ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฉบับร่าง:เวทีทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mix.natthawut (คุย | ส่วนร่วม)
Thailc12 (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อความที่ถูกผู้ก่อกวนแก้บิดเบือน
บรรทัด 195: บรรทัด 195:


อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ประมาณปี [[พ.ศ. 2547]] - [[พ.ศ. 2550]] เกมรอบตกรอบยังแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายเช่นเดิม โดยแบ่งเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 9 แผ่นป้ายหมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่าป้ายละ 10,000 บาท) (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือ สีกัปตัน ต่อมาเป็นไบกอน และคุกกี้เดลิโอ) และป้ายหยุด 3 แผ่นป้าย (เป็นรูปกับดัก (กัปตัน) ใบแดง, ใบบัวบก (น้ำใบบัวบก) และใบหนาด (ไบกอน) และรูปการ์ตูนพิธีกร (แอนดี้, วีเจภูมิ, พัน) กินคุกกี้ (เดลิโอ) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 9 แผ่นป้ายจะได้รับทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่า 300,000 บาท) ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าเปิดเจอป้ายหยุดเป็นป้ายแรกก็จะไม่ได้ทองคำในเกมนี้เลย โดยในช่วงปี [[พ.ศ. 2547]] - [[พ.ศ. 2549]] เมื่อเปิดป้ายกับดักผู้เข้าแข่งขันจะถูกขังในกรงใหญ่และได้ทองตามจำนวนที่เปิดมาได้ แต่หากป้ายแรกเป็นกับดัก ก็จะไม่ได้รับทองคำในรอบนี้ และในปี [[พ.ศ. 2549]] เมื่อเปิดป้ายหยุดจะได้สิ่งของตามป้ายที่ได้เลือก เช่นเปิดได้ใบแดง ก็จะได้ใบแดง คล้ายกับรอบ Jackpot ของเวทีทองปี [[พ.ศ. 2545]] - [[พ.ศ. 2547]]
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ประมาณปี [[พ.ศ. 2547]] - [[พ.ศ. 2550]] เกมรอบตกรอบยังแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายเช่นเดิม โดยแบ่งเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 9 แผ่นป้ายหมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่าป้ายละ 10,000 บาท) (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือ สีกัปตัน ต่อมาเป็นไบกอน และคุกกี้เดลิโอ) และป้ายหยุด 3 แผ่นป้าย (เป็นรูปกับดัก (กัปตัน) ใบแดง, ใบบัวบก (น้ำใบบัวบก) และใบหนาด (ไบกอน) และรูปการ์ตูนพิธีกร (แอนดี้, วีเจภูมิ, พัน) กินคุกกี้ (เดลิโอ) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 9 แผ่นป้ายจะได้รับทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่า 300,000 บาท) ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าเปิดเจอป้ายหยุดเป็นป้ายแรกก็จะไม่ได้ทองคำในเกมนี้เลย โดยในช่วงปี [[พ.ศ. 2547]] - [[พ.ศ. 2549]] เมื่อเปิดป้ายกับดักผู้เข้าแข่งขันจะถูกขังในกรงใหญ่และได้ทองตามจำนวนที่เปิดมาได้ แต่หากป้ายแรกเป็นกับดัก ก็จะไม่ได้รับทองคำในรอบนี้ และในปี [[พ.ศ. 2549]] เมื่อเปิดป้ายหยุดจะได้สิ่งของตามป้ายที่ได้เลือก เช่นเปิดได้ใบแดง ก็จะได้ใบแดง คล้ายกับรอบ Jackpot ของเวทีทองปี [[พ.ศ. 2545]] - [[พ.ศ. 2547]]

และในปี [[พ.ศ. 2558]] เกมตกรอบจะอยู่ในรูปของแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 10 แผ่นป้ายหมายถึงได้ทองคำป้ายละ 2 สลึง (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ คาโอ) และป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย (เป็นรูปหน้าพิธีกร) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดได้ป้ายผู้สนับสนุนครบ 10 แผ่นป้าย หรือ ป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย ก็จะได้รับทองคำหนัก 20 บาท ถ้าหากป้ายแรกเป็นผู้สนับสนุนหลัก แล้วเปิดป้ายต่อไปเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าป้ายแรกเป็นป้ายหยุด แล้วป้ายต่อไปเป็นผู้สนับสนุนหลัก เกมจะหยุดทันทีและได้รับทองคำหนัก 2 สลึงไปด้วย


=== รอบสุดท้าย ===
=== รอบสุดท้าย ===
บรรทัด 221: บรรทัด 219:
แต่ทว่าในช่วงเวทีทองในยุคสุดท้ายได้มีการเปลี่ยนรูปแบบโดยไม่มีแผ่นป้าย "คุณครู" แต่เป็นการเปิดแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนหลักเพียงอย่างเดียว โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งใน 12 แผ่นป้ายนั้นจะมี 9 แผ่นป้ายที่เป็นแป้ง ซึ่งมีสีต่างกันออกไป สีละ 3 แผ่นป้าย (ตามแป้งซึ่งมีขายทั้งหมด 3 สี) (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ แป้งเย็นชาวเวอร์ทูชาวเวอร์) ส่วนอีก 3 แผ่นป้ายที่เหลือจะเป็นป้ายหลอกซึ่งเป็นรูปภาพการ์ตูนของพิธีกรโดยเรียกว่าสุดหล่อสุดร้อน ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้าย 6 แผ่นป้ายให้มีสีถูกต้องตรงกับตำแหน่งของแป้งสีนั้นๆ หากเปิดได้แป้ง และถูกตำแหน่งจะได้รับทองคำหนัก 2 บาท (หรือทองคำมูลค่า 20,000 บาท) หากเปิดได้แป้ง แต่ไม่ถูกตำแหน่ง (สีไม่ตรงกัน) จะได้รับทองคำ 2 สลึง (หรือทองคำมูลค่า 5,000 บาท) แต่ถ้าหากเปิดเจอป้ายสุดหล่อสุดร้อนจะไม่ได้รับทองคำในตำแหน่งนั้น ทั้งนี้หากสามารถเปิดได้เป็นแป้งทั้ง 6 แผ่นป้าย และถูกต้องตรงตามตำแหน่งของสี จะได้รับรางวัลทองคำหนัก 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ ในช่วงที่ราคาทองคำมีมูลค่าสูงกว่าบาทละ 10,000 บาท รางวัล Jackpot ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นทองคำมูลค่า 600,000 บาทแทน
แต่ทว่าในช่วงเวทีทองในยุคสุดท้ายได้มีการเปลี่ยนรูปแบบโดยไม่มีแผ่นป้าย "คุณครู" แต่เป็นการเปิดแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนหลักเพียงอย่างเดียว โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งใน 12 แผ่นป้ายนั้นจะมี 9 แผ่นป้ายที่เป็นแป้ง ซึ่งมีสีต่างกันออกไป สีละ 3 แผ่นป้าย (ตามแป้งซึ่งมีขายทั้งหมด 3 สี) (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ แป้งเย็นชาวเวอร์ทูชาวเวอร์) ส่วนอีก 3 แผ่นป้ายที่เหลือจะเป็นป้ายหลอกซึ่งเป็นรูปภาพการ์ตูนของพิธีกรโดยเรียกว่าสุดหล่อสุดร้อน ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้าย 6 แผ่นป้ายให้มีสีถูกต้องตรงกับตำแหน่งของแป้งสีนั้นๆ หากเปิดได้แป้ง และถูกตำแหน่งจะได้รับทองคำหนัก 2 บาท (หรือทองคำมูลค่า 20,000 บาท) หากเปิดได้แป้ง แต่ไม่ถูกตำแหน่ง (สีไม่ตรงกัน) จะได้รับทองคำ 2 สลึง (หรือทองคำมูลค่า 5,000 บาท) แต่ถ้าหากเปิดเจอป้ายสุดหล่อสุดร้อนจะไม่ได้รับทองคำในตำแหน่งนั้น ทั้งนี้หากสามารถเปิดได้เป็นแป้งทั้ง 6 แผ่นป้าย และถูกต้องตรงตามตำแหน่งของสี จะได้รับรางวัลทองคำหนัก 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ ในช่วงที่ราคาทองคำมีมูลค่าสูงกว่าบาทละ 10,000 บาท รางวัล Jackpot ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นทองคำมูลค่า 600,000 บาทแทน


เกมเปิดป้ายชิงทอง ถูกใช้มาตั้งแต่วันที่ [[4 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2545]] จนกระทั่งยุติการออกอากาศในปี [[พ.ศ. 2550]] เพื่อทดแทนเกมชั่งทองซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาตลอด เช่นเดียวกับเกมเปิดป้ายชิงเงินล้านในรายการ[[ชิงร้อยชิงล้าน]] ที่ถูกใช้มาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2536]] ถึง [[พ.ศ. 2555]] เพื่อทดแทนเกมทายใจ
เกมเปิดป้ายชิงทอง ถูกใช้มาตั้งแต่วันที่ [[4 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2545]] จนกระทั่งยุติการออกอากาศในปี [[พ.ศ. 2550]] เพื่อทดแทนเกมชั่งทองซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาตลอด


== ผู้เข้าแข่งขัน ==
== ผู้เข้าแข่งขัน ==
บรรทัด 239: บรรทัด 237:


== การกลับมาออกอากาศอีกครั้ง ==
== การกลับมาออกอากาศอีกครั้ง ==
ในปี [[พ.ศ. 2558]] ทางช่อง[[เวิร์คพอยท์ทีวี]]ได้มีการผลิตรายการเพิ่มอีกหลายรายการและหนึ่งในนั้นคือรายการเวทีทอง โดยการกลับมาออกอากาศครั้งนี้จะใช้ชื่อรายการว่า "เวทีทอง เวทีเธอ" พร้อมกับรูปแบบรายการใหม่ ฉากใหม่ พิธีกรชุดใหม่ แต่รูปแบบเกมจะยังคงใช้เกมในยุคกิ๊ก - หม่ำเช่นเดิม<ref name="gold2015"/>
ในปี [[พ.ศ. 2558]] ทางช่อง[[เวิร์คพอยท์ทีวี]]ได้มีการผลิตรายการเพิ่มอีกหลายรายการและหนึ่งในนั้นคือรายการเวทีทอง โดยการกลับมาออกอากาศครั้งนี้จะใช้ชื่อรายการว่า "เวทีทอง เวทีเธอ" พร้อมกับรูปแบบรายการใหม่ ฉากใหม่ พิธีกรชุดใหม่


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:43, 2 มกราคม 2559

เวทีทอง
ไฟล์:เวทีทอง 2532.JPG
พัฒนาโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
เสนอโดยปัญญา นิรันดร์กุล (2532)
วัชระ ปานเอี่ยม (2533-2535)
เสกสรร ชัยเจริญ (2535)
หม่ำ จ๊กมก (2535-2547)
เกียรติ กิจเจริญ (2535-2547)
ภูมิใจ ตั้งสง่า (2547-2550)
แอนดี้ เขมพิมุก (2547-2550)
เกียรติศักดิ์ อุดมนาค (2559)
แจ๊ส ชวนชื่น (ผดุง ทรงแสง) (2559)
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตปัญญา นิรันดร์กุล ประภาส ชลศรานนท์
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอ ช่อง 7 สี
สตูดิโอกรุงเทพ
สตูดิโอ เวิร์คพอยท์
ความยาวตอน60 นาที, 75 นาที (รวมโฆษณา)
ออกอากาศ
เครือข่ายไทยทีวีสีช่อง 3 ช่อง 3
(03-01-254131-07-2542)

ช่อง 5 ช่อง 5
(07-08-254213-01-2550)
ช่อง 7 ช่อง 7
(14-10-253228-12-2540)


เวิร์คพอยท์ทีวี เวิร์คพอยท์ทีวี
2559
ออกอากาศ14 ตุลาคม 2532 –
13 มกราคม 2550

เวทีทอง เป็นรายการเกมโชว์และเป็นรายการแรกของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และยุติการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อวันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2550 และกลับมาออกอากาศอีกครั้งทางเวิร์คพอยท์ทีวี เร็วๆนี้ในปี พ.ศ. 2559 [1] หลังยุติการออกอากาศนานในรอบ 9 ปี[2]

ประวัติ

รายการเวทีทอง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยรูปแบบรายการเวทีทองในยุคแรก (14 ตุลาคม - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2532) เป็นการเปิดโอกาสให้นักแสดงอาชีพหรือนักแสดงสมัครเล่นที่มีความสามารถมาแสดงอะไรก็ได้บนเวที หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นเวทีที่เป็นโอกาสทองนั่นเอง ต่อมา (1 กันยายน พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา) จึงปรับรูปแบบเป็นเกมโชว์เกี่ยวกับภาษา ซึ่งรายการเวทีทอง มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการอยู่หลายครั้ง

ชื่อรายการ

รายการเวทีทองมักจะถูกเปลี่ยนชื่อแต่ยังคงใช้คำว่า เวทีทอง และใช้ซ้ำด้วยกันโดยมีรายชื่อที่ใช้และรวมชื่อใช้ซ้ำในปีต่างๆมีดังต่อไปนี้

ผู้ดำเนินรายการ

ผู้ร่วมดำเนินรายการ

ตั้งแต่เวทีทอง 2533 ,ยุคที่ 5 และยุคซิกซ์ทีน เป็นต้นมาได้เพิ่มผู้ร่วมดำเนินรายการมาโดยส่วนมากจะมาในช่วงตอบจดหมายด้วยกันและเป็นผู้ช่วยดำเนินรายการพร้อมโชว์มุขตลกในรายการด้วย

