ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โภคิน พลกุล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28: บรรทัด 28:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
โภคิน พลกุล เกิดวันที่ [[15 เมษายน]] [[พ.ศ. 2495]] ที่[[กรุงเทพมหานคร]] เป็นบุตรของนายศรีกรุง กับ นางรังสี พลกุล<ref>[http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ]</ref> สืบทอดเชื้อสาย[[เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น]] เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 (เป็นลำดับชั้นที่ 9 แห่ง[[ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์]])
โภคิน พลกุล เกิดวันที่ [[15 เมษายน]] [[พ.ศ. 2495]] ที่[[กรุงเทพมหานคร]] เป็นบุตรของนายศรีกรุง กับ นางรังสี พลกุล


== การศึกษา ==
== การศึกษา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:09, 27 มิถุนายน 2558

โภคิน พลกุล
ไฟล์:Phokin.jpg
ประธานรัฐสภา
(ประธานสภาผู้แทนราษฎร)
ดำรงตำแหน่ง
8 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าอุทัย พิมพ์ใจชน
ถัดไปมีชัย ฤชุพันธุ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ถัดไปพลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 เมษายน พ.ศ. 2495 (72 ปี)
กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2545-2550)
คู่สมรสนางรุ่งระวี พลกุล

รองศาสตราจารย์ ดร.โภคิน พลกุล ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตประธานรัฐสภา

ประวัติ

โภคิน พลกุล เกิดวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2495 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายศรีกรุง กับ นางรังสี พลกุล

การศึกษา

โภคิน พลกุล จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในปีถัดมาได้ศึกษาจนสำเร็จเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และปี พ.ศ. 2520 จบประกาศนียบัตรชั้นสูง กฎหมายมหาชน จากมหาวิทยาลัยปารีส 2 ประเทศฝรั่งเศส อีกสองปีถัดจากนั้นก็ได้สำเร็จประกาศนียบัตรชั้นสูง ความรู้เกี่ยวกับโลกที่สาม และ พ.ศ. 2523 สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก กฎหมายมหาชน จากมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2525

การทำงาน

หลังจากจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2517 นายโภคิน ได้เข้ารับราชการเป็นนายเวร สังกัดกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้โอนมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2525 และเป็นรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2529 ในด้านการบริหาร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2532 ถึงปี พ.ศ. 2534 และในปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2538 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ต่อมาได้ลาออกมารับตำแหน่งทางการเมือง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[1] ในระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2540 และเข้าทำงานด้านตุลาการในปี พ.ศ. 2543 - 2545 เป็นรองประธานศาลปกครองสูงสุด จากนั้นได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคความหวังใหม่ และพรรคไทยรักไทยตามลำดับ

ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2548 จนกระทั่งมีการยุบสภาในปี พ.ศ. 2549

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[2]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 11[3]

การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

  • เลขาธิการสมาคมกฎหมายมหาชนแห่งประเทศไทย
  • นายกสมาคมกฎหมายมหาชนแห่งประเทศไทย
  • ประธานสมาพันธ์สัตว์ปีกสวยงามแห่งประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ไทย

ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  2. เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ จำนวน ๔,๗๙๙ ราย)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๕๒๔ ราย)เล่ม ๑๑๓ ตอน ๒๒ ข ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑
ก่อนหน้า โภคิน พลกุล ถัดไป
อุทัย พิมพ์ใจชน ไฟล์:Seal of the National Assembly of Thailand.png
ประธานรัฐสภา
(ประธานสภาผู้แทนราษฎร)

(8 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)
มีชัย ฤชุพันธุ์