ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการก่อกวน 1 ครั้งของ 124.120.198.244 (พูดคุย) ไปยังรุ่นโดย J7729.ด้วย[[WP:iScr...
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 138: บรรทัด 138:
<gallery>
<gallery>
ไฟล์:TTVR_Logo.png|2497-2520
ไฟล์:TTVR_Logo.png|2497-2520
ไฟล์:MCOT_TVTR_LogoB.png|2520-ไม่มีข้อมูล
ไฟล์:MCOT_TVTR_LogoB.png|2520-2543
ไฟล์:MCOT_Logo.png|ไม่มีข้อมูล-2546
ไฟล์:MCOT_Logo.png|2543-2546
ไฟล์:MCOTPCL_Logo.png|2546-ปัจจุบัน
ไฟล์:MCOTPCL_Logo.png|2546-ปัจจุบัน
</gallery>
</gallery>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:36, 11 กันยายน 2558

สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ
MCOT Modern Radio
สถานีวิทยุแห่งความทันสมัย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
ไฟล์:MCOTPCL Logo.png
พื้นที่กระจายเสียงไทย ประเทศไทย
ความถี่62 สถานี
สัญลักษณ์
  • เป็นสุขทุกเวลา หมุนมา ท.ท.ท.
    (2497 - 2525)
  • เป็นสุขทุกเวลา หมุนมา อสมท
    (2525 - 2535)
  • ก้าวไกลรับใช้ประชาชน
    (2535 - 2547)
  • วิทยุแห่งความทันสมัย
    (2547 - 2557)
  • เครือข่ายทันสมัย ก้าวใหม่อุดมปัญญา
    (2557 - ปัจจุบัน)
แบบรายการ
ภาษาไทย ไทย
รูปแบบข่าวสาร สาระ และบันเทิง
การเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
(ไม่มี)
ประวัติ
เริ่มกระจายเสียง31 มกราคม พ.ศ. 2497
ข้อมูลทางเทคนิค
พิกัดสถานีส่งเลขที่ 63/1 ถนนพระรามที่ 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
ลิงก์
เว็บไซต์radio.mcot.net

สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ (อังกฤษ: MCOT Modern Radio; ชื่อเดิม: สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และ สถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.) เป็นเครือข่ายสถานีวิทยุของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2497 ส่งกระจายเสียง ข่าวสาร สาระความรู้ และรายการต่างๆ ผ่านสถานีวิทยุทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 62 สถานี นอกจากนี้ ยังเป็นเครือข่ายสนับสนุน และให้บริการแก่ประชาชน ในท้องถิ่นและชุมชน โดยมีขอบเขตการให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 92.4 ของทั้งประเทศ และครอบคลุมจำนวนประชากร ประมาณร้อยละ 93.8 ของทั้งประเทศ

ประวัติ

สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด

ในระยะก่อนที่จะเปิดสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บจก.ไทยโทรทัศน์ ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทย โดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ดำเนินการจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.ขึ้นเพื่อระดมทุนสำหรับการบริหารงาน และฝึกบุคลากรต่างๆ ของบริษัทฯ รวมทั้งเตรียมงานด้านอื่นไปพร้อมกันด้วย โดยมีอาคารที่ทำการสถานีฯ ตั้งอยู่บริเวณแยกคอกวัว และเริ่มส่งกระจายเสียงเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2497

ในช่วงแรกเริ่ม เปิดการกระจายเสียงในระบบเอเอ็ม 2 ความถี่คือ 1143 กิโลเฮิร์ตซ์ และ 1494 กิโลเฮิร์ตซ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 มีการนำระบบกระจายเสียง "เอฟเอ็ม สเตอริโอ มัลติเพล็กซ์" มาใช้เป็นครั้งแรก ผ่านความถี่ 95.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี สมัยที่นำโดย นายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ส่งผลให้สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. สิ้นสุดลงพร้อมกันด้วย

สถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 เพื่อรับโอนกิจการ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. มาดำเนินการต่อ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 โดยในระยะแรก ยังคงใช้ชื่อเดิมไปพลางก่อน ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. และเริ่มออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสถานีแรกของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]

สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ

ราวกลางปี พ.ศ. 2545 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น มีนโยบายในการจัดรูปองค์กรใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งแปรรูปเป็น บมจ.อสมท โดยในส่วนของสถานีวิทยุกระจายเสียง มีการเปลี่ยนชื่อหลักของสถานีฯ เป็น สถานีวิทยุแห่งความทันสมัย (โมเดิร์นเรดิโอ) และเริ่มเปลี่ยนชื่อสถานีวิทยุ ระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 107.0 เมกะเฮิร์ตซ์ เป็น "โมเดิร์น เรดิโอ 107 เมโทรโพลิส" (Modern Radio 107 Metropolis) จากนั้นจึงเริ่มทยอยยุติการต่อสัญญา สัมปทานคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. เพื่อนำคลื่นความถี่ทั้งหมดกลับมาบริหารจัดการเอง

โดยแต่ละความถี่ จะมีรูปแบบรายการ และลักษณะเฉพาะ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ที่มุ่งเน้นตามนโยบาย สถานีวิทยุแห่งความทันสมัย หรือโมเดิร์นเรดิโอ และส่วนภูมิภาค จะแบ่งโครงสร้างการบริหาร ออกเป็นสองลักษณะคือ ทางสถานีฯ ดำเนินการบริหาร และผลิตรายการเองทั้งหมด กับการให้บริษัทเอกชนเช่าเวลา เพื่อผลิตรายการและกระจายเสียงเอง

เครือข่ายสถานีวิทยุ

สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ เครือข่ายทั่วประเทศ มีจำนวนทั้งหมด 62 สถานี แบ่งเป็นคลื่นความถี่ในส่วนกลาง ประกอบด้วย ระบบเอฟเอ็ม 7 สถานี ระบบเอเอ็ม 2 สถานี รวมทั้งหมด 9 สถานี และคลื่นความถี่ในส่วนภูมิภาค เป็นระบบเอฟเอ็มทั้งหมด รวม 53 สถานี ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

คลื่นความถี่ในส่วนกลาง

สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ ส่วนกลาง ส่งกระจายเสียงในระบบเอเอ็ม ซึ่งมีพื้นที่บริการครอบคลุมเกือบทั่วประเทศ จำนวน 2 ความถี่คือ คลื่นเพลงเพื่อนชีวิต 1143 กิโลเฮิร์ตซ์ และ คลื่นเพื่อผู้ใช้แรงงาน 1494 กิโลเฮิร์ตซ์ นอกจากนั้น ยังออกอากาศในระบบเอฟเอ็ม อีกทั้งหมด 7 ความถี่ ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยให้ไทยทีวีสีช่อง 3 เช่าสัญญาณไป 1 ความถี่ คือ เอฟเอ็ม 105.50 เมกะเฮิร์ตซ์ อีซีเอฟเอ็ม 105.5 จัดเป็นรายการเพลงสากลแนวฟังสบาย

โดยมีอีก 6 ความถี่ ซึ่ง บมจ.อสมท เป็นเจ้าของ และผลิตรายการเองทั้งหมด ประกอบด้วย

คลื่นความถี่ในส่วนภูมิภาค

สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ ส่วนภูมิภาคทุกแห่ง ส่งกระจายเสียง ในระบบเอฟเอ็ม ทั้งหมด 53 สถานี ซึ่งจำแนกได้ตามภูมิภาคต่างๆ ดังต่อไปนี้ (ในวงเล็บคือ คลื่นความถี่ที่ออกอากาศ ในจังหวัดหรืออำเภอที่มีชื่อกำกับอยู่หน้าวงเล็บ)

ลักษณะการกระจายเสียง

สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ เครือข่ายทั่วประเทศ จะกระจายเสียงรายการภาคบังคับ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงทุกสถานี ตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พุทธศักราช 2498[1] จำนวน 2 รายการคือ การถ่ายทอดข่าว จากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในภาคเช้า เวลา 07.00-07.30 น. และภาคค่ำ เวลา 19.00-19.30 น. ของทุกวัน และ รายการปาฐกถาธรรม ในเวลา 08.00-08.30 น. ของวันอาทิตย์ และถ่ายทอดข่าวต้นชั่วโมง จากสำนักข่าวไทย ในทุกวัน ช่วงละ 5 นาที ทั้งหมด 13 ช่วง โดยมีสถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ สถานีข่าว (นิวส์ เน็ตเวิร์ก) ระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์ เป็นสถานีแม่ข่าย สำหรับสถานีฯ ส่วนภูมิภาค จะมีรายการเพื่อประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่น คือรายการสด "อสมท เพื่อชุมชน" เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงของทุกวัน โดยเนื้อหารายการ จะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็น และร้องเรียนในเรื่องต่างๆ