ในวันสุดท้ายของการออกอากาศเวทีทอง (ชื่อครั้งที่ 5) ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นเวทีทองซิกซ์ทีนนั้น ได้มีการจัดเทปอำลา กิ๊กและหม่ำที่ได้ร่วมดำเนินรายการมานานกว่า 11 ปี โดยในเทปนี้ กิ๊ก และหม่ำ ต้องมาทำหน้าที่เป็นผู้เข้าแข่งขันรายการเสียเอง หลังจากที่ทำหน้าที่เป็นพิธีกรเพียงอย่างเดียว โดยมีต้อย เวทีทอง, เท่ง เถิดเทิง และ ธงชัย ประสงค์สันติ มาเป็นพิธีกรรับเชิญเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ ในช่วงสุดท้ายของรายการภายหลังจากจบช่วง Jackpot แล้ว ต้อย เวทีทองได้พาดีเจแอนดี้ และวีเจภูมิมาเปิดตัวในรายการด้วย ในฐานะพิธีกรคนใหม่ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนรูปแบบรายการมาเป็น เวทีทอง ซิกซ์ทีน ในสัปดาห์ต่อมานั่นเอง[4]

ระยะเวลาในการออกอากาศ

ชื่อรายการ สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วัน เวลา ปีที่ออกอากาศ
เวทีทอง
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เสาร์ 15.30 น. - 16.30 น.
(พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2534)
เวทีทอง Never Die
14.30 น. - 15.30 น.
(พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2538)
อาทิตย์ 11.15 น. - 12.25 น.
(พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2540)
เวทีทอง เมจิก
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เสาร์ 09.15 น. - 10.15 น.
(พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2542)
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก 11.30 น. - 12.30 น.
(พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2544)
เวทีทอง
12.00 น. - 13.00 น.
(พ.ศ. 2544-พ.ศ. 2547)
เวทีทอง ซิกซ์ทีน
14.00 น. - 15.00 น.
(พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2548)
เวทีทอง
22.00 น. - 23.00 น.
(พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2550)
เวทีทอง
เวิร์คพอยท์ทีวี จันทร์ 09.30 น. - 10.30 น.
(พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2555)
เวทีทอง Never Die
เสาร์ 14.00 น. - 15.00 น.
(พ.ศ. 2555-พ.ศ. 2556)
จันทร์ 09.30 น. - 10.30 น.
(พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2557)
เวทีทอง เวทีเธอ
เสาร์
(เริ่ม พ.ศ. 2559)
เวทีทอง
ช่อง 6 ศุกร์ 11.30 น. - 12.35 น.
(พ.ศ. 2557)

ช่วงต่างๆ ในรายการ

  1. เปิดตัวผู้เข้าแข่งขัน (นับตั้งแต่เวทีทอง เมจิก ช่วงปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมามีช่วงตอบจดหมาย ในยุคสุดท้ายจะเป็นช่วงโชว์การแสดงต่างๆ)
  2. สกัดดาวรุ่ง (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) , ภาพปริศนา (ปริศนาจ๊กมก) (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2558)
  3. คำศัพท์ปริศนา (หาดาวทอง) (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2558) , พาดหัวข่าว (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547)
  4. รอบตกรอบ (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2558)
  5. รอบ Jackpot (ชั่งทอง พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2558, เปิดป้ายชิงทอง พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2550)

เกมในเวทีทอง

ในเกมเวทีทองของแต่ละยุคนั้นจะมีช่วงแต่ละช่วง

สกัดดาวรุ่ง

เป็นเกมที่จะต้องทายคำปริศนา โดยจะมีคำใบ้ต่างๆมาในรูปของ VTR เช่น การออกเสียงคำปริศนา (ผู้พูดจะพูดคำปริศนาออกมา แต่จะถูกดูดเสียงไว้ จะสังเกตได้ที่การออกเสียงจากการขยับปากเท่านั้น), คำปริศนาจะถูกออกเสียงด้วยเครื่องดนตรีแต่ละชนิดตามคำตอบ, จำนวนพยางค์ของคำปริศนา, ที่มาของคำปริศนา เป็นต้น ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งกันกดสัญญาณไฟ โดยในช่วงปี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535 จะเป็นปุ่มไฟ 2 ปุ่มอยู่ด้านหน้า และด้านหลังของผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องวิ่งไปกดทั้ง 2 ปุ่ม ส่วนในปี พ.ศ. 2535 (และใช้จนถึงจนถึงเทปสุดท้ายของรายการ) ได้เปลี่ยนมาเป็นแท่นวงจรไฟ 25 จุดที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องขึ้นไปเหยียบแท่นวงจรไฟเพื่อให้สัญญาณไฟติด ถ้ากดสัญญาณไฟได้แล้ว ผู้ที่กดสัญญาณไฟได้จะใช้สิทธิ์ตอบเองหรือโยนให้ผู้เล่นคนอื่นตอบก็ได้ ถ้าตอบถูกจะได้เข้ารอบต่อไป หรือเป็นดาวรุ่งนั่นเอง แต่ถ้าตอบผิดจะได้คะแนน -1 หากตอบผิดจนได้คะแนน -4 (ต่อมาในปี 2535 ลดเหลือ -3) จะถือว่าตกรอบทันที หรือเป็นดาวร่วงนั่นเอง เกมนี้ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 - ปลายปี พ.ศ. 2535

ภาพปริศนา (ปริศนาจ๊กมก)

เกมนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2536 โดยจะมีภาพปริศนาอยู่ทั้งหมด 5 ภาพ โดยแต่ละภาพจะสื่อถึงคำต่าง ๆ (โดยการเล่นเกมนั้นมีที่มาจากเกมผะหมี) ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทายคำศัพท์จากภาพนั้นให้ถูกต้อง โดยก่อนอื่นจะต้องแย่งกันกระโดดบนแท่นไฟ 25 ปุ่มให้ติด (ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2537 เป็น 16 ปุ่ม และปี พ.ศ. 2547 เป็น 5 ปุ่ม) หากไฟติดที่ใคร ผู้นั้นจะได้สิทธิ์เลือกภาพจากทั้งหมด 5 ภาพ และจะมีเวลาให้ตอบในแต่ละภาพ ภาพละ 7 วินาที ถ้าตอบถูกจะได้ 1 คะแนน ใครได้ 2 คะแนนก่อนเข้ารอบทันที ทั้งนี้ ถ้าหมดเวลา 7 วินาทีแล้ว ผู้เข้าแข่งขันคนถัดไปจะมีสิทธิ์ตอบบ้าง แต่เมื่อครบ 3 คน (หรือ 2 คน หากมีผู้เข้ารอบไปแล้ว 1 คน) แล้วยังไม่มีใครตอบถูกอีก พิธีกรจะมีคำใบ้และให้ผู้เข้าแข่งขันตอบใหม่ และเกมก็จะวนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ตอบถูก โดยรอบนี้คัดเข้ารอบ 2 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ทางรายการได้เปิดโอกาสให้ผู้ชมจากทางบ้านวาดภาพคำปริศนาส่งมาใช้เป็นคำถามในรายการ ในกรณีที่ได้ 2 คะแนนทั้ง 2 คน ถือว่าเกมจะจบลงทันที โดยถ้าภาพของผู้ใดได้ถูกนำมาใช้เป็นคำถามในรายการ เจ้าของภาพจะได้รับรางวัลเป็นเงินรางวัลจากผู้สนับสนุน 3,000 บาท (ภายหลังลดเหลือเพียง 1,000 บาท) (ผู้สนับสนุนในรอบนี้ คือ ขนมอบกรอบตรา แลนโด้)

คำศัพท์ปริศนา (หาดาวทอง)

ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ 2 คนจะต้องแข่งขันกันทายคำศัพท์ปริศนา โดยจะมีชุดคำถามอยู่ 4 ชุด ชุดละ 10 ข้อ ซึ่งคำถามจะถามถึงความหมายของคำปริศนา ซึ่งโจทย์จะมาในรูปของข้อความที่สื่อถึงคำศัพท์นั้น แล้วให้ผู้เข้าแข่งขันตอบออกมาเป็นคำศัพท์ปริศนา ถ้าตอบถูกข้อแรก พยางค์เริ่มต้นของคำนั้นจะเป็นพยางค์แรกของทุกคำที่เหลือในชุดนั้น แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามข้อนั้นไม่ได้ จะต้องพูดคำว่า "ข้าม" หากว่าพิธีกรถามครบ 10 ข้อแล้ว ข้อใดที่ข้ามจะถูกนำมาถามซ้ำอีกครั้ง ทั้งนี้ เกมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 รอบ รอบละ 60 วินาที (ภายหลังเหลือเพียง 45 วินาที) ในรอบแรกตอบถูกจะได้ข้อละ 1 คะแนน และรอบที่สองตอบถูกจะได้ข้อละ 2 คะแนน หากแข่งขันครบ 4 ชุด ผู้เข้าแข่งขันคนใดมีคะแนนมากกว่า จะเข้ารอบ Jackpot และถ้าผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนเต็ม 30 คะแนนจะได้ทองคำ 1 บาท (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ SPY WINE COOLER) ถ้าหาก 2 คนมีคะแนนเท่ากัน ถือว่าเสมอ (รางวัลพิเศษเริ่มปรากฏให้เห็นชัดในช่วงกลางปี พ.ศ. 2535 และช่วงหนึ่งของปี พ.ศ. 2537 จะมอบโทรทัศน์สี 14 นิ้วยี่ห้อไดสตาร์) โดยเริ่มใช้เกมนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2545

ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541 ได้เปลี่ยนช่วงเป็นช่วงที่ 3 และเปลี่ยนคะแนนในรอบต่างๆ โดยรอบแรกตอบถูกจะได้ข้อละ 2 คะแนนและรอบที่ 2 ตอบถูกจะได้ข้อละ 4 คะแนน

และตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ในยุคของเวทีทองซิกซ์ทีนจนถึงยุติการออกอากาศ เวทีทองได้เปลี่ยนรูปแบบของรอบคำศัพท์ปริศนาเล็กน้อย จากเดิมที่ทายคำโดยมีข้อความมาให้ ได้ถูกเปลี่ยนเป็นการทายคำปริศนาจากภาพซึ่งแต่ละภาพจะสื่อความหมายเป็นคำ โดยอาจดูจากบริบทหรือบริเวณภาพที่ใกล้เคียง และเพิ่มชุดคำถามจาก 4 ชุดเป็น 6 ชุด (ภายหลังเป็น 4 ชุดตามกฎเดิม) ทั้งนี้ หากตอบถูกเป็นข้อแรก พยางค์เริ่มต้นของคำนั้นจะเป็นตัวขึ้นต้นของทุกคำที่เหลือในชุดนั้น และกฎกติกาอื่นๆ นั้นตามกฎเดิมทุกประการ

ทายคำตัวอักษร

ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541 ได้เพิ่มเกมทายคำตัวอักษร โดยก่อนที่จะเล่นนั้นจะให้เลือกแผ่นป้ายทั้ง 10 แผ่นป้ายซึ่งในแต่ละป้ายจะมีเวลา 30, 45 และ 60 วินาทีโดยป้าย 30 และ 60 อย่างละป้ายส่วนป้าย 45 จะมี 8 แผ่นป้ายโดยผู้เข้าแข่งขันเลือกแผ่นป้ายเมื่อเลือกแผ่นป้ายผู้เล่นจะได้เวลาที่กำหนดจากป้ายที่เลือกและผู้เข้าแข่งขันเลือกชุดคำอยู่ 2 ชุดเมื่อเลือกแล้วพิธีกรจะเปิดชุดคำซึ่งจะมี 10 แถวแต่ละแถวนั้นรูปตัวการ์ตูนต่างๆแทนตัวพยัญชนะทั้ง 44 ตัวด้วยกันหรือจะเป็นตัวพยัญชนะแต่เป็นตัวกลับด้านแทนและรูปภาพบุคคลต่างๆที่มีความหมาย ส่วนสระนั้นยังคงอยู่ทั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันต้องชี้รูปตัวการ์ตูนและทายตัวอักษรและตีความประโยคนั้นเมื่อหมดเวลาจะเฉลยแถวตัวอักษรที่เหลืออยู่โดยเมื่อนำมารวมกันจะได้เป็นบทความสั้นๆ และได้คะแนนตามแถวที่ได้ตอบถูก

สำหรับเกมนี้มีความคล้ายกับเกมคำศัพท์ปริศนาอยู่บางส่วนคือมี 10 ข้อและรอบของคะแนนทั้ง 2 รอบแต่มีความแตกต่างกันคือเกมนี้ไม่มีการข้ามเหมือนกับเกมคำศัพท์ปริศนา

พาดหัวข่าว

ในช่วงปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547 เกมคำศัพท์ปริศนาได้ถูกยกเลิกไปชั่วคราว และเปลี่ยนมาเป็นเกมพาดหัวข่าว โดยจะมีภาพพาดหัวข่าวจากหนังสือพิมพ์ทั้งหมด 4 ภาพ โดยแต่ละภาพนั้นข้อความหรือคำในพาดหัวข่าวจะไม่ได้เรียงเป็นประโยค ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกภาพ และจะต้องเรียงข้อความ หรือคำที่แบ่งออกมาได้ 9 คำในพาดหัวข่าวนั้นให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ โดยมีโอกาสเรียงข้อความ หรือภาพพาดหัวข่าวได้ 2 ครั้ง จะมีเวลา 30 วินาที ถ้าถูก 1 ช่อง ช่องละ 1 คะแนน (คะแนนเต็ม 9 คะแนน) ทั้งนี้ เมื่อหมดเวลาพิธีกรจะดึงคัทเอาท์เมื่อข้อความใดติดไฟจะได้คะแนน 1 คะแนน ส่วนชุดภาพข่าวจะมี 4 ชุดด้วยกันโดยแบ่ง 2 ชุดซึ่งชุดแรก (1-2) มี 1 คะแนน และชุดที่สอง (3-4) มี 2 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันคนใดทำคะแนนได้มากที่สุดจะเข้ารอบ Jackpot ต่อไป และถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดที่สามารถเรียงข้อความถูกต้องทุกตำแหน่งในครั้งแรก หรือทำคะแนนได้ถึง 27 คะแนน (ทำคะแนนเต็มในพาดหัวข่าวทั้ง 2 รอบ) จะได้รับรางวัลพิเศษเป็นทองคำหนัก 1 บาทอีกด้วย

