ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tongacerz3 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tongacerz3 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| ก่อตั้ง = [[9 กันยายน]] [[พ.ศ. 2558]]
| ก่อตั้ง = [[9 กันยายน]] [[พ.ศ. 2558]]
| คำขวัญ = ภูมิความรู้สร้างคุณค่า ภูมิปัญญาสร้างสังคม
| คำขวัญ = ภูมิความรู้สร้างคุณค่า ภูมิปัญญาสร้างสังคม
| ประเภท = [[สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ]]
| ประเภท = [[สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ]]
| นายกสภามหาวิทยาลัย =
| นายกสภามหาวิทยาลัย =
| อธิการบดี = [[นพพร โฆสิระโยธิน|ผศ. นพพร โฆสิระโยธิน]] (รักษาการอธิการบดี)
| อธิการบดี = [[นพพร โฆสิระโยธิน|ผศ. นพพร โฆสิระโยธิน]] (รักษาการอธิการบดี)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:28, 22 กันยายน 2558

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ไฟล์:มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.png
คติพจน์ภูมิความรู้สร้างคุณค่า ภูมิปัญญาสร้างสังคม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา9 กันยายน พ.ศ. 2558
อธิการบดีผศ. นพพร โฆสิระโยธิน (รักษาการอธิการบดี)
อธิการบดีผศ. นพพร โฆสิระโยธิน (รักษาการอธิการบดี)
ที่ตั้ง
พื้นที่นามน 13 หมู่ 14 ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ 46230 พื้นที่ดงปอ 62/1 ต.กาฬสินธุ์ อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 46000
เว็บไซต์www.ksu.ac.th

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (อังกฤษ: Kalasin University) คือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตั้งอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์

ประวัติ

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์จัดตั้งขึ้นตาม "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558"[1] เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 โดยเกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน

การควบรวมมหาวิทยาลัย

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." ซึ่งจะเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน[2][3] เป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยการผลักดันของนายเดชา ตันติยวรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และนางบุญรื่น ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้เห็นด้วยและกลุ่มผู้คัดค้าน โดยให้???ـหตุผลก??زรคัดค้านว่าจะทำให้สถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเดิมถูกทิ้งร้างไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหอพักที่เกิดขึ้นโดยรอบมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." เพื่อลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน[4]ซึ่งต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติในวาระ 3 เห็นชอบให้ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." ด้วยคะแนน 173-1 เสียง

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" มีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขึ้นในวันเดียวกัน

คณะ/หลักสูตร

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น