ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สปีชีส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
คัดลอกมาจาก http://guru.sanook.com/7570/
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์}}
{{การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์}}
ในวิชา[[ชีววิทยา]] '''ชนิด''' หรือทับศัพท์ว่า '''สปีชีส์''' ({{lang-en|species}}, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วย[[การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์]]พื้นฐานและ[[อันดับอนุกรมวิธาน]]หนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น [[ชนิดย่อย]] (ในทาง[[พฤกษศาสตร์]] มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma))
ในวิชา[[ชีววิทยา]] '''ชนิด''' หรือทับศัพท์ว่า '''สปีชีส์''' ({{lang-en|species}}, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วย[[การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์]]พื้นฐานและ[[อันดับอนุกรมวิธาน]]หนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น [[ชนิดย่อย]] (ในทาง[[พฤกษศาสตร์]] มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma))

== มีกี่สปีชีส์ ==
ไม่มีใครรู้ว่าโลกเรามีสิ่งมีชีวิตอยู่กี่สปีชีส์ จนถึงขณะนี้มีผู้พบแล้ว 1.4 ล้านสปีชีส์ 750,000 สปีชีส์เป็นแมลง 250,000 เป็นพืชและ 41,000 เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่อาจมีมากกว่านี้มาก ซึ่งน่าจะเป็นแมลงที่ซ่อนตัวอยู่ตามป่าชื้น นักชีววิทยาคนหนึ่งพบว่ามีแมลงถึง 3,000 ชนิดบนต้นไม้ในเขตร้อนเพียงต้นเดียว และคำนวณไว้ว่าน่าจะมีแมลงถึง 30 ล้านสปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เวลาผ่านไปรวดเร็วมาก หลายสปีชีส์สูญพันธุ์ก่อนที่จะได้รับการบันทึกไว้ด้วยซ้ำไป

== การเกิดสปีชีส์ใหม่ ==
กว่า 3.5 พันล้านปีของสิ่งมีชีวิตบนโลก มีสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ๆ นับจำนวนไม่ถ้วนที่วิวัฒนาการมาอยู่ได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ แม้ว่าหลายสปีชีส์จะมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน และหลายสปีชีส์อาจมองดูคล้ายคลึงกัน แต่ละสปีชีส์ก็แตกต่างจากสปีชีส์อื่นๆ ที่เคยมีชีวิตอยู่ ทุกสปีชีส์มีลักษณะเฉพาะตัว นับจาก[[ไดโนเสาร์]][[ไทรันโนซอรัส เร็กซ์]] ([[ไทรันโนซอรัส เร็กซ์|Tyrannosauras rex]]) จนถึง[[ผึ้ง]] ลักษณะที่เราเห็นในสปีชีส์กลุ่มใหม่ๆ เป็นผลจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตต่อการเปลี่ยนแปลงบางประการที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม สภาพการณ์ดังกล่าวไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้น เมื่อสปีชีส์ใดสูญพันธุ์หรือปรับตัวเองจนเปลี่ยนเป็นสปีชีส์ใหม่แล้ว จะสูญหายไปจากโลกอย่างสิ้นเชิง ทฤษฎีวิวัฒนาการของ[[ชาลส์ ดาร์วิน]] แสดงให้เห็นว่าสปีชีส์เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร และความเข้าใจในวิวัฒนาการอย่างลึกซึ้งของเขาช่วยให้เราเข้าใจว่า ทำไมจึงมีสิ่งมีชีวิตมากมายหลายประเภทในโลก

== การทำให้เกิดสปีชีส์ใหม่ด้วยการขัดขวางมิให้เกิดการสืบพันธุ์ ==
การเกิดสปีชีส์ (speciation) เป็นวิธีการสำคัญที่ทำให้เกิดสปีชีส์ใหม่ โดยการแยกกลุ่มเก่าออกจากกัน หมู่เกาะ[[กาลาปากอส]] มีนกกระจอก (finch) หลายสปีชีส์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าเมื่อ 2-3 ล้านปีที่แล้วมา นกกระจอกกลุ่มหนึ่งจากอเมริกาใต้ถูกลมพัดมาติดที่เกาะหนึ่งและตั้งรกรากอยู่ที่นั่น ต่อมานกเหล่านี้กลุ่มเล็กๆ บินไปอยู่อีกเกาะหนึ่ง ปัจจุบันนกสองกลุ่มนี้แยกกันอยู่คนละเกาะและผสมพันธุ์กันไม่ได้ เนื่องจากแต่ละกลุ่มจะปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมบนเกาะที่อยู่นานเป็นพันปี นกสองกลุ่มนี้จะมีพันธุกรรมแปลกแยกจากกันมากขึ้นทุกปี จนกลายเป็นพันธุกรรมเฉพาะกลุ่มของตน เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้งจนมีนกกระจอกสปีชีส์ใหม่เกิดขึ้นหลายสปีชีส์

== วิวัฒนาการแบบปรับตัวเข้าหากัน ==
สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ๆ แต่ละสปีชีส์จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ผลจากการปรับตัวนี้ทำให้สปีชีส์ที่มิได้เกี่ยวข้องกัน แต่ตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเหมือนกันจนปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันจนดูคล้ายคลึงกัน เช่น หมาป่าแทสเมเนียที่มองดูเหมือนสุนัข แต่แท้จริงแล้วเป็นพวก[[มาร์ซูเปียล]] (marsupial) ที่ดำเนินชีวิตเหมือนสัตว์กินสัตว์ เช่น สุนัขและหมาป่า


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:45, 23 กันยายน 2558

The various levels of the scientific classification system.สปีชีส์สกุลวงศ์อันดับชั้นไฟลัมส่วนอาณาจักรโดเมนชีวิต
The various levels of the scientific classification system.

แปดลำดับขั้นสำคัญ ๆ ของการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ในหนึ่งสกุลประกอบด้วยหนึ่งสปีชีส์ขึ้นไป ตามแผนภาพไม่ได้แสดงลำดับขั้นที่อยู่อื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างนี้

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (อังกฤษ: species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma))

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • Stephen Webster เขียน ,รศ.ดร.อุษณีย์ ยศยิ่งยวด แปล, วิวัฒนาการ, นานมีบุคส์, 2003. ISBN 974-9656-27-X

แหล่งข้อมูลอื่น