ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิลปินแห่งชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Javanica (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Javanica (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 58: บรรทัด 58:
'''วันศิลปินแห่งชาติ''' ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ซึ่งนับถือกันว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปกรรม ทรงอุปถัมภ์บำรุงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ตลอดจนทรงส่งเสริมเชิดชูศิลปินผู้มีฝีมือมาตลอดรัชสมัยพระองค์ เพื่อรำลึกถึงพระองค์ [[คณะรัฐมนตรี]]จึงมีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ
'''วันศิลปินแห่งชาติ''' ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ซึ่งนับถือกันว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปกรรม ทรงอุปถัมภ์บำรุงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ตลอดจนทรงส่งเสริมเชิดชูศิลปินผู้มีฝีมือมาตลอดรัชสมัยพระองค์ เพื่อรำลึกถึงพระองค์ [[คณะรัฐมนตรี]]จึงมีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ


การมีวันศิลปินแห่งชาตินั้น สืบเนื่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติต้องการให้นานาอารยประเทศยอมรับการมีชื่อเสียงเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีอารยธรรม วัฒนธรรมเทียบเท่ากับนานาอารยประเทศ จึงจัดให้มีการประกาศศิลปินแห่งชาติขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2527 เพื่อจัดทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ และสรรหาบุคคลผู้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะด้วยความอุตสาหะ และมีผลงานปรากฏต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องยาวนาน แล้วยกย่องเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจะนำศิลปินแห่งชาติเข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] หรือ[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ผู้แทนพระองค์ เพื่อรับพระราชทานเข็มและโล่เชิดชูเกียรติ ในวันวันศิลปินแห่งชาติทุก ๆ ปี
การมีวันศิลปินแห่งชาตินั้น สืบเนื่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติต้องการให้นานาอารยประเทศยอมรับการมีชื่อเสียงเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีอารยธรรม วัฒนธรรมเทียบเท่ากับนานาอารยประเทศ จึงจัดให้มีโครงการประกาศศิลปินแห่งชาติขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2527 เพื่อจัดทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ และสรรหาบุคคลผู้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะด้วยความอุตสาหะ และมีผลงานปรากฏต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องยาวนาน แล้วยกย่องเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจะนำศิลปินแห่งชาติเข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] หรือ[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ผู้แทนพระองค์ เพื่อรับพระราชทานเข็มและโล่เชิดชูเกียรติ ในวันวันศิลปินแห่งชาติทุก ๆ ปี


อนึ่ง ในวันศิลปินแห่งชาติ ทางราชการยังจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติและศิลปะพื้นบ้านขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่ โดยให้[[ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด]]และ[[ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอ]]รับผิดชอบดำเนินการ โดยจัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2529
อนึ่ง ในวันศิลปินแห่งชาติ ทางราชการยังจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติและศิลปะพื้นบ้านขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่ โดยให้[[ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด]]และ[[ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอ]]รับผิดชอบดำเนินการ โดยจัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2529

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:17, 24 พฤศจิกายน 2558

ไฟล์:National artist pin1.jpg
เข็มเครื่องหมายศิลปินแห่งชาติ

ศิลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึงศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม

นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติ (พ.ศ. 2528) จนถึง พ.ศ. 2556 ได้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติรวมแล้ว 246 ท่าน เสียชีวิตไปแล้ว 101 ท่าน และมีชีวิตอยู่ 145 ท่าน[1]

ประวัติ

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้เริ่มจัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2527 เพื่อสรรหา เชิดชูเกียรติ ส่งเสริมสนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีคุณค่าของแผ่นดินไทย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติจากผลงาน มีการประกาศรางวัลศิลปินแห่งชาติ ครั้งแรก พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันศิลปินแห่งชาติ"

คุณสมบัติ และ หลักเกณฑ์การคัดเลือก

คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ 7 ประการ คือ

  1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย และยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
  2. เป็นผู้มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะในแต่ละแขนง
  3. เป็นผู้สร้างสรรค์ พัฒนาศิลปะ และสืบสานศิลปะ ในแต่ละแขนงจนถึงปัจจุบัน
  4. เป็นผู้ผดุง และถ่ายทอดศิลปะในแต่ละแขนง
  5. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแต่ละแขนงอยู่ในปัจจุบัน
  6. เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรักในงานศิลปะวิชาชีพ
  7. เป็นผู้มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และมนุษยชาติ

สาขาของศิลปินแห่งชาติ

มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกจำแนกศิลปินแห่งชาติออกเป็น 4 สาขาคือ

1. สาขาศิลปะทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติ หรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์ และมีเอกลักษณ์โดดเด่น ดังต่อไปนี้

