ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Azza11111 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| ภาพ = ไฟล์:Princess Pannarai.jpg
| ภาพ = ไฟล์:Princess Pannarai.jpg
| พระนาม =
| พระนาม =
| ฐานันดร = พระองค์เจ้า
| ฐานันดร = พระองค์เจ้าชั้นตรี
| วันประสูติ = 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381
| วันประสูติ = 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381
| วันสิ้นพระชนม์ = {{วันตายและอายุ|2457|6|22|2381|5|9}}
| วันสิ้นพระชนม์ = {{วันตายและอายุ|2457|6|22|2381|5|9}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:33, 12 กรกฎาคม 2558

พระสัมพันธวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าพรรณราย
พระสัมพันธวงศ์เธอ
ประสูติ9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381
สิ้นพระชนม์22 มิถุนายน พ.ศ. 2457 (76 ปี)
พระราชสวามีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบุตรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณิกาแก้ว กรมขุนขัตติยกัลยา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระมารดาหม่อมกิ่ม ศิริวงศ์ ณ อยุธยา

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (9 พฤษภาคม พ.ศ. 238122 มิถุนายน พ.ศ. 2457) มีพระนามเดิม หม่อมเจ้าแฉ่ ศิริวงศ์ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ประสูติแต่หม่อมกิ่ม ศิริวงศ์ ณ อยุธยา ต่อมาได้รับพระราชทานพระนาม พรรณราย จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กษัตริย์องค์ต่อมาได้สถาปนา หม่อมเจ้าพรรณราย ขึ้นเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ด้วยเป็นพระมาตุจฉาที่สนิทสนมคุ้นเคยมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระองค์สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2457 สิริพระชันษา 76 ปี

พระประวัติ

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 1 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381 มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าแฉ่ ศิริวงศ์ เป็นพระธิดาองค์ที่หกในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ต้นราชสกุลศิริวงศ์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาทรัพย์) ประสูติแต่หม่อมกิ่ม ศิริวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม แซ่จิ๋ว; ธิดาคุณแตงและจีนก๊วง แซ่จิ๋ว) มีพระพี่น้องร่วมพระบิดา รวม 8 พระองค์[1][2][3] หนึ่งในนั้นคือสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นพระองค์จึงเป็นพระมาตุจฉาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อพระชันษาได้เพียงขวบปีพระบิดาก็สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอัยกา จึงรับไปบำรุงเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง พร้อมพระราชทานพระนามใหม่ว่า "พรรณราย"[4] และให้สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร รับไปเลี้ยงจนทรงพระเจริญตามลำดับ[4]

พระประยูรญาติ รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มักเรียกพระองค์ว่า "แฉ่" แม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงเรียกว่า "น้าแฉ่"[5] สาเหตุที่ทรงได้รับพระนามเล่นว่า "แฉ่" นั้น เป็นเพราะทรงพระกันแสงหนักเมื่อแรกเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง[4] คำว่า "แฉ่" จึงมาจากคำว่า "แง" นั้นเอง

เข้ารับราชการฝ่ายใน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลี้ยงพระองค์เข้ารับราชการฝ่ายใน[4] และหลังจากที่สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระเชษฐภคินีของพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว พระองค์จึงเป็นพระมเหสีเพียงพระองค์เดียวจนตลอดรัชกาล และได้ทรงปกครองฝ่ายในสืบมา สังเกตได้จากการเสด็จออกรับแขกเมืองในฐานะ "ควีน" (รัชกาลที่ 4 ทรงใช้คำว่าเจ้าฝ่ายใน) แต่อย่างไรก็ตามไม่มีการเฉลิมพระอิสริยยศให้สูงขึ้นแต่อย่างใด ทรงมีประสูติกาลพระราชบุตรในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสองพระองค์ คือ

  1. พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากรรณิกาแก้ว (พ.ศ. 2398-2425) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศสูงสุดที่ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา[6]
  2. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ (พ.ศ. 2406-2490) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศสูงสุดที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงษ์[7] เป็นต้นราชสกุลจิตรพงศ์

หม่อมเจ้าพรรณราย ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย เมื่อปีชวด พ.ศ. 2443 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[8]

สิ้นพระชนม์

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ประทับในพระบรมมหาราชวังมาโดยตลอด จนเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงษ์ ได้รับพระราชทานวังท่าพระแล้ว พระองค์จึงได้ออกจากพระราชวังมาประทับร่วมวังพระโอรสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2428[9] จนกระทั่งประชวรและสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน ปีขาล พ.ศ. 2457 สิริพระชันษา 76 ปี

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • หม่อมเจ้าแฉ่ ศิริวงศ์ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381 — 29 เมษายน พ.ศ. 2382)
  • หม่อมเจ้าพรรณราย ศิริวงศ์ (29 เมษายน พ.ศ. 2382 — ไม่มีข้อมูล)
  • หม่อมเจ้าพรรณราย ในรัชกาลที่ 4 (ไม่มีข้อมูล — 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)
  • พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 — 22 มิถุนายน พ.ศ. 2457)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, 'พระสัมพันธวงศ์เธอ', สกุลไทย, ฉบับที่ 2421, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 13 มีนาคม 2544
  2. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, สถาปนาคำนำพระนาม, สกุลไทย, ฉบับที่ 2448, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 18 กันยายน 2544
  3. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, เล่าเรื่องมอญ, สกุลไทย, ฉบับที่ 2486, ปีที่ 48, ประจำวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2545
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554, หน้า 303
  5. ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550, หน้า 140
  6. ราชกิจจานุเบกษา, คำประกาศตั้งเจ้าฟ้ากรมขุน (พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัติยกัลยา และพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษ), เล่ม 4, ตอน 37, 30 ธันวาคม พ.ศ. 2430, หน้า 293
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๓๐, ตอน ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๓๒๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรมแลตั้งกรมพระองค์เจ้า เจ้าพระยา, เล่ม ๑๗, ตอน ๓๕, ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓, หน้า ๔๘๑
  9. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554, หน้า 305
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ฝ่ายน่า แลฝ่านใน, เล่ม ๑๗, ตอน ๓๕, ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓, หน้า ๕๐๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๗๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๙, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๑๕๓

หนังสือ

  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2