ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพรหม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
และยัง[[ความเชื่อ|เชื่อด้วยว่า]]พระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลใน[[วรรณะ (ศาสนาฮินดู)|วรรณะ]]ต่าง ๆ จาก[[อวัยวะ]]แต่ละส่วน ได้แก่ [[พราหมณ์|วรรณะพราหมณ์]] เกิดจากพระโอษฐ์, [[กษัตริย์|วรรณะกษัตริย์]] เกิดจากอก, วรรณะแพศย์ เกิดจากส่วนท้อง และวรรณะศูทร เกิดจากเท้า<ref>[http://www.montradevi.org/customize-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1-66182-1.html ประวัติพระพรหม]</ref>
และยัง[[ความเชื่อ|เชื่อด้วยว่า]]พระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลใน[[วรรณะ (ศาสนาฮินดู)|วรรณะ]]ต่าง ๆ จาก[[อวัยวะ]]แต่ละส่วน ได้แก่ [[พราหมณ์|วรรณะพราหมณ์]] เกิดจากพระโอษฐ์, [[กษัตริย์|วรรณะกษัตริย์]] เกิดจากอก, วรรณะแพศย์ เกิดจากส่วนท้อง และวรรณะศูทร เกิดจากเท้า<ref>[http://www.montradevi.org/customize-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1-66182-1.html ประวัติพระพรหม]</ref>


ถึงแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในตรีมูรติ แต่ทว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้าที่ผู้คนให้การบูชาน้อยมากเมื่อเทียบกับเทพองค์อื่น ๆ โดยในอินเดีย มีเทวสถานสำหรับบูชาพระพรหมเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น โดยเทวสถานที่เป็นรู้จักดีอยู่ที่ ตำบลบุษกร แคว้นอาชมีร์ มัธยมประเทศ (ปัจจุบันคือ เมืองอาชมีร์ [[รัฐราชสถาน]]<ref>{{cite web|url=https://www.thairath.co.th/content/519534|title=บุตรแห่งพรหม|date=21 August 2015|accessdate=22 August 2015|publisher=ไทยรัฐ}}</ref><ref>{{Cite book|last= Bradnock|first=Robert|author2=Roma Bradnock|title= Rajasthan & Gujarat Handbook: The Travel Guide|work=Pushkar|page=161|accessdate=2010-01-26|url=http://books.google.co.in/books?id=PDxkoeRKFhgC&pg=PA161&dq=Pushkar&lr=&cd=28#v=onepage&q=Pushkar&f=false|publisher= Footprint Travel Guides|year=2001|isbn= 1-900949-92-X}}</ref>)
ในบรรดาตรีมูรติ พระพรหมถือเป็นเทพเจ้าที่มีผู้เคารพบูชามาก่อนเทพเจ้าองค์อื่น ๆ มีหลักฐานตั้งแต่ก่อนยุค[[พุทธกาล]]<ref>{{cite web|url=http://www.thairath.co.th/content/547053|title=พระ (นารายณ์) มาโปรด|date=11 December 2015|accessdate=13 December 2015|publisher=ไทยรัฐ}}</ref> แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในตรีมูรติ ทว่าพระพรหมกลับเป็นเทพเจ้าที่ผู้คนให้การบูชาน้อยมากในบรรดาตรีมูรติและเทพองค์อื่น ๆ โดยในอินเดีย มีเทวสถานสำหรับบูชาพระพรหมเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น โดยเทวสถานที่เป็นรู้จักดีอยู่ที่ ตำบลบุษกร แคว้นอาชมีร์ มัธยมประเทศ (ปัจจุบันคือ เมืองอาชมีร์ [[รัฐราชสถาน]]<ref>{{cite web|url=https://www.thairath.co.th/content/519534|title=บุตรแห่งพรหม|date=21 August 2015|accessdate=22 August 2015|publisher=ไทยรัฐ}}</ref><ref>{{Cite book|last= Bradnock|first=Robert|author2=Roma Bradnock|title= Rajasthan & Gujarat Handbook: The Travel Guide|work=Pushkar|page=161|accessdate=2010-01-26|url=http://books.google.co.in/books?id=PDxkoeRKFhgC&pg=PA161&dq=Pushkar&lr=&cd=28#v=onepage&q=Pushkar&f=false|publisher= Footprint Travel Guides|year=2001|isbn= 1-900949-92-X}}</ref>)


