ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระธรรม (ศาสนาพุทธ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Prasertmn (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
พระพุทธธรรมนั้นมีลักษณะสำคัญอยู่ 6 อย่างคือ:
พระพุทธธรรมนั้นมีลักษณะสำคัญอยู่ 6 อย่างคือ:


* '''สวากขาโต''' (Pali: Svakkhato). พระธรรมไม่ใช้ปรัชญาที่ปรุงแต่งขึ้น แต่เป็นกฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าท่านวิเคราะห์, สรุป, และอธิบาย ออกมาอย่างเที่ยงตรง ดังนั้นจึงเป็นคุณทั้งจุดเริ่มต้น--ศีล (Sīla หลักการของความถูกต้อง), เป็นคุณทั้งตอนกลาง--สมาธิ (Samadhi ความมุ่งมั่นจดจ่อ) และ เป็นคุณทั้งตอนปลาย--ปัญญา (Pańña — ความเฉลียดฉลาด การรู้คิด การไตร่ตรอง ความรู้ซึ้ง).
* '''สวากขาโต''' (Pali: Svakkhato). พระธรรมไม่ใช้ปรัชญาที่ปรุงแต่งขึ้น แต่เป็นกฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าท่านวิเคราะห์, สรุป, และอธิบาย ออกมาอย่างเที่ยงตรง ดังนั้นจึงเป็นคุณทั้งจุดเริ่มต้น--ศีล (Sīla หลักการของความถูกต้อง), เป็นคุณทั้งตอนกลาง--สมาธิ (Samadhi ความมุ่งมั่นจดจ่อ) และ เป็นคุณทั้งตอนปลาย--ปัญญา (Pańña — ความเฉลียวฉลาด การรู้คิด การไตร่ตรอง ความรู้ซึ้ง).
* '''สันทิฏฐิโก''' (Pali: Sanditthiko). พระธรรม สามารถถูกทดสอบ/ตรวจสอบได้ด้วยการปฏิบัติ ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติจะเห็นผลได้ด้วยตนเอง
* '''สันทิฏฐิโก''' (Pali: Sanditthiko). พระธรรม สามารถถูกทดสอบ/ตรวจสอบได้ด้วยการปฏิบัติ ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติจะเห็นผลได้ด้วยตนเอง
* '''อะกาลิโก''' (Pali: Akāliko). พระธรรม นั้นมีคุณค่า และผลของการปฏิบัติสามารถรับรู้ได้ โดยไม่จำกัดกาลเวลา (พระธรรม มีคุณประโยชน์ 2,500 ปีก่อน มีคุณประโยชน์ในปัจจุบัน และ จะยังมีคุณประโยชน์ในอนาคต)
* '''อะกาลิโก''' (Pali: Akāliko). พระธรรม นั้นมีคุณค่า และผลของการปฏิบัติสามารถรับรู้ได้ โดยไม่จำกัดกาลเวลา (พระธรรม มีคุณประโยชน์ 2,500 ปีก่อน มีคุณประโยชน์ในปัจจุบัน และ จะยังมีคุณประโยชน์ในอนาคต)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:42, 30 ตุลาคม 2558

'พระธรรม'[1] หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า "มุขปาฐะ" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่แต่งภายหลังเพื่อขยายความอีก ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับ

ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่ทรงเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ อาจพอกล่าวได้ว่าการเรียนรู้พระธรรม ก็คือการเรียนรู้ธรรมดาโลก และเรียนรู้สิ่งที่เป็นปกติที่มีบ่อเกิดที่มาว่ามาอย่างไร เป็นไปได้อย่างไร

พระธรรมคุณ

พระพุทธธรรมนั้นมีลักษณะสำคัญอยู่ 6 อย่างคือ:

  • สวากขาโต (Pali: Svakkhato). พระธรรมไม่ใช้ปรัชญาที่ปรุงแต่งขึ้น แต่เป็นกฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าท่านวิเคราะห์, สรุป, และอธิบาย ออกมาอย่างเที่ยงตรง ดังนั้นจึงเป็นคุณทั้งจุดเริ่มต้น--ศีล (Sīla หลักการของความถูกต้อง), เป็นคุณทั้งตอนกลาง--สมาธิ (Samadhi ความมุ่งมั่นจดจ่อ) และ เป็นคุณทั้งตอนปลาย--ปัญญา (Pańña — ความเฉลียวฉลาด การรู้คิด การไตร่ตรอง ความรู้ซึ้ง).
  • สันทิฏฐิโก (Pali: Sanditthiko). พระธรรม สามารถถูกทดสอบ/ตรวจสอบได้ด้วยการปฏิบัติ ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติจะเห็นผลได้ด้วยตนเอง
  • อะกาลิโก (Pali: Akāliko). พระธรรม นั้นมีคุณค่า และผลของการปฏิบัติสามารถรับรู้ได้ โดยไม่จำกัดกาลเวลา (พระธรรม มีคุณประโยชน์ 2,500 ปีก่อน มีคุณประโยชน์ในปัจจุบัน และ จะยังมีคุณประโยชน์ในอนาคต)
  • เอหิปัสสิโก (Pali: Ehipassiko). พระธรรม นั้นมีคุณค่าไม่จำกัดกับบุคคล สามารถปฏิบัติและรับรู้ผลได้ทุกๆผู้คน (พระธรรม มีคุณประโยชน์กับผู้ปฏิบัติ ไม่ว่าผู้ปฏิบัติจะเป็นหญิง เป็นชาย เกิดในชาติตระกูลใด มีสถานะเป็นอย่างไร)
  • โอปะนะยิโก (Pali: Opāneyiko). พระธรรม นั้นปฏิบัติได้ และดังนั้น ควรนำมาปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเอง (พระธรรม เป็นหลักการที่นำมาปฏิบัติได้ ไม่ได้ยากเกินไป)
  • ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วัญญูหีติ (Pali: Paccattam veditabbo viññūhi). พระธรรมนั้น จะรู้แจ้งได้ก็เฉพาะตนผู้ปฏิบัติเองจนรู้แจ้ง (อริยะ Pali: ariyas) ดังนั้นเพื่อเข้าใจพระธรรมอย่างแท้จริง จึงควรปฏิบัติเอง (การอ่านหรือฟังธรรมจากอริยะก็ไม่อาจทำให้เข้าใจแจ้งได้ หากไม่นำพระธรรมไปปฏิบัติ)

การปฏิบัติพระธรรมจะนำมาซึ่ง ความสงบ และ ความสุข แก่ตนผู้ปฏิบัติ ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของตนเองในการปฏิบัติพระธรรม

ความหมายของพระธรรม

พระธรรม หรือ ธรรมะ มาจาก Dhamma (บาลี: धम्म) หรือ Dharma (สันสกฤต: धर्म) ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า "ธรรม" ที่หมายถึง ยก, พยุง, สนับสนุน, เกื้อหนุน ซึ่ง ธรรมะ นั้นหมายถึง สิ่งที่จะพยุง เกื้อหนุน ผู้ปฏิบัติธรรม และ ปกป้องผู้ปฏิบัติธรรม จากการตกอยู่ในความทุกข์ ลำเค็ญ เดือดร้อน

สำหรับคำศัพท์ในพุทธศาสนาทั้งหมด "ธรรมะ" มีความหมายที่กว้าง ครอบคลุมมากที่สุด[1] ธรรมะ จะช่วยปลูกสร้าง ความรู้ และ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ กฎและหลักการที่เชื่อมโยงความจริงต่างๆ ปรากฏการณ์ต่างๆ บุคคลต่างๆ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ธรรมะยังจะช่วยเพาะบ่ม การฝึกฝนการใช้ชีวิต ภายใต้กฎและหลักการนั้น อย่างสมดุลและกลมกลืน

การค้นพบธรรมะของพระพุทธเจ้า

ดูเพิ่มได้ที่ พระพุทธศาสนา

การเผยแพร่พระธรรม

ดูเพิ่มได้ที่ ประวัติพุทธศาสนา

คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรม

ดูเพิ่มได้ที่ พระไตรปิฎก อรรถกถา

การศึกษาพระธรรมในปัจจุบัน

ปัจจุบัน การศึกษาพุทธธรรมหรือพระพุทธศาสนาในประเทศพุทธเถรวาทและมหายาน นิยมจัดการเรียนการสอนแบบมหาวิทยาลัย โดยอาจจัดควบคู่ไปกับการเรียนการสอนตามแบบที่สืบทอดกันมาแต่โบราณในประเทศนั้น ๆ เช่น ในประเทศไทย นอกจากจะมีมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้ว ยังคงมีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และบาลีอยู่ เป็นต้น

การศึกษาพุทธศาสนาในระดับนานาชาติในปัจจุบัน เป็นที่สนใจของตะวันตกอย่างกว้างขวาง หลังจากมีการจัดตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ และองค์กรพุทธต่างๆ ขึ้นมามากมายหลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฯลฯ เพื่อค้นคว้าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาทิเบต และ ภาษาจีน ทำให้การศึกษาพุทธธรรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยทั้งยุโรปและอเมริกาหลายแห่งอาจเปิดสอนพุทธธรรมทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาเอก ปริญญาโท ปริญญาตรี

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 454

แหล่งข้อมูลอื่น