ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชัยสิทธิ์ ชินวัตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ลบ|ประวัติผิด}}
{{ผู้นำประเทศ
{{ผู้นำประเทศ
| name = ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
| name = ชัยสิทธิ์ ชินวัตร

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:46, 16 พฤศจิกายน 2558

ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
ไฟล์:ชัยสิทธิ์ ชินวัตร.jpg
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548
ก่อนหน้าพล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์
ถัดไปพล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547
ก่อนหน้าพล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์
ถัดไปพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 (78 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางวีณา ชินวัตร (สุขสภา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย
กองทัพไทย
ประจำการพ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2548
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
บังคับบัญชาผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ผู้บัญชาการทหารบก

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร (เกิด 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488) ประธานกรรมการ บมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์, รองประธานกรรมการ บมจ.ธนาคารทหารไทย, กรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ที่ปรึกษาคณะกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย, อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตนายกสมาคมฟันดาบแห่งประเทศไทย

ประวัติ

พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร มีชื่อเล่นว่า "ตุ้ย" เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของ พ.อ. (พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตร และนางทวี ชินวัตร สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2503 หลังจากนั้นได้สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 5 และได้เลือกเข้าศึกษาต่อเป็นนักเรียนนายร้อย (จปร.รุ่นที่ 16 ) ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยเลือกเหล่าทหารช่าง จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2511 และได้รับพระราชทานยศเป็น ว่าที่ ร.ต.ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดทหารช่าง สังกัดกองพันทหารช่างที่ 4 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็นพี่ชายเรืออากาศเอกประวิตร ชินวัตร อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ [1] บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ต่อมา พล.อ.ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28

การศึกษา

  • มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดรุณาราชบุรี
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี

การศึกษาทางทหาร

  • พ.ศ. 2506 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 5
  • พ.ศ. 2512 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที 16
  • พ.ศ. 2522 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 57
  • พ.ศ. 2541 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40

ต่างประเทศ

  • พ.ศ. 2519 หลักสูตรชั้นนายพันทหารช่าง ฟอร์ท เบลวัว เวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ตำแหน่งที่สำคัญทางทหาร

  • พ.ศ. 2512 ผู้บังคับหมวดกองพันทหารช่างที่ 4
  • พ.ศ. 2516 ผู้บังคับกองร้อยทหารช่าง กองพันทหารช่างที่ 4
  • พ.ศ. 2517 นายทหารส่งกำลังกองพันทหารช่างที่ 3
  • พ.ศ. 2518 ครูโรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง
  • พ.ศ. 2521 ผู้บังคับกองร้อย โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง
  • พ.ศ. 2522 ผู้ช่วยหัวหน้ากองส่งกำลัง กองทัพภาคที่ 3
  • พ.ศ. 2524 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองแผนและโครงการ กองบัญชาการช่วยรบที่ 3
  • พ.ศ. 2525 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันทหารช่างที่ 112
  • พ.ศ. 2526 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กรมทหารช่างที่ 11
  • พ.ศ. 2528 เสนาธิการกรมทหารช่างที่ 11
  • พ.ศ. 2530 รองผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 11
  • พ.ศ. 2533 ผู้บังคับการกรมพัฒนาที่ 4 กองพลพัฒนาที่ 4
  • พ.ศ. 2539 ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 4
  • พ.ศ. 2541 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 (ยศ พลตรี)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด (ยศ พลโท)
  • เม.ย.-ก.ย. พ.ศ. 2545 ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ยศ พลเอก)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ผู้บัญชาการทหารบก
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

งานการเมือง

พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[2][3] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง


ก่อนหน้า ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ถัดไป
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548)
พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์
ผู้บัญชาการทหารบก
(1 ตุลาคม พ.ศ. 254630 กันยายน พ.ศ. 2547)
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