ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Tongacerz3 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
'''มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์''' เป็น[[วิทยาเขต]]ในสังกัด[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน]] เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี [[พ.ศ. 2482]] ตั้งอยู่ที่ 62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ [[อำเภอเมืองกาฬสินธุ์]] [[จังหวัดกาฬสินธุ์]]
'''มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์''' เป็น[[วิทยาเขต]]ในสังกัด[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน]] เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี [[พ.ศ. 2482]] ตั้งอยู่ที่ 62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ [[อำเภอเมืองกาฬสินธุ์]] [[จังหวัดกาฬสินธุ์]]


เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 [[ราชกิจจานุเบกษา]]ได้ลงประกาศ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" ซึ่งมีผลให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 [[ราชกิจจานุเบกษา]]ได้ลงประกาศ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" ซึ่งมีผลให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นเป็น[[มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:24, 11 กันยายน 2558

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
ประเภทวิทยาเขต
สถาปนาพ.ศ. 2482
9 กันยายน พ.ศ. 2558 (ควบรวมเพื่อจัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์)
รองอธิการบดีรศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน
รองอธิการบดีรศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน
ที่ตั้ง
เว็บไซต์ksc.rmuti.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เป็นวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2482 ตั้งอยู่ที่ 62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" ซึ่งมีผลให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ประวัติ

วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนเกษตรกรรมกาฬสินธุ์" เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แผนกเกษตรกรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้จัดตั้งเป็น "วิทยาลัยเกษตรกรรมกาฬสินธุ์" สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นในปี พ.ศ. 2519 จึงได้โอนมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา[1] และเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาเขตเกษตรกรรมกาฬสินธุ์"

ในปี พ.ศ. 2531 วิทยาลัยฯ ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และวิทยาเขตเกษตรกรรมกาฬสินธุ์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตกาฬสินธุ์" และได้รับการยกฐานะอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548 เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." ซึ่งจะเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน[2][3] เป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยการผลักดันของนายเดชา ตันติยวรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และนางบุญรื่น ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้เห็นด้วยและกลุ่มผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลการคัดค้านว่าจะทำให้สถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเดิมถูกทิ้งร้างไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหอพักที่เกิดขึ้นโดยรอบมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" ซึ่งมีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์สิ้นสุดความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คณะ

คณะที่มีสำนักงานที่ตั้งอยู่ในวิทยาเขตกาฬสินธุ์ มีจำนวน 2 คณะ ได้แก่ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร และคณะเทคโนโลยีสังคม

อ้างอิง