ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โกศล ปัทมะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Takumi1603 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
<!----------เกิด/ถึงแก่อสัญกรรม---------->
<!----------เกิด/ถึงแก่อสัญกรรม---------->
| birth_date = {{วันเกิด-อายุ|2510|1|29}}
| birth_date = {{วันเกิด-อายุ|2510|1|29}}
| birth_place = [[อำเภอสุวรรณคูหา]] [[จังหวัดหนองบัวลำภู]]
| birth_place =
| death_date =
| death_date =
| death_place =
| death_place =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:52, 8 ตุลาคม 2558

โกศล ปัทมะ
ไฟล์:โกศล ปัทมะ.jpg
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต 5
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 มกราคม พ.ศ. 2510 (57 ปี)
อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู
พรรคการเมืองเพื่อไทย

นายโกศล ปัทมะ (เกิด 29 มกราคม พ.ศ. 2510) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต 5 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ

โกศล ปัทมะ เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2510 เป็นบุตรของนายบุศย์ และนางปัดทุม ปัทมะ เป็นน้องชายของนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ปัจจุบันมีสถานะโสด จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร

งานการเมือง

พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาเป็นครั้งแรก สังกัดพรรคเพื่อไทย โดยในช่วงระยะแรกนายโกศลมีคะแนนนิยมเป็นรองนายภิรมย์ พลวิเศษ อดีต ส.ส. และผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย แต่เนื่องจากนายภิรมย์ข้ามเขตไปหาเสียงให้ภรรยาบ่อยครั้ง ประกอบกับการเดินทางมาปราศัยใหญ่ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย มีประชาชนเข้าร่วมฟังการปราศัยกว่า 20,000 คน[1] ผลการเลือกตั้งนายโกศล สามารถเอาชนะนายภิรมย์ได้กว่า 10,000 คะแนน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

โกศล ปัทมะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ยิ่งลักษณ์ฯ ลงพื้นที่ ขอคะแนนเสียงโค้งสุดท้าย
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น