รอบตกรอบ

ในเวทีทองนั้นได้มีเกมสำหรับคนที่ตกรอบ หรือดาวเทียมในรอบหาดาวทอง (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) , รอบคำศัพท์ปริศนา (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2558) หรือรอบพาดหัวข่าว (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547) โดยในช่วงแรก (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) จะมีสิ่งของที่เกี่ยวกับสีทองทั้งหมด 5 ชิ้น เช่น มงกุฏตกรอบ, ถ้วยรางวัลตกรอบ, สายสะพายตกรอบ, เข็มขัดมวยตกรอบ เป็นต้น ภายในนั้นจะมีทองคำซ่อนอยู่ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกสิ่งของขึ้นมา 1 ชิ้นจากทั้งหมด 3 ชิ้น และเมื่อเลือกสิ่งของนั้นได้แล้ว พิธีกรจะค้นหาทองคำ (อยู่ในรูปของโลโก้เวทีทอง) ซึ่งซ่อนอยู่ในสิ่งของนั้น โดยมูลค่าทองคำจะมี 2 สลึง, 1 บาท และ 2 บาท หากได้ทองคำมูลค่าเท่าไหร่ ผู้เล่นจะได้รับทองคำไปมูลค่าตามนั้น

ต่อมาในช่วงกลางปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2537 เกมรอบตกรอบได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยจะมีกล่องทองทั้งหมด 6 กล่อง แบ่งเป็นทอง 5 บาทจำนวน 3 กล่อง และทอง 1 สลึง จำนวน 3 กล่องเช่นกัน ซึ่งเริ่มแรก พิธีกรจะมอบกล่องซึ่งมีทองคำหนัก 1 บาทจากป้ายเวทีทองให้กับผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบ จากนั้นจะถามผู้เข้าแข่งขันว่าต้องการเล่นเกมเพื่อลุ้นรับทอง 5 บาทหรือไม่ ถ้าต้องการเล่น ต้องแลกทอง 1 บาท ซึ่งถ้าแลก ทอง 1 บาทจะถูกเก็บ และผู้เข้าแข่งขันจะได้เลือกทอง 1 ใน 6 กล่องข้างต้น แต่ถ้าไม่เล่นก็รับทอง 1 บาท (ส่วนใหญ่จะเล่นเกมนี้)

ในปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539 ได้มีการยกเลิกระบบในการแลกทอง 1 บาทโดยจะมี 10 กล่องซึ่งมีทอง 5 บาท 5 กล่องและทอง 1 บาทอย่างละ 5 กล่องโดยให้เลือกกล่องในแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 10 แผ่นป้าย

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2547 เกมรอบตกรอบได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยในรอบตกรอบจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 10 แผ่นป้ายหมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ เครื่องสำอางชีเน่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นผงชูรสอายิโนะทะกะระ ตราภูเขา) และป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย (เป็นรูปตลับแป้งแบบปิด ต่อมาเป็นรูปปากและรูปกุ๊กกิ๊ก-กุ๊กหม่ำ) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดได้ป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย ก็จะได้ทองคำครึ่งกิโลกรัม แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดได้ป้ายผู้สนับสนุนหลักก็จะได้ทองคำแค่ 10 บาทเท่านั้น (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำครึ่งกิโลกรัมทั้ง 2 รูปแบบ) ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าป้ายแรกเป็นป้ายหยุด แล้วป้ายต่อไปเป็นผู้สนับสนุนหลัก เกมจะหยุดทันทีและได้รับทองคำหนัก 1 บาทไปด้วย

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550 เกมรอบตกรอบยังแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายเช่นเดิม โดยแบ่งเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 9 แผ่นป้ายหมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่าป้ายละ 10,000 บาท) (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือ สีกัปตัน ต่อมาเป็นไบกอน และคุกกี้เดลิโอ) และป้ายหยุด 3 แผ่นป้าย (เป็นรูปกับดัก (กัปตัน) ใบแดง, ใบบัวบก (น้ำใบบัวบก) และใบหนาด (ไบกอน) และรูปการ์ตูนพิธีกร (แอนดี้, วีเจภูมิ, พัน) กินคุกกี้ (เดลิโอ) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 9 แผ่นป้ายจะได้รับทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่า 300,000 บาท) ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าเปิดเจอป้ายหยุดเป็นป้ายแรกก็จะไม่ได้ทองคำในเกมนี้เลย โดยในช่วงปี พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549 เมื่อเปิดป้ายกับดักผู้เข้าแข่งขันจะถูกขังในกรงใหญ่และได้ทองตามจำนวนที่เปิดมาได้ แต่หากป้ายแรกเป็นกับดัก ก็จะไม่ได้รับทองคำในรอบนี้ และในปี พ.ศ. 2549 เมื่อเปิดป้ายหยุดจะได้สิ่งของตามป้ายที่ได้เลือก เช่นเปิดได้ใบแดง ก็จะได้ใบแดง คล้ายกับรอบ Jackpot ของเวทีทองปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547

รอบสุดท้าย

แบ่งเป็น 2 เกม ตามยุคสมัย ดังนี้

ชั่งทอง

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของเวทีทองนั้น เป็นรอบชั่งทอง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่ใครหลายต่อหลายคนจดจำกันได้เป็นอย่างดีสำหรับรายการนี้ โดยจะเป็นการชั่งสิ่งของต่างๆ ซึ่งผู้ที่จะทำการแข่งขันในรอบนี้ คือ "ดาวทอง" (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) หรือผู้ชนะในแต่ละสัปดาห์นั้นๆ (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2545/พ.ศ. 2558) ในยุคแรก (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535/พ.ศ. 2558) มีสิ่งของที่ให้ชั่งมีทั้งหมด 15 ชิ้น ดาวทองมีโอกาสเลือกสิ่งของที่จะชั่งได้ทั้งหมด 5 ชิ้น โดยจะต้องชั่งสิ่งของนั้นให้มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ หากสามารถชั่งสิ่งของที่มีน้ำหนักเกิน 1 กิโลกรัมได้ครบ 3 จะได้รับ Jackpot เป็นทองคำหนัก 1 กิโลกรัมและเกมจบลง (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ANA) ถ้าผิดเกินที่กำหนดครั้ง เกมจะจบลงทันทีแต่ทองไม่แตก (โดยรูปแบบแรกนี้ ก่อนจะเล่น ผู้แข่งขันจะต้องเลือกแผ่นป้าย 1 แผ่นป้าย จากทั้งหมด 10 แผ่นป้าย ซึ่งสิ่งที่จะได้รับรางวัล คือของที่มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ซึ่งจะถูกใช้เป็นทุนในการที่จะไปแลกเป็นทองคำหนัก 1 กิโลกรัม หากชั่งทองสำเร็จ โดยตัวอย่างสิ่งของเช่น มะนาว 1 ถุง หนัก 1 กิโลกรัม เป็นต้น ระยะต่อมาเป็นป้ายจำนวนครั้ง เป็น 4 อยู่ 1 ป้าย 6 อยู่ 1 ป้าย เลข 5 มี 8 ป้าย) ซึ่งในรอบนี้มีผู้ทำ Jackpot แตก 3 คน

