (Combat Mobility Vehicle)[42][43]
  • พาหนะเก็บกวาดทุ่นระเบิดควบคุมจากระยะไกล เอ็ม1 แพนเทอร์ 2[44]
  • รถสะพานจู่โจมขนาดหนัก เอ็ม104 วูล์ฟเวอรีน[45]
  • ระบบเก็บกวาดทุ่นระเบิดด้วยใบมีดและส่วนหมุน เอ็ม1 แพนเทอร์ 2
  • พาหนะโจมตีฝ่าแนวรบ เอ็ม1เอบีวี: เป็นรุ่นสำหรับการโจมตีของนาวิกโยธินสหรัฐ มันสร้างขึ้นจากโครงรถของเอ็ม1เอ1 รถถังรุ่นนี้ได้ติดตั้งหลายระบบลงไป เช่น พลั่วกวาดทุ่นระเบิด สายระเบิดสำหรับกวาดระเบิด และระบบทำเครื่องหมายเส้นทาง นอกจากนี้ยังมีเกราะที่ป้องกันอาวุธความร้อนสูงอีกด้วย ป้อมปืนของรถถังรุ่นนี้ได้ถูกแทนที่ด้วยเครื่องยิงจรวดเอ็มไอซีแอลไอซีที่ด้านหลังแทน ปืนเอ็ม2เอชบี ขนาด .50 ถูกทำให้เป็นปืนควบคุมด้วยรีโมท และมีเครื่องยิงลูกระเบิดที่ติดอยู่ที่ด้านข้างของรถถังเพื่อป้องการโจมตีจากด้านหน้า[46][47]
  • พาหนะกู้ซากหุ้มเกราะ เอ็ม1 มีเพียงต้นแบบเพียงคันเดียวเท่านั้น

รายละเอียด

เอ็ม1 เอ็ม1ไอพี เอ็ม1เอ1 เอ็ม1เอ2 เอ็ม1เอ2เอสอีพี
ปีที่ผลิต พ.ศ. 2522-28 พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2529-35 พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา
ความยาว 9.77 เมตร
ความกว้าง 3.7 เมตร
ความสูง 2.37 เมตร 2.4 เมตร
ความเร็วสูงสุด 72 กม./ชม. 66.8 กม./ชม. 68 กม./ชม.
พิสัย 500 กิโลเมตร   463 กิโลเมตร 391 กิโลเมตร  
น้ำหนัก 55.7 ตัน 57 ตัน 61.3 ตัน 62.1 ตัน 63 ตัน
อาวุธหลัก ปืนใหญ่ลำกล้องเกลียว เอ็ม68 ขนาด 105 มม. ปืนใหญ่ลำกล้องเกลี้ยง เอ็ม 256 ขนาด 120 มม.
ลูกเรือ 4 นาย (ผู้บัญชาการรถถัง, พลปืน, พลบรรจุ, พลขับ)

หมายเหตุ: รถถังทุกรุ่นมีกำลังเครื่องยนต์ 1,500 แรงม้า

อุปกรณ์เพิ่มการอยู่รอดในเขตเมือง

เอ็ม1เอ2 ที่ติดตั้งทัสค์

อุปกรณ์เพิ่มการอยู่รอดในเขตเมือง (Tank Urban Survival Kit) หรือ ทัสค์ (TUSK) เป็นชุดเสริมสำหรับเอ็ม1 เอบรามส์ที่สร้างมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมืองอ้างอิงผิดพลาด: พารามิเตอร์ในป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง สนามรบที่เป็นเมืองหรือมีพื้นที่แคบนั้นเป็นที่ที่อันตรายสำหรับรถถังทุกชนิด เพราะว่ามีเพียงเกราะส่วนหน้าของรถถังเท่านั้นที่มีความแข็งแกร่งกว่าเกราะส่วนอื่นๆ ซึ่งในเขตเมือง การโจมตีจะสามารถมาได้จากทุกทิศทาง ศัตรูสามารถเข้าใกล้รรถถังในระยะที่สามารถโจมตีจุดอ่อนของรถถังได้ง่ายดาย หรืออาจเข้าโจมตีที่ส่วนบนของรถถังได้