การกระจายเสียงโดยใช้สถานีส่วนกลางเป็นแม่ข่าย

สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ ใช้การกระจายเสียงจากส่วนกลางผ่านเครือข่ายทั่วประเทศ (ซูเปอร์สเตชัน) ซึ่งเป็นการผลิตรายการวิทยุ เพื่อกระจายเสียงผ่านดาวเทียม ไปยัง 53 สถานีเครือข่ายส่วนภูมิภาคทั่วประเทศพร้อมกัน โดยมีสถานีแม่ข่ายส่วนกลาง ในระบบเอฟเอ็ม 4 ความถี่คือ 95.00 เมกะเฮิร์ตซ์ ลูกทุ่งมหานคร (00.00-07.00 น. ช่วง เอ๋อ้ายสบายดี ของ ป๊อบ โสพัฒน์ และ เอ๋ ณภัทรสร (00.00-02.00 น.), ช่วง นิทานนางฟ้า ของ ปัญชลีย์ ธนะกัมพลศักดิ์ (02.00-05.00 น.) และช่วง คู่ข่าวคู่ซี้ ของ รัชนีย์ สุทธิธรรม และ กำภู ภูริภูวดล (05.00-07.00 น.) ), 100.50 เมกะเฮิร์ตซ์ คลื่นข่าว นิวส์เน็ตเวิร์ก (รายการ ก้าวทันข่าว 07.30-08.00 น., ข่าวเที่ยงวัน 12.00-12.30 น., รายการ เสียงคนไทย 12.30-13.00 น., รายการ ครบเครื่องเรื่องข่าว 18.00-19.00 น.), 99.00 เมกะเฮิร์ตซ์ แอคทีฟ เรดิโอ คลื่นเมืองไทยแข็งแรง (19.30-20.00 น. ช่วงรายการ ฟุตบอลไฮไลท์) และ 97.50 เมกะเฮิร์ตซ์ ซี้ดเอฟเอ็ม (20.00-24.00 น. ช่วง SEED Nationwide)

การกระจายเสียงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

นอกจากการกระจายเสียงผ่านระบบเอฟเอ็ม และเอเอ็มแล้ว ผู้ฟังทั่วประเทศ ยังสามารถรับฟังการกระจายเสียง พร้อมกับสถานีฯ ส่วนกลาง 6 ความถี่ คือ คลื่นข่าว นิวส์ เน็ตเวิร์ก 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์, คลื่นความคิด 96.50 เมกะเฮิร์ตซ์, แอคทีฟ เรดิโอ คลื่นเมืองไทยแข็งแรง 99.00 เมกะเฮิร์ตซ์, ลูกทุ่งมหานคร 95.00 เมกะเฮิร์ตซ์, ซี้ด เอฟเอ็ม 97.50 เมกะเฮิร์ตซ์ และ เมต วัน-โอ-เซเวน 107.00 เมกะเฮิร์ตซ์ และพร้อมกับสถานีฯ ส่วนภูมิภาคทั้ง 53 สถานี นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกรับฟังรายการของสถานีฯ ส่วนกลางย้อนหลัง ในรูปแบบคลิปเสียงได้อีกด้วย

เพลงไตเติ้ล

สถานีวิทยุอสมท (53 สถานีเครือข่ายส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ) จะมีเพลงจิงเกิ้ลดังนี้

