ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนวาสุเทวี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 21: บรรทัด 21:


'''โรงเรียนวาสุเทวี''' เดิมชื่อ'''โรงเรียนพระแม่ฟาติมา'''<ref>[http://www.vasudevi.ac.th/default/index.php/en/2013-03-12-06-45-55 ประวัติโรงเรียนวาสุเทวี]</ref> ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[18 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2496]] มีนายมงคล วังตาล เป็นเจ้าของ เมื่อปี [[พ.ศ. 2498]] ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ [[อธิการิณีเจ้าคณะแขวง]][[คณะอุร์สุลิน]]แห่งประเทศไทย ได้ซื้อโรงเรียนนี้จาก[[คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส]] และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วาสุเทวี" โดยคุณครูเฉลา ไทยวัฒน์ ครูภาษาไทยรุ่นแรกของ[[โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย]]เป็นผู้แปลจากชื่อภาษาลาติน REGINA MUNDI ซึ่งหมายถึง "[[ราชินีแห่งสวรรค์|พระแม่แห่งสากลโลก]]" นับเป็นชื่อที่มีความหมายตรงตามชื่อเดิมคือ “วาสุ” แปลว่าพื้นดิน “เทวี” แปลว่า ราชินี หมายถึง ราชินีแห่งพื้นพิภพหรือราชินีของโลก เมื่อวันที่ [[21 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2541]] ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ ได้โอนโรงเรียนวาสุเทวีให้แก่มูลนิธิคณะอุร์สุลินเพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย โดยมีซิสเตอร์สมจิตร์ ครองบุญศรี ตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิเป็นผู้รับใบอนุญาต วันที่ [[2 กันยายน]] [[พ.ศ. 2545]] เปลี่ยนประธานกรรมการมูลนิธิเป็น
'''โรงเรียนวาสุเทวี''' เดิมชื่อ'''โรงเรียนพระแม่ฟาติมา'''<ref>[http://www.vasudevi.ac.th/default/index.php/en/2013-03-12-06-45-55 ประวัติโรงเรียนวาสุเทวี]</ref> ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[18 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2496]] มีนายมงคล วังตาล เป็นเจ้าของ เมื่อปี [[พ.ศ. 2498]] ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ [[อธิการิณีเจ้าคณะแขวง]][[คณะอุร์สุลิน]]แห่งประเทศไทย ได้ซื้อโรงเรียนนี้จาก[[คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส]] และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วาสุเทวี" โดยคุณครูเฉลา ไทยวัฒน์ ครูภาษาไทยรุ่นแรกของ[[โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย]]เป็นผู้แปลจากชื่อภาษาลาติน REGINA MUNDI ซึ่งหมายถึง "[[ราชินีแห่งสวรรค์|พระแม่แห่งสากลโลก]]" นับเป็นชื่อที่มีความหมายตรงตามชื่อเดิมคือ “วาสุ” แปลว่าพื้นดิน “เทวี” แปลว่า ราชินี หมายถึง ราชินีแห่งพื้นพิภพหรือราชินีของโลก เมื่อวันที่ [[21 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2541]] ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ ได้โอนโรงเรียนวาสุเทวีให้แก่มูลนิธิคณะอุร์สุลินเพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย โดยมีซิสเตอร์สมจิตร์ ครองบุญศรี ตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิเป็นผู้รับใบอนุญาต วันที่ [[2 กันยายน]] [[พ.ศ. 2545]] เปลี่ยนประธานกรรมการมูลนิธิเป็น
#ซิสเตอร์รวงกาญจนา ชินะผา เป็นผู้รับใบอนุญาต
#ซิสเตอร์นงนุช เรือนคำ เป็นผู้รับใบอนุญาต
#ซิสเตอร์จินตนา ฉัตรสุภางค์ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต
#ซิสเตอร์จินตนา ฉัตรสุภางค์ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต
#ซิสเตอร์ลดาพร พิชิตพสุธาดล ผู้จัดการ
#ซิสเตอร์มลิวัลย์ จำรัสธรางกูล ผู้จัดการ
#นางสาวทิพย์วรรณ อมรรักษา ผู้อำนวยการ
#นางสาวทิพย์วรรณ อมรรักษา ผู้อำนวยการ
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียนตั้งแต่แรกเปิดดำเนินการจนถึงปัจจุบันมีนักเรียน 10,691 คน ดำเนินงานโดยซิสเตอร์คณะอุร์สุลิน ซึ่งเป็นการให้การอบรมแก่กุลสตรีให้ดำเนินชีวิตเหมาะสมกับยุคสมัย
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียนตั้งแต่แรกเปิดดำเนินการจนถึงปัจจุบันมีนักเรียน 10,691 คน ดำเนินงานโดยซิสเตอร์คณะอุร์สุลิน ซึ่งเป็นการให้การอบรมแก่กุลสตรีให้ดำเนินชีวิตเหมาะสมกับยุคสมัย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:12, 14 มิถุนายน 2558

โรงเรียนวาสุเทวี
Vasudevi School.
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญSERVIAM ข้าฯ ยินดีรับใช้
สถาปนา18 พฤษภาคม 2496
อธิการซิสเตอร์รวงกาญจนา ชินะผา
สีฟ้า-ขาว
เว็บไซต์โรงเรียนวาสุเทวี

โรงเรียนวาสุเทวี เป็นโรงเรียนเอกชนโรมันคาทอลิกในสังกัดคณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน ประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ 200 ซ.จันทน์ 43 ถ.จันทน์ แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120

ประวัติ

โรงเรียนวาสุเทวี เดิมชื่อโรงเรียนพระแม่ฟาติมา[1] ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 มีนายมงคล วังตาล เป็นเจ้าของ เมื่อปี พ.ศ. 2498 ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ อธิการิณีเจ้าคณะแขวงคณะอุร์สุลินแห่งประเทศไทย ได้ซื้อโรงเรียนนี้จากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วาสุเทวี" โดยคุณครูเฉลา ไทยวัฒน์ ครูภาษาไทยรุ่นแรกของโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยเป็นผู้แปลจากชื่อภาษาลาติน REGINA MUNDI ซึ่งหมายถึง "พระแม่แห่งสากลโลก" นับเป็นชื่อที่มีความหมายตรงตามชื่อเดิมคือ “วาสุ” แปลว่าพื้นดิน “เทวี” แปลว่า ราชินี หมายถึง ราชินีแห่งพื้นพิภพหรือราชินีของโลก เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ ได้โอนโรงเรียนวาสุเทวีให้แก่มูลนิธิคณะอุร์สุลินเพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย โดยมีซิสเตอร์สมจิตร์ ครองบุญศรี ตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิเป็นผู้รับใบอนุญาต วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2545 เปลี่ยนประธานกรรมการมูลนิธิเป็น

  1. ซิสเตอร์นงนุช เรือนคำ เป็นผู้รับใบอนุญาต
  2. ซิสเตอร์จินตนา ฉัตรสุภางค์ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต
  3. ซิสเตอร์มลิวัลย์ จำรัสธรางกูล ผู้จัดการ
  4. นางสาวทิพย์วรรณ อมรรักษา ผู้อำนวยการ

เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียนตั้งแต่แรกเปิดดำเนินการจนถึงปัจจุบันมีนักเรียน 10,691 คน ดำเนินงานโดยซิสเตอร์คณะอุร์สุลิน ซึ่งเป็นการให้การอบรมแก่กุลสตรีให้ดำเนินชีวิตเหมาะสมกับยุคสมัย

ปรัชญา

อบรมเสริมคนให้ครบ ประสบธรรมอันสูงส่ง ปัญญาแตกฉานมั่นคง เสริมส่งเป็นคนจนสมบูรณ์

คติพจน์ของโรงเรียน

SERVIAM ข้าฯ ยินดีรับใช้

ตราสัญลักษณ์

เซอร์เวี่ยม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนอุร์สุลินทั่วโลก เซอร์เวี่ยมควรเป็นตราประจำใจของศิษย์อุร์สุลินตลอดชีวิต

เครื่องหมายเซอร์เวี่ยมประกอบไปด้วยไม้กางเขนและดวงดาว 7 ดวง กางเขนเป็นเครื่อง หมายถึง การรณรงค์ของพระคริสตเจ้าเพื่อรับใช้มวลมนุษย์ การรับใช้ของพระเยซูคริสตเจ้าด้วยการยอมสิ้นประชนม์บนไม้กางเขนนั้น นับเป็นการแสดงความรักและความเสียสละอย่างสูงสุดที่บุคคลใดจะพึงกระทำให้ผู้อื่นได้ และดวงดาว 7 ดวงบนตราเซอร์เวียมเป็นเครื่อง หมายถึง นักบุญอุร์สุลา องค์อุปถัมภ์ของคณะอุร์สุลิน

คติพจน์เซอร์เวียมนี้ เป็นจุดรวมของความมุ่งหวังที่ทางคณะอุร์สุลินมีต่อศิษย์ทุกคน คือต้องการจะปลูกฝังให้ศิษย์ทุกคนเลียนแบบพระคริสตเจ้าในการรับใช้พระเจ้า ประเทศชาติ และเพื่อนมนุษย์

อ้างอิง