ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไพศาล ยิ่งสมาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 60: บรรทัด 60:
[[หมวดหมู่:มุสลิมชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:มุสลิมชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายมลายู]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายมลายู]]
[[หมวดหมู่:พรรคกิจประชาคม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:08, 28 มิถุนายน 2558

ไพศาล ยิ่งสมาน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 เมษายน พ.ศ. 2482
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
เสียชีวิต16 มกราคม พ.ศ. 2556 (73 ปี)
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

ไพศาล ยิ่งสมาน (2 เมษายน พ.ศ. 2482 - 16 มกราคม พ.ศ. 2556) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา 4 สมัย

ประวัติ

ไพศาล ยิ่งสมาน เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2482 เป็นบุตรของนายแวสามะ และ นางแวสะลาเมาะ ยิ่งสมาน[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยไคโร ประเทศอียิปต์

ไพศาล ยิ่งสมาน เสียชีวิตด้วยอาการน้ำท่วมปอด เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 สิริอายุรวม 73 ปี [2]

การทำงาน

หลังจากสำเร็จการศึกษา ไพศาล ได้เข้าทำงานเป็นข้าราชการครูที่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา และโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ตามลำดับ ก่อนที่จะลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว[3]

งานการเมือง

ไพศาล เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดยะลา เขตอำเภอเมือง เมื่อ พ.ศ. 2523 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกเรื่อยมารวม 4 ครั้ง

พ.ศ. 2554 ไพศาล ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 13 สังกัดพรรคมาตุภูมิ ก่อนที่จะไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากทางพรรค ได้รับเลือกแค่ที่นั่งเดียวเท่านั้น

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ไพศาล ยิ่งสมาน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดยะลา สังกัดความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่ → พรรคไทยรักไทย

อ้างอิง

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. กรมการปกครอง
  2. ทุกชีวิตต้องกลับสู่พระเจ้า
  3. นักการเมืองถิ่นจังหวัดยะลา. บูฆอรี ยีหมะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555