ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหม เวชกร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JackieBot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Replacements: fix URL prefix
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
เหม เวชกร เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2446 ที่ตำบลพระราชวัง อำเภอและจังหวัดพระนคร เป็นบุตรของ[[หม่อมราชวงศ์หุ่น ทินกร]] กับ[[หม่อมหลวงสำริด พึ่งบุญ]] ครั้นพ่อกับแม่แยกทางกันจึงไปอยู่กับ[[หม่อมราชวงศ์แดง ทินกร]] ผู้เป็นลุง ทำให้มีโอกาสพบและเป็นผู้ช่วยให้กับ [[คาร์โล ริโกลี]] จิตรกรชาวอิตาเลียน ที่เขียนภาพบนเพดานโดมใน[[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] และเป็นคนสอนให้หัดวาดเส้น และลวดลายต่างๆ จิตรกรชาวอิตาเลียนรู้สึกชอบพอในอัธยาศัยและฝีมือของเหมมาก ถึงขนาดชักชวนให้ไปเรียนต่อทางศิลปะที่อิตาลี โดยคุณลุงผู้อุปการะในเวลานั้นได้ตอบอนุญาตแล้ว แต่เมื่อความรู้ถึงบิดา กลับให้คนมาลักพาตัวไปเสียก่อนถึงวันเดินทาง เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เขาไม่ได้พบหน้า ม.ร.ว.แดง ผู้เป็นลุงอีกเลย
เหม เวชกร เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2446 ที่ตำบลพระราชวัง อำเภอและจังหวัดพระนคร เป็นบุตรของ[[หม่อมราชวงศ์หุ่น ทินกร]] กับ[[หม่อมหลวงสำริด พึ่งบุญ]] ครั้นพ่อกับแม่แยกทางกันจึงไปอยู่กับ[[หม่อมราชวงศ์แดง ทินกร]] ผู้เป็นลุง ทำให้มีโอกาสพบและเป็นผู้ช่วยให้กับ [[คาร์โล ริโกลี]] จิตรกรชาวอิตาเลียน ที่เขียนภาพบนเพดานโดมใน[[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] และเป็นคนสอนให้หัดวาดเส้น และลวดลายต่างๆ จิตรกรชาวอิตาเลียนรู้สึกชอบพอในอัธยาศัยและฝีมือของเหมมาก ถึงขนาดชักชวนให้ไปเรียนต่อทางศิลปะที่อิตาลี โดยคุณลุงผู้อุปการะในเวลานั้นได้ตอบอนุญาตแล้ว แต่เมื่อความรู้ถึงบิดา กลับให้คนมาลักพาตัวไปเสียก่อนถึงวันเดินทาง เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เขาไม่ได้พบหน้า ม.ร.ว.แดง ผู้เป็นลุงอีกเลย


