ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครยะลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Upgradeboy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
|รหัสiso=9599
|รหัสiso=9599
|พื้นที่=19
|พื้นที่=19
|ประชากร=61,250
|ประชากร=62,896<!--รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2553 เทศบาลนครยะลา-->
|ปีสำรวจประชากร=2553
|ปีสำรวจประชากร=2557
|ความหนาแน่น=3,310.31
|ความหนาแน่น=3,223.68
<!-- ข้อมูลสำนักงาน (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
<!-- ข้อมูลสำนักงาน (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
|สำนักงาน= สำนักงานเทศบาลนครยะลา ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง [[อำเภอเมืองยะลา]] [[จังหวัดยะลา]] 95000
|สำนักงาน= สำนักงานเทศบาลนครยะลา ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง [[อำเภอเมืองยะลา]] [[จังหวัดยะลา]] 95000

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:43, 19 มิถุนายน 2558

เทศบาลนครยะลา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Yala Municipality
ภาพตัวเมืองยะลา
ภาพตัวเมืองยะลา
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครยะลา
ตรา
คำขวัญ: 
สร้างเมืองให้น่าอยู่ สร้างความรู้สู่มวลชน สร้างสังคมให้โปร่งใส สร้างสานใจร่วมพัฒนา นครยะลาสู่สากล
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ
พื้นที่
 • ทั้งหมด19 ตร.กม. (7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด61,250 คน
 • ความหนาแน่น3,223.68 คน/ตร.กม. (8,349.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครยะลา ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
โทรศัพท์0 7322 3666
โทรสาร0 7321 5675
เว็บไซต์http://www.yalacity.go.th/ http://www.yalacity.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครยะลา เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในประเทศไทย และ เป็นเทศบาลในจังหวัดยะลา

ประวัติ

เทศบาลนครยะลา เดิมมีฐานะเป็นเทศบาลเมือง ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. 2479 สำนักงานเทศบาลเดิมตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านสะเตง อันเป็นบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดยะลาเดิม ต่อมาได้ย้ายที่ทำ การมาอยู่ ณ โรงเรียนที่เทศบาลได้ปลูกสร้างขึ้นใหม่ใกล้ถนนสุขยางค์ (สโมสรข้าราชการจังหวัดเดิมและถูกรื้อสร้างเป็นอาคารศูนย์เยาวชนเทศบาลใน ปัจจุบัน) เพื่อสะดวกต่อการเป็นศูนย์กลางการติดต่อกับประชาชนทั่วไป เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ที่ทำการศาลากลางจังหวัดยะลาและใกล้ที่ ทำการอำเภอเมืองยะลา ซึ่งเป็นบริเวณที่เรียกกันว่า "ตลาดนิบง "

ปี พ.ศ. 2501 คณะผู้บริหารได้กู้เงินจากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล เป็นเงิน 1,200,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2501 จัดสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลถาวรขึ้นเป็นอาคารตึก 2 ชั้น ขนาดใหญ่แบบพิเศษของกรมโยธาเทศบาล เป็นเงิน 1,174,921 บาท สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ได้ประกอบพิธีเปิดอาคารเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ทั้งได้ย้ายสำนักงานจากอาคารเรียนมาสู่อาคารหลังใหม่ ซึ่งเป็นอาคารหลังหน้าสุดที่ใช้อยู่ในสำนักงานเทศบาลปัจจุบัน และได้มีการขยายปรับปรุงอาคารให้เหมาะสมกับสภาวะที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

เทศบาลเมืองยะลา ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครยะลา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 ยกฐานะเทศบาลเมืองยะลาเป็น เทศบาลนครยะลา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป

ที่ตั้ง

เดิมตามราชกิจจานุเบกษาจัดตั้งเทศบาลเมืองยะลา ประกาศเล่มที่ 52 หน้า 1223 ตรา ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 มีเนื้อที่แรกเริ่มประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้ขยายพื้นที่เป็น 19.4 ตารางกิโลเมตรซึ่งครอบคลุมตำบลสะเตงทั้งหมด[1] มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้[1]

ประชากร

ประชากรเทศบาลนครยะลา (รายปี) 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556
77,045[2] 63,775[3] 63,370[1] 62,896[1] 62,991[1]

ประชากรในเทศบาลนครยะลามีหลายเชื้อชาติ ในปี พ.ศ. 2553 มีประชากรทั้งหมด 62,991 คน แบ่งเป็นเพศชาย 29,897 คน และเพศหญิง 33,094 คน ความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 3,266 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู, ชาวไทยเชื้อสายจีน[4] และชาวไทยพุทธ หลังจากเกิดเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ชุมชนในตัวเมืองยะลาได้มีการแบ่งชุมชนออกเป็นสองข้างคือพุทธและมุสลิม โดยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ต่างจากในอดีตที่ชาวพุทธเคยอยู่ร่วมกับชุมชนมุสลิมมาอย่างยาวนาน[5]

ส่วนด้านศาสนาประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 55, ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 43 และที่เหลือนับถือศาสนาอื่น ๆ[5] อาทิ ศาสนาคริสต์, ซิกข์ และฮินดู มีศาสนสถานทั้งหมด 34 แห่ง แบ่งเป็นมัสยิด 24 แห่ง, วัดพุทธ 5 แห่ง, โบสถ์คริสต์ 4 แห่ง[1] และคุรุดวารา 1 แห่ง[6][7]

จำนวนผู้นับถือศาสนาในนครยะลา[8]
แบ่งตามศาสนา พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550
อิสลาม 28,376 28,001
พุทธ 36,269 35,740
คริสต์ 1,104 640
อื่น ๆ 195 639

เศรษฐกิจ

ชุมชน

เทศบาลนครยะลา มีการปกครองครอบคลุมชุมชนทั้งหมด 38 ชุมชน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้[1]

  • ชุมชนหลังวัดเมืองยะลา
  • ชุมชนเวฬุวัน
  • ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย
  • ชุมชนบ้านร่ม
  • ชุมชนหัวสะพานสะเตง
  • ชุมชนคุปตาสา
  • ชุมชนคูหาภิมุข
  • ชุมชนประชานุกุล
  • ชุมชนร่วมใจพัฒนา
  • ชุมชนมุสลิมสัมพันธ์
  • ชุมชนจารูนอก
  • ชุมชนจารูพัฒนา
  • ชุมชนหลังโรงเรียนเทศบาล 5
  • ชุมชนตลาดเก่าซอย 8
  • ชุมชนสันติสุข
  • ชุมชนสามัคคี
  • ชุมชนวัดยะลาธรรมาราม
  • ชุมชนเมืองทอง
  • ชุมชนหลังโรงเรียนจีน
  • ชุมชนดารุสสลาม
  • ชุมชนวิฑูรอุทิศ 10 (ศาลเจ้าพ่อบู้เต็กโฮ้ว)
  • ชุมชนธนวิถี
  • ชุมชนธนวิถีพัฒนา
  • ชุมชนมะลิสัมพันธ์
  • ชุมชนหลังกองร้อย
  • ชุมชนการเคหะ
  • ชุมชนเบอร์เส้งนอก
  • ชุมชนตลาดเกษตร
  • ชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ
  • ชุมชนมณโฑ 18
  • ชุมชนพิทยนิโรธ
  • ชุมชนหน้าศูนย์แม่และเด็ก
  • ชุมชนคนรักถิ่น
  • ชุมชนอยู่ดี มีสุข
  • ชุมชนประชารัฐ
  • ชุมชนผังเมือง 4
  • ชุมชนเสรี
  • ชุมชนตลาดเมืองใหม่

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 สำนักงานเทศบาลนครยะลา. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลนครยะลา (สำรวจ 30 มกราคม 2553). เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  2. รายชื่อเทศบาลนครจำนวน 22 แห่ง (ข้อมูล 16 พฤศจิกายน 2547)
  3. สำนักงานเทศบาลนครยะลา. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลนครยะลา (หัวข้อด้านสังคม). เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  4. "ไหว้เจ้ายะลาคึกคัก บางส่วนปิดบ้านหนีร่วมฉลองตรุษจีน ตจว" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 22 มกราคม 2555. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 ชลัท ประเทืองรัตนา. โครงการวงดนตรีออร์เคสตร้าเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  6. สมาคมไทยซิกข์แห่งประเทศไทย. พระศาสนสถานคุรุดวารา - วัดซิกข์. เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  7. มหาวิทยาลัยมหิดล. ศาสนสถานในศาสนาซิกข์. เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  8. จำนวนผู้นับถือศาสนารายเทศบาล (ยะลา) - อำเภอเมืองยะลา

แหล่งข้อมูลอื่น