ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตดุสิต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nonpawit (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
เขตดุสิตตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]หรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้
เขตดุสิตตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]หรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้
* '''ทิศเหนือ''' ติดต่อกับ[[เขตจตุจักร]] มี[[คลองบางซื่อ]]เป็นเส้นแบ่งเขต
* '''ทิศเหนือ''' ติดต่อกับ[[เขตบางซื่อ]] มี[[คลองบางซื่อ]]เป็นเส้นแบ่งเขต
* '''ทิศตะวันออก''' ติดต่อกับ[[เขตพญาไท]]และ[[เขตราชเทวี]] มี[[ทางรถไฟสายเหนือ]]เป็นเส้นแบ่งเขต
* '''ทิศตะวันออก''' ติดต่อกับ[[เขตพญาไท]]และ[[เขตราชเทวี]] มี[[ทางรถไฟสายเหนือ]]เป็นเส้นแบ่งเขต
* '''ทิศใต้''' ติดต่อกับ[[เขตปทุมวัน]] [[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]] และ[[เขตพระนคร]] มี[[คลองมหานาค]]และ[[คลองผดุงกรุงเกษม]]เป็นเส้นแบ่งเขต
* '''ทิศใต้''' ติดต่อกับ[[เขตปทุมวัน]] [[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]] และ[[เขตพระนคร]] มี[[คลองมหานาค]]และ[[คลองผดุงกรุงเกษม]]เป็นเส้นแบ่งเขต

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:43, 27 กรกฎาคม 2558

เขตดุสิต
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Dusit
คำขวัญ: 
เขตพระราชฐาน ตระการตาหมู่พระตำหนัก ศักดิ์สิทธิ์พระปิยะฯ วัดเบญจะเลื่องลือนาม สง่างามรัฐสภา ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบฯ เพียบพร้อมสิ่งสำคัญ ดุจสวรรค์ชั้นดุสิต
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตดุสิต
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตดุสิต
พิกัด: 13°46′37″N 100°31′14″E / 13.77694°N 100.52056°E / 13.77694; 100.52056
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.700 ตร.กม. (4.131 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด104,394[1] คน
 • ความหนาแน่น9,756.45 คน/ตร.กม. (25,269.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10300
รหัสภูมิศาสตร์1002
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 317 ถนนสุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เว็บไซต์http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001030
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้

ที่ตั้งและอาณาเขต

เขตดุสิตตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้

ประวัติศาสตร์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงจัดรูปแบบการปกครองใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย โดยจัดการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งในมณฑลกรุงเทพมีกระทรวงนครบาลดูแล แบ่งเขตปกครองออกเป็นอำเภอและตำบลเช่นเดียวกับหัวเมืองอื่น ๆ โดย อำเภอดุสิต เป็น 1 ใน 8 อำเภอชั้นใน ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ริมคลองเปรมประชากร ถนนสุโขทัย

ในปี พ.ศ. 2481 อำเภอบางซื่อซึ่งเป็นอำเภอชั้นนอกทางทิศเหนือ ได้ถูกยุบลงเป็นตำบลมาขึ้นกับอำเภอดุสิต และเนื่องจากทางอำเภอมีจำนวนประชากรและพื้นที่กว้างขวางมาก กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกตำบลสามเสนใน ตำบลมักกะสัน ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลถนนพญาไท ไปรวมกับพื้นที่บางส่วนของอำเภอบางกะปิ เพื่อจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท ในปี พ.ศ. 2509

ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอดุสิตจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีหน่วยการปกครองย่อย 6 แขวง

ต่อมา ในพื้นที่เขตดุสิตมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและยังมีพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบแขวงบางซื่อ ซึ่งได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งเป็นเขตบางซื่อ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 [2]

การแบ่งเขตการปกครอง

เขตดุสิตแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1. ดุสิต (Dusit)
2. วชิรพยาบาล (Wachiraphayaban)
3. สวนจิตรลดา (Suan Chit Lada)
4. สี่แยกมหานาค (Si Yaek Maha Nak)
5. ถนนนครไชยศรี (Thanon Nakhon Chai Si)

การคมนาคม

ถนน

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามี 1 สะพาน คือ

ที่หยุดรถไฟยมราช

รถไฟ

  • ทางรถไฟสายเหนือก็ผ่านพื้นที่เขตนี้ โดยถือเป็นแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตดุสิตกับเขตราชเทวีและเขตพญาไทด้วย มี สถานีรถไฟจิตรลดา หรือสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต แต่เป็นสถานีพิเศษที่มิได้เปิดใช้เป็นการทั่วไปต่อสาธารณชน โดยใช้ที่หยุดรถโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นจุดโดยสารแทน และยังมี สถานีสามเสนตั้งอยู่ในแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต นอกจากนั้นยังมีที่หยุดรถไฟยมราช ตั้งอยู่ในแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต

ทางน้ำ อาศัย แม่น้ำเจ้าพระยา ในการคมนาคมและสัญจร

สถานที่สำคัญ

พระที่นั่งวิมานเมฆ
พระที่นั่งอนันตสมาคม

วัง

สถานที่ทำการรัฐบาล และหน่วยงานราชการ

ศาสนสถาน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

ศาสนสถานในศาสนาพุทธ

ศาสนสถานในศาสนาคริสต์

โรงเรียน

โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

มหาวิทยาลัย และวิทยาลัย

สวนสัตว์และสโมสรกีฬา

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°46′37″N 100°31′12″E / 13.777°N 100.520°E / 13.777; 100.520

อ้างอิง

  1. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย,กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดุสิตและตั้งเขตบางซื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (208 ง (ฉบับพิเศษ)): 8. 24 พฤศจิกายน 2532.