ต่อมา เวทีทองในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรอบชั่งทอง โดยก่อนชั่งทอง ผู้ที่ได้เป็นดาวทอง จะต้องมาเลือกแผ่นป้าย 1 แผ่นป้ายจากทั้งหมด 10 แผ่นป้าย ซึ่งแต่ละป้ายนั้นจะเป็นการกำหนดจำนวนครั้งที่มีโอกาสในการชั่งสิ่งของได้ โดยที่มีป้ายการชั่ง 4 ครั้งและ 6 ครั้งอย่างละ 1 แผ่นป้าย ส่วน 5 ครั้งมี 8 แผ่นป้าย เมื่อเลือกจำนวนครั้งแล้ว จะเริ่มทำการแข่งขัน ซึ่งรอบชั่งทองในครั้งนี้ จะมีสิ่งของทั้งหมด 6 ชิ้น โดยก่อนจะชั่งจริง จะให้เวลาผู้เข้าแข่งขัน 20 วินาที ในการทดสอบน้ำหนักสิ่งของทั้ง 6 ชิ้นด้วยตัวเอง เพื่อคาดคะเนน้ำหนักของสิ่งของแต่ละชิ้นนั้น จากนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกสิ่งของอย่างละ 1 ชิ้น ขึ้นมาทายน้ำหนัก โดยจะต้องทายน้ำหนักให้อยู่ในบริเวณ ขีดทอง ซึ่งเป็นบริเวณน้ำหนักที่จะถือว่าชั่งได้ถูกต้อง โดยน้ำหนักที่ผู้เข้าแข่งขันทายนั้นสามารถผิดพลาดได้ไม่เกิน 1 กิโลกรัม หรือไม่น้อยกว่า 1 กิโลกรัมจากที่ทายไว้ หากสามารถทายน้ำหนักให้อยู่ในบริเวณขีดทองได้ครบ 3 ครั้ง เกมจะหยุดลงและจะได้รับ Jackpot เป็นทองคำหนัก 1 กิโลกรัม (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ANA) แต่ทั้งนี้ ในการเล่น สามารถทายน้ำหนักผิดได้ 1, 2 หรือ 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่มีโอกาสชั่งน้ำหนักซึ่งได้จากการเปิดแผ่นป้ายช่วงแรก ถ้าผิดเกินป้ายที่กำหนดถือว่าเกมจบลงแต่ทองไม่แตก

หลังจากนั้นช่วงกลางปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรอบชั่งทอง โดยก่อนชั่งทอง ผู้ที่ได้เป็นดาวทอง จะต้องมาเลือกแผ่นป้าย 1 แผ่นป้ายจากทั้งหมด 10 แผ่นป้าย ซึ่งแต่ละป้ายนั้นจะเป็นการกำหนดของที่เลือกมาชั่ง มี 1 ดาวเพียง 1 อัน นอกนั้นเป็น 2 ดาว จากนั้น ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกของจากของเพื่อนำมาเป็นของที่มีน้ำหนักเบาหรือหนักที่สุด ซิ่งถ้าได้ 2 ดาว ต้องเลือกของ 2 ชิ้น แต่ถ้าได้ 1 ดาว ต้องเลือกของเพียงชิ้นเดียวที่เบาหรือหนักที่สุด ซึ่งหลังจากที่เลือก พิธีกรก็จะนำของที่เลือกมาชั่งและจะทำการขีดไว้ แล้วจะต้องชั่งของที่เหลือ โดยที่ของที่เหลือต้องหนักอยู่ในขีดน้ำหนักที่ขีดไว้ ถ้าชั่งครบ 4, 5 ชิ้น แล้วของอยู่ในเขตที่ขีดไว้ จะได้ทองคำหนัก 1 กิโลกรัม แต่ถ้าเกินขีดที่หนักที่สุดหรือเบาที่สุด เกมจะจบลงทันที

ในปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนรูปแบบของการชั่งทอง จากการทายน้ำหนักของสิ่งของแต่ละชิ้น มาเป็นการชั่งเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งของจากน้อยไปมาก โดยจะต้องเลือกชั่งสิ่งของให้มีน้ำหนักมากกว่าสิ่งของที่ชั่งไว้ในตอนแรก ทั้งนี้ จำนวนสิ่งของที่จะต้องชั่งน้ำหนักมาก-น้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการเปิดแผ่นป้ายในช่วงแรก ซึ่งวิธีการคล้ายคลึงกับเวทีทองในปี พ.ศ. 2535 ทว่าจะเป็นป้ายชั่งสิ่งของ 5 ชิ้นเพียงแค่แผ่นป้ายเดียว นอกนั้นเป็นการชั่งสิ่งของ 6 ชิ้นทั้งหมด โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 10 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายที่มีพีระมิดที่มีเลข 6 กำกับทั้งหมด 9 แผ่นป้าย และแผ่นป้ายที่มีพีระมิดที่มีเลข 5 กำกับทั้งหมด 1 แผ่นป้าย จากทั้งหมด 6 ชิ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2545 ได้ปรับเปลี่ยนโดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายที่มีพีระมิดที่มีเลข 6 กำกับทั้งหมด 11 แผ่นป้าย และแผ่นป้ายที่มีพีระมิดเลข 5 กำกับทั้งหมด 1 แผ่นป้าย โดยถ้าหากเปิดเจอพีระมิดที่มีหมายเลข 5 กำกับจะได้รับทองคำหนัก 1 บาทจากผู้สนับสนุนหลักก่อนเริ่มต้นเล่น โดยหากสามารถชั่งน้ำหนักได้ถูกต้อง (น้ำหนักมากขึ้น) จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท ต่อ 1 ครั้ง (ภายหลังเพิ่มเป็นทองคำหนัก 2 บาท ต่อ 1 ครั้ง ทองคำสนับสนุนโดย ลิโพ เอ็นเซ่นเจล เพียซ เฟเชียล โฟม) หากทายผิด (น้ำหนักน้อยลง) เกมจะหยุดลงและผู้เข้าแข่งขันจะได้รับทองคำตามที่ทำได้ แต่เวทีทองในปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2545 ถ้าผู้เข้าแข่งขันเลือกได้ชั่งของ 5 ชิ้น และทายได้ถูกต้อง 4 ชิ้น แต่ผิดในชิ้นสุดท้าย ชิ้นที่ 4 จะได้ทองคำหนักอีก 2 บาท (คือได้ทองคำรวม 5 บาท) แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถทายน้ำหนักได้ครบ 5 ครั้ง หรือ 6 ครั้ง (ตามจำนวนครั้งที่ได้จากการเปิดแผ่นป้าย) จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ฟิล์มโกดัก ต่อมาเป็น ห้างทองทวีชัย 5 ดัชมิลล์ ลูกอมโกปิโก้ และไบกอนตามลำดับ) โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง แต่ในบางครั้งแบ่ง ส่วนละครึ่งกิโลกรัม ให้กับผู้ชมซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษา ดารา นักดนตรีในสตูดิโอที่มาช่วยผู้เข้าแข่งขัน และอีก 1 กิโลกรัม ให้ผู้โชคดีทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง ซึ่งในรอบนี้มีผู้ทำ Jackpot แตก 5 คน แต่ทั้งหมด 7 ครั้ง