  • ไตเติ้ลสถานีวิทยุอสมท ของจังหวัดนั้นๆ (ใช้เป็นส่วนใหญ่)
  • เพลง "อสมท ก้าวไกลรับใช้ประชาชน" (ใช้ในช่วงตัดสัญญาณจากสถานีอื่นที่ไม่ใช่ของอสมท และใช้ในช่วงเริ่มต้นรายการของสถานี 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ในสถานีวิทยุอสมท จังหวัดร้อยเอ็ด จะใช้ปิดรายการ (ใช้ในบางกรณี) และ อสมท มหาสารคาม ใช้ในการตัดสัญญาณจากข่าวต้นชั่วโมง)
  • เพลงชุด "เป็นสุขทุกเวลา หมุนมา อสมท" (ใช้ในบางสถานี ใช้ในช่วงเริ่มต้นรายการ) มี 3 เวอร์ชัน คือ
    • เวอร์ชันเร็ว มีเสียงปี๊บ (เซ็นเซอร์) สามครั้งในช่วงเริ่มต้นเพลง ตามด้วยเสียงร้อง "เป็นสุขทุกเวลา หมุนมา อสมท อสมท" (ปัจจุบันใช้ในสถานีวิทยุอสมท ร้อยเอ็ด (ส่วนใหญ่) และ มหาสารคาม(ทุกวันจันทร์ - ศุกร์))
    • เวอร์ชันช้า มีเสียงร้องว่า "อสมท" สองครั้งในช่วงเริ่มต้นเพลง ตามด้วยเสียงร้อง "เป็นสุขทุกเวลา หมุนมา อสมท อสมท"(ปัจจุบันใช้ในสถานีวิทยุอสมท ร้อยเอ็ด (บางกรณี) และ มหาสารคาม(ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์))
    • เวอร์ชันพิเศษ (Extra Edition) ที่มีเสียงร้องว่า "เป็นสุขทุกเวลา หมุนมา อสมท" (ปัจจุบันใช้ในสถานีวิทยุอสมท อุบลราชธานี)
  • เพลงชุด "MCOT Radio Network" และ "เครือข่ายวิทยุ อสมท" มีทั้งเวอร์ชันย่อและเต็ม ส่วนเวอร์ชันเต็ม จะมีคำขวัญ "สังคมสร้างสรรค์ด้วยปัญญา"
  • เพลงชุด "เครือข่ายทันสมัย ก้าวใหม่อุดมปัญญา" (ใช้เป็นส่วนใหญ่) มี 3 เวอร์ชัน

ตราสัญลักษณ์

พ.ศ. 2497-2520

ตราสัญลักษณ์รูปแบบแรก ของสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัดเป็นรูปวงกลม ซึ่งแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยรูปสายฟ้า แต่ละส่วนมีอักษรไทยตัว ทั้งสิ้นสามตัว ที่เป็นอักษรย่อของ บจก.ไทยโทรทัศน์ ต่อมาเมื่อเริ่มออกอากาศด้วยระบบสี ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 จึงเพิ่มสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน อันเป็นแม่สีแสงที่รวมออกมาเป็นสีต่างๆ ในเครื่องรับโทรทัศน์ ลงในทั้งสามส่วนของวงกลมด้วย

พ.ศ. 2520-2546

ตราสัญลักษณ์แบบที่สอง ใช้เมื่อสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ถูกโอนให้เป็นทรัพยากรคลื่นความถี่ ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) จึงนำตราสัญลักษณ์เดิมของวิทยุ ท.ท.ท. มาวางไว้ที่ส่วนกลางของตราสัญลักษณ์ อ.ส.ม.ท. ซึ่งเป็นรูปวงกลม ภายในเป็นรูปคลื่นกระจายสัญญาณ โดยฝั่งบนมีแม่สีแสงกระจายอยู่สามสี คือแดง เขียว น้ำเงิน ส่วนฝั่งล่างมีพื้นหลังเป็นสีเหลือง และมีตัวอักษร "อ.ส.ม.ท." แบบโค้งสีดำกำกับอยู่ ภายหลังเมื่อเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. อย่างสมบูรณ์ จึงใช้ตราสัญลักษณ์เดียวกับของ อ.ส.ม.ท.

พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน

ตราสัญลักษณ์ในปัจจุบัน ใช้เมื่อสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีวิทยุแห่งความทันสมัย (โมเดิร์นเรดิโอ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปองค์กรครั้งใหญ่ จากองค์กรรัฐวิสาหกิจมาเป็นรัฐวิสาหกิจบริษัทมหาชน จึงนำตราสัญลักษณ์ของ บมจ.อสมท มาเป็นสัญลักษณ์ประจำสถานีฯ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี พ.ศ. 2549