การยกระดับเกราะนั้นมีทั้งเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(Explosive Reactive Armor, ERA)แบบอารัต(ARAT, Abrams Reactive Armor)ที่ด้านข้างของรถถังและเกราะแบบตะแกรงที่ด้านหลังเพื่อป้องกันลูกระเบิดขับเคลื่อนด้วยจรวดและหัวรบติดระเบิดแบบอื่นๆ

เกราะใสสำหรับปืนและระบบกล้องจับความร้อนถูกติดตั้งให้กับส่วนบนของรถถังที่มีปืนกล เอ็ม240 ขนาด 7.62 มม.ติดอยู่ นอกจากนี้ยังมีติดตั้งระบบควบคุมด้วยรีโมตคองส์เบิร์ก กรุพเพนสำหรับปืนขนาด .50 คาลิเบอร์ที่ส่วนของผู้บัญชาการรถถัง โดยที่ผู้บัญชาการไม่ต้องออกมายิงปืนด้วยตัวเอง ที่ด้านนอกรถถังยังมีโทรศัพท์เพื่อให้ทหารราบที่ด้านนอกรถถังสามารถติดต่อกับผู้บัญชาการรถถังได้อีกด้วย

ระบบทัสค์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งขณะออกรบได้ ซึ่งมันทำให้รถถังสามารถถูกยกระดับได้โดยไม่ต้องพึ่งโรงซ่อมบำรุง เกราะปฏิกิริยาแรงระเบิดนั้นอาจไม่จำเป็นนักเพราะสถานการณ์ส่วนใหญ่รถถังจะต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอจึงเป็นการยากที่จะถูกยิง แต่สำหรับเกราะท้าย เกราะสำหรับพลบรรจุ โทรศัพท์สำหรับทหารราบ และระบบควบคุมอาวุธด้วยรีโมตคองส์เบิร์คนั้นเป็นสิ่งถูกติดตั้งให้กับรถถังเอ็ม1เอ2ทุกคัน

ประเทศผู้ใช้งาน

แผนที่โลกที่แสดงประเทศที่ใช้รถถังเอ็ม1 เอบรามส์ในสีน้ำเงิน
เอ็ม1 เอบรามส์ของกองทัพบกอียิปต์ในช่วงการปฏิวัติในปีพ.ศ. 2554
เอ็ม1เอ1เอ็ม เอบรามส์ของกองทัพบกอิรักเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2554
  • ธงของประเทศอิรัก อิรักกองทัพบกอิรัก: มีรถถังเอ็ม1เอ1เอ็ม 140 คัน (เป็นแบบที่ถูกลดระดับโดยไม่ติดตั้งเกราะที่มียูเรเนียมหมดอายุลงไป) อิรักเคยเช่าเอ็ม1เอ1 22 คันจากกองทัพบกสหรัฐเมื่อปีพ.ศ. 2551[36][51][52][53] รถถัง 11 คันแรกถูกส่งให้กับกองทัพบกอิรักเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553[54] รถถังทั้งหมดถูกส่งมอบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554[55] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีรายงานว่าอิรักได้รับรถถังเพิ่มอีกหกคันเรียบร้อยแล้ว[56]
  • ธงของประเทศคูเวต คูเวตกองทัพบกคูเวต: มีรถถังเอ็ม1เอ2 218 คัน (เป็นแบบที่ถูกลดระดับโดยไม่ติดตั้งเกราะที่มียูเรเนียมหมดอายุลงไป)[57]
  • ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบียกองทัพบกซาอุดิอาระเบีย: มีรถถังเอบรามส์ 373 คัน[58] โดยทั้งหมดจะถูกยกระดับเป็นเอ็ม1เอ2เอสในซาอุดิอาระเบีย[58] มีเอ็ม1เอ2เอสอีก 69 คันที่ถูกสั่งซื้อเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยจะทำการส่งในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[59]

