ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
| death_date = {{วันตายและอายุ|2536|1|22|2465|1|1}}
| death_date = {{วันตายและอายุ|2536|1|22|2465|1|1}}
| death_place =
| death_place =
| spouse = คุณหญิงสะอาด สวัสดิ์พาณิชย์
| spouse =
| religion =
| religion =
| party =
| party =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:27, 29 มิถุนายน 2558

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
ไฟล์:ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้าเกรียง กีรติกร
ถัดไปนิพนธ์ ศศิธร
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าพลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์
ถัดไปพลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าพลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์
ถัดไปสัมพันธ์ ทองสมัคร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2465
จังหวัดร้อยเอ็ด
เสียชีวิต22 มกราคม พ.ศ. 2536 (71 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงสะอาด สวัสดิ์พาณิชย์

ศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 3 สมัย และอดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติ

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2465 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (รุ่นที่ 1) ระดับปริญญาตรีอักษรศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2487 จบปริญญาโททางการศึกษา จากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา และปริญญาเอกสาขาประถมศึกษา จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

ศ.ดร.ก่อ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ดังนี้[1]

  • พ.ศ. 2524 - ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พ.ศ. 2526 - ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2529 - ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา (มศว.ประสานมิตร)
  • พ.ศ. 2534 - ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศ.ดร.ก่อ ถึงแก่อสัญธรรม เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2536[2]

การทำงาน

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2487 เป็นครูสังกัดกรมสามัญศึกษา และได้เลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญศึกษา ในปี พ.ศ. 2515 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2517 ในรัฐบาลของศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ และยังได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีก 4 คณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ในปี พ.ศ. 2534[4] และ พ.ศ. 2535[5] ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นอกจากงานด้านการศึกษาของไทยแล้ว เขายังเคยเป็นกรรมการบริหารยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2525-2529

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เคยเป็นอาจารย์พิเศษให้กับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเขายังมีผลงานแต่งตำราอีกจำนวนมาก เช่น แบบเรียนชุดเสริมประสบการณ์ภาษาไทย ชั้น ป.1 เรื่อง "เราช่วยกัน" และ "เราขยันเรียน"

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ดวงประทีปแห่งความรุ่งโรจน์ของมูลนิธิฯ ตามลำดับแห่งกาลเวลา
  2. บุคคลสำคัญ กระทรวงวัฒนธรรม
  3. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)เล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  6. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓ เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 67 วันที่ 24 พฤษภาคม 2527
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษเล่ม ๑๐๙ ตอน ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ หน้า ๑