เปิดป้ายชิงทอง

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของเวทีทองจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้ายด้วยกัน ในช่วงแรก จะเป็นการเปิดป้ายเพื่อประกอบตัวอักษรเป็นข้อความ โดยจะมีตัวอักษร 2 ชุด ชุดละ 6 แผ่นป้าย ทั้งนี้ ชุดหนึ่ง จะเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อของผู้สนับสนุนหลักในเกม (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ผลิตภัณฑ์โอวัลติน) และอีกชุดหนึ่ง จะเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อรายการ เวทีทอง สำหรับเกมนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้าย 6 แผ่นป้าย ให้ได้ชุดตัวอักษรที่เป็นชื่อผู้สนับสนุนรายการหลัก ซึ่งแต่ละแผ่นป้ายที่เปิดได้จะได้ทองคำหนัก 1 บาท แต่ถ้าเปิดเจอชุดอักษร เวทีทอง จะไม่ได้รับทองคำแต่อย่างใด แต่ถ้าหากผู้เล่นสามารถเปิดเจอชุดอักษรที่ประสมกันเป็นชื่อผู้สนับสนุนรายการ (โอวัลติน) ได้ครบ 6 แผ่นป้าย และถูกตำแหน่ง จะได้รับรางวัลเป็นทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง

ในระยะเวลาต่อมาได้มีการเปลี่ยนกติกาใหม่โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อรายการ เวทีทอง 6 แผ่นป้าย และอีกชุดหนึ่ง จะเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ผลิตภัณฑ์โอวัลติน) โดยถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดได้ชุดตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อของรายการเวทีทอง และถูกตำแหน่ง จะได้รับทองคำหนัก 2 บาท แต่ถ้าเปิดได้แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับกิ๊ฟเซ็ทของผู้สนับสนุนหลักไปแผ่นป้ายละ 1 ชุด หากเปิดได้ตัวอักษรคำว่า เ ว ที ท อ ง หรือผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับรางวัลเป็นทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง

แต่ทว่าในช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 จนถึงปี พ.ศ. 2547 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยไม่มีแผ่นป้ายตัวอักษร เวทีทอง แต่เป็นการเปิดแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนรายการเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งใน 12 แผ่นป้ายนั้นจะมี 6 แผ่นป้ายจะเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ สบู่วาสลีนฮาร์โมนี) โดยมีทองคำหนักป้ายละ 2 บาท ส่วนอีก 6 แผ่นป้ายเป็นป้ายหลอก 6 แผ่นป้ายซึ่งจะมี ต้นทองพันชั่ง, ปลาทอง (แต่ในรายการจะเรียกว่า ทองหัววุ้น) ,ฝอยทอง, ทองคำเปลว, ทองเหลือง (ที่เป็นก๊อกน้ำ) และทองม้วน เป็นต้น โดยถ้าหากเปิดป้ายหลอก จะได้รับรางวัลเป็นสิ่งของซึ่งมาจากป้ายหลอกนั้น (เช่นถ้าเปิดได้ปลาทอง จะได้ปลาทอง เป็นต้น เช่นเดียวกับรอบตกรอบปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549) แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดได้แผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับรางวัล Jackpot เป็นทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง

และในเวทีทองซิกซ์ทีน และเวทีทองยุคสุดท้าย (พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบถึง 2 ครั้ง ในครั้งแรก จะเป็นการเปิดแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่ง 6 แผ่นป้ายจะเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ น้ำผลไม้ Qoo) โดยมีทองคำหนักป้ายละ 2 บาท และอีก 6 แผ่นป้าย จะเป็นแผ่นป้ายของ "คุณครู" ถ้าหากเปิดได้แผ่นป้าย "คุณครู" จะมีเสียงของ "คุณครู" ดังขึ้นในห้องส่ง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามของ "คุณครู" ให้ถูกต้อง (คำถามจะเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย) หากตอบได้ถูกต้องจะได้รับทองคำหนัก 1 สลึง ทั้งนี้ หากเปิดแผ่นป้ายได้เป็นผู้สนับสนุนรายการหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง

แต่ทว่าในช่วงเวทีทองในยุคสุดท้ายได้มีการเปลี่ยนรูปแบบโดยไม่มีแผ่นป้าย "คุณครู" แต่เป็นการเปิดแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนหลักเพียงอย่างเดียว โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งใน 12 แผ่นป้ายนั้นจะมี 9 แผ่นป้ายที่เป็นแป้ง ซึ่งมีสีต่างกันออกไป สีละ 3 แผ่นป้าย (ตามแป้งซึ่งมีขายทั้งหมด 3 สี) (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ แป้งเย็นชาวเวอร์ทูชาวเวอร์) ส่วนอีก 3 แผ่นป้ายที่เหลือจะเป็นป้ายหลอกซึ่งเป็นรูปภาพการ์ตูนของพิธีกรโดยเรียกว่าสุดหล่อสุดร้อน ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้าย 6 แผ่นป้ายให้มีสีถูกต้องตรงกับตำแหน่งของแป้งสีนั้นๆ หากเปิดได้แป้ง และถูกตำแหน่งจะได้รับทองคำหนัก 2 บาท (หรือทองคำมูลค่า 20,000 บาท) หากเปิดได้แป้ง แต่ไม่ถูกตำแหน่ง (สีไม่ตรงกัน) จะได้รับทองคำ 2 สลึง (หรือทองคำมูลค่า 5,000 บาท) แต่ถ้าหากเปิดเจอป้ายสุดหล่อสุดร้อนจะไม่ได้รับทองคำในตำแหน่งนั้น ทั้งนี้หากสามารถเปิดได้เป็นแป้งทั้ง 6 แผ่นป้าย และถูกต้องตรงตามตำแหน่งของสี จะได้รับรางวัลทองคำหนัก 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ ในช่วงที่ราคาทองคำมีมูลค่าสูงกว่าบาทละ 10,000 บาท รางวัล Jackpot ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นทองคำมูลค่า 600,000 บาทแทน