ประเทศที่อาจใช้งาน

  •  กรีซกองทัพบกกรีซ: สหรัฐได้เสนอรถถังเอ็ม1เอ1 ที่ใช้แล้ว 400 คันให้กับกรีซ[61][62] แต่ตอนนี้คาดว่าโครงการล้มไปแล้วเนื่องจากวิฤกติหนี้สินกรีซ
  •  โมร็อกโกกองทัพบกโมรอกโก: รถถังเอ็ม1เอ1 200 คันถูกขอมาในปีพ.ศ. 2554 หน่วยงานความมั่นคงได้รายงานให้กับสภาคองเกรสทราบถึงการซื้อขายทางการทหารกับต่างประเทศที่เป็นไปได้ในการยกระดับรถถังในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 การขายนั้นประกอบด้วยการขายอุปกรณ์ยกระดับให้กับรถถังเอบรามส์ อย่าง เกราะพิเศษ การปรับปรุงรถถัง และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง[63][64]

อ้างอิง

  1. http://www.globalsecurity.org/military/facility/lima.htm
  2. "Department of Defense - Annual Report FY99".
  3. Pike, John. Lima Army Tank Plant (LATP). Globalsecurity.org, 21 August 2005. Accessed on 9 July 2009. (Production cost of M1A2, upgraded)
  4. Abrams fact file. U.S. Army
  5. M1: 498 km (310 mi), M1A1: 465 km (288 mi), M1A2: 391 km (243 mi)
  6. M1 Abrams Main Battle tank. FAS.org, 14 April 2000
  7. Hunnicutt 1984, pp. 6, 149, 408.
  8. R.P. Hunnicutt, Abrams: A History of the American Main Battle Tank
  9. R.P. Hunnicutt, Abrams: A History of the American Main Battle Tank
  10. R.P. Hunnicutt, Abrams: A History of the American Main Battle Tank
  11. http://www.globalsecurity.org/military/facility/lima.htm
  12. "According to the Army’s Office of Deputy Chief of Staff for Operations and Plans, 23 Abrams tanks were destroyed or damaged in the Persian Gulf area. Of the nine Abrams destroyed, seven were due to friendly fire, and two were intentionally destroyed to prevent capture after they became disabled. Other Abrams tanks were damaged by enemy fire, land mines, on-board fires, or to prevent capture after they became disabled." From Early performance assessment of Bradleys and Abrams, p. 24.
  13. "A Company, 3-66 Armor, Abrams (Bumper # A-33)". TAB H -- Friendly-fire Incidents. At approximately 4:30 AM on 27 February, an anti-tank guided missile (probably fired from a Bradley) struck A-33 in the engine compartment. The crew, uninjured, was evacuating the disabled tank when two DU rounds hit the tank in the left side of the hull and exited through the right side. The tank commander, driver, and gunner sustained injuries from fragments. The loader, who was already outside the tank, was uninjured. A-31 crew members assisted in rescuing A-33's crew.; Sketch depicting the path of a DU 120 mm round through the hull of Abrams C-12. OSD.
  14. Komarow, Steven. "Tanks take a beating in Iraq", USA Today, March 29, 2005.
  15. Conroy, Jason & Martz, Ron. Heavy Metal: A Tank Company's Battle To Baghdad. Potomac Books, 2005, p. 158.
  16. Zucchino, David: Thunder Run: The Armored Strike to Capture Baghdad. Grove Press, 2004, pp. 20-30, 73.
  17. "Youtube: M1A2 Abrams struck by Vehicle-Borne IED". สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
  18. "Technical Intelligence Bulletins May - June 2003". Wlhoward.com. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  19. http://www.fprado.com/armorsite/US-Field-Manuals/abrams-oif.pdf#prof
  20. http://www.armytimes.com/news/2009/09/SATURDAY_army_tanks_092609w/
  21. http://www.marinecorpstimes.com/news/2009/09/marine_abrams_092709w/
  22. "Defense Update.com". Defense Update.com. 2006-04-25. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  23. R. P. Hunnicutt, Abrams: A History of the American Main Battle Tank
  24. "BBC: US to use depleted uranium". BBC News. 2003-03-18. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  25. Clancy, Tom: Armored Cav: A Guided Tour of an Armored Cavalry Regiment. Berkeley Books, 1994, pages unknown (will be updated).
  26. Hilmes (2004), p. 79
  27. 27.0 27.1 "General Dynamics Awarded $34 Million for M1A1 Abrams Tank Upgrades" (Press release). General Dynamics. September 5, 2008.
  28. M1A1/M1A2 Main Battle Tank, USA, Army-technology.com.
  29. http://www.kampfpanzer.de/vehicles/abrams
  30. "Heavy duty: overhaul under way for Abrams tank engine". Accessmylibrary.com. 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  31. 31.0 31.1 Fabio Prado. "Main Battle Tank - M1, M1A1, and M1A2 Abrams". 64.26.50.215. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "armorsite" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  32. Komarow, Steven (2006-03-09). "USA Today article". USA Today article. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  33. "M1070 Heavy Equipment Transporter (HET) Fact File United States Army". Army.mil. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.
  34. Anderson, Jon R. (10 April 2003). "1st ID task force's tanks deployed to northern Iraq". Stars and Stripes. สืบค้นเมื่อ 8 June 2011.
  35. "M1 Abrams Main Battle Tank". Fas.org. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.
  36. 36.0 36.1 "Armor: Iraq Getting M-1A1 Tanks". Strategypage.com. 3 August 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  37. http://www.dsca.mil/PressReleases/36-b/2012/Morocco_12-28.pdf
  38. [1] M1 Abrams Main Battle Tank, Federation of American Scientists
  39. "Army looking into lighter Abrams tank". Army Times. 28 September 2009. สืบค้นเมื่อ 21 December 2010.
  40. The Abrams Tank - Next Generation - About.com
  41. "CATTB data". สืบค้นเมื่อ 2011-06-28.
  42. John Pike. "Grizzly [Breacher]". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.
  43. [2][ลิงก์เสีย]
  44. John Pike. "Panther". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.
  45. John Pike. "Wolverine (Heavy Assault Bridge)". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.
  46. "ABV Assault Breacher Vehicle engineer armoured vehicle tank". สืบค้นเมื่อ 2010-02-05.
  47. Abramson,Mark, "ABVs ready to break Afghan ground", Stars and Stripes, 1 February 2010.
  48. "Australian National Audit Office report on the DMO project Land 907". Australian National Audit Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2010. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  49. "M1A1 / M1A2 Abrams Main Battle Tank". Army Technology. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.
  50. http://www.dsca.osd.mil/PressReleases/36-b/2011/Egypt_10-67.pdf
  51. "Procurement: Iraq Buys What It Knows". Strategypage.com. 18 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  52. "Iraqi military plans major arms purchase". Your Defence News, 16 December 2008.
  53. M1 Abrams Tanks for Iraq. Defense Industry Daily, 15 March 2009.
  54. Agence France-Presse (9 August 2010). "Iraq takes delivery of American tanks". defencetalk.com{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  55. Iraqi Army receives last shipment of Abrams tanks - Army.mil, 6 September 2011
  56. 6 more tanks - Defenseindustrydaily.com, 5 October 2012
  57. M1 Abrams. Militarium.net (Polish to English translation)
  58. 58.0 58.1 "The 2006 Saudi Shopping Spree: $2.9B to Upgrade M1 Abrams Tank Fleet". DefenseIndustryDaily.com. 4 January 2011. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  59. Saudi Arabia Orders 69 More M1A2S Abrams Heavy Tanks - Deagel.com, 8 January 2013
  60. 60.0 60.1 60.2 60.3 60.4 John Pike (27 April 2005). "M1 Abrams Main Battle Tank". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  61. "Ζητήστε μας ό,τι σας χρειάζεται" (ภาษาGreek). Kathimerini. ?. สืบค้นเมื่อ 9 April 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  62. Agence France-Presse "Greece Considers Free Tank Offer". Defense News, 7 December 2011. Retrieved: 18 April 2012.
  63. [3]. US DSCA,
  64. [4]. armyrecognition.com
  65. Peruvian Tank Contenders - Army-Technology.com, May 17, 2013
  66. "Taiwan mulls buying used US tanks". AFP. 23 July 2012. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.