ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอหนองบัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Schatthong84 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Schatthong84 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 62: บรรทัด 62:


'''รายชื่ออดีตผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหนองบัว'''
'''รายชื่ออดีตผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหนองบัว'''

'''๑. ร.ต.ต. ประทวน สิทธิธูรณ์ ๑๘ ธ.ค. ๒๔๙๐ - ๘ มี.ค.๒๔๙๒'''
๑. ร.ต.ต. ประทวน สิทธิธูรณ์ ๑๘ ธ.ค. ๒๔๙๐ - ๘ มี.ค.๒๔๙๒
'''๒. นายสืบศักดิ์ สุขไทย ๘ มี.ค.๒๔๙๒ - ๒๒ มี.ค.๒๔๙๕'''

'''๓.นายบรรจบ ศรีเจริญ ๒๒ มี.ค.๒๔๙๕ - ๒ ส.ค. ๒๔๙๙'''
๒. นายสืบศักดิ์ สุขไทย ๘ มี.ค.๒๔๙๒ - ๒๒ มี.ค.๒๔๙๕

๓.นายบรรจบ ศรีเจริญ ๒๒ มี.ค.๒๔๙๕ - ๒ ส.ค. ๒๔๙๙




'''รายชื่ออดีตผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอหนองบัว'''
'''รายชื่ออดีตผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอหนองบัว'''

๑. นายสืบศักดิ์ สุขไทย ๑๔ ก.ค. ๒๔๙๙ - ๑๗ เม.ย. ๒๕๐๒
๑. นายสืบศักดิ์ สุขไทย ๑๔ ก.ค. ๒๔๙๙ - ๑๗ เม.ย. ๒๕๐๒


๒. นายอรุณ วิไลรัตน์ ๑๗ เม.ย. ๒๕๐๒ - ๒๐ ต.ค. ๒๕๐๘
๒. นายอรุณ วิไลรัตน์ ๑๗ เม.ย. ๒๕๐๒ - ๒๐ ต.ค. ๒๕๐๘


'''๓.นายอำนาจ ศศิธร ๒๐ ต.ค. ๒๕๐๘ - ๓ ก.ค. ๒๕๑๔'''
๓.นายอำนาจ ศศิธร ๒๐ ต.ค. ๒๕๐๘ - ๓ ก.ค. ๒๕๑๔

'''๔.นายชาติ สุขเจริญ ๖ ก.ค. ๒๕๑๔ - ๑๔ พ.ค. ๒๕๑๗'''
'''๕. นายธนุศ อิศรางกูร อยุธยา ๑๔ .ค. ๒๔๑๗ - ๒๘ พ.. ๒๕๑๘'''
.นายชาติ สุขเจริญ ๖ ก.ค. ๒๕๑๔ - ๑๔ พ.. ๒๕๑๗

'''๖.นายสงวน ประพันธ์โรจน์ ๒๘ พ.ย. ๒๕๑๘ - ๒๕ ส.ค. ๒๕๒๑'''
'''๗.นายไชยเจริญ เฟื่องเรือง ๒๘ ส.ค. ๒๕๒๑ -๓๑ พ..๒๕๒๔'''
. นายธนุศ อิศรางกูร อยุธยา ๑๔ .ค. ๒๔๑๗ - ๒๘ พ.. ๒๕๑๘

'''๘.นายสมหมาย ฉัตรทอง ๑ มิ.ย.๒๕๒๔ - ๑๔ ก.พ.๒๕๒๘'''
'''๙. นายดารา การุณยวนิช ๑๕ ก.พ. ๒๕๒๘ - ๑๕ .ค.๒๕๓๐'''
.นายสงวน ประพันธ์โรจน์ ๒๘.ย. ๒๕๑๘ - ๒๕ .ค. ๒๕๒๑

'''๑๐.นายสุนทร มากบุญ ๑๖ ต.ค.๒๕๓๐ - ๒๐ ม.ค.๒๕๓๒'''
'''๑๑.นายอัมพร วังศพ่าห์ ๒๓ ม.ค.๒๕๓๒ - ๓ ธ.ค.๒๕๓๓'''
.นายไชยเจริญ เฟื่องเรือง ๒๘ .ค. ๒๕๒๑ -๓๑ .ค.๒๕๒๔

'''๑๒.ร.ต.เสรี ลักษณะสุต ๓ ธ.ค.๒๕๓๓ - ๑๐ ก.พ. ๒๕๓๕'''
๘.นายสมหมาย ฉัตรทอง ๑ มิ.ย.๒๕๒๔ - ๑๔ ก.พ.๒๕๒๘
'''๑๓.นายสุวิทย์ หงส์ธนนันท์ ๑๙ ก.พ. ๒๕๓๕ - ๕ พ.ย.๒๕๓๖'''

'''๑๔.นายวิมล จันทวานิช ๘ พ.ย.๒๕๓๖ - ๓๑ ต.ค. ๒๕๓๘'''
'''๑๕.นายมานิตย์ แพทย์จรัส พ.ย. ๒๕๓๘ - ก.พ. ๒๕๔๑'''
. นายดารา การุณยวนิช ๑๕ ก.พ. ๒๕๒๘ - ๑๕ ต.ค.๒๕๓๐

'''๑๖.นายสุรเชษฐ์ ธีรัทธานนท์ ๙ ก.พ.๒๕๔๑ - ๑ พ.ย. ๒๕๔๑'''
'''๑๗.นายเสรี คัมภีรธัมโม ๒. ..๒๕๔๑ - ๑๕ .ค.๒๕๔๕'''
๑๐.นายสุนทร มากบุญ ๑๖ ต..๒๕๓๐ - ๒๐ .ค.๒๕๓๒

'''๑๘.นายวีระชัย ภู่เพียงใจ ๑๖ ธ.ค.๒๕๔๕ - ๓๐ ต.ค. ๒๕๔๗'''
'''๑๙.นายสมดี คชายั่งยืน ..๒๕๔๗ - ๒๓ ธ.ค.๒๕๔๘'''
๑๑.นายอัมพร วังศพ่าห์ ๒๓ ม..๒๕๓๒ - ธ.ค.๒๕๓๓

'''๒๐.นายธนพัฒน์ บูรณศักดิ์ภิญโญ ๒๖ ธ.ค.๒๕๔๘ - ๒๑ พ.ย.๒๕๕๑'''
๑๒.ร.ต.เสรี ลักษณะสุต ๓ ธ.ค.๒๕๓๓ - ๑๐ ก.พ. ๒๕๓๕
'''๒๑.นายเมธี ปรัชญาสกุล ๒๔ พ.ย.๒๕๕๑ - ๙ ธ.ค. ๒๕๕๔'''

'''๒๒.นายจิตวัฒน์ วิกสิต ๑๓ ธ.ค.๒๕๕๔ - ๘ มี.ค.๒๕๕๖'''
'''๒๓.นายเมธี ปรัชญากสุล ๑๑ มี.. ๒๕๕๖ - ๓๐ .ย. ๒๕๕๗'''
๑๓.นายสุวิทย์ หงส์ธนนันท์ ๑๙ .. ๒๕๓๕ - .ย.๒๕๓๖

'''๒๔.น.ส.กันตรัตน์ เริ่มสูงเนิน ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๘ - ปัจจุบัน'''
๑๔.นายวิมล จันทวานิช ๘ พ.ย.๒๕๓๖ - ๓๑ ต.ค. ๒๕๓๘

๑๕.นายมานิตย์ แพทย์จรัส ๑ พ.ย. ๒๕๓๘ - ๙ ก.พ. ๒๕๔๑

๑๖.นายสุรเชษฐ์ ธีรัทธานนท์ ๙ ก.พ.๒๕๔๑ - ๑ พ.ย. ๒๕๔๑

๑๗.นายเสรี คัมภีรธัมโม ๒. พ.ย.๒๕๔๑ - ๑๕ ธ.ค.๒๕๔๕

๑๘.นายวีระชัย ภู่เพียงใจ ๑๖ ธ.ค.๒๕๔๕ - ๓๐ ต.ค. ๒๕๔๗

๑๙.นายสมดี คชายั่งยืน ๑ พ.ย.๒๕๔๗ - ๒๓ ธ.ค.๒๕๔๘

๒๐.นายธนพัฒน์ บูรณศักดิ์ภิญโญ ๒๖ ธ.ค.๒๕๔๘ - ๒๑ พ.ย.๒๕๕๑

๒๑.นายเมธี ปรัชญาสกุล ๒๔ พ.ย.๒๕๕๑ - ๙ ธ.ค. ๒๕๕๔

๒๒.นายจิตวัฒน์ วิกสิต ๑๓ ธ.ค.๒๕๕๔ - ๘ มี.ค.๒๕๕๖

๒๓.นายเมธี ปรัชญากสุล ๑๑ มี.ค. ๒๕๕๖ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๕๗

๒๔.น.ส.กันตรัตน์ เริ่มสูงเนิน ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๘ - ปัจจุบัน

ข้อมูลจากหนังสือ ๖๐ ปี(๒๔๙๑-๒๕๕๐) จารึกไว้บนแผ่นดิน อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดย นายสมหมาย ฉัตรทอง(๒๕๔๗)
ข้อมูลจากหนังสือ ๖๐ ปี(๒๔๙๑-๒๕๕๐) จารึกไว้บนแผ่นดิน อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดย นายสมหมาย ฉัตรทอง(๒๕๔๗)
ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อนายอำเภอ ณ วันที่แก้ไข วันที่ ๑๖ พ.ค.๒๕๕๘ นี้ยังไม่ครบถ้วน ต่อไปคงจะได้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์
ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อนายอำเภอ ณ วันที่แก้ไข วันที่ ๑๖ พ.ค.๒๕๕๘ นี้ยังไม่ครบถ้วน ต่อไปคงจะได้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:26, 18 พฤษภาคม 2558

