ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TomBor4 (คุย | ส่วนร่วม)
Replace GDP PPP per capita map to a new one (2011 > 2014) more respectfull of graphic semiology (color gradient by value)
บรรทัด 62: บรรทัด 62:
# ไม่นับรายการทางการเงินและการโอนเงิน เช่น การซื้อขายหุ้น น้าโอนเงินให้หลาน เพราะไม่เป็นการผลิต
# ไม่นับรายการทางการเงินและการโอนเงิน เช่น การซื้อขายหุ้น น้าโอนเงินให้หลาน เพราะไม่เป็นการผลิต


[[ไฟล์:Gdpercapita.PNG|thumb|300px|ค่า GDP จากการจัดอันดับของธนาคารโลกในปี 2554]]
[[ไฟล์:GDP_per_capita_PPP_2014-en.svg|thumb|300px|ค่า GDP จากการจัดอันดับของธนาคารโลกในปี 2558]]


== ข้อจำกัดของ GDP ==
== ข้อจำกัดของ GDP ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:28, 9 พฤศจิกายน 2558

รูปภาพแสดงการเปรียบเทียบค่า GDP ในปี 2555

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (อังกฤษ: gross domestic product: GDP) หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้น ๆ

อย่างไรก็ตาม จีดีพี เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้

การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ สามารถวัดได้ 2 วิธี ได้แก่

1. การวัดรายจ่าย (Expenditure Approach) ที่จ่ายให้สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = รายจ่ายเพื่อบริโภค + รายจ่ายเพื่อการลงทุน + รายจ่ายของรัฐบาล + รายจ่ายสุทธิของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าผลิตในประเทศ

หรือ GDP = Consumption + Investment + Government spending + (exports – imports)

2. การวัดรายได้ (Resource Cost - Income Approach) ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = ค่าจ้างและเงินเดือนลูกจ้าง + รายได้เจ้าของธุรกิจส่วนตัว + กำไรของบริษัท (รายได้ผู้ถือหุ้น) + ดอกเบี้ย (รายได้เจ้าหนี้) + ค่าเช่า (รายได้เจ้าของสินทรัพย์) + ภาษีธุรกิจทางอ้อม + ค่าเสื่อมราคา + รายได้สุทธิของคนต่างชาติในประเทศ

หมายเหตุ: ภาษีทางอ้อมคือภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าหรือบริการโดยผู้ที่มีหน้าที่ชำระภาษีโดยตรง (ผู้เสียภาษีคนแรก) สามารถผลักภาระภาษีไปให้บุคคลอื่นได้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เนื่องจากวิธีการวัด GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีที่พื้นฐานที่สุดในการวัดและเข้าใจ GDP ดังนั้น จะอธิบายตัวแปรในสมการที่คำนวณ GDP ด้วยการวัดรายจ่ายเท่านั้น ดังต่อไปนี้

GDP = C + I + G + NE หรือ C + I + G + (X - M)

Consumption (C) หมายถึง การบริโภคภาคเอกชน (Private consumption) ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลแทบทั้งหมดเช่น อาหาร ค่าเช่า ค่ายา แต่ไม่รวมการซื้อบ้านหลังใหม่

Investment (I) หมายถึง การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุน เช่น การก่อสร้างเหมืองแร่ใหม่ การซื้อซอฟต์แวร์ การซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับโรงงาน เป็นต้น การใช้จ่ายโดยครัวเรือนเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่รวมไว้ในการลงทุนเช่นกัน ทว่า การซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินเช่น การซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ ไม่จัดว่าเป็นการลงทุนแต่เป็นการออม (Saving) จึงไม่รวมใน GDP เพราะเป็นเพียงการสับเปลี่ยนเอกสารทางกฎหมายเท่านั้น ซึ่งเงินนั้นไม่ได้แปลงให้กลายเป็นสินค้าหรือบริการ จึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่แท้จริง และจัดให้เป็นรายจ่ายประเภทเงินโอน (Transfer payment)

หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสุทธิของภาคการเงินเท่านั้นที่มองว่าเป็นการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงรวมไว้ใน GDP

Government Spending (G) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ แต่ไม่รวมรายจ่ายประเภทโอนเงินอย่างเช่น สวัสดิการสังคมหรือผลประโยชน์จากการว่างงาน

Net Exports (NE) หมายถึง การส่งออกสุทธิ หรือการส่งออก (X) ลบด้วยการนำเข้า (M) นั่นเอง ที่ต้องลบการนำเข้าเพราะตัวเลขการบริโภคสินค้าและบริการที่นำเข้ามาบริโภคจะรวมไว้ใน C, I, และ G

