ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดอน ปรมัตถ์วินัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Minos777 (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2537]] ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งประเทศไทยประจำ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สมาพันธรัฐสวิส]] [[นครรัฐวาติกัน]] และ[[ประเทศลิกเตนสไตน์|ราชรัฐลิกเตนสไตน์]] ถิ่นพำนัก ณ [[เบิร์น|กรุงเบิร์น]] ระหว่างนี้ได้ถวายงานรับเสด็จ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]] ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเยือนสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2538 และรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ในประเทศต่างๆ
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2537]] ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งประเทศไทยประจำ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สมาพันธรัฐสวิส]] [[นครรัฐวาติกัน]] และ[[ประเทศลิกเตนสไตน์|ราชรัฐลิกเตนสไตน์]] ถิ่นพำนัก ณ [[เบิร์น|กรุงเบิร์น]] ระหว่างนี้ได้ถวายงานรับเสด็จ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]] ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเยือนสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2538 และรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ในประเทศต่างๆ


ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2542]] ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิบดี[[กรมสารนิเทศ]] ควบคู่กับโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยที่นาย[[ชวน หลีกภัย]] เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงนี้ได้เริ่มต้นงานด้านเยาวชนไทยในโครงการยุวทูตความดี และกลับไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชฑูตอีกครั้ง โดยปี[[พ.ศ. 2544]] ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำ[[ประเทศจีน|สาธารณรัฐประชาชนจีน]] [[ประเทศเกาหลีเหนือ|สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี]] และ[[ประเทศมองโกเลีย|มองโกเลีย]] ถิ่นพำนัก ณ [[ปักกิ่ง|กรุงปักกิ่ง]] กรุงปักกิ่ง ขณะนั้นจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งปีเดียวกันที่เข้าดำรงตำแหน่งนั้นจีนได้ในการเข้าเป็นสมาชิกของ[[องค์การการค้าโลก]] ลำดับที่ 143 หลังจากนั้น ในปี[[พ.ศ. 2546]] ยังมีการระบาดของ[[โรคซาร์ส]]เกิดขึ้นอีกด้วย
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2542]] ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิบดี[[กรมสารนิเทศ]] ควบคู่กับโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยที่นาย[[ชวน หลีกภัย]] เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงนี้ได้เริ่มต้นงานด้านเยาวชนไทยในโครงการยุวทูตความดี และกลับไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตอีกครั้ง โดยปี[[พ.ศ. 2544]] ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำ[[ประเทศจีน|สาธารณรัฐประชาชนจีน]] [[ประเทศเกาหลีเหนือ|สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี]] และ[[ประเทศมองโกเลีย|มองโกเลีย]] ถิ่นพำนัก ณ [[ปักกิ่ง|กรุงปักกิ่ง]] กรุงปักกิ่ง ขณะนั้นจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งปีเดียวกันที่เข้าดำรงตำแหน่งนั้นจีนได้ในการเข้าเป็นสมาชิกของ[[องค์การการค้าโลก]] ลำดับที่ 143 หลังจากนั้น ในปี[[พ.ศ. 2546]] ยังมีการระบาดของ[[โรคซาร์ส]]เกิดขึ้นอีกด้วย


