ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แขวงไชยบุรี"

พิกัด: 19°15′N 101°45′E / 19.25°N 101.75°E / 19.25; 101.75
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 141: บรรทัด 141:


== สถานที่ท่องเที่ยวในแขวง ==
== สถานที่ท่องเที่ยวในแขวง ==
# เมืองไชยบุรี
# เมืองไชยบุรี นำ้ตกตาดเจ้า
# เมืองเงิน
# เมืองเงิน
# เมืองปากลาย
# เมืองปากลาย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:25, 26 ตุลาคม 2558

ไชยบุรี

ໄຊຍະບູລີ
แผนที่ของแขวงไชยบุรี
แผนที่ของแขวงไชยบุรี
แผนที่แสดงที่ตั้งของแขวงไชยบุรีในประเทศลาว
ที่ตั้งของแขวงไชยบุรีในประเทศลาว
พิกัด: 19°15′N 101°45′E / 19.25°N 101.75°E / 19.25; 101.75
ประเทศ ลาว
เมืองเอกไชยบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด16,389 ตร.กม. (6,328 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2004)
 • ทั้งหมด382,200 คน
 • ความหนาแน่น23 คน/ตร.กม. (60 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+07
รหัส ISO 3166LA-XI
ตราประจำจังหวัดลานช้างเมื่ออยู่ใต้การปกครองของไทย ( พ.ศ. 2484 - 2489)

แขวงไชยบุรี (ลาว: ໄຊຍະບູລີ; ไซยะบูลี; อักษรละติน: Xaignabouli) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาวที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ มีพื้นที่ติดกับประเทศไทย ทางด้านจังหวัดเชียงราย, จังหวัดพะเยา, จังหวัดน่าน, จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเลย เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยก่อนเสียดินแดนเมื่อปี พ.ศ. 2447 ทำให้แขวงนี้ไปขึ้นกับอินโดจีนของฝรั่งเศส

ไทยได้กลับคืนมาชั่วคราวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อได้กลับคืนมาจึงตั้งเป็นจังหวัดลานช้าง แต่ต้องคืนกลับไปเหมือนเดิมหลังสงคราม เมื่อแขวงไชยบุรีกลับคืนไปเป็นของลาวอีกครั้ง จึ่งได้ตั้งชื่อว่า ไชยบุรี ซึ่งแปลว่า เมืองแห่งชัยชนะ ชัยชนะที่แขวงได้กลับคืนเป็นของลาวอีกครั้ง (แต่ก่อนไชยบุรีเป็นส่วนหนึ่งของแขวงหลวงพระบาง)

เขตการปกครอง

แผนที่ รหัสเมือง เมือง (ไทย) เมือง (ลาว) เมือง (อังกฤษ)
8-01 ไชยบุรี ໄຊຍະບູລີ Sainyabuli
8-02 คอบ ຄອບ Khop
8-03 หงษา ຫົງສາ Hongsa
8-04 เงิน (กุฏสาวดี) ເງິນ Ngeun
8-05 เชียงฮ่อน ຊຽງຮ່ອນ Xianghon
8-06 เพียง ພຽງ Phiang
8-07 ปากลาย ປາກລາຍ Paklai
8-08 แก่นท้าว ແກ່ນທ້າວ Kenthao
8-09 บ่อแตน ບໍ່ແຕນ Boten
8-10 ทุ่งมีไชย ທົ່ງມີໄຊ Thongmixai
8-11 ไชยสถาน ໄຊສະຖານ[1]

เมื่อเป็นจังหวัดลานช้าง

จังหวัดลานช้าง ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ ดังนี้

  1. อำเภอสมาบุรี ตามเขตอำเภอสมาบุรีเดิม
  2. อำเภออดุลเดชจรัส ตามเขตอำเภอปากลายเดิม
  3. อำเภอแก่นท้าว ตามเขตอำเภอแก่นท้าวเดิม
  4. อำเภอเชียงฮ่อน ตามเขตอำเภอเชียงฮ่อนเดิม
  5. อำเภอหาญสงคราม ตามเขตอำเภอหงษาเดิม
  6. อำเภอเชียงแมน แยกจากอำเภอสมาบุรี เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2486[2]

