ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนเพชรบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 22: บรรทัด 22:


== เหตุการณ์ ==
== เหตุการณ์ ==
* ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ มีเหตุการณ์ระเบิดในปี พ.ศ. 2533
* [[เหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533]]
* ถนนสายนี้เคยมีเหตุการณ์ชุมนุมคปท. ใน[[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556-2557]]
* การชุมนุมของกลุ่ม คปท. ใน[[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:00, 21 กรกฎาคม 2558

ถนนเพชรบุรี (อักษรโรมัน: Thanon Phetchaburi) เป็นเส้นทางจราจรสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตรเศษ เริ่มจากบริเวณถนนพระรามที่ 6 ที่ทางแยกอุรุพงษ์ ตัดกับถนนบรรทัดทองที่ทางแยกเพชรพระราม ตัดกับถนนพญาไทที่ทางแยกราชเทวี ผ่านใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตัดกับถนนราชปรารภและถนนราชดำริที่ทางแยกประตูน้ำ จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนชิดลมที่ทางแยกชิดลม-เพชรบุรี ตัดกับกับถนนวิทยุที่ทางแยกวิทยุ-เพชรบุรี ตัดกับถนนนิคมมักกะสันและซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ที่ทางแยกมิตรสัมพันธ์ ตัดกับถนนอโศก-ดินแดงและถนนอโศกมนตรีที่ทางแยกอโศก-เพชรบุรีและเข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ข้ามคลองบางกะปิ ตัดกับซอยเพชรบุรี 38/1 ที่ทางแยกพร้อมพงษ์ ตัดกับซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ที่ทางแยกเอกมัยเหนือ ข้ามคลองแสนแสบเข้าพื้นที่เขตสวนหลวง ก่อนไปสิ้นสุดที่ทางแยกคลองตันซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรามคำแหงและถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) โดยมีเส้นทางที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนพัฒนาการ

ประวัติ

ถนนเพชรบุรีช่วงตั้งแต่ทางแยกยมราชถึงทางแยกประตูน้ำเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลตัดขึ้นตั้งแต่ริมคลองขื่อหน้า ปลายถนนคอเสื้อ (ปัจจุบันคือถนนพิษณุโลก) ไปบรรจบถนนราชดำริ เริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2448[1] โดยได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยืมเงินพระคลังข้างที่มาทดรองทำการ ระหว่างดำเนินการตัดถนน เกิดปัญหาแนวถนนตัดผ่านหมู่บ้านของคนในบังคับต่างประเทศ 2-3 แห่ง จึงต้องเจรจากันเรื่องค่าที่ดิน รัฐบาลได้มอบหมายให้นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกัน เป็นผู้ดำเนินการเจรจา เมื่อสร้างเสร็จโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนประแจจีน ซึ่งเป็นชื่อลวดลายของเครื่องลายครามแบบจีนชนิดหนึ่ง ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประแจจีนเป็น ถนนเพชรบุรี[1] ตามพระนามทรงกรมของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร[2]

สถานที่สำคัญ

สถานศึกษา

  • วิทยาลัยเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา
  • โรงเรียนอนุบาลอิ่มเอม
  • โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
  • โรงเรียนกิ่งเพชร
  • โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
  • โรงเรียนมักกะสันพิทยา
  • โรงเรียนสอนดนตรีสยาม เพชรเก้า

ธนาคาร

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาประตูน้ำ
  • ธนาคารกสิกรไทย สาขากิ่งเพชรและสาขาถนนเพชรบุรี 17
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี
  • ธนาคารธนชาต สาขาถนนเพชรบุรี ซอย 20
  • ธนาคารออมสิน สาขาอุรุพงษ์

เหตุการณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า .
  2. สำนักงานเขตราชเทวี. "ถนนเพชรบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://office.bangkok.go.th/ratchathewi/index.php?option=com_content&view=article&id=74:2012-06-03-00-52-09&catid=52:2012-06-03-00-50-50&Itemid=101 [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มิถุนายน 2558.