ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศโปรตุเกส"

พิกัด: 38°42′N 9°11′W / 38.700°N 9.183°W / 38.700; -9.183
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 103: บรรทัด 103:


== การแบ่งเขตการปกครอง ==
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
สาธารณรัฐโปรตุเกสแบ่งออกเป็น 18 เขต ({{lang|pt|''distritos''}}) กับ 2 เขตปกครองตนเอง ({{lang|pt|''regiões autónomas''}}) ได้แก่
[[ไฟล์:PortugalNumbered.png|thumb|150px|แผนที่แสดงเขตต่าง ๆ ของประเทศโปรตุเกส]]
{| class="toccolours" style="width:100%; margin:auto; margin:1px; text-align:center; border-spacing: 0px; font-size:95%"
สาธารณรัฐโปรตุเกสแบ่งออกเป็น '''18 เขต (districts - ''distritos'') ''' ได้แก่
|-
# [[เขตลิสบอน]] ( Lisbon)
! colspan="9" style="text-align:left; background:lightgrey; padding-left:10px; font-size:130%;"| เขต<ref>{{cite web|url=http://www.distritosdeportugal.com/ |title=Districts of Portugal |publisher=Distritosdeportugal.com |accessdate=22 August 2010}}</ref>
# [[เขตไลรีอา]] (Leiria)
|- style="font-size:95%; width:15%; background:white;"
# [[เขตซังตาไร]] (Santarém)
! style="border-bottom:1px solid black;"| &nbsp;
# [[เขตซือตูบัล]] (Setúbal)
! style="border-bottom:1px solid black;"| เขต
# [[เขตแบฌา]] (Beja)
! style="border-bottom:1px solid black;"| เนื้อที่
# [[เขตฟารู]] (Faro)
! style="border-bottom:1px solid black;"| จำนวนประชากร
# [[เขตแอวูรา]] (Évora)
| rowspan="10" style="background:white;"|[[File:PortugalNumbered.png|110px]]
# [[เขตปูร์ตาแลกรือ]] (Portalegre)
! style="border-bottom:1px solid black;"| &nbsp;
# [[เขตกัชแตลูบรังกู]] (Castelo Branco)
! style="border-bottom:1px solid black;"| เขต
# [[เขตกวาร์ดา]] (Guarda)
! style="border-bottom:1px solid black;"| เนื้อที่
# [[เขตกูอิงบรา]] (Coimbra)
! style="border-bottom:1px solid black;"| จำนวนประชากร
# [[เขตอาไวรู]] (Aveiro)
|-
# [[เขตวีเซว]] (Viseu)
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 1
# [[เขตบรากังซา]] (Bragança)
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตลิสบอน|ลิสบอน]]
# [[เขตวีลาเรียล]] (Vila Real)
| 2,761 ตร.กม.
# [[เขตโปร์ตู]] (Porto)
| 2,250,533 คน
# [[เขตบรากา]] (Braga)
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 10
# [[เขตเวียนาดูกัชแตลู]] (Viana do Castelo)
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตกวาร์ดา|กวาร์ดา]]
นอกจากนี้โปรตุเกสยังมี '''2 เขตปกครองตนเอง (autonomous regions - ''regiões autónomas'') ''' คือ [[อะโซร์ส]] (the Azores) และ[[มาเดรา]] (Madeira) ซึ่งเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก
| 5,518 ตร.กม.
| 160,939 คน
|-
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 2
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตไลรีอา|ไลรีอา]]
| 3,517 ตร.กม.
| 470,930 คน
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 11
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตกูอิงบรา|กูอิงบรา]]
| 3,947 ตร.กม.
| 430,104 คน
|-
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 3
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตซังตาไร|ซังตาไร]]
| 6,747 ตร.กม.
| 453,638 คน
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 12
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตอาไวรู|อาไวรู]]
| 2,808 ตร.กม.
| 714,200 คน
|-
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 4
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตซือตูบัล|ซือตูบัล]]
| 5,064 ตร.กม.
| 851,258 คน
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 13
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตวีเซว|วีเซว]]
| 5,007 ตร.กม.
| 377,653 คน
|-
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 5
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตแบฌา|แบฌา]]
| 10,225 ตร.กม.
| 152,758 คน
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 14
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตบรากังซา|บรากังซา]]
| 6,608 ตร.กม.
| 136,252 คน
|-
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 6
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตฟารู|ฟารู]]
| 4960 ตร.กม.
| 451,006 คน
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 15
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตวีลาเรียล|วีลาเรียล]]
| 4,328 ตร.กม.
| 206,661 คน
|-
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 7
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตแอวูรา|แอวูรา]]
| 7,393 ตร.กม.
| 166,706 คน
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 16
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตโปร์ตู|โปร์ตู]]
| 2,395 ตร.กม.
| 1,817,117 คน
|-
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 8
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตปูร์ตาแลกรือ|ปูร์ตาแลกรือ]]
| 6065 ตร.กม.
| 118,506 คน
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 17
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตบรากา|บรากา]]
| 2,673 ตร.กม.
| 848,185 คน
|-
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 9
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตกัชแตลูบรังกู|กัชแตลูบรังกู]]
| 6,675 ตร.กม.
| 196,264 คน
| style="width:2.5%; background:#f0f0f0; border:1px solid white" | 18
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[เขตเวียนาดูกัชแตลู|เวียนาดูกัชแตลู]]
| 2,255 ตร.กม.
| 244,836 คน
|}

