ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังท่าพระ"

พิกัด: 13°45′11″N 100°29′24″E / 13.7529331°N 100.4899639°E / 13.7529331; 100.4899639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Bkkwangthaphra0603b.jpg|thumb|250px|วังท่าพระ]]
[[ไฟล์:Bkkwangthaphra0603b.jpg|thumb|250px|วังท่าพระ]]
'''วังท่าพระ''' หรือ '''วังล่าง''' ตั้งอยู่ข้าง[[พระบรมมหาราชวัง]] ริม[[ถนนหน้าพระลาน]]ทางด้านทิศตะวันตกใกล้[[ท่าช้าง]] แต่เดิมวังท่าพระนั้น ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] โปรดเกล้าให้อัญเชิญ [[พระศรีศากยมุนี]] จาก พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ [[จังหวัดสุโขทัย]] มาประดิษฐานไว้ ณ [[วัดสุทัศนเทพวราราม]] เมื่อพระพุทธรูปมาถึงประตูท่าช้าง ปรากฏว่าอัญเชิญเข้ามาไม่ได้เนื่องจากองค์พระนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำผ่านเข้ามาได้ จึงจำเป็นต้องรื้อทั้งประตูถอนทั้งกำแพงออก จึงได้เรียกขานอดีตท่าเรือนี้แทนว่าท่าพระ วังที่อยู่ใกล้กันนั้นจึงเรียกตามว่า วังท่าพระ
'''วังท่าพระ''' หรือ '''วังล่าง''' ตั้งอยู่ข้าง[[พระบรมมหาราชวัง]] ริม[[ถนนหน้าพระลาน]]ทางด้านทิศตะวันตกใกล้[[ท่าช้าง]] แต่เดิมวังท่าพระนั้น ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] โปรดเกล้าให้อัญเชิญ [[พระศรีศากยมุนี]] จาก พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ [[จังหวัดสุโขทัย]] มาประดิษฐานไว้ ณ [[วัดสุทัศนเทพวราราม]] เมื่อพระพุทธรูปมาถึงประตูท่าช้าง ปรากฏว่าอัญเชิญเข้ามาไม่ได้เนื่องจากองค์พระนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำผ่านเข้ามาได้ จึงจำเป็นต้องรื้อทั้งประตูถอนทั้งกำแพงออก จึงได้เรียกขานอดีตท่าเรือนี้แทนว่าท่าพระ วังที่อยู่ใกล้กันนั้นจึงเรียกตามว่า วังท่าพระ
วังท่าพระ เป็นวังหนึ่งของกลุ่มวังบนถนนหน้าพระลาน สร้างขึ้นหลังยุคสร้างบ้านแปลงเมือง ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2325 วังท่าพระตั้งอยู่ด้านข้างพระบรมมหาราชวัง บริเวณริมถนนหน้าพระลาน ตั้งแต่ท่าพระขึ้นไปถึงหน้าประตูวิเศษไชยศรีจำนวน 3 วังเรียงติดกัน รวมเรียกว่า วังถนนหน้าพระลาน และเรียกแต่ละวังแยกตามลักษณะที่ตั้งว่า วังตะวันตก (หรือวังท่าพระ) วังกลาง และวังตะวันออก


พระนามและพระประวัติเจ้านายที่ประทับ วังตะวันตก (วังท่าพระ)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต พระนามเดิมคือ เจ้าฟ้าสุพันธวงศ์ แต่มักเป็นที่รู้จักในพระนาม “เจ้าฟ้าเหม็น” พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ พระราชธิดาองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเป็นพระราชนัดดาของรัชกาลที่ 1 ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้าชายทับ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาเรียม (ในรัชกาลที่ 3 เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เมื่อ พ.ศ. 2330 ได้ทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความฎีกา และรับราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ท้ายสุด พ.ศ. 2367 เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จออกจากวังไปประทับในพระบรมมหาราชวัง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระโอรสในรัชกาลที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาบาง ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2355 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2378 พระชันษาเพียง 24 ปี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายชุมสาย พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 กับเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2359 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นราชสีหวิกรม เมื่อ พ.ศ. 2410 ทรงกำกับกรมช่างศิลาและช่างสิบหมู่ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2411 พระชันษา 53 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ชุมสาย ณ อยุธยา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายอุไร พระราชโอรสองค์ที่ 29 ในรัชกาลที่ 3 กับเจ้าจอมมารดาเขียว ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2362 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ ทรงกำกับกรมแสงและกรมช่างศิลา สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2416 พระชันษา 55 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล อุไรพงศ์ ณ อยุธยา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระราชโอรสองค์ที่ 62 ในรัชกาลที่ 4 กับพระองค์เจ้าพรรณราย ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2448 ทรงรับราชการตำแหน่ง นายพลโท ราชองครักษ์ อธิบดีคลังทหารบก ทหารเรือ และเสนาบดีหลายกระทรวง เช่น กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงกลาโหม กระทรวงพระคลัง และกระทรวงวัง ครั้นถึง พ.ศ. 2456 รัชกาลที่ 6 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ พ.ศ. 2448 ในสมัยรัชกาลที่ 8 ได้เฉลิมพระยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2490 มีพระชันษา 89 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล จิตรพงศ์ ณ อยุธยา