  • จิตรกรรม หมายถึง ภาพเขียน ภาพสี และภาพลายเส้น
  • ปฏิมากรรม หมายถึง งานปั้น และแกะสลัก
  • ภาพพิมพ์ หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ หรือโลหะ ฯลฯ
  • ภาพถ่าย หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่นำเสนอด้วยการสื่ออารณ์และความรู้สึก
  • สื่อประสม หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธี และเทคนิคต่าง ๆ อย่างอิสระ

2. สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม หมายถึง งานออกแบบสถาปัตยกรรม งานออกแบบและงานก่อสร้างต่าง ๆ เช่น อาคารสวยงาม เครื่องบิน เรือ รถยนต์ อุทยาน สวน สวนสนุก เครื่องเล่นสวนสนุก มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

3. สาขาศิลปะการแสดง หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิม หรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่

  • การละคร ประกอบด้วย ละครรำ รำฟ้อน ระบำ รำเซิ้ง เช่น โนห์รา ชาตรี ระบำแขก ฯลฯ ละครร้อง โขน ลิเก ระบำแขก ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เช่น หุ่นเชิด หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้อง หรือบทละครรำ (เพื่อการแสดง)
  • การดนตรี แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล
    • นักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องดนตรี
    • นักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับ และ/หรือสามารถแหล่ทำนองต่าง ๆ ได้ (แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม)
    • นักประพันธ์เพลง ประพันธ์คำร้อง ทำนอง จังหวะ ทั้งทางร้อง และทางดนตรี
    • ผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น
    • ผู้ผลิตเครื่องดนตรี
  • การแสดงพื้นบ้าน ประกอบด้วย หมอลำ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ

4. สาขาวรรณศิลป์ หมายถึง บทประพันธ์ที่ ทำให้เกิดจินตนาการ เห็นเป็นภาพมโนคติ ภาพลักษณ์ ความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น บันเทิงคดี สำหรับเด็ก และเยาวชน อาทิ วรรณกรรมเยาวชน หนังสือเด็กที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง

รายชื่อศิลปินแห่งชาติ

สิทธิประโยชน์ และตอบแทนที่ได้รับจากทางราชการ

ผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติจะได้รับสิทธิประโยชน์ตอบแทนจากกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรม [2] ได้แก่

  • เงินตอบแทนรายเดือนตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ 20,000 บาทต่อเดือน
  • สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัวตามระเบียบราชการ ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • เงินช่วยเหลือประสบสาธารณภัยเท่าที่เสียหายจริง ไม่เกิน 50,000 บาทต่อครั้ง
  • ค่าของเยี่ยมผู้ป่วย (เฉพาะผู้ป่วยที่เป็นศิลปินแห่งชาติ) หรือในโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 3,000 บาทต่อครั้ง
  • เงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพ 20,000 บาท
  • ค่าเครื่องเคารพศพตามประเพณีที่เหมาะสมเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 3,000 บาท
  • เงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 150,000 บาท

วันศิลปินแห่งชาติ

วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งนับถือกันว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปกรรม ทรงอุปถัมภ์บำรุงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ตลอดจนทรงส่งเสริมเชิดชูศิลปินผู้มีฝีมือมาตลอดรัชสมัยพระองค์ เพื่อรำลึกถึงพระองค์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ

การมีวันศิลปินแห่งชาตินั้น สืบเนื่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติต้องการให้นานาอารยประเทศยอมรับการมีชื่อเสียงเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีอารยธรรม วัฒนธรรมเทียบเท่ากับนานาอารยประเทศ จึงจัดให้มีโครงการประกาศศิลปินแห่งชาติขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2527 เพื่อจัดทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ และสรรหาบุคคลผู้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะด้วยความอุตสาหะ และมีผลงานปรากฏต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องยาวนาน แล้วยกย่องเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจะนำศิลปินแห่งชาติเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้แทนพระองค์ เพื่อรับพระราชทานเข็มและโล่เชิดชูเกียรติ ในวันวันศิลปินแห่งชาติทุก ๆ ปี

อนึ่ง ในวันศิลปินแห่งชาติ ทางราชการยังจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติและศิลปะพื้นบ้านขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่ โดยให้ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดและศูนย์วัฒนธรรมอำเภอรับผิดชอบดำเนินการ โดยจัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2529

อ้างอิง

  1. ประชาชาติธุรกิจ. "เชิดชู ′ช่วง มูลพินิจ -โสภาค สุวรรณ-แอ๊ด คาราบาว -บานเย็น รากแก่น′เป็นศิลปินแห่งชาติปี56" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1389876767 2557. สืบค้น 16 มกราคม 2557.
  2. โพสต์ทูเดย์. "วินทร์-แอ๊ด คาราบาว"ขึ้นแท่นศิลปินแห่งชาติ" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.posttoday.com/ 2557. สืบค้น 17 มกราคม 2557.

แหล่งข้อมูลอื่น