อำเภอหนองบัว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nong Bua
คำขวัญ: 
หลวงพ่อเดิมสร้างเมือง ลือเลื่องความสามัคคี ประเพณีบวชนาคหมู่ หินสีชมพูคู่เขาพระ เมืองพันสระนามกล่าวขาน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมากมี ข้าวสารดีมีชื่อ นามระบือคือหนองบัว
พิกัด: 15°33′24″N 100°4′24″E / 15.55667°N 100.07333°E / 15.55667; 100.07333
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์
พื้นที่
 • ทั้งหมด819.5 ตร.กม. (316.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด70,163 คน
 • ความหนาแน่น85.61 คน/ตร.กม. (221.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 60110
รหัสภูมิศาสตร์6004
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอหนองบัว หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 60110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอหนองบัว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอหนองบัวตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้

ลักษณะทางกายภาพ

-- ภูมิประเทศ --

อำเภอหนองบัวโดยทั่วไปแล้ว เป็นที่ราบลาดเอียงจากทิศตะวันออกลงไปทิศตะวันตก เนื่องจากมีเทือกเขาพระ-เขาสูง อยู่ทางทิศตะวันออก เป็นอำเภอที่ค่อนข้างแห้งแล้งเนื่องจากไม่มีแม่น้ำไหลผ่านและไม่ค่อยมีแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงมีการขุดสระน้ำไว้อุปโภคและบริโภคมากมาย จนได้ชื่อว่า เมืองพันสระ สภาพดินมีทั้งดินเหนียว เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว และดินปนทรายตามที่ราบเชิงเขา เหมาะแก่การทำพืชไร่ ปัจจุบันมีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า เขื่อนพระครูไกร เพื่อทดน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง เขตพื้นที่ระหว่างเพชรบูรณ์ทางตะวันออกและพิจิตร ทางตอนเหนือของจังหวัดนครสวรรค์คืออำเภอหนองบัว เป็นรอยต่อของภูมิประเทศแบบลอนลูกคลื่น ซึ่งมีภูเขาเตี้ย ๆ ห่าง ๆ กันตั้งอยู่กับพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเทไปสู่ลำน้ำน่านแถวอำเภอชุมแสงก่อนจะรวมเป็นม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพต่อไป

-- ภูมิอากาศ --

เนื่องจาก ไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่หรือแม่น้ำไหลผ่าน จึงทำให้มีอากาศที่ค่อนข้างร้อนเกือบทั้งปี ฤดูฝน มีฝนน้อยกว่าพื้นที่อื่น ฤดูหนาว อากาศไม่หนาวมาก

-- เส้นทางการเดินทาง --

จากกรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางโดยรถโดยสาร หรือรถยนต์

เส้นทางแรกวิ่งตามเส้นทางกรุงเทพ-นครสวรรค์ โดยมีทางแยกที่ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ไปทาง อ.ตากฟ้า ระยะทางจากแยกถึงตัวอำเภอประมาณ 100 กม. เส้นทาง ช่วงนี้ได้มีการซ่อมบำรุงถนน เมื่อปี 2553 ตามโครงการไทยเข้มแข็ง ถนนค่อนข้างดี

ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งวิ่งตามเส้นทางกรุงเทพ-นครสวรรค์ แล้วแยกไปทาง อ.ชุมแสง ซึ่งถนนเส้นจาก อ.ชุมแสงไป อ.หนองบัว เส้นทางแย่มาก เป็นหลุมเป็นบ่อ ไหล่ทางทรุดตัวตลอดเส้นทาง ซึ่งถนนเส้นนี้ สร้างมาเกือบ 30 ปีแล้ว ขาดการดูแลรักษา ขับมาทางเส้นทางนี้ต้องระมัดระวังอย่างมาก เคยมีโครงการถนนสี่เลน แต่โครงการได้สิ้นสุดไปแล้ว ไม่ได้เริ่มโครงการแต่อย่างใด ถนนก็ไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงานรัฐ เนื่องจากขาดงบประมาณ

ปัจจุบันถนนเส้นหนองบัว-ชุมแสง ได้มีการปรับปรุงดีขึ้นมาก โดย พันตำรวจโทนุกูล แสงศิริ นุกูล แสงศิริ

ตำนานพื้นเมือง

ชื่ออำเภอหนองบัวนั้น มาจากตำนานโบราณว่า ในสมัยโบราณมีพระฤๅษีนารายณ์ได้บำเพ็ญเพียรที่ข้างหนองน้ำ(บ้านกุฏิฤๅษี)ในหนองน้ำมีกอบัวอยู่ ต่อมามีเทพธิดาถือกำเนิดเป็นเด็กทารกอยู่ในดอกบัว พระฤๅษีจึงเป็นผู้เลี้ยงดูจนเติบใหญ่และให้ชื่อว่า นางทิพย์เกสร เมื่อถึงวันปีใหม่(สงกรานต์)นางทิพย์เกสรก็จะขึ้นมาโล้ชิงช้าร้องเพลงพวงมาลัยเล่นใต้ต้นมะขามหย่อง(ปัจจุบัน เหลือเพียงชื่อ ถนนมะขามหย่อง)ริมหนองน้ำนั้น และไม่ไกลกันนักมีหนองน้ำอีกแห่งหนึ่งเป็นที่อาศัยของครอบครัวพรานป่า เมื่อพรานป่าได้ยินเพลงพวงมาลัยอันไพเราะที่นางทิพย์เกสรได้ขับร้อง เกิดความสงสัยว่าใครเป็นผู้ขับร้อง จึงเดินทางตามเสียงมา แต่ด้วยฤทธิ์นางทิพย์เกสรพรานป่าจึงไม่เห็นตัวนาง พรานป่าจึงเดินกลับบ้านตนแต่ก็ยังได้ยินเสียงอยู่จึงเดินค้นหาหลายรอบ แต่ก็ไม่พบ หนองน้ำที่พระฤๅษีอยู่เรียกว่าหนองบัว(ตำบลหนองบัว)หรือเรียกว่าเกาะลอยเพราะในอดีตมีเกาะเล็กๆอยู่กลางหนองน้ำแต่เนื่องจากน้ำไม่พอใช้ทางการจึงขุดออกและลอกให้ลึกกว่าเดิม ส่วนหนองน้ำที่พรานอาศัยอยู่เรียกว่าหนองกลับ(ตำบลหนองกลับ)

ประวัติอำเภอ

ตามประวัติวัดหนองกลับ-หนองบัว จากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูนิกรปทุมรักษ์(หลวงปู่อ๋อย นามสกุล พรมบุญ เกิด ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๒-มรณะ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๒๙ อายุ ๘๗ ปี)อดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ:วัดหนองกลับ และอดีตเจ้าคณะอำเภอหนองบัวรูปแรก พ.ศ. ๒๕๓๒ กล่าวว่า วัดหนองกลับ นี้ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ใครสร้างไม่ปรากฏ ตามคำบอกเล่าทราบว่า ตรงที่สร้างวัดนี้ ในห้วงเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพตีเมืองนครราชสีมา(โคราช)สมัยราชกาลที่ ๓ เป็นที่ตั้งค่ายของชาวหนองบัว-หนองกลับ เพื่อป้องกันทัพเวียงจันทน์ที่ผ่านมา ด้วยบ้านนี้ตั้งมาหลายร้อยปี จึงมีวัดเก่าแก่ชื่อ วัดหนองม่วง ในเขตหนองกลับ และวัดสระมะนาว ในเขตหนองบัว เมื่อชาวบ้านทั้งสองบ้านมาตั้งค่ายที่วัดหนองกลับ จึงย้ายวัดมาด้วยเป็นเหตุให้มีวัดติดกันสองวัด ในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกวัดนอกและวัดใน (บ้านนอกคือตำบลหนองกลับ บ้านในคือตำบลหนองบัว)ต่อมาภิกษุวัดในเป็นอหิวาต์มรณภาพ ภิกษุที่เหลือจึงย้ายไปวัดนอก(วัดหนองกลับในปัจจุบัน)จึงเป็นการรวมวัดโดยปริยาย สำหรับชื่อวัดเดิมมีผู้ตั้งไว้ว่า วัดประทุมคงคา ต่อมาเปลี่ยนเป็น วัดหงษ์ เพราะมีเสาหงษ์อยู่หน้าวัด ต่อมามีเจ้าเมืองพิจิตรมาตรวจราชการ จึงเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมือนกับชื่อหมู่บ้านว่า วัดหนองกลับ แต่เนื่องจากอยู่ติดหนองบัว จึงนิยมเรียก วัดหนองบัว
ต่อมาทางราชการตั้งกิ่งอำเภอหนองบัวขึ้น จึงโอน ต.หนองกลับ อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ต.หนองบัว อ.ชุมแสง ต.ห้วยร่วม อ.ชุมแสง ต.ห้วยใหญ่ อ.ชุมแสง และ ต.ธารทหาร อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ มารวมกันเป็นกิ่งอำเภอหนองบัว โดยใช้วัดหนองกลับ เป็นที่ทำการกิ่งอำเภอ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑-พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นกิ่งอำเภอหนองบัวอยู่ ๙ ปี
ต่อมายกเป็นอำเภอ จึงสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้น

อำเภอหนองบัว กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศตั้งกิ่งอำเภอหนองบัวขึ้น เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๑ ให้ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ กิ่งอำเภอหนองบัวขณะนั้น มีตำบลในการปกครอง คือ ๑.ตำบลหนองบัว อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ๒.ตำบลห้วยร่วม อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ๓.ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ๔. ตำบลธารทหาร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ๕. ตำบลหนองกลับ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ต่อมาเมื่อมีประชาชนหนาแน่นเพิ่มขึ้น สภาพท้องที่มีความเจริญขึ้น กิ่งอำเภอหนองบัวจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ ตามพระราชกฤษฏีกา จัดตั้งอำเภอหนองบัว ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓ ตอนที่ ๔๖ ลงวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๙๙ มีฐานะเป็นอำเภอหนองบัวตั้งแต่วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๔๙๙ เมื่อแรกตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอ ได้อาศัยใต้ถุนกุฏิพระใบฎีกาโปน เอี่ยมเนตร พระวัดใหญ่ : วัดหนองกลับ โดยใช้ไม้รวกผ่าจักเป็นฝาล้อมรอบ มีพื้นใช้เป็นที่ทำการตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๑ เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๒ ได้รื้ออาคารโรงสีที่สร้างไว้ ไฟไหม้บางส่วน มีผู้บริจาคให้ประกอบกับตัวไม้ที่มีอยู่ในวัดหนองกลับเพิ่มเติมรวมกัน ปลูกเป็นอาคารยกพื้นสูง ๕๐ เซนติเมตร กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร หลังคามุงหญ้าแฝก ปลูกสร้างบริเวณต้นมะขวิดต้นมะสังข์ในวัด อันเป็นที่ตั้งเมรุปัจจุบัน ขณะนั้นเมรุยังไม่ได้ก่อสร้าง ใช้อาคารดังกล่าวเป็นที่ปฏิบัติงาน ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ทางราชการได้อนุมัติเงินงบประมาณสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอใหม่ สร้างแล้วเสร็จราวกลางปี ๒๔๙๔ ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับงบประมาณสร้างที่ว่าการอำเภอหนองบัว เป็นตึก ๒ ชั้น ในวงเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ (นายเดชชาติ วงศ์โมกลเชษฐ์) ได้มาทำพิธีเปิดป้าย ที่ว่าการอำเภอ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๑ และใช้เป็นที่ทำการตั้งแต่วันทำพิธีเปิดเป็นต้นมา

รายชื่ออดีตผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหนองบัว

๑. ร.ต.ต. ประทวน สิทธิธูรณ์ ๑๘ ธ.ค. ๒๔๙๐ - ๘ มี.ค.๒๔๙๒

๒. นายสืบศักดิ์ สุขไทย ๘ มี.ค.๒๔๙๒ - ๒๒ มี.ค.๒๔๙๕

๓.นายบรรจบ ศรีเจริญ ๒๒ มี.ค.๒๔๙๕ - ๒ ส.ค. ๒๔๙๙


รายชื่ออดีตผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอหนองบัว

๑. นายสืบศักดิ์ สุขไทย ๑๔ ก.ค. ๒๔๙๙ - ๑๗ เม.ย. ๒๕๐๒

๒. นายอรุณ วิไลรัตน์ ๑๗ เม.ย. ๒๕๐๒ - ๒๐ ต.ค. ๒๕๐๘

๓.นายอำนาจ ศศิธร ๒๐ ต.ค. ๒๕๐๘ - ๓ ก.ค. ๒๕๑๔

๔.นายชาติ สุขเจริญ ๖ ก.ค. ๒๕๑๔ - ๑๔ พ.ค. ๒๕๑๗

๕. นายธนุศ อิศรางกูร ณ อยุธยา ๑๔ พ.ค. ๒๔๑๗ - ๒๘ พ.ย. ๒๕๑๘

๖.นายสงวน ประพันธ์โรจน์ ๒๘ พ.ย. ๒๕๑๘ - ๒๕ ส.ค. ๒๕๒๑

๗.นายไชยเจริญ เฟื่องเรือง ๒๘ ส.ค. ๒๕๒๑ -๓๑ พ.ค.๒๕๒๔

๘.นายสมหมาย ฉัตรทอง ๑ มิ.ย.๒๕๒๔ - ๑๔ ก.พ.๒๕๒๘

๙. นายดารา การุณยวนิช ๑๕ ก.พ. ๒๕๒๘ - ๑๕ ต.ค.๒๕๓๐

๑๐.นายสุนทร มากบุญ ๑๖ ต.ค.๒๕๓๐ - ๒๐ ม.ค.๒๕๓๒

๑๑.นายอัมพร วังศพ่าห์ ๒๓ ม.ค.๒๕๓๒ - ๓ ธ.ค.๒๕๓๓

๑๒.ร.ต.เสรี ลักษณะสุต ๓ ธ.ค.๒๕๓๓ - ๑๐ ก.พ. ๒๕๓๕

๑๓.นายสุวิทย์ หงส์ธนนันท์ ๑๙ ก.พ. ๒๕๓๕ - ๕ พ.ย.๒๕๓๖

๑๔.นายวิมล จันทวานิช ๘ พ.ย.๒๕๓๖ - ๓๑ ต.ค. ๒๕๓๘

๑๕.นายมานิตย์ แพทย์จรัส ๑ พ.ย. ๒๕๓๘ - ๙ ก.พ. ๒๕๔๑

๑๖.นายสุรเชษฐ์ ธีรัทธานนท์ ๙ ก.พ.๒๕๔๑ - ๑ พ.ย. ๒๕๔๑

๑๗.นายเสรี คัมภีรธัมโม ๒. พ.ย.๒๕๔๑ - ๑๕ ธ.ค.๒๕๔๕

๑๘.นายวีระชัย ภู่เพียงใจ ๑๖ ธ.ค.๒๕๔๕ - ๓๐ ต.ค. ๒๕๔๗

๑๙.นายสมดี คชายั่งยืน ๑ พ.ย.๒๕๔๗ - ๒๓ ธ.ค.๒๕๔๘

๒๐.นายธนพัฒน์ บูรณศักดิ์ภิญโญ ๒๖ ธ.ค.๒๕๔๘ - ๒๑ พ.ย.๒๕๕๑

๒๑.นายเมธี ปรัชญาสกุล ๒๔ พ.ย.๒๕๕๑ - ๙ ธ.ค. ๒๕๕๔

๒๒.นายจิตวัฒน์ วิกสิต ๑๓ ธ.ค.๒๕๕๔ - ๘ มี.ค.๒๕๕๖

๒๓.นายเมธี ปรัชญากสุล ๑๑ มี.ค. ๒๕๕๖ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๕๗

๒๔.น.ส.กันตรัตน์ เริ่มสูงเนิน ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๘ - ปัจจุบัน

ข้อมูลจากหนังสือ ๖๐ ปี(๒๔๙๑-๒๕๕๐) จารึกไว้บนแผ่นดิน อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดย นายสมหมาย ฉัตรทอง(๒๕๔๗) ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อนายอำเภอ ณ วันที่แก้ไข วันที่ ๑๖ พ.ค.๒๕๕๘ นี้ยังไม่ครบถ้วน ต่อไปคงจะได้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์

วิหารหลวงพ่อเดิม วัดหนองกลับ-หนองบัว
การเย็บหมอนหกและการถักปอกหมอน เป็นศิลปะสำหรับแม่บ้านในเขตหนองบัว
น้ำท่วมอำเภอหนองบัว
น้ำท่วมอำเภอหนองบัว(ลดแล้ว)
รถอีตุ๊ก (ด้านหน้า)ลวดลายแสดงให้เห็นความเป็นช่างศิลป์หนองบัว
รถอีตุ๊ก (ด้านข้าง)
บ้านคนหนองบัว เป็นบ้านไม้ยกใต้ถุน สร้างเชื่อมต่อกันหลายหลังเป็นครอบครัวใหญ่

เรื่องเล่า

ในอดีตพื้นที่แถบนี้แห้งแล้งมาก จึงเกิดเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีพวกลาว(คนเฒ่าคนแก่เล่ามา)อพยพมาถึงดินแดนนี้ ก็หาน้ำดื่มน้ำใช้ไม่ได้ วัวควายที่นำมาด้วยก็อดน้ำเจียนตาย พวกลาวจึงนำก้อนสำลีไปขอน้ำชาวบ้าน บอกว่าขอแค่ชุบก้อนสำลีไปให้วัวควายกิน แต่ด้วยความที่แห้งแล้งมาก ชาวบ้านต่างก็ให้ไม่ได้ พวกลาวโกรธแค้นจึงสาปแช่งชาวบ้านถิ่นนี้ให้ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ทำมาค้าขายไม่ขึ้น ชาวบ้านในอดีตจึงเชื่อกันว่า เป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น มีฝนตกรอบตัวอำเภอจนน้ำท่วม แต่ที่หนองบัวกลับแห้งแล้งจนข้าวกล้าตาย หรือ ช่วงลงนา มักจะมีฝนชุกจนน้ำท่วมนาไม่ได้ผลผลิต
อีกเรื่องมีอยู่ว่า ในอดีตมีเมืองลับแลที่ร่ำรวยมากคนธรรมดาไม่สามารถพบเจอได้ ชาวเมืองลับแลจะนำสร้อยทองมาแขวนตามต้นไม้ให้ชาวบ้านยืมใส่ในช่วงเทศกาลแล้วให้เอาไปคืน แต่มีบางคนที่นำมาแล้วไม่ปฏิบัติตามกติกา คือ ยึดถือเป็นของตนเอง ทำให้ชาวเมืองลับแล ไม่ไว้วางใจ จึงไม่นำมาให้ยืมอีกเลย
คนหนองบัวรุ่นเก่าเล่าสืบต่อกันมาว่า พื้นที่แถบนี้เนื่องจากมีโลหะธาตุอุดมสมบูรณ์ จึงต้องส่งส่วยเหล็กหางกุ้ง ให้กับทางเมืองหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านจะทำการสลุงเหล็ก โดยนำแร่เหล็กมาจาก เขาเหล็ก ที่บ้านคลองกำลัง เขตรอยต่อกับเพชรบูรณ์ ห่างจากหนองบัวไปราว ๒๐ กิโลเมตร เมื่อสลุงแล้วจะเรียกว่าเหล็กหางกุ้ง ไปส่งส่วยแทนการเสียเงินปีละ ๖ บาท ผู้นำของชุมชมเรียกชื่อว่า พ่อหลวงโลหะ และลูกหลานที่สืบเชื้อสายต่อมาใช่นามสกุลกันว่า โลหะเวช
ใกล้หนองบัว บริเวณท้ายตลาด มีโบราณสถาณเรียกว่า กุฏิฤษี ตั้งอยู่ พบเศษขี้เหล็ก หรือตะกรันเหล็กอยู่มากมาย นอกจากนี้ตามทุ่งและภูเขาบางแห่ง ยังพบก้อนแร่ตะกั่วที่ผ่านการสลุงแล้ว ก้อนเล็กก้อนใหญ่ จำนวนมาก ชาวบ้านเรียกว่าตะกั่วเถื่อน ปัจจุบันในเขตอำเภอหนองบัว ที่เหมืองแร่ทุ่งทองห่างจากตัวอำเภอ ๑๗ กิโลเมตร มีการผลิตแร่ยิปซั่มเป็นจำนวนมาก ในบริเวณเหมืองแร่แห่งนี้ ยังได้พบเครื่องมือหินขัดและเศษภาชนะจำนวนหนึ่งอยู่ในเขตเหมือง และยังไม่มีการสำรวจบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

ชาติพันธุ์ชาวอำเภอหนองบัว

ชุมชนดั้งเดิมของอำเภอหนองบัว คือ ชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอหนองบัว ทั้งหมดที่อยู่อาศัยมาก่อนประกาศตั้งเป็นอำเภอ ตามหลักฐานที่ปรากฏ บางหมู่บ้านมีชุมชนอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าชุมชนดั้งเดิมจำนวนหนึ่งอพยพมากจากสุโขทัย ทั้งยังมีชาวไทยพวนและคนลาว มีทั้ง ลาวโซ่ง หรือ ที่เรียกว่า “ไทยทรงดำ” หรือ “ ไทยดำ ลาวใต้ หรือลาวเวียง ซึ่งย้ายมาจากเวียงจันทน์ มีจำนวนประมาณ ๙๐๐ คน ชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในเขตตำบลหนองบัว ตำบลหนองกลับ ตำบลห้วยร่วม ตำบลห้วยใหญ่ตำบลห้วยถั่วเหนือ ตำบลห้วยถั่วใต้ คนไทยซงดำ หรือ โซ่ง หรือ ไทยดำ ชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ ในเขตตำบลธารทหารและกระจายอยู่ทั่ว ๆ ไป คนไทยจากถิ่นอื่น ๆ ซึ่งอพยพย้ายถิ่นมาจากทางจังหวัดภาคกลาง รวมถึงคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งอาศัยอยู่กระจายไปในส่วนต่าง ๆ ของอำเภอใกล้บริเวณ หนองน้ำ ชาวบ้านต่างก็ ยึดพื้นที่ใกล้หนองน้ำแห่งนี้เป็นที่พักอาศัย ทำมาหากินต่อกันมา ต่อมามีผู้คนอพยพมาจากถิ่น อื่น ๆ อาทิ เช่น สุโขทัย ชัยภูมิ โคราช เพชรบูรณ์ มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ และยังมีคนหนองบัวบางส่วนสืบเชื้อสายไทใหญ่ที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยมานานเต็มที จนเหลือแต่ร่องรอยความทรงจำในสำเนียงที่พูด เสียงแปร่งไปกว่าคนทั่วไป หรือมีการทำนาข้าวเหนียวเก็บไว้กินเฉพาะกลุ่ม

