ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถตุ๊ก ๆ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
* สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปี 2549-2554. ปทุมธานี : สำนักงานฯ, 2554.
* สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปี 2549-2554. ปทุมธานี : สำนักงานฯ, 2554.
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอึ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Tuk-tuks|รถตุ๊กตุ๊ก}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Tuk-tuks|รถตุ๊กตุ๊ก}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:40, 12 มกราคม 2559

รถตุ๊กตุ๊กในกรุงเทพฯ

รถตุ๊กตุ๊ก หรือชื่อเรียกทางราชการว่า รถสามล้อเครื่อง เริ่มแรกเป็นการนำรถสามล้อเครื่อง กระบะบรรทุก จากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลง เข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกปี พ.ศ. 2503 เพื่อทดแทน รถสามล้อถีบ ซึ่งถูกห้ามวิ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ยุคแรกๆ มีทั้งยี่ห้อ ฮอนด้า ไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ ปัจจุบันเหลือเพียง ไดฮัทสุ มาสด้า มิตซูบิชิ

ทุกวันนี้ประเทศไทยได้ผลิตและส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย ในนาม "TUK-TUK" สามล้อตุ๊กตุ๊กมีบริการทั่วไปทุกจังหวัด ซึ่งบางท้องที่จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษ อย่างเช่นรถตุ๊กตุ๊กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีหน้ารถขนาดใหญ่กว่าทั่วไปจะเรียกกันว่า "รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ"

รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ หรือ รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ ให้บริการทั่วไป ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอเมือง จังหวัดตรัง
Daihatsu Midget Model DKA, 1957

ประวัติในประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2500 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มจำหน่ายรถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ (Daihatsu) รุ่นมิดเจ็ท ดีเค (Midget DK) เป็นรถสองจังหวะ (ZA 250cc) มีไฟหน้าหนึ่งดวง และมีที่จับบังคับเหมือนรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นรถต้นแบบรถตุ๊กตุ๊กของไทย

ปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ารถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิดเจ็ท ดีเคจากญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เป็นจำนวน 30 คัน บรรทุกมาทางเรือขึ้นที่ท่าเรือคลองเตย และนำออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในย่านเยาวราช โดยคนไทยในยุคนั้นเรียกกันว่า "สามล้อเครื่อง" ต่อมาภายหลังเศรษฐกิจไทยดีขึ้น จึงเพิ่มการนำเข้ารุ่นมิดเจ็ท เอ็มพี 4 (Midget MP4) ซึ่งเป็นรถรุ่นใหม่ที่เพิ่มส่วนประตูสองข้าง โดยได้ทำการขยายการจำหน่ายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดตรังด้วย รถรุ่นนี้จึงเป็นรถต้นแบบของรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งกันอยู่ในปัจจุบันของทั้งสองจังหวัด และเมื่อรถบรรทุกสามล้อได้รับความนิยมจากคนไทย จึงมีการนำเข้ารถยี่ห้ออื่นๆตามมา อาทิ ฮีโน่ มิตซูบิชิ เป็นต้น

ในประเทศไทยยุคแรก รถตุ๊กตุ๊กที่มีใช้คือยี่ห้อฮอนด้า ไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ ซึ่งตกอยู่ราวคันละ เกือบ 2 หมื่นบาท (ปัจจุบันราคาถึงหลักแสน ปัจจุบันเหลือเพียง มาสด้ามิตซูบิชิสมัยก่อนรถตุ๊กตุ๊กมีทางให้ผู้โดยสารขึ้นลง 2 ด้าน แต่เปลี่ยนมาขึ้นลงทางเดียวเพื่อความปลอดภัย

วิวัฒนาการจากการนำรถสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลง โดยเอามาต่อหลังคาเพิ่มไว้สำหรับนั่งโดยสารและขนของได้ จนปี พ.ศ. 2508 ทางราชการเตรียมยกเลิกรถตุ๊กตุ๊กเนื่องจากเห็นว่าเป็นรถที่มีกำลังแรงม้าต่ำ แล่นช้า เกะกะกีดขวางทางจราจร

รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย

รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมของสามล้อสกายแล๊ปขนาดเครื่องยนต์ 150 cc ที่ปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก ด้วยวิธีการออกแบบและวิเคราะห์โครงสร้างโดยหลักวิศวกรรมขั้นสูงคือระเบียบวิธีไฟในต์อิลิเมนต์ (Finite Element Method, FEM) ผลที่ได้ทำให้เกิดการปรับปรุงส่วนกลไกสำคัญต่างๆ เช่น รูปร่างโครงสร้าง chassis ระบบส่งกำลังระบบกันสะเทือน ระบบเบรก ระบบเกียร์ถอยหลัง ระบบเสถียรภาพขณะวิ่ง และการเพิ่มพื้นที่บรรทุกภาระสิ่งของหรือผู้โดยสาร ทำให้ได้รถที่มีทั้งสมรรถนะและรูปลักษณ์ทันสมัยน่าใช้งานมากขึ้นกว่ารูปแบบทั่วไปที่มีอยู่เดิมในปัจจุบัน

รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย จึงมีจุดเด่นคือ

  • โครงสร้างแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา และมีความปลอดภัยตามมาตรฐานวิศวกรรมยานยนต์
  • ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตเองภายในประเทศและมีค่าใช้จ่ายในการผลิตเพื่อเชิงพาณิชย์ต่ำ
  • ความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานแบบอเนกประสงค์ได้ทั้งการบรรทุกคนหรือสัมภาระสิ่งของต่างๆ หรือเป็นรถนำเที่ยวตามรีสอร์ตเมื่อเพิ่มกำลังเครื่องยนต์เป็นขนาด 650 cc"

รถตุ๊กตุ๊กในต่างประเทศ

รถตุ๊กตุ๊กในอินเดีย
รถตุ๊กตุ๊กในบังกลาเทศ
รถตุ๊กตุ๊กในคิวบา

รถตุ๊กตุ๊ก มีกำเนิดครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1948 โดยชาวอิตาเลียนชื่อ ปิอาจโจ อาเป (Piaggio Ape) ซึ่งเป็นผู้ลิตรถเวสป้าด้วย ซึ่งรถตุ๊กตุ๊กมีขีดความเร็วเต็มที่ 30 ไมล์ต่อชั่วโมง และนับแต่นั้นรถตุ๊กตุ๊กก็ได้เผยแพร่และได้รับความนิยมในหลายประเทศทางแถบเอเชีย มาจนถึงปัจจุบัน และเริ่มจะได้รับความนิยมมากขึ้นในบางประเทศแถบแอฟริกา, อเมริกาใต้ และตะวันออกกลางด้วย

รถตุ๊กตุ๊กในอินเดีย มีสีส่วนใหญ่เป็นสีเขียวเหลือง หรือสีเขียวดำ และถูกห้ามวิ่งในบางถนน ขณะที่ในอียิปต์เป็นสีดำ ที่บังกลาเทศเป็นสีเขียว อันหมายถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยที่อินเดีย บริษัทผลิตรถตุ๊กตุ๊กที่ใหญ่ที่สุด คือ Bajaj และรุ่นที่แพงที่สุด คือ RE Compact ราคาคันละ 53,000 บาท

รถตุ๊กตุ๊กในแต่ละประเทศมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ที่เอกวาดอร์เรียกว่า Mototaxi ที่ศรีลังกาเรียก Three-wheeler ที่บังกลาเทศเรียก Baby taxi ขณะที่คิวบาเรียก Coco Taxi เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายลูกมะพร้าว [1]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

รถตุ๊กตุ๊กได้เคยปรากฏในภาพยนตร์ร่วมสมัยหลายเรื่อง เช่น Octopussy ในปี ค.ศ. 1983 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ภาคหนึ่งของภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ในเรื่อง เจมส์ บอนด์ ที่รับบทโดย โรเจอร์ มัวร์ ได้รับรถตุ๊กตุ๊กอินเดีย ขณะที่ในภาพยนตร์ไทยเรื่อง องค์บาก ก็มีฉากไล่ล่ารถตุ๊กตุ๊กถึง 6 คันร่วงตกจากสะพาน 5 คันระเบิดเป็นจุณ ขณะที่อีกหนึ่งคันหายไปในแม่น้ำ[1]

ชนะเลิศชุดประจำชาติยอดเยี่ยมในการประกวดนางงามจักรวาล 2015

การประกวด นางงามจักรวาล 2015 ครั้งที่ 64 จัดขึ้น ณ เดอะแอกซิส เมืองลาสเวกัส รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ตัวแทนประเทศไทยในการประกวดครั้งนี้ คือ แนท- อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ ซึ่งการประกวดครั้งนี้ แนท- อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ ได้ตำแหน่งชนะเลิศรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยม หรือ Best Nation Costume โดยชุดมีชื่อว่า ตุ๊กตุ๊กไทยแลนด์ หรือ Tuk Tuk Thailand ซึ่งได้ดึงจุดแข็งอย่างรถตุ๊กตุ๊กที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกมาประยุกต์เข้ากับชุด สำหรับชุดตุ๊กตุ๊กไทยแลนด์ เป็นผลงานการออกแบบของ หิรัญกฤษฏิ์ ภัทรพิบูลย์กุล นักวิชาการวัฒนธรรม โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ในการตัดเย็บ

อ้างอิง

  • ดาโกะญี่ปุ่น. (2009). ไปขึ้นรถตุ๊กตุ๊กกัน. วารสารดาโกะ ฉบับภาษาไทย. 73. 6-9.
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปี 2549-2554. ปทุมธานี : สำนักงานฯ, 2554.
  1. 1.0 1.1 หน้า 27, "The tuk-tuk". Travel Icon. "Globetrotter". นิตยสาร Lonely Planet Traveller Thailand: ธันวาคม 2014 ฉบับที่ 40

แหล่งข้อมูลอึ