พระนามและช่วงเวลาในการครองวังตะวันตก (วังท่าพระ)
ปลายรัชกาลที่ 1 – พ.ศ. 2325
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต (เจ้าฟ้าเหม็น / เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์)
พ.ศ. 2352 – พ.ศ. 2367
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
พ.ศ. 2378 – พ.ศ. 2411
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม (พระองค์เจ้าชุมสาย)
พ.ศ. 2411 – พ.ศ. 2416
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ
พ.ศ. 2426 – พ.ศ. 2490
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2507
ราชสกุล จิตรพงศ์
พ.ศ. 2507 – ปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยศิลปากร
== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
เมื่อแรกเริ่มแห่งวังท่าพระเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯให้สร้างเพื่อพระราชทานให้เป็นที่ประทับของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกระษัตรานุชิต]] หรือ “เจ้าฟ้าเหม็น” ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จเจ้าฟ้าฉิมใหญ่]] พระราชชายาของ[[พระเจ้ากรุงธนบุรี]]
เมื่อแรกเริ่มแห่งวังท่าพระเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯให้สร้างเพื่อพระราชทานให้เป็นที่ประทับของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกระษัตรานุชิต]] หรือ “เจ้าฟ้าเหม็น” ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จเจ้าฟ้าฉิมใหญ่]] พระราชชายาของ[[พระเจ้ากรุงธนบุรี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:29, 9 มิถุนายน 2558

วังท่าพระ

วังท่าพระ หรือ วังล่าง ตั้งอยู่ข้างพระบรมมหาราชวัง ริมถนนหน้าพระลานทางด้านทิศตะวันตกใกล้ท่าช้าง แต่เดิมวังท่าพระนั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าให้อัญเชิญ พระศรีศากยมุนี จาก พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อพระพุทธรูปมาถึงประตูท่าช้าง ปรากฏว่าอัญเชิญเข้ามาไม่ได้เนื่องจากองค์พระนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำผ่านเข้ามาได้ จึงจำเป็นต้องรื้อทั้งประตูถอนทั้งกำแพงออก จึงได้เรียกขานอดีตท่าเรือนี้แทนว่าท่าพระ วังที่อยู่ใกล้กันนั้นจึงเรียกตามว่า วังท่าพระ วังท่าพระ เป็นวังหนึ่งของกลุ่มวังบนถนนหน้าพระลาน สร้างขึ้นหลังยุคสร้างบ้านแปลงเมือง ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2325 วังท่าพระตั้งอยู่ด้านข้างพระบรมมหาราชวัง บริเวณริมถนนหน้าพระลาน ตั้งแต่ท่าพระขึ้นไปถึงหน้าประตูวิเศษไชยศรีจำนวน 3 วังเรียงติดกัน รวมเรียกว่า วังถนนหน้าพระลาน และเรียกแต่ละวังแยกตามลักษณะที่ตั้งว่า วังตะวันตก (หรือวังท่าพระ) วังกลาง และวังตะวันออก

พระนามและพระประวัติเจ้านายที่ประทับ วังตะวันตก (วังท่าพระ)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต พระนามเดิมคือ เจ้าฟ้าสุพันธวงศ์ แต่มักเป็นที่รู้จักในพระนาม “เจ้าฟ้าเหม็น” พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ พระราชธิดาองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเป็นพระราชนัดดาของรัชกาลที่ 1 ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้าชายทับ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาเรียม (ในรัชกาลที่ 3 เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เมื่อ พ.ศ. 2330 ได้ทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความฎีกา และรับราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ท้ายสุด พ.ศ. 2367 เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จออกจากวังไปประทับในพระบรมมหาราชวัง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระโอรสในรัชกาลที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาบาง ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2355 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2378 พระชันษาเพียง 24 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายชุมสาย พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 กับเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2359 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นราชสีหวิกรม เมื่อ พ.ศ. 2410 ทรงกำกับกรมช่างศิลาและช่างสิบหมู่ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2411 พระชันษา 53 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ชุมสาย ณ อยุธยา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายอุไร พระราชโอรสองค์ที่ 29 ในรัชกาลที่ 3 กับเจ้าจอมมารดาเขียว ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2362 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ ทรงกำกับกรมแสงและกรมช่างศิลา สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2416 พระชันษา 55 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล อุไรพงศ์ ณ อยุธยา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระราชโอรสองค์ที่ 62 ในรัชกาลที่ 4 กับพระองค์เจ้าพรรณราย ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2448 ทรงรับราชการตำแหน่ง นายพลโท ราชองครักษ์ อธิบดีคลังทหารบก ทหารเรือ และเสนาบดีหลายกระทรวง เช่น กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงกลาโหม กระทรวงพระคลัง และกระทรวงวัง ครั้นถึง พ.ศ. 2456 รัชกาลที่ 6 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ พ.ศ. 2448 ในสมัยรัชกาลที่ 8 ได้เฉลิมพระยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2490 มีพระชันษา 89 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล จิตรพงศ์ ณ อยุธยา

พระนามและช่วงเวลาในการครองวังตะวันตก (วังท่าพระ)

ปลายรัชกาลที่ 1 – พ.ศ. 2325 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต (เจ้าฟ้าเหม็น / เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์) พ.ศ. 2352 – พ.ศ. 2367 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พ.ศ. 2378 – พ.ศ. 2411 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม (พระองค์เจ้าชุมสาย) พ.ศ. 2411 – พ.ศ. 2416 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ พ.ศ. 2426 – พ.ศ. 2490 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2507 ราชสกุล จิตรพงศ์ พ.ศ. 2507 – ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประวัติ

เมื่อแรกเริ่มแห่งวังท่าพระเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯให้สร้างเพื่อพระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกระษัตรานุชิต หรือ “เจ้าฟ้าเหม็น” ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฉิมใหญ่ พระราชชายาของพระเจ้ากรุงธนบุรี

เจ้าฟ้าเหม็น เสด็จประทับอยู่ ณ วังแห่งนี้จนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์จึงโปรดฯ ให้เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาเรียม (กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เสด็จประทับจนสิ้นรัชกาลที่ 2 จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้พระราชทานวังนี้เป็นที่ประทับของพระราชโอรส 3 พระองค์ คือ พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ซึ่งมีพระชันษาน้อย สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 24 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม (ต้นราชสกุล "ชุมสาย") เสด็จประทับที่นี่จนสิ้นพระชนม์ในปลายรัชกาลที่ 4(พ.ศ. 2411)เมื่อพระชันษาได้ 53 ปี และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 3 ทรงกำกับกรมแสงและกรมช่างสิลา สิ้นพระชนม์ที่วังนี้ในรัชกาลที่ 5

จนถึงรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงพระราชทานต่อให้ไปยังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และกรมพระยานริศฯ ก็เสด็จประทับที่วังนี้ จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาอานันทมหิดล พ.ศ. 2480 จึงได้ทรงซื้อที่ตรงริมถนนพระราม 4 คลองเตย สร้างตำหนักเป็นที่ประทับตากอากาศ เรียกว่า “บ้านปลายเนิน” แล้วโปรดประทับที่นั่นตลอดพระชนมายุ

วังท่าพระ เมื่อครั้งเป็นที่ประทับของกรมขุนราชสีหวิกกรมนั้น วังนี้จัดเป็นที่ทรงงานและงานช่างทุกชนิด รวมทั้งเป็นที่อยู่ของช่างต่างๆ อาศัยอยู่ในวังขณะนั้นไม่ต่ำกว่า 200 คน จัดเป็นวังขนาดใหญ่วังหนึ่งทีเดียว แต่เมื่อสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เสด็จมาประทับ ตำหนักอาคารต่างๆ ก็มีสภาพเก่าทรุดโทรม บางแห่งชำรุดผุพังจนไม่อาจใช้สอยได้ รัชกาลที่ 5 จึงโปรดฯให้บูรณะจนมีสภาพเหมือนเดิม ส่วนตำหนักที่ประทับนั้นโปรดฯให้สร้างขึ้นใหม่ 3 หลัง

ภายหลังที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เสด็จไปประทับบ้านปลายเนินแล้ว ทายาทของพระองค์ จึงขายวังให้กับทางราชการเและศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สร้างสถานศึกษาสำหรับวิชาศิลปตามแบบยุโรปขึ้น ได้ใช้วังนี้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ จวบจนปัจจุบัน

สถาปัตยกรรม

  • กำแพงวัง

เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาประกอบ กำแพงนี้คงเหลือเฉพาะด้านริมถนนหน้าพระลาน

  • ท้องพระโรงและกำแพงแก้ว
ท้องพระโรง วังท่าพระ ปัจจุบันเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

ลักษณะท้องพระโรงเป็นแบบเรือน 5 ห้อง เฉลียงรอบหันหน้ายาวออกหน้าวัง รูปทรงท้องพระโรงที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นภายนอกคงยึดตามแบบที่ปรากฏเมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 แต่ภายในคงไว้แต่เสาเดิม ปัจจุบันใช้ท้องพระโรงเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร มีบันไดใหญ่เข้าทางด้านหน้าได้ทางเดียว กำแพงนั้นเป็นสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ 5 มีลูกกรงที่ทำด้วยเหล็กหล่อเป็นลายสวยงาม

  • ตำหนักที่ประทับ 2 หลัง เรียกว่า “ตึกกลาง” และ “ตึกพรรณราย”

เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรุ่นแรกๆ ในรัชกาลที่ 5 กล่าวคือเป็นตึกสองชั้น มีเฉลียงหลังหนึ่งหันเข้าหาอีกหลังหนึ่ง ส่วนหลังนอกนั้นอยู่ข้างสวนแก้ว ตึกหลังในที่มีเฉลียงทำเรียบกว่าหลังนอก และมีเสาทึบ หัวเสาเป็นแบบศิลปะโรมัน ช่องคูหาด้านล่างเป็นช่องโค้ง มีการตกแต่งที่ส่วนต่างๆ ภายนอกอาคารเล็กน้อย ส่วนตึกหลังนอกมีรูปทรงทึบกว่า มีการตกแต่งผิวหนังโดยการเซาะเป็นร่องในชั้นล่าง ส่วนชั้นบนผนังเรียบ มีเสาติดผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูต่างๆ ด้วยลายปูนปั้นหรือตีตารางไม้ไว้ในช่องแสงเหนือประตูบางส่วน ตึกหลังนอกมีกันสาด มีเท้าแขนรับกันสาดทำอย่างเรียบๆ และประดับชายคาด้วยลายฉลุไม้ ตึกหลังในนี้เป็นที่ประทับของ พระองค์เจ้าพรรณราย พระมารดาของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

  • ศาลาในสวนแก้ว

เรียกว่า ศาลาดนตรี เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 องค์เจ้าของวังเคยประทับที่ศาลานี้เพื่อชมการแสดงหรือประชันดนตรีซึ่งจะตั้งวงกันในสวนแก้ว เพราะในวังท่าพระขณะนั้นมีวงดนตรีประจำวังที่มีชื่อเสียง ศาลาในสวนนี้ทำเป็นศาลาโปร่งมีผนังด้านเดียว หันหน้าเข้าหาสวนแก้ว หลังคาเป็นแบบปั้นหยา มีลายประดับอาคารอย่างละเอียดซับซ้อนกว่าตัวตำหนัก จึงเข้าใจว่าสร้างทีหลัง ลายฉลุไม้ทั้งที่ชายคาท้าวแขนระเบียบทำอย่างประณีตงดงาม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′11″N 100°29′24″E / 13.7529331°N 100.4899639°E / 13.7529331; 100.4899639