ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นครรัฐน่าน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55: บรรทัด 55:


== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ==
== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ==
นครรัฐน่านมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับรัฐหลวงพระบาง (หลัง พ.ศ. 1700) และรัฐสุโขทัยที่มีบรรพบุรุษจากเมืองน่านชื่อ "ปู่ฟ้าฟื้น" ดังปรากฏใน ''จารึกปู่สบถหลาน'' อันเป็นคำสัตย์ว่าสองรัฐจะไม่สู้รบกันเมื่อปี พ.ศ. 1935<ref name="สุจิตต์">{{cite web |url=http://www.sujitwongthes.com/2014/12/siam05122557/|title=พระขรรค์ชัยศรี กับดาบฟ้าฟื้น|author=สุจิตต์ วงษ์เทศ|date=5 ธันวาคม 2557|work=|publisher=Sujitwongthes.com|accessdate=19 ธันวาคม 2557}}</ref>
{{โครงส่วน}}
{{โครงส่วน}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:28, 29 พฤษภาคม 2558

นครรัฐน่าน
พุทธศตวรรษที่ 18–พ.ศ. 1992
สถานะนครรัฐ[1][2][3]
เมืองหลวงเมืองปัว
เมืองย่าง
เมืองภูเพียงแช่แห้ง
เมืองน่าน
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เจ้าผู้ครอง 
• พุทธศตวรรษที่ 18 - 2004[3]
ราชวงศ์ภูคา
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
พุทธศตวรรษที่ 18
• ถูกผนวกเข้ากับล้านนา
พ.ศ. 1992
ถัดไป
อาณาจักรล้านนา
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย

นครรัฐน่าน[3][4][5] บ้างเรียก อาณาจักรน่าน[6] เป็นนครรัฐอิสระ[1]ขนาดเล็กในอดีตรัฐหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน[2] เดิมเรียกว่าเมืองกาว, แคว้นกาว, รัฐกาว, กาวเทศ[7] หรือ กาวน่าน[8]

แต่ด้วยอุปสรรคด้านภูมิศาสตร์เนื่องด้วยตั้งอยู่ในหุบเขาขนาดเล็กจึงมีการพัฒนาที่ล้าหลังกว่ารัฐอื่น ๆ ที่ตั้งในแถบลุ่มน้ำปิงและวัง[9] ด้วยเหตุนี้น่านจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพะเยาช่วงต้นถึงปลายศตวรรษที่ 19, ล้านนาในปี พ.ศ. 1993 และพม่าในปี พ.ศ. 2103

ประวัติ

นครรัฐน่านถูกสถาปนาขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18[2] โดยพญาผากอง เมื่อพญาผากองได้ถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตร เจ้าผู้ครองเมืองปัวจึงได้มาปกครองเมืองย่างแทนพระอัยกา และให้ชายาดูแลเมืองปัว ในสมัยเจ้าเก้าเถื่อนพญางำเมืองเจ้าผู้ครองนครรัฐพะเยา ได้ขยายอำนาจมายังนครรัฐน่าน และเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตนครรัฐน่านบริเวณอำเภอปัว และอำเภอท่าวังผาในปัจจุบัน นครรัฐน่านหลุดพ้นจากอำนาจนครรัฐพะเยา

นครรัฐน่านมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับรัฐหลวงพระบาง (หลัง พ.ศ. 1700) และรัฐสุโขทัยที่มีบรรพบุรุษจากเมืองน่านชื่อ "ปู่ฟ้าฟื้น" ดังปรากฏใน จารึกปู่สบถหลาน อันเป็นคำสัตย์ว่าสองรัฐจะไม่สู้รบกันเมื่อปี พ.ศ. 1935[10]

ในสมัยพญาผานอง นครน่านเป็นนครรัฐอิสระระหว่างปี 1865 - 1894 ในสมัยพญาการเมืองนครรัฐน่านได้เติบโตมากขึ้นและสถาปนาความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย เมื่อพญาการเมืองพิราลัย พญาผากองจึงได้ปกครองน่าน ในช่วงนั้นน่านเกิดแห้งแล้ง พญาผากองจึงได้ย้ายมาตั้งเมืองใหม่บริเวณจังหวัดน่านในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์ล้านนา ยกทัพมารุกรานเมืองน่านและสามารถยึดเมืองน่านไว้ได้ ทำให้น่านตกเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา[11]

