ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เงินยาง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Porntep Kamonpetch (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5096359 สร้างโดย CommonsDelinker (พูดคุย)
Supotmails (คุย | ส่วนร่วม)
→‎เหตุการณ์: แก้คำผิด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
หลังจากนั้นในสมัย[[พระเจ้าลาวเคียง]] พระองค์ได้สร้าง'''เมืองเงินยาง''' หรือ '''เมืองเชียงแสน''' หรือตรงเวียงเชียงแสนในปัจจุบัน และย้ายเข้าไปปกครองที่นั่น มีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องมาอีกถึง 621 ปี รวม 24 รัชกาล
หลังจากนั้นในสมัย[[พระเจ้าลาวเคียง]] พระองค์ได้สร้าง'''เมืองเงินยาง''' หรือ '''เมืองเชียงแสน''' หรือตรงเวียงเชียงแสนในปัจจุบัน และย้ายเข้าไปปกครองที่นั่น มีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องมาอีกถึง 621 ปี รวม 24 รัชกาล


ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อ [[พญาลาวเมง]] พระบิดาของ [[พญามังราย]] สร้างเมืองเชียงราย และ พญามังรายขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์ที่ 25 ของหิรัญนครเงินยางเชียงแสนในปี [[พ.ศ. 1805]] พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำริ่จะรวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันให้เป็นปึกแผ่น
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อ [[พญาลาวเมง]] พระบิดาของ [[พญามังราย]] สร้างเมืองเชียงราย และ พญามังรายขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์ที่ 25 ของหิรัญนครเงินยางเชียงแสนในปี [[พ.ศ. 1805]] พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำริจะรวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันให้เป็นปึกแผ่น


เมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราช พระองค์ก็ได้โปรดให้เมืองเชียงราย เป็นราชธานีแห่งใหม่ เป็นการสิ้นสุด[[ราชวงศ์ลวจักรราช]] แห่ง หิรัญนครเงินยาง เริ่มต้น [[ราชวงศ์มังราย]] แห่ง[[อาณาจักรล้านนา]]
เมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราช พระองค์ก็ได้โปรดให้เมืองเชียงราย เป็นราชธานีแห่งใหม่ เป็นการสิ้นสุด[[ราชวงศ์ลวจักรราช]] แห่ง หิรัญนครเงินยาง เริ่มต้น [[ราชวงศ์มังราย]] แห่ง[[อาณาจักรล้านนา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:51, 23 พฤศจิกายน 2558

หิรัญนครเงินยางเชียงราว[1] หรือ หิรัญนครเงินยางเชียงแสน (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอาณาจักรหนึ่งในประเทศไทย

เหตุการณ์

หลังจากเวียงปรึกษาได้ปกครองพื้นที่แถวๆนั้นได้ 93 ปี ก็เป็นอันอวสานของเวียง เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 1181 พระยากาฬวรรณดิศราช หรือ พญาอนิรุทธ กษัตริย์ แห่งทวารวดีได้เสด็จขึ้นมาสนับสนุนพญาลวจักรราช ผู้มีเชื้อสายของปู่เจ้าลาวจก หรือผู้ที่ขายดอยตุงให้นครโยนกนาคพันธุ์ สร้างพระธาตุดอยตุง ขึ้นเป็นกษัตริย์ ของเวียงปรึกษา พญาลวจักรราช จึงตั้งชื่อให้ราชวงศ์ใหม่ของพระองค์นี้ว่า ราชวงศ์ลวจักรราช หรือ ราชวงศ์ลาว

หลังจากขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์จึงทรงเปลี่ยนนาม จากเวียงปรึกษา เป็นเมืองหิรัญนคร โดยมีศูนย์กลางอยู่แถวๆแถบแม่น้ำสาย และดอยตุง ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าลาวเคียง พระองค์ได้สร้างเมืองเงินยาง หรือ เมืองเชียงแสน หรือตรงเวียงเชียงแสนในปัจจุบัน และย้ายเข้าไปปกครองที่นั่น มีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องมาอีกถึง 621 ปี รวม 24 รัชกาล

ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อ พญาลาวเมง พระบิดาของ พญามังราย สร้างเมืองเชียงราย และ พญามังรายขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์ที่ 25 ของหิรัญนครเงินยางเชียงแสนในปี พ.ศ. 1805 พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำริจะรวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันให้เป็นปึกแผ่น

เมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราช พระองค์ก็ได้โปรดให้เมืองเชียงราย เป็นราชธานีแห่งใหม่ เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์ลวจักรราช แห่ง หิรัญนครเงินยาง เริ่มต้น ราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา

พระยาลวจักรราช

พระยาลวจักรราช นั้น คาดว่าเดิมมีอำนาจอยู่ในเมืองเชียงลาว บริเวณดอยตุง และ แม่น้ำสาย ต่อมาจึงได้ขยายมาสู่เมืองเงินยาง หรือเงินยัง ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พระองค์ มีราชบุตร ๓ พระองค์ ได้แก่ ลาวครอบ ลาวช้าง และ ลาวเก๊าแก้วมาเมือง โดยให้บุตรของพระองค์ครองเมืองดังนี้

กษัตริย์ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์สืบต่อมาถึง 24 องค์ ในระหว่างนั้นหลายองค์ได้มีการส่งราชบุตรของตนออกไปครองเมืองต่าง ๆ เช่น พะเยา เชียงของ เชียงคำ ล้านช้าง น่าน ฯลฯ ดังนั้น เมืองทั้งหลายเหล่านี้จึงเป็นเครือญาติกัน

รายพระนามกษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงแสน

ยุคเมืองหิรัญนคร

  1. พญาลวจักราช (ลาวจก)
  2. พญาลาวเก๊าแก้วมาเมือง
  3. พญาลาวเส้า (ลาวเสา)
  4. พญาลาวตัง (ลาวพัง)
  5. พญาลาวกลม (ลาวหลวง)
  6. พญาลาวเหลว
  7. พญาลาวกับ
  8. พญาลาวคิม (ลาวกิน)

ยุคเมืองเงินยาง

  1. พญาลาวเคียง
  2. พญาลาวคิว
  3. พญาลาวเทิง (ลาวติง)
  4. พญาลาวทึง (ลาวเติง)
  5. พญาลาวคน
  6. พญาลาวสม
  7. พญาลาวกวก (ลาวพวก)
  8. พญาลาวกิว (ลาวกวิน)
  9. พญาลาวจง
  10. พญาจอมผาเรือง
  11. พญาลาวเจิง (ลาวเจื๋อง)
  12. พญาลาวเงินเรือง
  13. พญาลาวซิน (ลาวชื่น)
  14. พญาลาวมิง
  15. พญาลาวเมือง (ลาวเมิง)
  16. พญาลาวเมง (พระบิดาพญามังราย แห่งล้านนา)

อ้างอิง

  1. ประเสริฐ ณ นคร. (2549, กุมภาพันธ์). ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 267.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น