{| class="toccolours" style="width:100%; margin:auto; margin:1px; text-align:center; border-spacing: 0px; font-size:95%"
|-
! colspan="4" style="text-align:left; background:lightgrey; padding-left:10px; font-size:130%;"| เขตปกครองตนเอง
|-
! style="width:40%; background:white; border-bottom:1px solid black;"| เขตปกครองตนเอง
! style="width:30%; background:white; border-bottom:1px solid black;"| เนื้อที่
! style="width:30%; background:white; border-bottom:1px solid black;"| จำนวนประชากร
|-
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[อะโซร์ส]]
| 2,333 ตร.กม.
| 246,772 คน
|-
| style="text-align:left; padding-left:5px;"| [[มาเดรา]]
| 801 ตร.กม.
| 267,785 คน
|}


== นโยบายการต่างประเทศ ==
== นโยบายการต่างประเทศ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:26, 23 ตุลาคม 2558

สาธารณรัฐโปรตุเกส

República Portuguesa (โปรตุเกส)
เพลงชาติA Portuguesa (โปรตุเกส)

noicon
ที่ตั้งของโปรตุเกส
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ลิสบอน
ภาษาราชการภาษาโปรตุเกส
การปกครองประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
อานีบัล กาวากู ซิลวา
เปดรู ปาซุช กูเอลยู
การสร้างชาติ 
• เอกราช
24 มิถุนายน พ.ศ. 1671
• เป็นที่ยอมรับ
5 ตุลาคม พ.ศ. 1686
พื้นที่
• รวม
92,391 ตารางกิโลเมตร (35,672 ตารางไมล์) (111)
0.5
ประชากร
• 2557 ประมาณ
10,427,301[1] (83)
• สำมะโนประชากร 2554
10,562,178[2]
115 ต่อตารางกิโลเมตร (297.8 ต่อตารางไมล์) (97)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2557 (ประมาณ)
• รวม
280.360 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (53)
26,975 ดอลลาร์สหรัฐ[3] (42)
เอชดีไอ (2556)Steady 0.822[4]
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 41
สกุลเงินยูโร (€) (EUR)
เขตเวลาUTC+0 (WET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1 (WEST)
รหัสโทรศัพท์351
โดเมนบนสุด.pt
ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671

โปรตุเกส (โปรตุเกส: Portugal) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (โปรตุเกส: República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย)