ในคติของ[[ชาวไทย]]ที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร"<ref name="กเนศ">[http://www.sil5.net/index.asp?catid=2&contentID=10000004&getarticle=72&title=%BE%C3%D0%BE%C3%CB%C1 พระพรหม]</ref> และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.baanjomyut.com/library_2/tradition_and_phanom_rung/03.html|title=
ในคติของ[[ชาวไทย]]ที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร"<ref name="กเนศ">[http://www.sil5.net/index.asp?catid=2&contentID=10000004&getarticle=72&title=%BE%C3%D0%BE%C3%CB%C1 พระพรหม]</ref> และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.baanjomyut.com/library_2/tradition_and_phanom_rung/03.html|title=

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:39, 13 ธันวาคม 2558

พระพรหม
ब्रह्मा
ตำแหน่งเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์
จำพวกตรีมูรติ
สัตว์พาหนะหงส์ หรือ ห่าน
คู่ครองสรัสวดี
ศาสนา/ลัทธิพราหมณ์-ฮินดู

พระพรหม (อังกฤษ: Brahma; เตลูกู: బ్రహ్మ; สันสกฤต: ब्रह्मा; เทวนาครี: ब्रह्मा) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ เป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตา เป็นผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท[1]

พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้

ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ [2]

และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ เกิดจากพระโอษฐ์, วรรณะกษัตริย์ เกิดจากอก, วรรณะแพศย์ เกิดจากส่วนท้อง และวรรณะศูทร เกิดจากเท้า[3]

ในบรรดาตรีมูรติ พระพรหมถือเป็นเทพเจ้าที่มีผู้เคารพบูชามาก่อนเทพเจ้าองค์อื่น ๆ มีหลักฐานตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาล[4] แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในตรีมูรติ ทว่าพระพรหมกลับเป็นเทพเจ้าที่ผู้คนให้การบูชาน้อยมากในบรรดาตรีมูรติและเทพองค์อื่น ๆ โดยในอินเดีย มีเทวสถานสำหรับบูชาพระพรหมเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น โดยเทวสถานที่เป็นรู้จักดีอยู่ที่ ตำบลบุษกร แคว้นอาชมีร์ มัธยมประเทศ (ปัจจุบันคือ เมืองอาชมีร์ รัฐราชสถาน[5][6])

ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร"[1] และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย[7]

ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น[8] ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่"[9]

โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร" เป็นต้น[8]

นิยามของ พรหม ใน ภควัทคีตา (บทเพลงแห่งองค์ภควันต์)

สิ่งที่บุคคลควรรู้สูงสุดคือ พรหม
พรหมคือสภาวะอันสูงสุด ไม่มีเบื้องต้น ไม่เป็นทั้งสิ่งมีอยู่และสิ่งไม่มีอยู่
พรหมหยั่งรู้ถึง อารมณ์ โลภ โกรธ หลง แต่พรหมปราศจากอารมณ์เหล่านั้น
พรหมไม่มีความยึดมั่นในสรรพสิ่ง
พรหมคือสภาวะอยู่เหนือความดีและความชั่ว
พรหมมิอาจหยั่งรู้ได้ด้วยการคิดและใช้เหตุผล
พรหมคือแสงสว่างเหนือแสงสว่างทั้งปวง

พระพรหม ในคติพระพุทธศาสนา

พรหมในคติพุทธศาสนา: พรหมชั้น "รูปพรหม" ในไตรภูมิพระร่วง ฉบับกรุงธนบุรี

ในคติพุทธศาสนา พระพรหม เป็นชาวสวรรค์ชั้นสูงขั้นหนึ่งที่สูงกว่าเทวดาทั่วไป เรียกว่า "พรหม" พระพรหมยังอยู่ในกามาวจรภพ มีการวนเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ แต่ในภพชาติก่อนจุติและปฏิสนธิเป็นพรหมมีกุศลมาก มีฌาณสมาบัติเป็นอารมณ์ เมื่อตายจึงไปเกิดที่สวรรค์ชั้นนี้) อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม (พรหมภูมิ)

พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด 16 ชั้น และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม

"พระพรหม" ในทางพระพุทธศาสนา เป็น "พระพรหมผู้วิเศษ" ล้วนแต่บุรุษเพศทั้งสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตว์ในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องมีการถ่ายคูตรมูถ คืออุจจาระ ปัสสาวะอันลามกเหม็นร้าย สรีระร่างกายหน้าตาแห่งบรรดาพระพรหมนั้น มีสัณฐานกลมเกลี้ยงสวยงามนัก มีรัศมีออกจากกายตัวเลื่อม ประภัสสรรุ่งเรืองกว่ารัศมีพระอาทิตย์ และพระจันทร์ หลายพันเท่า เพียงแต่หัตถ์หนึ่งเล่าอันพระพรหมทั้งหลายเหยียดยื่นออกไปหวังจะให้ส่อง รัศมีไปทั่วห้วงจักรวาลก็ย่อมจักทำได้ อวัยวะร่างกายที่ต่อกัน คือ หัวเข่าก็ดี แขนก็ดี มีสัณฐานกลมเกลี้ยงเรียบงามนัก จักได้เห็นที่ต่อกันนั้นหามิได้ เกศเกล้าแห่งพระพรหมทั้งหลายนั้นงามนัก ปรากฏโดยมากมีศีรษะประดับด้วยชฎา สถิตย์เสวยสุขพรหมสมบัติอยู่ ณ พรหมภูมิที่ตนอุบัติตราบจน กว่าจะสิ้นอายุ ซึ่งเป็นเวลานานแสนนาน

(เป็นผู้วิเศษ ที่มีแต่เพศชาย ไม่ต้องกินดื่มอาหารใดๆ เหมือนสัตว์ในภูมิอื่นๆ จึงไม่ต้องมีการขับถ่ายของเสีย พระพรหมมีใบหน้ากลมเกลี้ยง มีแสงจากกายที่ส่องสว่างกว่าแสงพระอาทิตย์ และแสงพระจัทร์เป็นหลายพันเท่า โดยพิจารณาเพียงฝ่ามือข้างเดียวของพระพรหมที่แบออกนั้น ก็สามารถส่องแสงสว่างไปทั่วจักรวาลได้ อวัยวะใดๆที่ต้องมีรอยต่อกัน (เช่น บริเวณแขน ที่มีศอก และรอยพับ เชื่อมระหว่างแขนบน และแขนล่าง) ก็เกลี้ยง เรียบเนียน เส้นผมก็สวยงามมาก ซึ่งโดยมากจะมีชฏาประดับบนศีรษะ และอยู่เสวยสุขในชั้นพรหมของตนเอง จนกว่าจะสิ้นอายุขัย ซึ่งก็เป็นเวลาแสนนาน)

พรหมอุบัติ (ในทางพระพุทธศาสนา) พระพรหม เกิดจากท่านผู้มีความเพียรกล้า ทรงไว้ซึ่งปัญญาเกินสามัญชน ปรารถนาจะพ้นจากกิเลสานุสัย เพราะเห็นว่ามีโทษพาให้ ยุ่งนัก ใคร่จักห้ามจิตมิให้ตกอยู่ในอำนาจกิเลส จึงสู้อุตสาหะพยายามบำเพ็ญสมถภาวนา ตามที่ท่านบุรพาจารย์สั่งสอนกันสืบๆ มา บางพวกเป็นชีป่าดาบส บางพวก ทรงพรตเป็นโยคี ฤๅษีในสมัยที่มีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ในโลก บางพวกก็เป็นพระภิกษุสามเณร ต่างบำเพ็ญสมถภาวนา จนได้สำเร็จฌาน ครั้นถึงกาลกิริยาตายจากมนุษย์โลก จึงตรงไปอุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่สุขไม่มีเรื่องกามเข้าไปเกี่ยวข้อง ตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุเป็นพระพรหมผู้วิเศษ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 พระพรหม
  2. "พระพรหม". ไทยรัฐ. 30 March 2014. สืบค้นเมื่อ 30 March 2014.
  3. ประวัติพระพรหม
  4. "พระ (นารายณ์) มาโปรด". ไทยรัฐ. 11 December 2015. สืบค้นเมื่อ 13 December 2015.
  5. "บุตรแห่งพรหม". ไทยรัฐ. 21 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
  6. Bradnock, Robert; Roma Bradnock (2001). Rajasthan & Gujarat Handbook: The Travel Guide. Pushkar. Footprint Travel Guides. p. 161. ISBN 1-900949-92-X. สืบค้นเมื่อ 2010-01-26.
  7. "ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง". บ้านจอมยุทธ์. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
  8. 8.0 8.1 พรหม จากสนุกดอตคอม
  9. สุจิตต์ วงษ์เทศ. "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน ?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549, หน้า 104
  • นิตย์ จารุศร (รวบรวม และ เรียบเรียง). สารธรรม. กรุงเทพฯ : เหรียญบุญ การพิมพ์, 2547.
  • พระพานิช ญาณชีโว. ไตรภูมิพระร่วง (ฉบับย่อความ). กรุงเทพฯ : ตรงหัว,, 2539.
  • เสฐียรโกเศศ. ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ในพญาลิไทย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2545.
  • เสฐียรโกเศศ. เล่าเรื่องในไตรภูมิ. ธนบุรี : โรงพิมพ์อักษรเพชรเกษม, 2512.