ชีวิตในวัยรุ่นของเขา นับเป็นช่วงเวลาที่ตกยากที่สุด ทั้งพ่อและแม่ ที่ต่างผลัดกันแย่งยื้อตัวเขาไว้ ก็ไม่มีใครได้เลี้ยงดูจริงจัง ตามประวัติกล่าวว่าเขาเคยเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และอัสสัมชัญ แต่ก็คงได้เพียงชั่วเวลาสั้นๆ จากนั้นเหมต้องกลายเป็นคนซัดเซพเนจรไปหลายที่ แม้แต่นามสกุล "เวชกร" ที่ใช้มาตลอดชีวิต ก็เป็นนามสกุลของครอบครัวขุนประสิทธิ์เวชกร (แหยม เวชกร) อดีตแพทย์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเคยให้การอุปถัมภ์เขาไว้ครั้งหนึ่ง<ref>http://http://www.sarakadee.com/feature/2000/10/hem.htm</ref>
ชีวิตในวัยรุ่นของเขา นับเป็นช่วงเวลาที่ตกยากที่สุด ทั้งพ่อและแม่ ที่ต่างผลัดกันแย่งยื้อตัวเขาไว้ ก็ไม่มีใครได้เลี้ยงดูจริงจัง ตามประวัติกล่าวว่าเขาเคยเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และอัสสัมชัญ แต่ก็คงได้เพียงชั่วเวลาสั้นๆ จากนั้นเหมต้องกลายเป็นคนซัดเซพเนจรไปหลายที่ แม้แต่นามสกุล "เวชกร" ที่ใช้มาตลอดชีวิต ก็เป็นนามสกุลของครอบครัวขุนประสิทธิ์เวชกร (แหยม เวชกร) อดีตแพทย์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเคยให้การอุปถัมภ์เขาไว้ครั้งหนึ่ง<ref>http://www.sarakadee.com/feature/2000/10/hem.htm</ref>
ช่วงที่ชีวิตผกผัน เหม เวชกร ต้องเร่ร่อนไปทำงานหลายอย่าง นับแต่เป็นนายท้ายเรือโยงขึ้นล่องแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นช่าง[[เครื่องจักรไอน้ำ]] แล้วผันตัวไปเป็นช่างเครื่องในงานสร้าง[[เขื่อนพระรามหก]] เมื่อเข้ากรุงเทพมาเป็นช่างเขียนในกรมตำราทหารบก กระทรวงกลาโหม และพร้อมกับมีอาชีพเสริมด้วยการเล่นดนตรีไทย งานเล่นดนตรีคลอประกอบการฉายหนังเงียบในโรงภาพยนตร์ แต่ต่ออาชีพนักดนตรีเริ่มฝืดเคือง เริ่มงานเขียนปกนวนิยาย เป็นงานหลักหาเลี้ยงชีพ ปลายปี [[พ.ศ. 2478]] เหม เวชกรและเพื่อนได้ร่วมกันเปิดสำนักพิมพ์ ‘เพลินจิตต์’ พิมพ์นิยายราคาถูก ปกเป็นภาพเขียนฝีมือของเหม พิมพ์สอดสีสวยงาม ราคา 10 สตางค์
ช่วงที่ชีวิตผกผัน เหม เวชกร ต้องเร่ร่อนไปทำงานหลายอย่าง นับแต่เป็นนายท้ายเรือโยงขึ้นล่องแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นช่าง[[เครื่องจักรไอน้ำ]] แล้วผันตัวไปเป็นช่างเครื่องในงานสร้าง[[เขื่อนพระรามหก]] เมื่อเข้ากรุงเทพมาเป็นช่างเขียนในกรมตำราทหารบก กระทรวงกลาโหม และพร้อมกับมีอาชีพเสริมด้วยการเล่นดนตรีไทย งานเล่นดนตรีคลอประกอบการฉายหนังเงียบในโรงภาพยนตร์ แต่ต่ออาชีพนักดนตรีเริ่มฝืดเคือง เริ่มงานเขียนปกนวนิยาย เป็นงานหลักหาเลี้ยงชีพ ปลายปี [[พ.ศ. 2478]] เหม เวชกรและเพื่อนได้ร่วมกันเปิดสำนักพิมพ์ ‘เพลินจิตต์’ พิมพ์นิยายราคาถูก ปกเป็นภาพเขียนฝีมือของเหม พิมพ์สอดสีสวยงาม ราคา 10 สตางค์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:30, 25 ตุลาคม 2558

เหม เวชกร

เหม เวชกร (17 มกราคม พ.ศ. 2446 - 16 เมษายน พ.ศ. 2512) ศิลปินจิตรกรชาวไทย ที่มีผลงานเด่นแนวเหมือนจริงเช่น ภาพวิจิตรชุดวรรณคดีไทย, นางงามในวรรณคดี, ชีวประวัติสุนทรภู่, ภาพประวัติศาสตร์ไทย, ราชาธิราชและกากี และพระลอภาพวิจิตร เป็นต้น