ภูมิศาสตร์

ประวัติศาสตร์

โปรตุเกสคือดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมแตกต่างกันไปอย่างต่อเนื่องในช่วง 3,500 ปีที่ผ่านมา ทั้งอารยธรรมของชาวไอบีเรีย (Iberians) ชาวเซลต์ (Celts) ชาวฟีนีเชีย (Phoenicians) และชาวคาร์เทจ (Carthaginians) ชาวกรีก (Greeks) ชาวโรมัน (Romans) ชาวเผ่าเยอรมัน (Germanic tribespeople) รวมถึงอารยธรรมของชาวอาหรับ (Arabians) ล้วนเคยเหยียบย่ำบนแผ่นดินโปรตุเกสมาแล้วทั้งสิ้น ในชื่อ "โปรตุเกส" นั้นก็บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์สมัยโบราณส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไปแล้ว เนื่องจากรากศัพท์ของคำว่าโปรตุเกสนั้น คือชื่อที่ชาวโรมันตั้งให้ชื่อว่า "Portus Cale" อาจเป็นไปได้ว่าคำนี้จะมาจากการสมาสคำระหว่างภาษากรีกและภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า "ท่าเรือที่สวยงาม" ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ คริสต์ศตวรรษที่ 16 นั้นโปรตุเกสคือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยจักรวรรดิโปรตุเกสนั้นแผ่ขยายอำนาจของตนไปทั่วโลก เมื่อหลังจากที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ พัฒนาขึ้นในด้านการล่าอาณานิคมแล้ว โปรตุเกสจึงเสื่อมถอยลงไป

ประเทศโปรตุเกสในปัจจุบันนี้มีรากฐานมาจากการปฏิวัติเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ทำการล้มล้างระบอบการปกครองแบบเผด็จการ (หรือการบริหารแบบพรรคเดียว) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) จนถูกโค่นล้มในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) จากนั้นในภายหลังจึงเข้ามาเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Community (สหภาพยุโรปในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ประเทศโปรตุเกสพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ยุคลูซิทาเนีย

ในช่วงต้น ๆ หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล ชาวเซลต์ได้ทำการรุกรานโปรตุเกสจากภูมิภาคยุโรปตอนกลางอยู่หลายระลอกด้วยกัน รวมถึงแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวไอบีเรียซึ่งเป็นประชากรท้องถิ่น ก่อให้เกิดชาวเซลต์ลูกครึ่งไอบีเรียออกมา นักสำรวจชาวกรีกในยุคนั้นตั้งชื่อภูมิภาคนี้ว่า "ออร์ฟิอุสซา" (Orphiussa) (มาจากภาษากรีก หมายความว่า "แดนแห่งพญางู" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นั่นนับถืองูพิษ ต่อมาพ.ศ. 305 (ก่อนคริสตกาล 238 ปี) ชาวคาร์เทจเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งบนคาบสมุทรไอบีเรีย ในช่วงนี้มีเผ่าย่อยๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายกันไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวลูซิทาเนีย (Lusitanians) ที่อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำดูโร (Douro) และแม่น้ำเทโฮ (Tegus หรือ Tejo) และชาวแคลเลไค (Callaeci) ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำดูโรรวมอยู่กับเผ่าอื่น ๆ รวมถึงชาวโคนิไอ (Conii) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของโปรตุเกสมาเป็นเวลานาน และชาวเซลติไค (Celtici) ชนรุ่นหลังของชาวเซลต์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน พวกเขาอาศัยอยู่ที่อเลนเทโฮ (Alentejo)