เปรียบเทียบ ดัชนี GDP และ PPP
ของประเทศแต่ละประเทศในปี 2555.[1]
  มากกว่า $129,696
  $64,848 – 129,696
  $32,424 – 64,848
  $16,212 – 32,424
  $8,106 – 16,212
  $4,053 – 8,106
  $2,027 – 4,053
  $1,013 – 2,027
  $507 – 1,013
  ต่ำกว่า $507
  ไม่มีข้อมูล

สิ่งที่ไม่นับรวมใน GDP

  1. ไม่นับสินค้าก่อนสินค้าขั้นสุดท้าย (intermediate goods) เพราะจะทำให้เกิดการนับซ้ำ
  2. ไม่นับการซื้อขายสินค้ามือสอง เพราะไม่ได้เป็นการเพิ่มผลผลิตปัจจุบัน แต่นับค่าคอมมิชชั่นจากการขาย เพราะเป็นการให้บริการในช่วงเวลาปัจจุบัน
  3. ไม่นับรายการทางการเงินและการโอนเงิน เช่น การซื้อขายหุ้น น้าโอนเงินให้หลาน เพราะไม่เป็นการผลิต
ค่า GDP จากการจัดอันดับของธนาคารโลกในปี 2558

ข้อจำกัดของ GDP

  1. ไม่นับการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในตลาด เช่น ในอดีตทำกับข้าวรับประทานเองในบ้าน จึงไม่นับรวม แต่ปัจจุบันรูปแบบของการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปทำให้ต้องรับประทานข้าวนอกบ้าน จึงนับรวม ซึ่งทำให้การเปรียบเทียบ GDP ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันให้มีความหมายลดลง
  2. ไม่รวมผลผลิตที่ไม่ได้รับการรายงาน (underground economy) เช่น เป็นการค้าขายที่เป็นเงินสดโดยไม่มีการแจ้งให้ทางการรับทราบ เช่น บ๋อยรับทิปเป็นเงินสด คนงานทำงานโดยรับเงินสดเพื่อเลี่ยงภาษี
  3. ไม่รวมการพักผ่อนและต้นทุนมนุษย์ GDP สนใจแต่ผลผลิต ไม่ใส่ใจว่าคนทำงานหนักหรือนานขนาดไหนในการสร้างผลผลิต
  4. ไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพสินค้าและการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
  5. ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการผลิต บริโภค และการกระทำด้านลบของคนและธรรมชาติ
รายชื่อประเทศจากการคำนวณค่า GDP ในปี 2553

อันดับประเทศที่มีการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

อันดับ พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2553
โลก โลก 74,171.718 โลก โลก 71,707.302 โลก โลก 70,220.553 โลก โลก[2] 63,467.755
สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป 17,227.735 สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป 16,584.007 สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป 17,588.535 สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป[2] 16,287.710
1  สหรัฐ 16,237.746  สหรัฐ 15,684.750  สหรัฐ 15,075.675  สหรัฐ 14,498.925
2  สาธารณรัฐประชาชนจีน 9,020.309  สาธารณรัฐประชาชนจีน 8,227.037  สาธารณรัฐประชาชนจีน 7,321.986  สาธารณรัฐประชาชนจีน[3] 5,930.393
3 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 6,149.897 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 5,963.969 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 5,897.015 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 5,495.387
4 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 3,597.965 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 3,400.579 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 3,607.364 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 3,312.193
5 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2,739.274 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2,608.699 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2,778.085 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2,570.592
6 ธงของประเทศบราซิล บราซิล 2,456.663 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 2,440.505 ธงของประเทศบราซิล บราซิล 2,492.907 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 2,267.482
7 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 2,422.921 ธงของประเทศบราซิล บราซิล 2,395.968 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 2,431.530 ธงของประเทศบราซิล บราซิล 2,142.926
8 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 2,213.567 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 2,021.960 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 2,196.334 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 2,059.187
9 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 2,076.006 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 2,014.079 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 1,899.056 ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 1,616.018
10 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 1,972.844 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 1,824.832 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 1,838.166 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 1,614.834

อ้างอิง

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. "หน่วยที่ 9 รายได้ประชาชาติและการวัดรายได้ประชาชาติ". เอกสารการสอนชุดวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 9-15. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553. หน้า 1–35. ISBN 974-614-549-5
  • https://en.wikipedia.org/wiki/Gross_domestic_product


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Based on the IMF data. If no data was available for a country from IMF, World Bank data were used.
  2. 2.0 2.1 "Nominal 2011 GDP for the world and the European Union". International Monetary Fund(IMF). สืบค้นเมื่อ 2013-5-1. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 台湾、香港、マカオを除く