เกมเปิดป้ายชิงทอง ถูกใช้มาตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 จนกระทั่งยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2550 เพื่อทดแทนเกมชั่งทองซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาตลอด

ผู้เข้าแข่งขัน

ในเวทีทองจะมีผู้เข้าแข่งขัน 3 คนต่อสัปดาห์ ในช่วงของยุคแรกๆ ของปัญญา นิรันดร์กุล จะให้ทางบ้านมาโอกาสแสดงความสามารถ แต่ในช่วงยุคของวัชระ ปานเอี่ยมได้ปรับเปลี่ยนจากทางบ้านมาเป็นดารานักแสดงแทน ซึ่งผู้ชนะในสัปดาห์นั้นๆ จะได้รับตำแหน่ง ดาวทอง ซึ่งเปรียบเสมือนแชมป์ของรายการ ทั้งนี้ หากดาวทองสามารถรักษาตำแหน่งของตนเองไว้ได้จนครบ 3 สมัย จะได้รับรางวัลพิเศษ เป็นตั๋วเครื่องบินไปกลับกรุงเทพฯ-โตเกียว 1 ที่นั่งโดยสายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ (ANA) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นทองคำหนัก 10 บาท

อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2550 และปี พ.ศ. 2558 เวทีทองได้ยกเลิกการมี ดาวทอง และปรับเปลี่ยนมาเป็นเกมโชว์แบบสัปดาห์ต่อสัปดาห์นั่นเอง และปี พ.ศ. 2533, พ.ศ. 2538 ทางรายการได้เปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านมาร่วมเล่นเกมช่วงหนึ่ง

รางวัลที่ได้รับ

  • รางวัลเมขลา สาขารายการส่งเสริมความสามารถดีเด่น (พ.ศ. 2532)
  • รางวัลเมขลา สาขารายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น (พ.ศ. 2538)

เพลงรายการ

ในรายการเวทีทอง มีการใช้เพลงไตเติ้ลรายการหลายรูปแบบ โดยในช่วงที่วัชระ ปานเอี่ยมเป็นพิธีกร เพลงรายการจะเป็นเพลงบรรเลงแนวนิวเวฟ[ต้องการอ้างอิง] แบบยุค 80 และมีเสียงคอรัส เวทีทอง ในตอนท้าย ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนพิธีกรมาเป็นเสกสรร ชัยเจริญ และหม่ำ จ๊กมก เพลงไตเติ้ลได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นเพลงเวทีทองซึ่งเป็นรากของเพลงไตเติ้ลเวทีทองที่เป็นที่คุ้นหูในหมู่ผู้ชมรายการขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2536 เวทีทองจึงได้ใช้เพลงไตเติ้ลที่มีผู้ขับร้องเป็นครั้งแรก ซึ่งขับร้องโดยคุณ ธานินทร์ เคนโพธิ์, เกียรติ กิจเจริญ (ซูโม่กิ๊ก) และหม่ำ จ๊กมก[5] โดยเพลงไตเติ้ลในปี พ.ศ. 2536 ได้ถูกใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2545 จึงเปลี่ยนเพลงอีกครั้งเพื่อให้สอดรับกับธีมของรายการที่เปลี่ยนแปลงไปแต่หลังจากนั้นจะไม่มีเนื้อเพลงที่ร้องแต่จะมีเสียงคอรัสคำว่าเวทีทองทำให้ผู้ชมคุ้นหูเป็นอย่างมาก และในยุคเวทีทอง เมจิก ก็ได้มีการเพิ่มจังหวะเพลงแบบอินเดียเข้าไปด้วย แต่รูปแบบเพลงยังคงเหมือนเดิม และเวทีทองในปี พ.ศ. 2545 กลับใช้เพลงบรรเลงแทนแต่ทำนองรูปแบบยังคงเดิมแต่เสียงเพลงจะเป็นแนวเทคโนไซเบอร์ซึ่งเป็นแนวธีมหลักของยุคนั้นและเมื่อถึงยุคของเวทีทองซิกซ์ทีน ก็ได้มีการเปลี่ยนเพลงมาเป็นเพลงขับร้องทำนองฮิปฮอปคล้ายเสียงยุคแรก ตามสไตล์ของรายการและมีเพลงแทรกที่เข้ามาคือเพลง 16 ปี แห่งความหลังของสุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งเสมือนช่วงในระยะเวลา 16 ปีไปด้วย ส่วนเพลงบรรเลงในรายการนั้นต่างกับเวทีทองยุคก่อนๆ เป็นอย่างมากจนไม่เหลือเค้าของเวทีทองยุคก่อนๆ และในเวทีทองยุคสุดท้าย เพลงไตเติ้ลถูกใช้เป็นเพลงบรรเลงจนยุติการออกอากาศ

การยุติการออกอากาศ

ภายหลังจากยุคเวทีทองซึ่งมีเกียรติ กิจเจริญ และหม่ำ จ๊กมกเป็นพิธีกร ได้ผ่านพ้นไปแล้ว เวทีทองในยุคดีเจแอนดี้ และดีเจภูมินั้น กระแสความนิยมเริ่มลดลง แม้ว่าในช่วงซิกซ์ทีนจะยังคงได้รับความนิยมอยู่ก็ตาม ทั้งนี้ องค์ประกอบหลายๆ ด้าน ตลอดจนกระแสของรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลทำให้รายการเวทีทอง ได้รับผลกระทบอย่างมาก[6] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกย้ายเวลามาอยู่ในวันเสาร์ เวลา 22.00 น.

การกลับมาออกอากาศอีกครั้ง

ในปี พ.ศ. 2558 ทางช่องเวิร์คพอยท์ทีวีได้มีการผลิตรายการเพิ่มอีกหลายรายการและหนึ่งในนั้นคือรายการเวทีทอง โดยการกลับมาออกอากาศครั้งนี้จะใช้ชื่อรายการว่า "เวทีทอง เวทีเธอ" พร้อมกับรูปแบบรายการใหม่ ฉากใหม่ พิธีกรชุดใหม่

อ้างอิง

  1. เวทีทอง เวทีเธอ มกราคมนี้ ช่องWorkpoint
  2. 2.0 2.1 2.2 กลับมาแล้ว!! เวทีทอง 2015
  3. http://www.ryt9.com/s/prg/131373/ เวทีทอง ซิกซ์ทีน (16th) หม่ำ เยือนเวทีทอง ซิกซ์ทีน ชื่นชม น้องใหม่ แอนดี้ - ภูมิ เก่ง ไม่ผิดหวัง
  4. http://www.ryt9.com/s/prg/128669 16 ปี​แห่ง​ความหลัง ทีมงาน​ทำ​เซอร์​ไพร์ส จับกิ๊ก - หม่ำลง​เล่น​เกม ชิง​แจ๊คพอต​เวทีทอง
  5. http://www.youtube.com/watch?v=XFArgroaw1c เพลงไตเติ้ลรายการเวทีทอง
  6. จวก'เวทีทอง' ภาษาไทยอ่อน