ก่อนคริสตกาล 219 ปี ทหารชาวโรมันชุดแรกเข้ามาทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย และขับไล่ชาวคาร์เทจออกไประหว่างสงครามพิวนิค (Punic Wars) การพิชิตโปรตุเกสของชาวโรมันเริ่มต้นขึ้นทางตอนใต้ขึ้นมา, ในตอนใต้นี้เอง ที่ทำให้พวกเขาพบกับชาวพื้นเมืองที่เป็นมิตรเผ่าแรกคือเผ่าโคนิไอ หลายทศวรรษต่อมา ชาวโรมันก็ค่อยๆ ขยายวงแหวนแห่งการปกครองออกไป แต่ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 349 (194 ปีก่อนคริสตกาล) เกิดการกบฏขึ้นทางตอนเหนือ โดยชาวลูซิเทเนียที่ในที่สุดก็สามารถตรึงกำลังพวกโรมันเอาไว้ได้ ได้ทำการยึดอาณาเขตคืนมาจากชาวโรมัน และปล้นสดมภ์เมืองโคนิสทอร์จิส (Conistorgis) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเผ่าโคนิไอ ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวโคนิไอนี้ผูกมิตรชิดเชื้อกับโรม ผู้นำของชาวลูซิเทเนีย วิเรียธิอุส (Viriathus) เป็นผู้นำการขับไล่ทหารโรมันออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ทำให้โรมต้องส่งกองทหารโรมันมาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาทางโรมจึงทำการประนีประนอมโดยการเปลี่ยนสัญชาติชาวลูซิเทเนียให้เป็นชาวโรมัน ด้วยการมอบสิทธิ์ละติน (Latinius หรือ Latin Right) ให้กับชาวลูซิเทเนียในปี พ.ศ. 616 (ค.ศ. 73)

ยุคอาณาจักร

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวเผ่าอนารยชนเยอรมัน (ส่วนใหญ่คือเผ่าซูวี (Suevi) และชาววิสิกอธ) ได้ทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย, ก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้น และกลายเป็นชาวพื้นเมืองไอบีเรียในที่สุด มีชาวเผ่ากลุ่มน้อยเช่นชาวแวนดัล (Vandals) เผ่าซิลิงไก (Silingi) และเผ่าฮาสดิงไก (Hasdingi) รวมถึงชาวซาร์มาเทีย (หรือ ชาวอลัน - Alans) อาศัยอยู่ด้วย แต่ต่อมาพวกเขาโดนเนรเทศหรือจำกัดถิ่นที่อยู่โดยชาววิสิกอธ (Visigoths)

การรุกรานของชาวมุสลิมเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1254 (ค.ศ. 711) บรรดาขุนนางที่ถูกขับไล่ออกมาอพยพไปยังทางตอนเหนือที่ยังไม่ได้ทำการยึดครอง ณ ที่ราบสูงแอสทูเรีย (Asturia) จากจุดนั้นพวกเขามีจุดมุ่งหมายในการยึดดินแดนคืนมาจากชาวมัวร์ (Moors) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเบอร์เบอร์ และชาวอาหรับจำนวนหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานนักในการยึดคืนมาเนื่องมาจากการยึดดินแดนคืนครั้งใหญ่ของชาวคริสต์หรือ Reconquista ในปี พ.ศ. 1411 (ค.ศ. 868) เคานต์วีมารา เปเรช (Count Vímara Peres) เป็นผู้ยึดดินแดนระหว่างแม่น้ำมีโนและดูโรคืนมาได้ ดินแดนดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันได้นามว่า Portucale (ซึ่งก็คือโปรตุเกสในปัจจุบัน)

ยุคเสรีนิยม

ยุคสาธารณรัฐ

การเมืองการปกครอง

บริหาร

นิติบัญญัติ

ตุลาการ

การแบ่งเขตการปกครอง

สาธารณรัฐโปรตุเกสแบ่งออกเป็น 18 เขต ([distritos] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) กับ 2 เขตปกครองตนเอง ([regiões autónomas] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) ได้แก่

