ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พัชรวาท วงษ์สุวรรณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 77: บรรทัด 77:
==งานสังคม==
==งานสังคม==
*2547-2552 ประธานกรรมการ[[WARNER BROS.]]
*2547-2552 ประธานกรรมการ[[WARNER BROS.]]
*2545 กรรมการ[[การท่าเรือแห่งประเทศไทย]] (
*2545 กรรมการ[[การท่าเรือแห่งประเทศไทย]] (กทท.)
*2544 กรรมการ[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] (กทพ.)
*2544 กรรมการ[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] (กทพ.)
*2542 กรรมการ[[การไฟฟ้านครหลวง]]
*
*2539 กรรมการ[[ธนาคารนครหลวงไทย]]
*
*2537 กรรมการ[[ธนาคารมหานคร]]
*
*2535 กรรมการ[[องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์]]
*2533 กรรมการ[[การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย]] (ปตท.)


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:42, 11 กันยายน 2558

พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
ไฟล์:Pacharawat wong.jpg
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
ถัดไปพลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (ลาพักราชการ)
ถัดไปพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 – 9 กันยายน พ.ศ. 2552 (ลาออก)
ถัดไปพลตำรวจเอก ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ (รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 มีนาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสนางสมถวิล วงศ์สุวรรณ

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ (เกิด 22 มีนาคม พ.ศ. 2492) อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ประวัติ

พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ มีชื่อเล่นว่า "ป๊อด" เป็นชาวบางกะปิ กรุงเทพมหานครแต่โดยกำเนิด เป็นบุตรของพลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ กับนางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีพี่น้อง 4 คน คือ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ และพันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณที่ปรึกษารองประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง[1] [2]

สมรสกับนางสมถวิล วงษ์สุวรรณมีธิดา 2 คนได้แก่ พ.ต.ต. ภญ.พัชรา วงษ์สุวรรณ เภสัชกรประจำโรงพยาบาลตำรวจ ส.ต.ต.หญิง นวพร วงษ์สุวรรณ ผู้บังคับหมู่ ฝ่ายการต่างประเทศ 3 กองการต่างประเทศ

การศึกษา

การรับราชการ

  • รอง สว. กองบังคับการการสนับสุนนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
  • รอง สว. กองทะเบียน แล้วย้ายมาดูงานกำลังพลที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(บช.ก.)
  • สว. ธุรการ กองกำกับการกำลังพล กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการสอบสวนกลาง
  • ผกก.5 และ ผกก. 3 กองบังคับการตำรวจทางหลวง
  • ผู้บังคับการกองพลาธิการ กรมตำรวจ
  • ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3
  • ผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ทนท.ประสานงานกระทรวงมหาดไทย)
  • ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
  • ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

การดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เซ็นคำสั่งให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธิ์ ไปช่วยราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ มาเป็นรักษาการผบ.ตร. แทน และภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่ทำเนียบรัฐบาลเสร็จสิ้นว่า ที่ประชุม ก.ต.ช. ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม มีมติเป็นเอกฉันท์ แต่งตั้ง พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รักษาการ ผบ.ตร. เป็น ผบ.ตร. คนใหม่ แทน พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส โดยจะขึ้นดำรงตำแหน่งได้เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ พ้นจากตำแหน่ง [3][4] [5][6]

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งสำนักนายรัฐมนตรี ที่ 305/2551 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. มาปฏิบัติงานสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนของสังกัดเดิมไปก่อนและให้ พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน [7]

ต่อมาในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ด้วยคำสั่งของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ พล.ต.อ. พัชรวาท กลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม จัดว่าเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรืออธิบดีกรมตำรวจคนแรกที่ถูกสั่งย้ายแล้วสามารถกลับคืนสู่ตำแหน่งได้[8]

ต่อมาหลังจากเกิดเหตุลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้น ทางนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ. ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร.กำกับดูแลคดีนี้โดยเฉพาะและให้รายงานความคืบหน้าของคดีต่อตัวนายกรัฐมนตรีเอง ซึ่งต่อมา พล.ต.อ. ธานีได้ให้สัมภาษณ์ในทำนองว่าการดำเนินคดีนี้มีอุปสรรคเป็น "ตอ" และ "ไส้ศึก" ในหมู่ตำรวจด้วยกันเอง[9] พันธมิตรฯ และหลายภาคส่วนในสังคมคาดการณ์ว่า หมายถึง พล.ต.อ. พัชรวาท นี่เอง ได้มีกระแสเรียกร้องให้ปลดออกจากตำแหน่ง [10] จนในที่สุดนายอภิสิทธิ์ได้เข้าหารือกับ พล.ต.อ.พัชรวาทด้วยตนเองที่บ้านพิษณุโลกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[11]ได้ข้อสรุปว่า พล.ต.อ. พัชรวาทจะเดินทางไปราชการที่ประเทศจีนเป็นเวลา 10 วัน และจะขอลาพักราชการต่อจากนั้น โดยในระหว่างลานี้ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา (สบ 10) รักษาการแทนในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552[12]

วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ซึ่งมี นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาคดีสั่งการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งที่ประชุมมีมติชี้มูลความผิดนักการเมืองและนายตำรวจที่เกี่ยวข้อง โดยที่ พล.ต.อ.พัชรวาท ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุรุนแรงจนถึงขั้นผู้ชุมนุมบาดเจ็บสาหัส ถึงขนาดขาขาดแขนขาด ก็ต้องยับยั้งมิให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป และมีการให้การจากพยานว่า เป็นผู้สั่งการสลายการชุมนุม จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและมีความผิดวินัยร้ายแรง ซึ่งที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 8 ต่อ 1 โดยส่งผลให้หยุดปฏิบัติหน้าที่โดยทันที [13]

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี และให้ พล.ต.อ. ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดคดีอาญาและวินัยร้ายแรงจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ต่อมา พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[14]

วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คืนตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้แก่ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษ[15]

งานการเมือง

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[16]

งานสังคม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/D/110/11.PDF
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
  3. http://thairath.com/online.php?section=newsthairathonline&content=85770
  4. ก.ต.ช.ตั้ง “พล.ต.อ.พัชรวาท” นั่งเก้าอี้ ผบ.ตร.คนใหม่ [11 เม.ย. 51 - 14:55]
  5. http://www.nationmultimedia.com/2008/02/29/politics/politics_30066833.php
  6. คำสั่งเด้งผบ.ตร.
  7. ปลดฟ้าผ่า"พัชรวาท"เซ่นม็อบพันธมิตรฯ
  8. คืนความเป็นธรรม"พัชรวาท"กลับเก้าอี้ ผบ.ตร.
  9. นายกฯเผยธานีเจอตออีกคดีสนธิ7วันขยายผล
  10. “สนธิ” เร่ง “มาร์ค” เชือด “ป๊อด”- ชี้ความผิดเพียบ/พี่ชายเหิมขู่นายกฯ
  11. อภิสิทธิ์แจงพัชรวาทขอลา10วันไปตปท.
  12. ตั้ง “วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี” รักษาการ ผบ.ตร.!
  13. ป.ป.ช.ฟันอาญา “ป๊อด-สมชาย-จิ๋ว” สั่งฆ่า ปชช.7 ตุลาฯ
  14. พล.ต.อ.พัชรวาทลาออก ขอพักผ่อนก่อนเกษียณ
  15. ASTVผู้จัดการออนไลน์, “ประยุทธ์” คืนตำแหน่ง ผบ.ตร. “พัชรวาท” มือเปื้อนเลือด 7 ตุลาฯ ชี้ตามคำสั่งศาลปกครอง, 24 กรกฎาคม 2557
  16. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)
ก่อนหน้า พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ถัดไป
พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)
พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ (รักษาการ)
พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ (รักษาการ)
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552
18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 – 6 กันยายน พ.ศ. 2552)
พลตำรวจเอก ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ (รักษาการ)