ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามฝิ่น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''สงครามฝิ่น''' ({{lang-en|Opium Wars}}; {{lang-zh|鸦片战争}}) เป็นสงครามสองครั้งในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทอังกฤษ-จีนในเรื่องการค้าของบริเตนในจีนและเอกราชของจีน ข้อพิพาทนี้มี[[สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง]] (ค.ศ. 1839–1842) และ[[สงครามฝิ่นครั้งที่สอง]] (ค.ศ. 1856–1860) สงครามและเหตุการณ์ระหว่างสงครามบั่นทอนอำนาจของ[[ราชวงศ์ชิง]]และลดการแยกตัวของจีนจากส่วนอื่นของโลก
{{issues|เก็บกวาด=yes|ขาดอ้างอิง=yes}}
{{กล่องข้อมูล ความขัดแย้งทางทหาร
| conflict = สงครามฝิ่น
| partof =
| image = [[ไฟล์:Second Opium War-guangzhou.jpg|300px]]
| caption = การปะทะที่[[กว่างโจว]]ระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่สอง
| date = พ.ศ. 2382 - 2385 <br />พ.ศ. 2399 - 2403
| place = [[จักรวรรดิจีน]]
| coordinates =
| map_type =
| latitude =
| longitude =
| map_size = 224
| map_caption =
| territory = [[เกาะฮ่องกง]]และทางใต้ของ[[เกาลูน]]ถูกยึดเป็นของสหราชอาณาจักร
| result = ชัยชนะของชาติตะวันตกเหนือจีน, ตามมาด้วย[[สนธิสัญญานานกิง]]และ[[สนธิสัญญาเทียนจิน]]
| combatant1 = {{flagicon|UK}} [[สหราชอาณาจักร]]<br />{{flagicon|France}} [[ฝรั่งเศส]]
{{flagicon|United States}} [[สหรัฐอเมริกา]]<br /> (เฉพาะในปี พ.ศ. 2399 - 2403 เท่านั้น)
| combatant2 = <!-- no official flag is known to have been adapted before 1872 -->{{flagicon|Qing Dynasty}} [[ราชวงศ์ชิง]]
| combatant3 =
| commander1 = {{flagicon|United Kingdom}} ไมเคิล ซีมัวร์<br />{{flagicon|United Kingdom}} เจมส์ บรูซ<br />{{flagicon|France}} ฌอง-แบปติสต์ หลุยส์ กรอส์<br />{{flagicon|France}} ออกุสเต เลโอโปลด์ โปร์เตต์
{{flagicon|United States}} เจมส์ อาร์มสตรอง
| commander2 = {{flagicon|Qing Dynasty}} หลินเจ๋อสวี<br />{{flagicon|Qing Dynasty}} ฉีซาน
| commander3 =
| strength1 = ประมาณ 40,000 นาย, <br />อเมริกา: 287 นาย, <br />เรือรบ 3 ลำ
| strength2 = ประมาณ 110,000 นาย
| strength3 =
| casualties1 = มากกว่า 2,800 นายเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ
| casualties3 =
| casualties2 = 47,790 นายเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ
| notes =
}}

'''สงครามฝิ่น''' ({{zh-all|s=鸦片战争|t=鴉片戰爭|p=Yāpiàn Zhànzhēng}} ''ยาเพี่ยนจ้านเจิง''; {{lang-en|Opium Wars}}) [[ฝิ่น]]เป็น[[ยาเสพย์ติด]]ที่ชาวจีนติดกันอย่างมากและติดกันมานาน ในรัชกาล[[จักรพรรดิหย่งเจิ้น]] (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของ[[จักรพรรดิเต้ากวง]] (道光) ปีที่ 19 พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวี เป็นผู้ตรวจราชการสองมณฑล ขึ้นเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน

== เริ่มกระบวนการปราบปรามฝิ่น ==
หลินเจ๋อสวีเริ่มงานด้วยการห้ามค้าฝิ่นในมณฑลกวางตุ้ง และจับพ่อค้าฝิ่นชาวจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดไปคุมตัวในเรือนจำ ใครที่มีหลักฐานว่าค้าฝิ่นจะต้องถูกประหาร และตัดศีรษะเสียบประจาน เพื่อข่มขู่ชาวจีนอื่น ๆ ให้เกรงกลัวจะได้ไม่กล้าค้าฝิ่นอีก นอกจากปราบปรามการค้าฝิ่นในหมู่ชาวจีน หลินเจ๋อสวี ยังได้พยายามฟื้นฟูสุขภาพชาวจีนที่ติดฝิ่น โดยจัดโครงการรณรงค์การอดฝิ่น มีชาวจีนหลายคนที่อดฝิ่นได้สำเร็จ ทางการก็จะประกาศเกียรติคุณ เพื่อให้คนอื่น ๆ เอาเป็นแบบอย่างอันดีที่จะพยายามเลิกฝิ่นให้ได้ จากนั้นหลินเจ๋อสวีก็สั่งห้ามเรือพ่อค้าต่างชาติที่บรรทุกฝิ่นเข้ามาในอาณาจักรจีน โดยห้ามเรือล่องเข้าแม่น้ำจูเจียงมาเป็นเด็ดขาด และประกาศให้พ่อค้าต่างชาติที่มีฝิ่นในครอบครอง ต้องนำฝิ่นมาส่งมอบให้ทางการจีน แต่พ่อค้าชาวต่างชาติไม่สนใจคำสั่งของหลินเจ๋อสวี ยังคงค้าฝิ่นต่อไป หลินเจ๋อสวีจึงสั่งปิดล้อมย่านการค้าของคนต่างชาติใน และบีบให้พ่อค้าต่างชาติส่งฝิ่นให้ทางการจีน หลังจากปิดล้อมอยู่สองวัน พวกพ่อค้าต่างชาติก็ยอมมอบฝิ่นออกมาในที่สุด ฝิ่นที่ยึดได้ครั้งนี้ หลินสั่งให้เอาฝิ่นทั้งหมดไปละลายกับกรดน้ำส้มกับเกลือและน้ำ เพื่อฆ่าฤทธิ์ของฝิ่น แล้วก็โยนทิ้งทะเลไปจนหมดสิ้น
ผลจากการปราบปรามฝิ่นอย่างจริงจังของหลินเจ๋อสวี ทำให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อค้าอังกฤษที่มีผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นมหาศาลไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะฝิ่นที่หลินเจ๋อสวีทำลายไปมีจำนวนมหาศาลถึง 20,000 ลัง คิดเป็นน้ำหนักสองล้านปอนด์ครึ่ง และเนื่องจากฝิ่นเป็นสินค้าที่มีค่าสูง จึงยังมีพ่อค้าต่างชาติทั้งชาวอังกฤษและโปรตุเกส ยังคงลอบค้าฝิ่น แต่เปลี่ยนฐานการค้าจากตัวแผ่นดินใหญ่ในมณฑลกวางตุ้ง ไปอยู่ที่มาเก๊า และเกาะฮ่องกง ซึ่งมีทำเลดีกว่าแทน

== สงครามปะทุ ==
การกระทบกระทั่งระหว่างจีนกับอังกฤษยังคงมีต่อมา เมื่อชาวจีนถูกกะลาสีเรือชาวอังกฤษฆ่าตายที่เกาลูน หลินเจ๋อสวีให้ทางอังกฤษส่งตัวกะลาสีที่ก่อเหตุมารับโทษตามกฎหมายจีน แต่กัปตันเอลเลียตของอังกฤษปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ผลจากการกระทบกระทั่งกันครั้งนี้ ทำให้หลินเจ๋อสวีขับไล่ชาวอังกฤษทั้งหมดออกจากมาเก๊า แต่พ่อค้าเหล่านี้ก็ไปตั้งหลักที่ฮ่องกงแทน กัปตันเอลเลียต ขอความช่วยเหลือไปทางรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษในยุคของ[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]] ซึ่งเป็นยุคสมัยของ[[ลัทธิล่าอาณานิคม|การล่าอาณานิคม]]
ถือเป็นเหตุในการทำสงครามกับจีน โดยเริ่มครั้งแรกในปี [[พ.ศ. 2382]] (ค.ศ. 1839) โดยสั่งให้[[บริษัทอินเดียตะวันออก]] ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลอังกฤษ ส่งกองเรือไปช่วยที่ฮ่องกง เมื่อกองเรือรบกองแรกมาถึงซึ่งประกอบไปด้วยเรือปืนจำนวน 28 ลำ หลินเจ๋อสวีไม่เคยมีประสบการณ์กับการรบกับอาวุธที่ทันสมัยเช่นนี้ จึงถูกโจมตีจนกองเรือจีนพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว หนำซ้ำพวกขุนพลของจีนที่สู้แพ้อังกฤษ ยังไม่กล้ารายงานสถานการณ์ตามความเป็นจริง ทำให้หลินเจ๋อสวีเข้าใจผิดว่ากองเรือของจีนเอาชนะ[[ราชนาวี|กองทัพเรือสหราชอาณาจักร]]ได้ จึงถวายรายงานกับพระจักรพรรดิเต้ากวงว่า จีนได้รับชัยชนะ และยิ่งแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อพวกอังกฤษยิ่งขึ้น ในที่สุด ในปี [[พ.ศ. 2383]] (ค.ศ. 1840) ฝ่ายกองเรือรบอังกฤษก็บุกเข้าปากแม่น้ำจูเจียง และยึดเมืองกวางซูเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งเคลื่อนกองเรือรุกเข้ามาในแผ่นดินจีนขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังส่งกองเรือราชนาวีจำนวนหนึ่งไปยึดเมืองท่าริมทะเลเอาไว้ด้วย ความทราบถึงพระจักรพรรดิเต้ากวง จึงทรงตำหนิหลินเจ๋อสวีอย่างรุนแรง และปลดหลินเจ๋อสวีจากตำแหน่งทั้งหมด เนรเทศไปยังซินเจียง และส่งแม่ทัพฉีซานมาแทน ฉีซานไม่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของอังกฤษได้

== ผลลัพธ์ ==
ในปี [[พ.ศ. 2385]] (ค.ศ. 1842) กองทัพอังกฤษบุกเข้ายึดเมืองนานกิงได้ จนกระทั่งในที่สุดจำเป็นต้องเจรจาสงบศึกกับอังกฤษ ที่เมืองนานกิงนั่นเอง และยอมเซ็นสนธิสัญญาที่ชาวจีนถือว่าอัปยศที่สุด ที่เรียกว่าสนธิสัญญานานกิงในปีเดียวกันนั้น เนื้อหาในสนธิสัญญาฉบับนี้ อังกฤษบังคับให้จีนเปิดเมืองท่าตามชายทะเลเพื่อค้าขายกับอังกฤษ รวมทั้งขอสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนจีน คนที่ถือสัญชาติอังกฤษ จะไม่ต้องขึ้นศาลจีน รวมทั้งสิทธิใด ๆ ที่อังกฤษได้ ต่างชาติอื่น ๆ ก็ต้องได้ด้วย แม้ว่าเนื้อหาของสนธิสัญญานี้ จีนต้องเสียเปรียบอังกฤษเป็นอย่างมาก แต่จีนก็จำต้องเซ็นสัญญาเพื่อยุติสงครามที่จีนเสียเปรียบอย่างเทียบไม่ติด ต่อมาจีนก็สูญเสียเอกราชบนคาบสมุทร [[เกาลูน]]ไปอีก ในวันที่ [[11 มกราคม]] [[พ.ศ. 2403]] (ค.ศ. 1860) ตามสนธิสัญญาปักกิ่ง ในรัชกาล[[จักรพรรดิเสียนเฟิง|สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง]] (咸丰) ปีที่ 10 และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ [[21 เมษายน]] [[พ.ศ. 2441]] (ค.ศ. 1898) ตรงกับรัชกาล[[จักรพรรดิกวังซวี่]] (光緒帝) ปีที่ 24 สูญเสียพื้นที่เขตดินแดนใหม่ (New Territories) ให้กับสหราชอาณาจักรในสัญญาเช่า 99 ปี นับแต่นั้น [[เซินเจิ้น]]และฮ่องกงก็ถูกแบ่งแยกการปกครองออกจากกัน และภายใน [[พ.ศ. 2443]] (ค.ศ. 1900) คนจีนกว่า 13 ล้านคน ยังคงติดฝิ่นอยู่ เศรษฐกิจของจีนถูกทำลายลงอย่างย่อยยับจากการที่จีนต้องนำเข้าฝิ่นเป็นจำนวนมากมายมหาศาลและ[[ราชวงศ์ชิง]]ก็ตกอยู่ในภาวะแห่งการล่มสลาย
[[ไฟล์:Opiumwar.jpg|thumb|300px|right|ภาพวาดเรือรบจีนถูกทำลายในสงครามฝิ่นครั้งแรก (พ.ศ. 2382 - พ.ศ. 2385)]]


[[หมวดหมู่:สงครามยุคใหม่|ฝิ่น]]
[[หมวดหมู่:สงครามยุคใหม่|ฝิ่น]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:20, 22 มกราคม 2559

สงครามฝิ่น (อังกฤษ: Opium Wars; จีน: 鸦片战争) เป็นสงครามสองครั้งในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทอังกฤษ-จีนในเรื่องการค้าของบริเตนในจีนและเอกราชของจีน ข้อพิพาทนี้มีสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1839–1842) และสงครามฝิ่นครั้งที่สอง (ค.ศ. 1856–1860) สงครามและเหตุการณ์ระหว่างสงครามบั่นทอนอำนาจของราชวงศ์ชิงและลดการแยกตัวของจีนจากส่วนอื่นของโลก