เพลงพื้นบ้าน

๑.เพลงเชิญมารำวง

เชิญเถิดมารำวง::ขอเชิญโฉมยงเข้าสู่วงรำ
อย่าเอียงอย่าอาย::อย่าหน่ายอย่างแหนง
อย่าคิดระแวงให้ฉันชอกช้ำ::คนสวยขอเชิญมารำ
หล่อ หล่อ ขอเชิญมารำ::โปรดเชื่อน้ำคำอย่ามารำล่วงเกิน

๒.เพลงเล่นหัวเมือง

ยามเย็นเดินเล่นหัวเมือง::หอมดอกดาวเรืองที่เธอถือมา
ขอฉันดอกได้ไหมเธอจ๋า::ถ้าหากเธอให้ก็จะเก็บไว้บูชา(ซ้ำ)
ยามเย็นเดินเล่นชายทุ่ง::ผ้าขาวม้าคาดพุงนุ่งกางเกงขายาว
แต่ตัวไปอวดสาว ๆ::นุ่งกางเกงขายาวผ้าขาวม้าคาดพุง

๓.เพลงไทยเสรี

รำไทยสมัยเสรี :: น้องกับพี่คืนนี้มารำวง
(ช)ขอมองดูหน้า:: (ญ)อุ๊ยอย่าฉันอาย (ซ้ำ)
ไม่รักไม่ใคร่ :: แล้วขอให้ได้รำวง

๔.เพลงหงษ์

หงส์ หงส์ หงส์ อย่าทะนงไปนัก ปีกของเจ้าจะหัก หักลงกลางหนอง
อย่าทะนงไปเลย ว่าจะมีคู่ครอง อย่ามัวหลงลำพอง หงส์ทองขยับปีกบิน
อย่าให้ฉันแลมอง หงส์(ละ)หงส์ทองขยับปีกบิน

๕.เพลงลา

รักก็ลาไม่รักก็ลา ออกปากจะลาน้ำตาไหลล่วง
แสนรักกระไรแสนห่วง(ซ้ำ) สงสารแม่ดวงจันทรา
ลาทีลาทีสวัสดี ลารักลารักสวัสดี ดึกแล้วไปนอนเสียที(ซ้ำ)
คนดีของพี่ฝันดีตลอดคืน ลาที ลาที ฉันขอลาทีเถิดแม่งามงอน
อันที่จริงไม่อยากจะไป บ้านฉันอยู่ไกล จำใจจากจร
ขอสาบานต่อหน้าเทวา ขอผ้าเช็ดน้ำตาเมื่อเวลาฉันนอน

ชื่อหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลหนองบัว (บ้านใน+บ้านนอก)

ตำบลหนองบัว

  • หมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านมาบตะคร้อ
  • หมู่ที่ 2 ชุมชนบ้านเนินน้ำเย็น
  • หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านกุฏิฤๅษี
  • หมู่ที่ 7 ชุมชนบ้านโคกมะขามหวาน
  • หมู่ที่ 8 ชุมชนบ้านโคกมะตูม
  • หมู่ที่ 9 ชุมชนบ้านคลองมะรื่น
  • หมู่ที่ 14 ชุมชนบ้านทุ่งท้ายเนิน

ตำบลหนองกลับ

  • หมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านไร่โพธิ์ทอง
  • หมู่ที่ 2 ชุมชนบ้านใหญ่
  • หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านสุขสำราญ
  • หมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านเนินพลวง
  • หมู่ที่ 9 ชุมชนบ้านเนินตาเกิด
  • หมู่ที่ 12 ชุมชนบ้านเนินขี้เหล็ก
  • หมู่ที่ 13 ชุมชนบ้านเนินสาน

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอหนองบัวแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 105 หมู่บ้าน ได้แก่

1. หนองบัว (Nong Bua) 20 หมู่บ้าน 6. ห้วยถั่วเหนือ (Huai Thua Nuea) 9 หมู่บ้าน
2. หนองกลับ (Nong Klap) 15 หมู่บ้าน 7. ห้วยใหญ่ (Huai Yai) 6 หมู่บ้าน
3. ธารทหาร (Than Thahan) 9 หมู่บ้าน 8. ทุ่งทอง (Thung Thong) 14 หมู่บ้าน
4. ห้วยร่วม (Huai Ruam) 11 หมู่บ้าน 9. วังบ่อ (Wang Bo) 14 หมู่บ้าน
5. ห้วยถั่วใต้ (Huai Thua Tai) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอหนองบัวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองบัวและตำบลหนองกลับ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองบัว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกลับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกลับ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองบัว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธารทหาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธารทหารทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยร่วม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยร่วมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยถั่วใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยถั่วเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังบ่อทั้งตำบล

อ้างอิง