ต่อมา ปี [[พ.ศ. 2547]] นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำ[[สหภาพยุโรป]] [[ประเทศเบลเยียม|ราชอาณาจักรเบลเยียม]] และ[[ประเทศลักเซมเบิร์ก|ราชรัฐลักเซมเบิร์ก]] ถิ่นพำนัก ณ [[บรัสเซลส์|กรุงบรัสเซลส์]] ดูแลทุกกิจการของไทยกับสหภาพยุโรปในช่วง[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547|วิกฤติสึนามิ พ.ศ. 2547]] ซึ่งเชื่อมโยงถึงการที่ไทยได้คืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences – GSP) ของสหภาพยุโรปในปีต่อมา
ต่อมา ปี [[พ.ศ. 2547]] นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำ[[สหภาพยุโรป]] [[ประเทศเบลเยียม|ราชอาณาจักรเบลเยียม]] และ[[ประเทศลักเซมเบิร์ก|ราชรัฐลักเซมเบิร์ก]] ถิ่นพำนัก ณ [[บรัสเซลส์|กรุงบรัสเซลส์]] ดูแลทุกกิจการของไทยกับสหภาพยุโรปในช่วง[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547|วิกฤติสึนามิ พ.ศ. 2547]] ซึ่งเชื่อมโยงถึงการที่ไทยได้คืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences – GSP) ของสหภาพยุโรปในปีต่อมา
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
ในปี[[พ.ศ. 2550]] นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำ[[สหประชาชาติ]] ณ [[นครนิวยอร์ก]] ได้ทำงานเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของกัมพูชาเรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศไทย กรณีเขาพระวิหาร ที่กัมพูชาพยายามนำเข้าสู่[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]] ในปี [[พ.ศ. 2550]] นี้ นายดอน ยังได้รับ[[รางวัลครุฑทองคำ]] จากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย<ref>[http://www.mof.go.th/cath/pdf/total_result50.pdf ประกาศสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ผลการพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2550 - 2551]</ref> ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้สำหรับข้าราชการพลเรือนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น
ในปี[[พ.ศ. 2550]] นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำ[[สหประชาชาติ]] ณ [[นครนิวยอร์ก]] ได้ทำงานเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของกัมพูชาเรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศไทย กรณีเขาพระวิหาร ที่กัมพูชาพยายามนำเข้าสู่[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]] ในปี [[พ.ศ. 2550]] นี้ นายดอน ยังได้รับ[[รางวัลครุฑทองคำ]] จากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย<ref>[http://www.mof.go.th/cath/pdf/total_result50.pdf ประกาศสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ผลการพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2550 - 2551]</ref> ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้สำหรับข้าราชการพลเรือนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น


และในปี[[พ.ศ. 2552]] นายดอนเข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำ[[สหรัฐอเมริกา]] ถิ่นพำนัก ณ [[วอชิงตัน ดี.ซี.|กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.]] ดูแลประสานงานความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในช่วงระหว่าง[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553|วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2553]] และได้ดูแลโครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง ไทย-สหรัฐอเมริกา ในระดับทั่วประเทศ จนกระทั่งออกจากตำแหน่ง โดยลาออกจากราชการในเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2553]] ก่อนเกษียณอายุราชการเพียง 1 เดือน<ref>ไทยรัฐออนไลน์, [http://www.thairath.co.th/content/111815 มุมข้าราชการ 18/09/53] โดย ซี.12 , วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553.</ref> และในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้น นายดอน เข้ามารับตำแหน่งประธานกรรมการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ บริษัท ช. การช่าง จํากัด (มหาชน)<ref>มติชนออนไลน์ , [http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1290483629 ช.การช่างดึงอดีตทูตใหญ่ "ดอน ปรมัตถ์วินัย" นั่งปธ.คุมด้านสวล. แตกไลน์ลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์], วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 10:40:21 น. </ref> ซึ่งตนเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ มาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2537]]<ref>[http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/dsf/0530122011-03-26TD104L02052.PDF รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัท ผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุม และรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัทย่อย] บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)</ref>
และในปี[[พ.ศ. 2552]] นายดอนเข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำ[[สหรัฐอเมริกา]] ถิ่นพำนัก ณ [[วอชิงตัน ดี.ซี.|กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.]] ดูแลประสานงานความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในช่วงระหว่าง[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553|วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2553]] และได้ดูแลโครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง ไทย-สหรัฐอเมริกา ในระดับทั่วประเทศ จนกระทั่งออกจากตำแหน่ง โดยลาออกจากราชการในเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2553]] ก่อนเกษียณอายุราชการเพียง 1 เดือน<ref>ไทยรัฐออนไลน์, [http://www.thairath.co.th/content/111815 มุมข้าราชการ 18/09/53] โดย ซี.12 , วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553.</ref> และในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้น นายดอน เข้ามารับตำแหน่งประธานกรรมการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)<ref>มติชนออนไลน์ , [http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1290483629 ช.การช่างดึงอดีตทูตใหญ่ "ดอน ปรมัตถ์วินัย" นั่งปธ.คุมด้านสวล. แตกไลน์ลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์], วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 10:40:21 น. </ref> ซึ่งตนเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ มาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2537]]<ref>[http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/dsf/0530122011-03-26TD104L02052.PDF รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัท ผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุม และรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัทย่อย] บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)</ref>


