ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 81: บรรทัด 81:


* สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
* สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
* สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
* สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 36 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
* สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
* สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
* สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
* สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:57, 4 ตุลาคม 2558

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ไฟล์:Npru-logo.png
ชื่อย่อมรน. / NPRU
คติพจน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมไทย และเป็นแหล่งความรู้ของปวงชน มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้สมบูรณ์ มีคุณค่าด้านการจัดการภูมิปัญญา และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และมุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและปวงชน
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนาพ.ศ. 2479
อธิการบดีผศ.สมเดช นิลพันธุ์
อธิการบดีผศ.สมเดช นิลพันธุ์
นายกสภามหาวิทยาลัยประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
ที่ตั้ง
85 ถนนมาลัยแมน ตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
เว็บไซต์www.npru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (อังกฤษ: Nakhon Pathom Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2479

ประวัติ

พ.ศ. 2479 เริ่มตั้งเป็น “โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม” โดยใช้ตึกหอทะเบียนมณฑลนครชัยศรี ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 86 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม รับเฉพาะนักเรียนหญิง เปิดสอนชั้นฝึกหัดครูประชาบาล

พ.ศ. 2511 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม

พ.ศ. 2513 เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม เป็นวิทยาลัยครูนครปฐม เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2513 และเปิดสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง)

พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูว่า “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535

พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยใน พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 พิมพ์ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน เป็นต้นไป

ปรัชญา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมไทย และเป็นแหล่งความรู้ของปวงชน มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้สมบูรณ์มีคุณค่าด้านการจัดการภูมิปัญญา และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และมุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและปวงชน

วิสัยทัศน์

เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพคู่คุณธรรม พัฒนาองค์ความรู้ ภูมิปัญญาสู่สากล

พันธกิจ

ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 ระบุไว้ใน มาตรา 7 “ ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้า อย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริม วิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และ พัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยะฐานะครู” จึงกำหนดพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมไว้เป็น 6 ประการ คือ

1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพคู่คุณธรรมและขยายโอกาสทางการศึกษา

2. ผลิตบัณฑิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู

3. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

4. วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากล และสืบสานพัฒนาโครงการพระราชดำริ

5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

6. พัฒนาศักยภาพของชุมชน

ค่านิยมหลัก

N - Network and Communication การสร้างเครือข่ายการทำงานและการสื่อสารหลายรูปแบบ หมายถึง การทำงานแบบประสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมุ่งพัฒนาไปสู่องค์กรแห่ง การเรียนรู้เต็มรูปแบบ

P - Professional การทำงานแบบมืออาชีพหมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล ดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

R - Responsibility การทำงานด้วยความรับผิดชอบ หมายถึง การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม รักษาคุณภาพและมาตรฐาน โปร่งใสและตรวจสอบได้

U - Unity การประสานสามัคคี หมายถึง การทำงานด้วยความเคารพในความคิดเห็นของเพื่อน ร่วมงานช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยไม่แบ่งฝักฝ่าย และเสียสละเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ หมายถึง พระตราที่ใช้ประทับกำกับ พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ในต้นเอกสารสำคัญ ส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ เป็นรูปพระที่นั่งอิฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตเจ็ดชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอิฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน (โดยที่วันพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่ง อิฐทิศ สมาชิกรัฐสภา ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน้ำอภิเษกจาก สมาชิกรัฐสภา แทนที่จะทรงรับจากราชบัณฑิตดังในรัชกาลก่อน)

ไฟล์:Npru-logo.png

  • สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
  • สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 36 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  • สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
  • สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
  • สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีประจำสถาบัน สีแดง-ชมพู

พระพุทธประจำมหาวิทยาลัย

พระพุทธศรีทวารวดี สิริราชภัฏ

ดอกไม้ประจำสถาบัน

เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวฝรั่ง เศสราวปี ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเซีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์ เฟื่องฟ้าเข้ามาจาก สิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2423 ใน สมัยรัชการที่ 5 และมีการ นำเข้า จาก ต่าง ประเทศ มากมายจนถึงปัจจุบัน พันธุ์เฟื่องฟ้า ในประเทศไทย มีไม่น้อยกว่า ต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโต ได้ดีในประเทศไทย แล้วยังเกิด การ กลายพันธุ์ เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย

การจัดการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีการจัดการศึกษา 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาครุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี และสาขาพยาบาลศาสตร์ การจัดการศึกษาจะเน้นทางทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ โดยจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในรูปแบบของ Active Learning มุ่งให้นักศึกษาได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สามารถสร้างสรรค์และพัฒนางานของตนเองได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนั้นยังเสริมด้วยกิจกรรมอันหลากหลายที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาเป็นคนดี มีคุณธรรม

ปัจจุบัน มีหลักสูตรสำหรับนักศึกษาต่างประเทศ และมีนักศึกษาจีน นักศึกษาเวียดนาม จำนวนกว่า 200 คน

ผู้บริหาร(ปัจจุบัน)

ตำแหน่ง ชื่อ-นามสกุล
อธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์
ที่ปรึกษาอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานด้านกฎหมาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สนิท ชุนดี ไฟล์:Manage2.jpg
ที่ปรึกษาอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานด้านอาคารสถานที่และงานพัสดุ

อาจารย์อกนิษฐ์ จิตตางกูร
ที่ปรึกษาอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานด้านการบริหารงานบุคคล

นายโอภาส เขียววิชัย
ที่ปรึกษาอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานด้านงานกิจการนักศึกษา

อาจารย์ชูชีพ คงมีชนม์
รองอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานด้านบริหาร

รองศาสตราจารย์โสรัจ กายบริบูรณ์
รองอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานด้านวิชาการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมหมาย เปียถนอม
รองอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานงานวิจัย ประกันคุณภาพ และบัณฑิตศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ
รองอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานเทคโนโลยีสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ลำใย
รองอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานด้านภูมิสถาปัตย์

อาจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว
ผู้ช่วยอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานด้านวิจัยท้องถิ่น

อาจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี
ผู้ช่วยอธิการบดี

ดูแลรับผิดชอบงานด้านนโยบายและแผน

อาจารย์ ดร.สุวิมล มรรควิบูลย์ชัย
ผู้ช่วยอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วิไลรัตน์ คีรินทร์
ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ อาจารย์การุณย์ ด่านประดิษฐ์
คณบดีคณะครุศาสตร์ อาจารย์ชัยยุธ มณีรัตน์
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษา น้อยทิม
คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ ฉิมะสังคนันท์
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจารย์ศิริชัย โสภา
คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุนุตตรา ตะบูนพงศ์
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน อาจารย์ ดร.สุพจน์ เฮงพระพรหม
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา อาจารย์ ดร.พัชรศักดิ์ อาลัย
ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนีย์ กงตาล
ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ รองศาสตราจารย์เบญจรัตน์ สีทองสุก
ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี นางรัตนา จันทนากร

คณะ

สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย