ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมบุญ ระหงษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
*ผู้อำนวยการ[[การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย]] (ทอท.)
*ผู้อำนวยการ[[การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย]] (ทอท.)
*กรรมการ[[ธนาคารกรุงไทย]] (2534-2536)
*กรรมการ[[ธนาคารกรุงไทย]] (2534-2536)
*รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร[[WARNER BROS.]] (2539-2543)
*ประธานกรรมการ[[WARNER BROS.]] (2539-2543)
*กรรมการ[[ธนาคารนครหลวงไทย]]
*กรรมการ[[ธนาคารนครหลวงไทย]]
*ประธานกรรมการ[[องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]]
*ประธานกรรมการ[[องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:37, 11 กันยายน 2558

พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุจินดา คราประยูร
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 พฤษภาคม พ.ศ. 2475
เสียชีวิต23 กันยายน พ.ศ. 2556 (81 ปี)
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย
ประชากรไทย
พรรคราษฎร
คู่สมรสคุณหญิงพรทิพย์ ระหงษ์

พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 — 23 กันยายน พ.ศ. 2556) อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคประชากรไทย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต จาก โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และเคยดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย

พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ ถึงแก่อนิจกรรมจากอาการหัวใจล้มเหลว และติดเชื้อในกระแสเลือด หลังเข้ารับการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี[1]

เส้นทางการเมือง

ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในเวลานั้น พล.อ.อ.สมบุญ อดีตผู้อำนวยการการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคชาติไทย สืบต่อจาก พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ลาออกหลังรัฐประหาร เป็นที่เชื่อกันในขณะนั้นว่า พล.อ.อ.สมบุญ จะต้องได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ต่อจาก พล.อ.สุจินดา อย่างแน่นอน แต่แล้วเมื่อ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ กลับกลายเป็นการแต่งตั้งให้ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีรักษาการระหว่างการปฏิวัติ กลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และทำให้เป็นที่พูดต่อๆ กันมาถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า พล.อ.อ.สมบุญ "แต่งชุดขาวรอเก้อ"[1]

กลุ่มงูเห่า

อีก 5 ปีต่อมาหลังจากนั้น พล.อ.อ.สมบุญ ได้สร้างปรากฏการณ์ให้เป็นที่จดจำอีกครั้งในปี พ.ศ. 2540 เมื่อ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยพล.อ.อ.สมบุญ ร่วมกับนายวัฒนา อัศวเหม นำ ส.ส.พรรคประชากรไทย 12 คน ฝืนมติพรรคที่มี นายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้า โดยเข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนให้ นายชวน หลีกภัย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดยต่อมาแกนนำกลุ่ม ได้รับตำแหน่งระดับรัฐมนตรี 2 ตำแหน่งในรัฐบาลชวน 2

แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับคำรับรองจากศาล ว่า ส.ส. แต่ละคนมีอิสระในการตัดสินใจ โดยไม่ขึ้นกับมติพรรค แต่ทั้งหมดก็เป็นที่มาของชื่อ ส.ส. "กลุ่มงูเห่า" จากปาก นายสมัคร สุนทรเวช ที่มีความหมายตามนิทาน "ชาวนากับงูเห่า" นั่นเอง

ด้านสังคม

(2530-2533)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง