ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมสรรพากร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
| สืบทอดโดย =
| สืบทอดโดย =
| เขตอำนาจ = [[เขตพื้นที่สรรพากร|ทั่วราชอาณาจักร]]
| เขตอำนาจ = [[เขตพื้นที่สรรพากร|ทั่วราชอาณาจักร]]
| กองบัญชาการ = 90 ซอยพหลโยธิน 7 [[ถนนพหลโยธิน]] แขวงสามเสนใน [[เขตพญาไท]] [[กรุงเทพฯ]] 10400
| กองบัญชาการ = 90 ซอยพหลโยธิน 7 [[ถนนพหลโยธิน]] แขวงสามเสนใน [[เขตพญาไท]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10400
| latd= |latm= |lats= |latNS=
| latd= |latm= |lats= |latNS=
| longd= |longm= |longs= |longEW=
| longd= |longm= |longs= |longEW=

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:41, 16 มิถุนายน 2558

กรมสรรพากร
The Revenue Department
ไฟล์:กรมสรรพากร.gif
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง7 ตุลาคม พ.ศ. 2433
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี9,147.4265 ล้านบาท (พ.ศ. 2558)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ประสงค์ พูนธเนศ, อธิบดี
  • สมพงษ์ ตัณฑพาทย์, รองอธิบดี
  • วีระวุฒิ วิทยกุล, รองอธิบดี
  • รณวัตร สุวรรณาภิรมย์, รองอธิบดี
  • พิพัฒน์ ขันทอง, ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ
  • มานิต นิธิประทีป, ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์
  • ชนาธิป วีระสืบพงษ์, ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี
เว็บไซต์http://www.rd.go.th

กรมสรรพากร (The Revenue Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง[3] ที่เริ่มก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433

กรมสรรพากร มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคภายในประเทศ ตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาล เพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์ และอากรรังนกนางแอ่น

นอกจากนั้นยังพิจารณาปรับปรุงตัวบทกฎหมาย และระบบการบริหารจัดเก็บภาษีเพื่อส่งเสริมการออม การลงทุนและการแข่งขันในการผลิตและการส่งออกกับนานาประเทศ ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ และเสริมสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี และยังทำความตกลงระหว่างประเทศเพื่อขจัดการเก็บภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

เขตพื้นที่สรรพากร

กรมสรรพากร ได้แบ่งพื้นที่การบริการออกเป็นภูมิภาคต่างๆ รวม 12 ภาค เรียกว่า "เขตพื้นที่สรรพากร" ทั่วประเทศ[4]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น