ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 1.47.41.233 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 1.47.105.36
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ผู้ว่าการ
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ผู้ว่าการ
| หัวหน้า2_ชื่อ = รณชิต แย้มสอาด
| หัวหน้า2_ชื่อ = รณชิต แย้มสอาด
| หัวหน้า2_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ <br> (ปฏิบัติการ)
| หัวหน้า2_ตำแหน่ง = ที่ปรึกษา
| หัวหน้า3_ชื่อ = ชัยสิทธิ์ คุรุรัตน์
| หัวหน้า3_ชื่อ = ธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ <br> (กลยุทธ์และแผน)
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน)
| หัวหน้า4_ชื่อ = กฤตยา สุมิตนันท์
| หัวหน้า4_ชื่อ = สัจจพงศ์ สนั่นเสียง
| หัวหน้า4_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ (บริหาร)
| หัวหน้า4_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ)
| หัวหน้า5_ชื่อ =
| หัวหน้า5_ชื่อ = ว่าง
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง)<ref>http://www.mrta.co.th/aboutMRTA/Management.php</ref>
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ (การเงิน)
| หัวหน้า6_ชื่อ =
| หัวหน้า6_ชื่อ = ฤทธิกา สุภารัตน์
| หัวหน้า6_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า6_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ (บริหาร)
| หัวหน้า7_ชื่อ =
| หัวหน้า7_ชื่อ = ภคพงค์ ศิริกันทรมาศ
| หัวหน้า7_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า7_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง)
| หัวหน้า8_ชื่อ =
| หัวหน้า8_ชื่อ =
| หัวหน้า8_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า8_ตำแหน่ง =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:09, 30 มกราคม 2559

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
Mass Rapid Transit Authority of Thailand
ไฟล์:BSicon MRT.svg
สัญลักษณ์ของ รฟม มีลักษณะคล้ายลายเฉลว
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2535
สำนักงานใหญ่175 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
งบประมาณประจำปี9,661.1292 ล้านบาท (พ.ศ. 2558)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล[2], ผู้ว่าการ
  • รณชิต แย้มสอาด, ที่ปรึกษา
  • ธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล, รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน)
  • สัจจพงศ์ สนั่นเสียง, รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ)
  • ว่าง, รองผู้ว่าการ (การเงิน)
  • ฤทธิกา สุภารัตน์, รองผู้ว่าการ (บริหาร)
  • ภคพงค์ ศิริกันทรมาศ, รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง)
ต้นสังกัดกระทรวงคมนาคม
เว็บไซต์http://www.mrta.co.th

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม (ภาษาอังกฤษ Mass Rapid Transit Authority of Thailand ย่อว่า MRTA) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีภาระหน้าที่ในการจัดให้มี และให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพและปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ

รฟม. เป็นรัฐวิสาหกิจของไทยที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนเป็นลำดับที่ 3 ของไทย คือขาดทุนสุทธิ 866 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2553[3]

ประวัติ

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2535 ในชื่อ องค์การรถไฟฟ้ามหานคร มีชื่อภาษาอังกฤษคือ Metropolitan Rapid Transit Authority จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ 2535[4] โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2535 มีวัตถุประสงค์ในการจัดระบบขนส่งมวลชน ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยใช้รถไฟฟ้า

ในภายหลังได้มีการออกพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2543 องค์การรถไฟฟ้ามหานครจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษคือ "Mass Rapid Transit Authority of Thailand"[5]

พระราชบัญญัติฉบับใหม่ดังกล่าวยังให้อำนาจหน้าที่ รฟม. เพิ่มขึ้นหลายอย่าง เช่น มีอำนาจกำหนด "เขตปลอดภัยระบบรถไฟฟ้า" เพื่อคุ้มครองอุโมงค์และสิ่งก่อสร้างใต้ดิน และกำหนดเขต "ระบบรถไฟฟ้า" เพื่อคุ้มครองดูแลคนโดยสารรถไฟฟ้า และระบบรถไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังให้ รฟม. สามารถหารายได้ทางอื่นนอกจากค่าโดยสาร และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ตามความจำเป็น เพื่อประโยชน์แก่การให้บริการรถไฟฟ้า และมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการรถไฟฟ้า ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งอาจดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดอื่นตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อำนาจด้วย [6]

โครงการในความรับผิดชอบ

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดบริการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศ โดยใช้ชื่อว่า รถไฟฟ้ามหานคร โดยแบ่งเป็นหลายสาย ดังนี้

  • รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน)
    • ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ เปิดใช้เมื่อ พ.ศ. 2547 เป็นสัมปทานของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แต่กำลังเจรจากับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในการขอซื้อคืนสัมปทานโครงการ และว่าจ้างเดินรถในรูปแบบ PPP Gross-cost แทน
    • ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค อยู่ระหว่างการก่อสร้างตามสัญญาที่ 1-7
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ)
    • ช่วงบางใหญ่ - เตาปูน : งานก่อสร้างเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการเก็บรายละเอียดและทดสอบการเดินรถ คาดจะเปิดให้ทดลองนั่งในเดือนพฤษภาคมปี 2559 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2559
    • ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี)
    • ช่วงมีนบุรี - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ได้รับการอนุมัติจาก ครม.แล้ว และอยู่ระหว่างการเตรียมการประมูลโครงการในปี พ.ศ. 2559[7]
    • ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางขุนนนท์ อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด (คงไว้เป็นส่วนต่อขยาย เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าโครงการที่เหลือเป็นโครงการใต้ดินทั้งหมด)
  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด-มีนบุรี) อยู่ระหว่างการเตรียมประมูลโครงการ
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (รัชดาภิเษก/ลาดพร้าว-สำโรง) อยู่ในระหว่างการเตรียมประมูลโครงการ

นอกจากนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ยังได้รับสัมปทานในการก่อสร้างส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทหรือ สายสีเขียวอ่อน (ลำลูกกา - สมุทรปราการ) ต่อจากกรุงเทพมหานคร เพื่อทำการขยายเส้นทางจากตัวเมืองออกสู่จังหวัดใกล้เคียง เมื่อเสร็จสมบูรณ์เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้จะมีความยาวถึง 66.5 กิโลเมตร (รวมเส้นทางของ BTSC และกรุงเทพมหานคร) โดยได้แบ่งโครงการในการก่อสร้างดังนี้

  • ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ระยะที่ 2 (แบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ) กำลังดำเนินการก่อสร้าง
  • ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ระยะที่ 3 (เคหะสมุทรปราการ - บางปู) อยู่ระหว่างการศึกษาเส้นทางเดินรถและออกแบบรายละเอียด
  • ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท - พหลโยธิน ระยะที่ 1 (หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต) เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว [8]
  • ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท - พหลโยธิน ระยะที่ 2 (คูคต - ลำลูกกา) อยู่ระหว่างการศึกษา

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น