การปกครอง

น่านมีกษัตริย์จากราชวงศ์ภูคาเป็นประมุข ปกครองตนเองแบบนครรัฐอิสระที่ถูกตั้งขึ้นด้วยเงื่อนไขท้องถิ่นที่มิใช่อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย[9] และเนื่องด้วยที่ตั้งของน่านเป็นชายขอบของรัฐที่เข้มแข็ง[1] ประวัติศาสตร์ของน่านจึงมีความพยายามรักษาสถานะความเป็น "นครรัฐ" ให้อยู่รอด[1]

น่านเคยถูกพะเยายึดครองช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และปลายศตวรรษนั้นก็กลับเป็นนครรัฐอิสระดังเดิม แต่จากการขยายอำนาจของอาณาจักรล้านนาและอยุธยาทำให้น่านสถาปนาความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย[1] แม้จะได้รับการช่วยเหลือจากสุโขทัยก็ตามแต่เจ้านายในราชวงศ์กาวเองกลับแย่งชิงอำนาจกันเองทำให้รัฐขาดเสถียรภาพ จนเมื่อพันธมิตรอย่างอาณาจักรสุโขทัยสลายตัวและรวมเข้ากับอยุธยาในปี พ.ศ. 1981 ไม่นานหลังจากนั้นน่านเองก็สลายตัวและรวมเข้ากับล้านนาในปี พ.ศ. 1992[12]

ประชากร

น่านมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมคือชาวกาวเป็นชนชาติหนึ่งโดยเอกเทศ[13] แต่ต้นกำเนิดของชนชาติกาวก่อนมายังเมืองปัวยังเป็นปริศนา สรัสวดี อ๋องสกุลได้ตั้งข้อสังเกตว่าพญาภูคาอาจมีความเกี่ยวข้องกับเมืองภูคาทางตอนเหนือของประเทศลาว และตั้งข้อสังเกตว่าไทกาว, ไทลาว และไทเลือง (บรรพบุรุษราชวงศ์สุโขทัย) มีความสัมพันธ์กัน แต่เธอก็กล่าวว่าเป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่ต้องสืบค้นต่อไป[14]

ใน พื้นเมืองน่าน ได้กล่าวถึงพญาภูคา มีพระโอรสสองพระองค์คือขุนนุ่นและขุนฟอง พญาภูคาจึงให้องค์พี่ไปสร้างเมืองหลวงพระบางปกครองชาวลาว[note 1] และองค์น้องไปสร้างเมืองปัวปกครองชาวกาว[13] โดยตำนานให้ภาพของเมืองปัวและหลวงพระบางเป็นพี่น้องกัน ลาวและกาวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันตั้งถิ่นฐานใกล้กัน[13]

หลักฐานที่กล่าวถึงชาวกาวที่เก่าแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ด้านที่ 4 ปรากฏความว่า "ทังมา กาว ลาว และไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฏ..ไทยชาวอูชาวของมาออก"[13] พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด เรียกเมืองปัวซึ่งเป็นเมืองของชาวกาวว่า "เมืองกาว" หรือ "เมืองกาวเทศ" และกล่าวว่าเป็นคนไทกลุ่มหนึ่งความว่า "เมื่อนั้นชาวกาวไทยทั้งหลาย" และ "เมื่อตติยสักกราช ๗๒๗ ตัว ปีกัดใค้ สนำกุญชรชาวกาวไทยเรียกร้องกันมาแปลงโรงหลวง"[13] ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกกษัตริย์น่านว่า "พระญากาวน่าน" และเรียกประชาชนชาวน่านว่า "กาวน่าน"[13] ซึ่งสอดคล้องกับศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 45 พ.ศ. 1935 เรียกผีบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่า "ด้ำพงศ์กาว" ซึ่งยืนยันถึงบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่าเป็นชาวกาว[13] ในจารึกวัดบูรพาราม ด้านที่ 1 อ้างถึงปี พ.ศ. 1939 กษัตริย์สุโขทัยได้ขยายอาณาเขตไปยังเมืองกาว ดังความว่า "ท่านได้ปราบต์ ทั้งปกกาว" ปกหมายถึงรัฐคือรัฐกาวนั่นเอง ส่วนจารึกวัดบูรพารามด้าน 2 ซึ่งเป็นภาษาบาลี เรียกปกกาวว่า "กาวรฏฺฐํ" และกล่าวต่อว่าตั้งอยู่ทางทิศอุดรของสุโขทัย[14]

หลังจากการสร้างเมืองน่านเป็นต้นมา ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มนิยมเรียกชื่อตามเมืองคือน่านแทนชื่อชนชาติ ผู้คนในเมืองน่านก็เรียกตัวเองว่าชาวน่านแทนชาวกาวดังปรากฏหลักฐานในพื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด[14] จนกล่าวได้ว่าตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คำว่า "กาว" ได้หายไปจากเมืองน่านแล้ว เหลือเพียงแต่ร่องรอยที่ปรากฏในเอกสารโบราณเท่านั้น[14] และทุกวันนี้ชาวจังหวัดน่านเองก็ไม่รู้จักคำว่าชาวกาวแล้ว[8]