ต่อมาในเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2557]] เขาลาออกจากบริษัท ช. การช่าง จํากัด (มหาชน)<ref>[http://www.set.or.th/set/pdfnews.do;jsessionid=DA4D2DBDA7A8900A33D7A0D6526B31BD.itnpi-set15?file=http%3A%2F%2Fwww.set.or.th%2Fdat%2Fnews%2F201408%2F14055954.pdf แจ้งกรรมการอิสระลาออก 29 สิงหาคม 2557]</ref> และเข้ารับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของ[[พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา|ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/164/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี [จำนวน ๓๒ ราย] ]</ref> ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทน[[ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร|พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร]] ในเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2558]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/191/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี]</ref>
ต่อมาในเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2557]] เขาลาออกจากบริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)<ref>[http://www.set.or.th/set/pdfnews.do;jsessionid=DA4D2DBDA7A8900A33D7A0D6526B31BD.itnpi-set15?file=http%3A%2F%2Fwww.set.or.th%2Fdat%2Fnews%2F201408%2F14055954.pdf แจ้งกรรมการอิสระลาออก 29 สิงหาคม 2557]</ref> และเข้ารับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของ[[พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา|ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/164/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี [จำนวน ๓๒ ราย] ]</ref> ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทน[[ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร|พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร]] ในเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2558]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/191/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี]</ref>


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:20, 15 พฤศจิกายน 2558

ดอน ปรมัตถ์วินัย
ไฟล์:ดอน ปรมัตถ์วินัย.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มกราคม พ.ศ. 2493 (74 ปี)
กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสนรีรัตน์ ปรมัตถ์วินัย

นายดอน ปรมัตถ์วินัย (อักษรโรมัน: Don Pramudwinai; เกิด: 25 มกราคม พ.ศ. 2493) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนักการทูตชาวไทย อดีตอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา สาธารณประชาชนจีน สหภาพยุโรป และในอีกหลายประเทศ

ประวัติ

ดอน ปรมัตถ์วินัย เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2493 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายเลี้ยง กับนางนงลักษณ์ ปรมัตถ์วินัย [1][2]

นายดอน จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบวรศึกษาสถาน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม และมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปีพ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2511 (สิงห์ดำ รุ่น 20) จากนั้นได้รับทุนรัฐบาล (ก.พ.) ไปศึกษาต่อปริญญาตรี และปริญญาโท นายดอนได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม สาขารัฐศาสตร์ และปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลีส และยังได้รับปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากวิทยาลัยกฎหมายและการทูตเฟลทเชอร์ ณ มหาวิทยาลัยทัฟท์ส์ (The Fletcher School of Law and Diplomacy at Tufts University)

นอกจากนี้ เขายังจบการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 36 และการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 6 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. 36/ปรอ. 6 หรือ วปรอ. 366)

นายดอน ปรมัตถ์วินัย สมรสกับนรีรัตน์ ปรมัตถ์วินัย (สกุลเดิม บุนนาค) กรรมการบริษัท ปานะวงศ์ จำกัด บุตรีนาวาโทตัปนวงศ์ บุนนาค บุตรพลตรี พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) กับกัญจนา บุนนาค ธิดาเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน คือ นายเพื่อน ปรมัตถ์วินัย

การทำงาน

นายดอน ปรมัตถ์วินัย เริ่มเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2517 ในกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ[2] ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. 2517- พ.ศ. 2523 ไปทำงานในสังกัดกองเอเซียตะวันออก กองเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักเลขานุการรัฐมนตรี เป็นหนึ่งในคณะของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในการเยือนปักกิ่ง เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เมื่อปี พ.ศ. 2518 และทำงานกิจการอาเซียนในช่วงหลังการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ณ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2519 ในปีพ.ศ. 2523 นายดอนดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้ากองนโยบายเศรษฐกิจ และการเงิน และหัวหน้ากองพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม สำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย โดยเริ่มทำงานเกี่ยวกับปัญหาสงครามกัมพูชา–เวียดนาม

