ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
| geocode = 4012
| geocode = 4012
| image_map = Amphoe 4012.svg
| image_map = Amphoe 4012.svg
| capital = ที่ว่าการอำเภอพล ถนนพลรัตน์ ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120
| capital = ที่ว่าการอำเภอพล ถนนพลรัตน์ ตำบลพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120
| phone = 0 4341 5641
| phone = 0 4341 5641
| fax = 0 4341 5640
| fax = 0 4341 5640
บรรทัด 91: บรรทัด 91:
*ธนาคารไทยพานิชย์
*ธนาคารไทยพานิชย์
*ธนาคารกรุงไทย
*ธนาคารกรุงไทย
*ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
*ธนาคาร ธ.ก.ส.
*ธนาคารทหารไทย
*ธนาคารทหารไทย
*ธนาคารกรุงเทพ
*ธนาคารกรุงเทพ
*ธนาคารออมสิน
*ธนาคารออมสิน
*ธนาคารกสิกรไทย
*ธนาคารกสิกรไทย
*ธนาคาร ธอส.
*ธนาคารอาคารสงเคราะห์


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:28, 8 กรกฎาคม 2558

อำเภอพล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phon
คำขวัญ: 
เมืองพลโนนแท่นพระ สักการะพระเจ้าใหญ่ อ่างน้ำละเลิงหวาย ค้าขายกว้างไกล น้ำใจมากล้น ชนชาตินักรบ ทำนบภูดิน เที่ยวถิ่นทุ่งพูพืด
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอพล
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอพล
พิกัด: 15°48′57″N 102°35′55″E / 15.81583°N 102.59861°E / 15.81583; 102.59861
ประเทศ ไทย
จังหวัดขอนแก่น
พื้นที่
 • ทั้งหมด420.5 ตร.กม. (162.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด87,124 คน
 • ความหนาแน่น207.19 คน/ตร.กม. (536.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 40120
รหัสภูมิศาสตร์4012
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพล ถนนพลรัตน์ ตำบลพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากอำเภอเมืองขอนแก่นประมาณ 75.65 กิโลเมตร

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอพลตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพไปปราบพระเจ้าสิริบุญสาร (องค์บุญ) ณ กรุงศรีสุตนาคนหุต (เวียงจันทน์)ที่คิดแข็งเมืองและเอาใจออกหากจากกรุงธนบุรี ขณะที่เจ้าพระยาทั้งสองเดินทัพผ่านเมืองนครราชสีมามาถึงเนินดินแห่งหนึ่งอยู่ติดกับฝั่งบึงละเลิงหวายอันเป็นที่ตั้งหมู่บ้านเมืองพลในปัจจุบัน เจ้าพระยาทั้งสองได้หยุดพักทัพที่นี่ เพราะเห็นว่าเป็นชัยภูมิเหมาะสมกว่าที่อื่น มีแหล่งน้ำปูปลาอาหารสมบูรณ์ จึงได้สร้างค่ายประตูหอรบ ตลอดจนขุดคูคันดินน้ำล้อมรอบตามหลักยุทธศาสตร์ในสมัยนั้น เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากฝ่ายศัตรูในเนื้อที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร และถือโอกาสรวมพลฝึกทหารเพิ่มเติมจากราษฎรที่เกณฑ์มาจากเมืองพุทไธสง (อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์) เมืองนอก (อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา) และเมืองชนบท (อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น) ปัจจุบันคันดูดินและร่องน้ำยังคงเหลือปรากฏอยู่

ครั้นต่อมาเมื่อรวบรวมกำลังทหารได้มากพอสมควรแล้ว เจ้าพระยาทั้งสองจึงได้เดินทัพต่อไปยังเมืองหลวงพระบางและเวียงจันทน์ จนได้รับชัยชนะต่อพระเจ้าสิริบุญสาร (องค์บุญ) สมพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทุกประการและได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาไว้ที่ กรุงธนบุรี พระแก้วมรกตประดิษฐ์ไว้ที่วัดอรุณฯ ส่วนพระบางคืนไปในรัชกาลที่ 1

หลังจากนั้นค่ายพักพลดังกล่าวได้ถูกทอดทิ้งให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่ามาเป็นเวลานาน ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และเถาวัลย์นานาพันธุ์ แต่เนื่องจากที่นี่มีทำเลที่เหมาะสมเพราะติดกับบึงละเลิงหวาย ต่อมาจึงได้มีผู้คนอพยพไปหักร้างถางป่าปลูกบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ จึงได้ชื่อว่า บ้านเมืองพล ขึ้นต่อเมืองชนบท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บ้านเมืองพลได้ถูกยกฐานะเป็น ตำบลเมืองพล ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอชนบท 45 กิโลเมตร

ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2457 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่า การคมนาคมและการติดต่อราชการของตำบลเมืองพลกับอำเภอชนบทไม่สะดวก เพราะต้องอาศัยการเดินเท้า เกวียน และม้าเป็นพาหนะ จึงได้แบ่งเขตการปกครองของอำเภอชนบทโดยยกฐานะตำบลเมืองพลเป็นอำเภอใหม่ให้ชื่อว่า อำเภอพล โดยมีขุนมัชการธนานุรักษ์ (แสง ภาสะฐิติ) เป็นนายอำเภอคนแรก

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอพลแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 132 หมู่บ้าน

1. พล (Phon) 11 หมู่บ้าน 7. โคกสง่า (Khok Sa-nga) 10 หมู่บ้าน
2. โจดหนองแก (Chot Nong Kae) 14 หมู่บ้าน 8. หนองแวงนางเบ้า (Nong Waeng Nang Bao) 13 หมู่บ้าน
3. เก่างิ้ว (Kao Ngio) 11 หมู่บ้าน 9. ลอมคอม (Lom Khom) 11 หมู่บ้าน
4. หนองมะเขือ (Nong Makhuea) 9 หมู่บ้าน 10. โนนข่า (Non Kha) 9 หมู่บ้าน
5. หนองแวงโสกพระ (Nong Waeng Sok Phra) 14 หมู่บ้าน 11. โสกนกเต็น (Sok Nok Ten) 11 หมู่บ้าน
6. เพ็กใหญ่ (Phek Yai) 10 หมู่บ้าน 12. หัวทุ่ง (Hua Thung) 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอพลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองพล ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพล (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองพล)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโจดหนองแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโจดหนองแกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเก่างิ้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะเขือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองมะเขือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงโสกพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงโสกพระทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเพ็กใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเพ็กใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสง่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสง่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงนางเบ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงนางเบ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลอมคอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลอมคอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนข่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนข่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโสกนกเต็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสกนกเต็นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวทุ่งทั้งตำบล

สถาบันการศึกษา

สถาบันอาชีวศึกษา

  • วิทยาลัยการอาชีพพล

สถาบันการศึกษาเอกชน

  • โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาพล
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีพลพณิชยการ (ศูนย์บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร)

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

  • โรงเรียนพลพิทยาคม(สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น)
  • โรงเรียนพล
  • โรงเรียนโนนข่าวิทยา(โรงเรียนในฝัน)
  • โรงเรียนพลพัฒนศึกษา
  • โรงเรียนโสกนกเต็นท์ประชาอุปถัมภ์
  • โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 16 โรงเรียน

โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองเมืองพล

ธนาคาร

  • ธนาคารไทยพานิชย์
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • ธนาคารทหารไทย
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น