ภูมิศาสตร์

น่านเป็นนครรัฐในหุบเขาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านทางตอนบนขนาดเล็กเป็นตอน ๆ ในลักษณะแนวยาวทิศเหนือ-ใต้ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาผีปันน้ำทางตะวันออกและเทือกเขาหลวงพระบาง[15] ที่ราบแบ่งได้เป็นสองตอน คือตอนเหนือเป็นที่ราบขนาดเล็กต้นแม่น้ำน่านเป็นที่ตั้งของเมืองปัว และที่ราบตอนล่างอันเป็นตั้งของเมืองน่านซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่า สามารถติดต่อค้าขายกับเมืองทางใต้ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้น่านยังมีที่ราบขนาดเล็กอีกหลายแห่งกระจายตัวในหุบเขาอีกด้วย[15]

ด้วยเหตุที่น่านถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสามารถติดต่อเมืองอื่น ๆ ได้ยาก ทำให้น่านเป็นเมืองโดดเดี่ยว[15] มีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่ารัฐจารีตที่รายรอบ[9] และ พื้นเมืองน่าน ซึ่งเป็นตำนานพื้นเมืองของน่านช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ก็ไม่ได้กล่าวถึงอาณาจักรสุโขทัยหรือล้านนาช่วงนั้นเลย โลกของผู้เขียนตำนานขีดวงไว้เพียงแถบลุ่มแม่น้ำน่านเท่านั้น[16] อย่างไรก็ตามน่านตั้งอยู่บนและควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างล้านนาตะวันออกกับหลวงพระบางในแนวตะวันออกถึงตะวันตก[15] และเป็นปราการที่สำคัญของล้านนาด้วย ดังปรากฏในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช เวียดนามได้คุกคามหลวงพระบางและน่าน โดยน่านได้ต่อต้านอย่างเข้มแข็งจนเวียดนามพ่ายไปในที่สุด[17]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

นครรัฐน่านมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับรัฐหลวงพระบาง (หลัง พ.ศ. 1700) และรัฐสุโขทัยที่มีบรรพบุรุษจากเมืองน่านชื่อ "ปู่ฟ้าฟื้น" ดังปรากฏใน จารึกปู่สบถหลาน อันเป็นคำสัตย์ว่าสองรัฐจะไม่สู้รบกันเมื่อปี พ.ศ. 1935[10]

เชิงอรรถ

  1. ในตำนานกล่าวถึงฤๅษีสร้างเมืองจันทบุรีให้ขุนนุ่น ซึ่งเมืองจันทบุรีคือเมืองเวียงจันทน์ แต่สรัสวดี อ๋องสกุลพิจารณาถึงตำแหน่งที่ตั้งเมืองตามบริบทของตำนานว่าควรเป็นเมืองหลวงพระบาง (อ้างอิง: สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 107)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 111
  2. 2.0 2.1 2.2 ประวัติศาสตร์น่าน
  3. 3.0 3.1 3.2 คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน. นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ. เรียกดูเมื่อ 4 มิถุนายน 2556
  4. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 256
  5. พิพิธภัณฑ์ชีวิตวิถีชาวน่าน. จากลำน้ำปัวสู่ลำน้ำน่าน > นครรัฐน่านก่อนสมัยพญาภูคา. เรียกดูเมื่อ 4 มิถุนายน 2556
  6. จังหวัดน่านและอาณาจักรน่าน
  7. Thailand Art. ชนชาติกาว บรรพบุรุษผู้สูญหายของคนเมืองน่าน. เรียกดูเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
  8. 8.0 8.1 "เมืองกาว เมืองน่าน" (Press release). คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 41
  10. 10.0 10.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ (5 ธันวาคม 2557). "พระขรรค์ชัยศรี กับดาบฟ้าฟื้น". Sujitwongthes.com. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ราชวงศ์ที่ครองเมืองน่าน ราชวงศ์ภูคา
  12. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 112
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 107
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 108
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 106
  16. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 108
  17. ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี และวินัย ศรีพงศ์เพียร. "บทบาทของล้านนาในวิกฤตการณ์การเมืองระหว่างรัฐในราชอาณาจักรลาว พ.ศ. 2002-2024", ใน รวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับที่ 16, พ.ศ. 2537, หน้า 98-110