ประวัติ

เหม เวชกร เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2446 ที่ตำบลพระราชวัง อำเภอและจังหวัดพระนคร เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์หุ่น ทินกร กับหม่อมหลวงสำริด พึ่งบุญ ครั้นพ่อกับแม่แยกทางกันจึงไปอยู่กับหม่อมราชวงศ์แดง ทินกร ผู้เป็นลุง ทำให้มีโอกาสพบและเป็นผู้ช่วยให้กับ คาร์โล ริโกลี จิตรกรชาวอิตาเลียน ที่เขียนภาพบนเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม และเป็นคนสอนให้หัดวาดเส้น และลวดลายต่างๆ จิตรกรชาวอิตาเลียนรู้สึกชอบพอในอัธยาศัยและฝีมือของเหมมาก ถึงขนาดชักชวนให้ไปเรียนต่อทางศิลปะที่อิตาลี โดยคุณลุงผู้อุปการะในเวลานั้นได้ตอบอนุญาตแล้ว แต่เมื่อความรู้ถึงบิดา กลับให้คนมาลักพาตัวไปเสียก่อนถึงวันเดินทาง เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เขาไม่ได้พบหน้า ม.ร.ว.แดง ผู้เป็นลุงอีกเลย

ชีวิตในวัยรุ่นของเขา นับเป็นช่วงเวลาที่ตกยากที่สุด ทั้งพ่อและแม่ ที่ต่างผลัดกันแย่งยื้อตัวเขาไว้ ก็ไม่มีใครได้เลี้ยงดูจริงจัง ตามประวัติกล่าวว่าเขาเคยเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และอัสสัมชัญ แต่ก็คงได้เพียงชั่วเวลาสั้นๆ จากนั้นเหมต้องกลายเป็นคนซัดเซพเนจรไปหลายที่ แม้แต่นามสกุล "เวชกร" ที่ใช้มาตลอดชีวิต ก็เป็นนามสกุลของครอบครัวขุนประสิทธิ์เวชกร (แหยม เวชกร) อดีตแพทย์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเคยให้การอุปถัมภ์เขาไว้ครั้งหนึ่ง[1]

ช่วงที่ชีวิตผกผัน เหม เวชกร ต้องเร่ร่อนไปทำงานหลายอย่าง นับแต่เป็นนายท้ายเรือโยงขึ้นล่องแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นช่างเครื่องจักรไอน้ำ แล้วผันตัวไปเป็นช่างเครื่องในงานสร้างเขื่อนพระรามหก เมื่อเข้ากรุงเทพมาเป็นช่างเขียนในกรมตำราทหารบก กระทรวงกลาโหม และพร้อมกับมีอาชีพเสริมด้วยการเล่นดนตรีไทย งานเล่นดนตรีคลอประกอบการฉายหนังเงียบในโรงภาพยนตร์ แต่ต่ออาชีพนักดนตรีเริ่มฝืดเคือง เริ่มงานเขียนปกนวนิยาย เป็นงานหลักหาเลี้ยงชีพ ปลายปี พ.ศ. 2478 เหม เวชกรและเพื่อนได้ร่วมกันเปิดสำนักพิมพ์ ‘เพลินจิตต์’ พิมพ์นิยายราคาถูก ปกเป็นภาพเขียนฝีมือของเหม พิมพ์สอดสีสวยงาม ราคา 10 สตางค์

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับแช่มชื่น คมขำ แห่งสำนักวังหลานหลวง ของกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ โดยไม่มีทายาท เหม เวชกร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2512 [2] ณ บ้านพักแหล่งสุดท้ายของท่านที่ซอยตากสิน 1 เขตธนบุรี

ผลงาน

ไฟล์:Hem's work1.jpg
ผลงานออกแบบปกหนังสือชิ้นหนึ่งของ เหม เวชกร เมื่อ พ.ศ. 2499
  • ผลงานเขียนภาพปกภาพประกอบนวนิยายที่สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ต้นกำเนิดนิยาย 10 สตางค์ เมื่อประมาณปี 2474
  • วาดภาพปกภาพประกอบ แผลเก่า ของ ไม้ เมืองเดิม
  • งานชุดประวัติศาสตร์ไทย ชีวประวัติสุนทรภู่ ชุดนางในวรรณคดีชุดกากี
  • ผลงานจิตรกรรมพุทธประวัติที่สร้างอุทิศแก่พุทธศาสนา คือภาพปฐมสมโพธิ 80 ภาพ และชุดเวสสันดร 40 ภาพ
  • วรรณกรรมแนวสยองขวัญ หรือเรื่องผี ถึง 108 เรื่อง
  • ภาพประกอบให้ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ลงในคอลัมน์ “จากย่ามความทรงจำ ของ เหม เวชกร” หนังสือฟ้าเมืองไทย

อ้างอิง