ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมี เสว่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| birthname = มิเชล ยิม ไหว่หลิง
| birthname = มิเชล ยิม ไหว่หลิง
| nickname = มิเชล
| nickname = มิเชล
| birthdate = {{birth date and age|2498|9|2}}
| birthdate = {{วันเกิด-อายุ|2498|9|2}}
| birthplace = [[อันฮุย]] [[มณฑลกวางตุ้ง]]
| birthplace = [[อันฮุย]] [[มณฑลกวางตุ้ง]]
| deathdate =
| deathdate =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:03, 30 ตุลาคม 2558

หมีเซียะ หรือ หมีเสว่
ไฟล์:Michelle Yim.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด2 กันยายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
มิเชล ยิม ไหว่หลิง
อันฮุย มณฑลกวางตุ้ง
คู่สมรสWan Chi Keung (ค.ศ. 1984-ค.ศ. 2010 เสียชีวิต) [1]
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงค.ศ. 1975-ปัจจุบัน
ฐานข้อมูล
IMDb

หมีเซียะ (จีน: 米雪, อังกฤษ: Mai Suet, Mi Xue) มีชื่อจริงว่า มิเชล ยิม ไหว่หลิง (嚴慧玲, Michelle Yim Wai-ling) นักแสดงหญิงฮ่องกงที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะในยุคทศวรรษที่ 70 และ 80 มีชื่อเสียงจากการแสดงบทบาท อึ้งย้ง จากละครโทรทัศน์ของซีทีวี เรื่อง มังกรหยก จากบทประพันธ์ของ กิมย้ง

เธอเกิดที่เมืองอันฮุย มณฑลกวางตุ้ง มีน้องสาวที่เป็นนักแสดงเช่นกัน ชื่อ ซิดนีย์ ยิม (Sidney Yim, 雪梨) [2] เริ่มฝึกฝนการแสดงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 โดยเข้าโรงเรียนการแสดงของชอว์บราเดอส์ ในปี 1975 เธอเซ็นสัญญาเข้าสังกัดสถานีโทรทัศน์ซีทีวีของฮ่องกง ที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ และได้รับบทนำในเรื่อง มังกรหยก คู่กับ ไป่ เปียว ที่กลายเป็นละครโทรทัศน์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในฮ่องกง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไต้หวัน

หลังจากสถานีโทรทัศน์ซีทีวีเลิกกิจการในปี ค.ศ. 1978 เธอได้แสดงละครโทรทัศน์กำลังภายอีกหลายเรื่องให้กับสถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย เช่น ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม (Tai Chi Master), นักชกผู้พิชิต (The Legendary Fok), ศึกสองนางพญา (Princess Cheung Ping), ศึกสายเลือด (The Dynasty), แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด (The Radical City), จิ๋นซีฮ่องเต้ (The Rise of the Great Wall), 13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง (The Rise and Fall of Qing Dynasty) เป็นต้น ทำให้เธอได้รับฉายาว่า "ราชินีภาพยนตร์กำลังภายใน"

ระหว่างวันที่ 22 - 24 กันยายน 2015 หมี่เซียะและเยิ่นต๊ะหัวนักแสดงชื่อดังชาวฮ่องกงมีกำหนดการเดินทางมาประเทศไทย โดยในวันที่ 22 กันยายน มีกำหนดการเข้าสักการะพระพรหมที่ศาลท้าวมหาพรหม แยกราชประสงค์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งจีน ฮ่องกง และนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดฮ่องกง เกิดความเชื่อมั่นและเดินทางกลับมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น โดยมีนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับและร่วมสักการะท้าวมหาพรหม[3]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น