สภาพภูมิประเทศ

ภูมิประเทศทั่วไปของแขวงไชยบุรีเป็นภูเขาและที่ราบสูง ทางทิศตะวันตกมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบเป็นที่ตั้งป่าสงวนแห่งชาติน้ำพูน ทางตะวันออกสุดที่แม่น้ำโขง มีน้ำตกหลายแห่ง เช่น นาข่า บ้านคำ ตาดเหือง ฯลฯ แต่ยังไม่มีถนนเข้าถึง น้ำตกที่มีถนนเข้าถึงสะดวกสบาย อยู่ใกล้ตัวเมือง และเป็นที่นิยมของชาวบ้านคือ ตาดแจว สูง 30 เมตร อยู่ห่างจากท่าเดื่อประมาณ 1 กิโลเมตร ไซยะบูลิมีเขตแดนติดกับประเทศไทยยาว 645 กิโลเมตร ชาวพื้นเมืองอาทิ ไทดำ ไทลื้อ ขมุ ขฉิ่น กรี อาขา ม้งและมลาบรี จึงมีการอพยพข้ามไปมาระหว่างสองประเทศ เป็นแขวงที่มีการทำไม้ซุงมากจึงมีช้างงานมากที่สุดในประเทศ

สภาพภูมิอากาศ

โดยทั่วไปมีสภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกับทางด้านจังหวัดน่าน และจังหวัดอุตรดิตถ์ของประเทศไทย มีปริมาณฝนน้อยกว่าทั้ง2จังหวัดแต่ในฤดูหนาวจะมีอากาศที่หนาวเย็นกว่าทั้ง2จังหวัดในประเทศไทย

ทรัพยากรธรรมชาติ

ในภูมิภาคย่านภูเขาที่อยู่ติดกับพรมแดนประเทศไทยยังเป็นป่าไม้สมบูรณ์อยู่มาก มีไม้สักและไม้มีค่าอื่น ๆ ทางแถบพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ของแขวง ส่วนในภาคเหนือของแขวงมีแร่ธาตุสำคัญ เช่น ถ่านลิกไนต์ ทองคำ ทองแดง และ แมงกานีส เป็นต้น และมีการอุตสาหกรรมเหมืองหินแกรนิตในภาคใต้ของแขวง

สถานที่ท่องเที่ยวในแขวง

  1. เมืองไชยบุรี นำ้ตกตาดเจ้า
  2. เมืองเงิน
  3. เมืองปากลาย
  4. เมืองเชียงฮ่อน

การคมนาคม

เส้นทางถนนติดต่อระหว่างเมืองในภาคเหนือกับภาคใต้ของแขวงและเชื่อมต่อกับแขวงหลวงพระบาง รวมทั้งเส้นทางถนนเชื่อมต่อกับจังหวัดน่านของประเทศไทย นอกจากถนนสายหลักที่เชื่อมเมืองต่าง ๆ แล้ว ถนนสายรองอื่น ๆ ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและปรับปรุง หรือเป็นถนนในโครงการที่กำหนดแผนจะก่อสร้างทั่วทั้งแขวง อย่างไรก็ตามถนนสายหลักก็ยังต้องได้รับการปรับปรุงให้เรียบร้อยสมบูรณ์ เพื่อให้สามารถใช้สัญจรไปมาได้ตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน นอกจากการคมนาคมทางบกโดยทางถนนแล้ว แขวงไชยบุรีสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับเมืองและแขวงอื่น ๆ ได้โดยทางน้ำ ซึ่งสามารถเดินทางได้โดยทางเรือโดยสารตามลำแม่น้ำ โดยเฉพาะลำแม่น้ำโขง ทั้งนี้เนื่องจากแขวงไชยบุรีมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นระยะทางนับได้หลายร้อยกิโลเมตร การคมนาคมทางอากาศ โดยทางเครื่องบินก็สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับแขวงเวียงจันทน์ได้โดยมีสนามบินที่เมืองไชยบุรีและเมืองแก่นท้าว และมีเที่ยวบินประจำเดินทางติดต่อกับนครหลวงเวียงจันทน์ได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้โดยสารซึ่งเป็นปัจจัยประกอบสำคัญของเที่ยวบิน

ด่านพรมแดน

ด่านพรมแดนสองแควอยู่ที่อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ด่านชายแดนถาวรไทย-ลาว ห้วยโก๋น - น้ำเงิน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน

อ้างอิง

  1. วิทยุเอเชียเสรี - การพัฒนาเมืองไชยสถานหยุดชะงัก (ลาว)
  2. "ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องจัดตั้งอำเพอเชียงแมน จังหวัดลานช้าง" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (51ง): 3054. 28 กันยายน พ.ศ. 2486. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)