ต่อมาในปีพ.ศ. 2524 นายดอนได้รับแต่งตั้งให้เป็น เลขานุการเอกสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบอนน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี หรือเยอรมนีตะวันออก และเป็นที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบอนน์ ในปีพ.ศ. 2527

ปี พ.ศ. 2528 นายดอนกลับมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง ก่อนที่จะไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูตสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงการต่างประเทศ และอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกในปี พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2535 ตามลำดับ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งประเทศไทยประจำสมาพันธรัฐสวิส นครรัฐวาติกัน และราชรัฐลิกเตนสไตน์ ถิ่นพำนัก ณ กรุงเบิร์น ระหว่างนี้ได้ถวายงานรับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเยือนสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2538 และรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ในประเทศต่างๆ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสารนิเทศ ควบคู่กับโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงนี้ได้เริ่มต้นงานด้านเยาวชนไทยในโครงการยุวทูตความดี และกลับไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตอีกครั้ง โดยปีพ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และมองโกเลีย ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง กรุงปักกิ่ง ขณะนั้นจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งปีเดียวกันที่เข้าดำรงตำแหน่งนั้นจีนได้ในการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก ลำดับที่ 143 หลังจากนั้น ในปีพ.ศ. 2546 ยังมีการระบาดของโรคซาร์สเกิดขึ้นอีกด้วย

ต่อมา ปี พ.ศ. 2547 นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป ราชอาณาจักรเบลเยียม และราชรัฐลักเซมเบิร์ก ถิ่นพำนัก ณ กรุงบรัสเซลส์ ดูแลทุกกิจการของไทยกับสหภาพยุโรปในช่วงวิกฤติสึนามิ พ.ศ. 2547 ซึ่งเชื่อมโยงถึงการที่ไทยได้คืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences – GSP) ของสหภาพยุโรปในปีต่อมา

ในปีพ.ศ. 2550 นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาตินครนิวยอร์ก ได้ทำงานเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของกัมพูชาเรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศไทย กรณีเขาพระวิหาร ที่กัมพูชาพยายามนำเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2550 นี้ นายดอน ยังได้รับรางวัลครุฑทองคำ จากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย[3] ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้สำหรับข้าราชการพลเรือนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น

และในปีพ.ศ. 2552 นายดอนเข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ถิ่นพำนัก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ดูแลประสานงานความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในช่วงระหว่างวิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2553 และได้ดูแลโครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง ไทย-สหรัฐอเมริกา ในระดับทั่วประเทศ จนกระทั่งออกจากตำแหน่ง โดยลาออกจากราชการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 ก่อนเกษียณอายุราชการเพียง 1 เดือน[4] และในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้น นายดอน เข้ามารับตำแหน่งประธานกรรมการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)[5] ซึ่งตนเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537[6]

ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เขาลาออกจากบริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)[7] และเข้ารับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของประยุทธ์ จันทร์โอชา[8] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทนพลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประวัติการทำงานโดยสังเขปของ นาย ดอน ปรมัตถ์วินัย มอบต่อสมาคมข้าราชการพลเรือนเมื่อ พย.๒๕๕๓
  2. 2.0 2.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
  3. ประกาศสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ผลการพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2550 - 2551
  4. ไทยรัฐออนไลน์, มุมข้าราชการ 18/09/53 โดย ซี.12 , วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553.
  5. มติชนออนไลน์ , ช.การช่างดึงอดีตทูตใหญ่ "ดอน ปรมัตถ์วินัย" นั่งปธ.คุมด้านสวล. แตกไลน์ลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์, วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 10:40:21 น.
  6. รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัท ผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุม และรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัทย่อย บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)
  7. แจ้งกรรมการอิสระลาออก 29 สิงหาคม 2557
  8. ราชกิจจานุเบกษา พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี [จำนวน ๓๒ ราย ]
  9. ราชกิจจานุเบกษา พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  10. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖)
  11. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)
  12. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๑๒๒ ราย)


ก่อนหน้า ดอน ปรมัตถ์วินัย ถัดไป
พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ไฟล์:กระทรวงการต่างประเทศ.gif
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