เขต[5]
  เขต เนื้อที่ จำนวนประชากร   เขต เนื้อที่ จำนวนประชากร
1 ลิสบอน 2,761 ตร.กม. 2,250,533 คน 10 กวาร์ดา 5,518 ตร.กม. 160,939 คน
2 ไลรีอา 3,517 ตร.กม. 470,930 คน 11 กูอิงบรา 3,947 ตร.กม. 430,104 คน
3 ซังตาไร 6,747 ตร.กม. 453,638 คน 12 อาไวรู 2,808 ตร.กม. 714,200 คน
4 ซือตูบัล 5,064 ตร.กม. 851,258 คน 13 วีเซว 5,007 ตร.กม. 377,653 คน
5 แบฌา 10,225 ตร.กม. 152,758 คน 14 บรากังซา 6,608 ตร.กม. 136,252 คน
6 ฟารู 4960 ตร.กม. 451,006 คน 15 วีลาเรียล 4,328 ตร.กม. 206,661 คน
7 แอวูรา 7,393 ตร.กม. 166,706 คน 16 โปร์ตู 2,395 ตร.กม. 1,817,117 คน
8 ปูร์ตาแลกรือ 6065 ตร.กม. 118,506 คน 17 บรากา 2,673 ตร.กม. 848,185 คน
9 กัชแตลูบรังกู 6,675 ตร.กม. 196,264 คน 18 เวียนาดูกัชแตลู 2,255 ตร.กม. 244,836 คน
เขตปกครองตนเอง
เขตปกครองตนเอง เนื้อที่ จำนวนประชากร
อะโซร์ส 2,333 ตร.กม. 246,772 คน
มาเดรา 801 ตร.กม. 267,785 คน

นโยบายการต่างประเทศ

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ความสัมพันธ์โปรตุเกส – ไทย
Map indicating location of โปรตุเกส and ไทย

โปรตุเกส

ไทย
  • การทูต

โปรตุเกสมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยเป็นเวลายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสกลุ่มแรกเดินทางถึงประเทศไทยเมื่อ ค.ศ.1511 (พ.ศ. 2054) ซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางการค้า สังคม การเมืองและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สรุปแล้วโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เริ่มเข้ามาติดต่อกับไทย มีการแลกเปลื่ยนการเยือนของบุคคลสำคัญระหว่างกันโดยตลอด

  • เศรษฐกิจ

การค้าระหว่างไทย-โปรตุเกส (2012) มีมูลค่าการค้ารวม 182.7 ล้านดอลล่าร์ฯ ไทยส่งออกมูลค่า 113.73 ล้านดอลล่าร์ฯ และไทยนำเข้า 68.98 ล้านดอลล่าร์ฯ ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้า 44.75 ล้านดอลล่าร์ฯ

สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ 1.ภลิตภัณฑ์และเม็ดพลาสติก 2.ภลิตภัณฑ์ยาง 3.รองเท้าและชิ้นส่วน 4.รถยนต์และส่วนประกอบ 5.เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ

สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากโปรตุเกส 1.อุปกรณ์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ 2.ชิ้นส่วน และอะไหล่รถยนต์ 3.เครื่องนุ่งห่ม 4.เครื่องจักร และส่วนประกอบ 5.กระดาษ และภลิตภัณฑ์กระดาษ

  • ความร่วมมือทางวิชาการ
  • การเยือน
    • ฝ่ายไทย
    • ฝ่ายโปรตุเกส

กองทัพ

กองกำลังกึ่งทหาร

เศรษฐกิจ

โครงสร้าง

การท่องเที่ยว

โปรตุเกสเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของชาวยุโรปเหนือ เนื่องจากโปรตุเกสเป็นประเมศที่สวยงาม มีอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาว และ ทางภาคใต้ของโปรตุเกสมีอากาศอบอุ่นตลอดปี รวมถึงความสะดวกสบายในการเดินทางทั้ง เครื่องบิน รถยนต์ และ รถไฟ

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป ได้แก่ สเปน อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และ ไอร์แลนด์ ส่วนนักท่องเที่ยวจากนอกทวีปยุโรป ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา

โครงสร้างพื้นฐาน

คมนาคม และ โทรคมนาคม

  • เส้นทางคมนาคม
  • โทรคมนาคม

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

การศึกษา

สาธารณสุข

ประชากรศาสตร์

โปรตุเกสมีประชากรประมาณ 10,927,250 คน ในวันที่ 1 มีนาคม 2013 ในจำนวนนี้ 3.13 % เป็นผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่มาจาก คาบู แวร์ดึ บราซิล ยูเครน และ อังโกลา โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีคนนับถือประมาณ 94 % และยังมีนิกายโปรเตสแตนต์และอื่นๆ รวม 6 % โดยทุกศาสนาอยู่ด้วยกันอย่างสันติ

เชื้อชาติ

ศาสนา

ศาสนา คริสต์ นิกายโรมันคาธอลิก (ร้อยละ 84.5) โปรแตสแตนท์ (ร้อยละ 2.2) ไม่มีศาสนา (ร้อยละ 3.9) และศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ 9.4)


ภาษา

ภาษาทางการของประเทศโปรตุเกสคือภาษาโปรตุเกส เป็นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ ซึ่งในกลุ่มภาษานี้มีภาษาสเปน ฝรั่งเศส และ อิตาลี ด้วย มีผู้พูดภายในประเทศประมาณ 10,000,000 คน (ปี ค.ศ. 2012) และประมาณ 203,349,200 คนทั่วโลก[6]

กีฬา

ฟุตบอล

กีฬาฟุตบอลถือว่าเป็นกีฬาที่นิยมที่สุดในโปรตุเกส ทีมที่มีชื่อเสียง เช่น สปอร์ลิชบัวอีไบฟีกา, สโมสรฟุตบอลโปร์ตู และ นักฟุตบอลโปรตุเกสระดับนานาชาติ เช่น ลูอีช ฟีกู คริสเตียโน โรนัลโด ในปี ค.ศ. 2004 โปรตุเกสเคยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลยูโรเปียนคัพ นอกจากนี้โปรตุเกสยังมีชื่อเสียงเรื่องรักบี้อีกด้วย [7]

วัฒนธรรม

โปรตุเกสได้รับอิทธิพลจากหลากหลายอารยธรรมที่เข้ามาปกครองดินแดนโปรตุเกสทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้น

สถาปัตยกรรม

ศิลปะ

อาหาร

อาหารโปรตุเกสมีหลากหลายชนิดและจากเนื้อสัตว์เกือบทุกประเภท นิยมรับประทานซุป และจานหลักที่มีข้าวและมันฝรั่งเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังนำปลาค๊อดตากแห้งมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู ทั้งนี้ขนมหวานโปรตุเกสยังมื่อเสียงด้วย โดยเฉพาะ ทาร์ตไข่ และขนมที่ทำจากไข่แดงและน้ำตาล ซึ่งนิยมรับประทานร่วมกับกาแฟ และชาวโปรตุเกสยังดื่มกาแฟมากถึง 5 - 8 แก้วเล็กต่อวัน

ดนตรี

สื่อสารมวลชน

วันหยุด

อ้างอิง

  1. [1]. Accessed on 17 June 2014. (โปรตุเกส)
  2. Portugal. Censos 2011 (ine.pt) (โปรตุเกส)
  3. 3.0 3.1 "Portugal". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 14 April 2015.
  4. "2014 Human Development Report Summary" (PDF). United Nations Development Programme. 2014. pp. 21–25. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
  5. "Districts of Portugal". Distritosdeportugal.com. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  6. Lewis, M. Paul, Gary F. Simons, and Charles D. Fennig (eds.). 2014. Ethnologue: Languages of the World, Seventeenth edition. Dallas, Texas: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com.
  7. ประเทศโปรตุเกส

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
การท่องเที่ยว

38°42′N 9°11′W / 38.700°N 9.183°W / 38.700; -9.183

อ้างอิง