ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดิสทัต คำประกอบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| term_start =
| term_start =
| term_end =
| term_end =
<!----------เกิด/ถึงแก่อสัญกรรม---------->
<!----------เกิด/ถึงแก่อสัญกรรม-----------
| birth_date = {{วันเกิด-อายุ|2501|11|9}}
| birth_date = วันเกิด-อายุ 9 พฤษจิกายน 2501
| birth_place = อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
| birth_place =
| death_date =
| death_date =
| death_place =
| death_place =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:13, 14 พฤษภาคม 2558

ดิสทัต คำประกอบ
ไฟล์:ดิสทัต คำประกอบ.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
พรรคการเมืองเพื่อไทย

นายดิสทัต คำประกอบ (เกิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต 2 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ

ดิสทัต คำประกอบ เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายสวัสดิ์ คำประกอบ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงและ นางมะลิ คำประกอบ มีพี่ชาย 2 คน คือนายภาณุวัฒน์ และนายวีระกร คำประกอบ สมาชิกบ้านเลขที่ 111

สำเร็จการศึกษา Master of Business Administration Angelo State University และนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานการเมือง

ดิสทัต ลงสมัครเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 กับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยถือเป็นตัวแทนของบิดาที่วางมือทางการเมืองเนื่องจากอายุมากเกือบ 100 ปี แล้ว และพี่ชายที่ติดบ้านเลขที่ 111 แต่ได้รับเลือกตั้งในครั้งถัดมา ในปี พ.ศ. 2554 กับพรรคเพื่อไทย

ในปี พ.ศ. 2555 เขาถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) เนื่องจากขาดคุณสมบัติลงสมัครรับเลือกตั้ง ที่ไม่ได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 5 ปี ในจังหวัดที่ลงสมัครรับเลือกตั้งนั้น โดยพบว่านายดิตทัส ถือบัตรประจำตัวประชาชน 2 ใบ ในชื่อว่า "ดิสทัต" และ "ดิสทัย" ซึ่งทั้งสองบุคคลเกิดวันเดือนเดียวกันแต่ห่างกัน 9 ปี[1] ทั้งนี้นายดิสทัต มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเพียง 3 ปี แต่นายดิสทัย มีชื่ออยู่ในทะเบียน 37 ปี ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง มีคำสั่งให้ยกคำร้องดังกล่าว โดยเห็นว่านายดิสทัต และนายดิสทัย เป็นบุคคลคเดียวกัน จึงถือว่าเขามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเกินกว่า 5 ปี[2]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 85[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ดิสทัต คำประกอบ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. เปิดปมพิศวง! ทะเบียนบ้านตระกูลคำประกอบ มีชื่อ "ดิสทัต-ดิสทัย" เกิดวัน-เดือน เดียวกัน แต่ห่างกัน 9 ปี
  2. พท.เฮ! ศาลยกคำร้อง "ใบแดง" สส.นครสวรรค์
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น