ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตปทุมวัน"

พิกัด: 13°44′13″N 100°31′26″E / 13.737°N 100.524°E / 13.737; 100.524
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 36: บรรทัด 36:


ในปี [[พ.ศ. 2515]] ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้ง[[กรุงเทพมหานคร]]ขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของ[[จังหวัดพระนคร]]และ[[จังหวัดธนบุรี]] อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น '''เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร''' ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็น[[แขวง]]
ในปี [[พ.ศ. 2515]] ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้ง[[กรุงเทพมหานคร]]ขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของ[[จังหวัดพระนคร]]และ[[จังหวัดธนบุรี]] อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น '''เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร''' ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็น[[แขวง]]
ต่อมาพื้นที่เขตปทุมวันมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต [[กรุงเทพมหานคร]]จึงจัดตั้งสำนักงานเขตปทุมวัน สาขา 1 (ยานนาวา) ขึ้นดูแลพื้นที่บางส่วนในปี [[พ.ศ. 2532]] และได้ยกฐานะเป็น[[เขตสาทร|สำนักงานเขตสาทร]]]ในปีเดียวกัน ส่วน[[วัดยานนาวา]]และแขวงยานนาวาซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขตนั้น ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตสาทร


== การแบ่งเขตการปกครอง ==
== การแบ่งเขตการปกครอง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:27, 8 กรกฎาคม 2558

เขตปทุมวัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Pathum Wan
คำขวัญ: 
บูชาท้าวมหาพรหม ชื่นชมวังสมเด็จย่า ศูนย์การค้ามากมี ลุมพินีสวนสาธารณะ ศิลปะมวยไทย สถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมโยงรถไฟฟ้า สถานศึกษาเลื่องชื่อ นามระบือจุฬาลงกรณ์
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตปทุมวัน
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตปทุมวัน
พิกัด: 13°44′12″N 100°31′24″E / 13.73667°N 100.52333°E / 13.73667; 100.52333
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด8.370 ตร.กม. (3.232 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด51,557[1] คน
 • ความหนาแน่น6,159.74 คน/ตร.กม. (15,953.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10330
รหัสภูมิศาสตร์1007
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 216/1 ซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เว็บไซต์http://www.bangkok.go.th/pathumwan
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้[2]

ที่มาของชื่อเขต

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณคลองแสนแสบ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นท้องนาชานเมือง มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงโปรด ฯ ให้สร้างสระบัว 2 สระ และพระตำหนักสำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อนซึ่งในปัจจุบันเป็นวังสระปทุม(วังที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี) และต่อมาได้โปรด ฯ ให้สร้างวัดปทุมวนาราม (แปลว่า วัดป่าบัว) ขึ้นเป็นพระอารามหลวง บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า ปทุมวัน

ประวัติศาสตร์

อำเภอปทุมวัน ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อปี พ.ศ. 2457 โดยใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ต่อมายุบรวมกับอำเภอสัมพันธวงศ์) เป็นที่ทำการในขั้นแรก จากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน และได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันในซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 ในปี พ.ศ. 2506[3]

ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง ต่อมาพื้นที่เขตปทุมวันมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กรุงเทพมหานครจึงจัดตั้งสำนักงานเขตปทุมวัน สาขา 1 (ยานนาวา) ขึ้นดูแลพื้นที่บางส่วนในปี พ.ศ. 2532 และได้ยกฐานะเป็นสำนักงานเขตสาทร]ในปีเดียวกัน ส่วนวัดยานนาวาและแขวงยานนาวาซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขตนั้น ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตสาทร

การแบ่งเขตการปกครอง

เขตปทุมวันแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1. รองเมือง (Rong Mueang)
2. วังใหม่ (Wang Mai)
3. ปทุมวัน (Pathum Wan)
4. ลุมพินี (Lumphini)

การคมนาคม

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตได้แก่ ถนนพระรามที่ 1 (ต่อเนื่องเป็นถนนเพลินจิตและถนนสุขุมวิท) ตัดผ่านพื้นที่เขตในแนวนอนทางทิศเหนือ ถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองทางทิศใต้ โดยถนนที่เชื่อมระหว่างถนนทั้ง 2 สายนี้ ได้แก่ ถนนรองเมือง ถนนจารุเมือง (ต่อเนื่องเป็นถนนพระรามที่ 6) ถนนบรรทัดทอง ถนนพญาไท ถนนอังรีดูนังต์ และถนนราชดำริ นอกจากนี้ก็ยังมีถนนหลังสวน ถนนวิทยุ ถนนสารสิน ถนนจรัสเมือง ถนนเจริญเมือง และทางพิเศษเฉลิมมหานคร

หัวลำโพง ตั้งอยู่ในแขวงรองเมือง เป็นสถานีรถไฟกลางของกรุงเทพมหานคร รถไฟจะออกจากสถานีนี้ไปสู่จุดหมายปลายทางทั่วประเทศ

ในระบบขนส่งมวลชน เขตปทุมวันมีรถไฟใต้ดิน พร้อมด้วยสถานีหัวลำโพง สถานีสามย่าน สถานีสีลม และสถานีลุมพินี ตั้งอยู่ริมแนวเขตทางทิศใต้ ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสก็มีสถานีสยามซึ่งเป็นสถานีหลักอยู่ในเขตนี้ เป็นจุดเชื่อมต่อสายสีลมกับสายสุขุมวิท สถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในพื้นที่เขต ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีราชดำริ (สายสีลม) สถานีชิดลม และสถานีเพลินจิต (สายสุขุมวิท)

การสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือด่วนที่บริการในคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองแบ่งเขตปกครองแคบ ๆ ทางทิศเหนือ

สถานที่สำคัญ

แผนที่เขตปทุมวัน
ภายในสถานีรถไฟหัวลำโพง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ใจกลางเขตปทุมวัน
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม เป็นสถานีเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทกับสายสีลม ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน

สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา

สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา

สถานที่สำคัญทางราชการ

สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

ศาลเทพเจ้าทางศาสนาฮินดู

  • ศาลพระตรีมูรติ[7]
  • ศาลท้าวมหาพรหม เอราวัณ
  • ศาลพระนารายณ์ทรงสุบรรณ
  • ศาลพระพิฆเณศวร
  • ศาลพระลักษมี
  • ศาลพระอินทร์ (ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช)

การเดินทางและสถานที่เชื่อมต่อ

สนามกีฬาและสวนสาธารณะใจกลางกรุงเทพมหานคร

สถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′13″N 100°31′26″E / 13.737°N 100.524°E / 13.737; 100.524

อ้างอิง

  1. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย,กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  2. http://www.bangkok.go.th/pathumwan/page/sub/2327/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95 ข้อมูลทั่วไปของเขต
  3. http://www.bangkok.go.th/pathumwan/page/sub/2326/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2 ประวัติความเป็นมา
  4. http://www.bangkok.go.th/pathumwan/page/sub/2342/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2 สถานศึกษา
  5. http://www.bangkok.go.th/pathumwan/page/sub/2343/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5 สถานพยาบาล
  6. http://www.bangkok.go.th/pathumwan/page/sub/2341/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99 ศาสนสถาน
  7. http://www.bangkok.go.th/pathumwan/page/sub/2329/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7 สถาานที่ท่องเที่ยว