ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 29: บรรทัด 29:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ มี[[ชื่อเล่น]]ว่า "จ้อย"เป็นบุตรของ พันโท พระโสภิณพินิจ (ลัง ชาลีจันทร์)กับ ท่านผูหญิงโสภิณพินิจ(บึ้ง ชาลีจันทร์) ศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาจาก[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] <ref>[http://www.debsirin.or.th/history/anew2-1.html หอเชิดชูเกียรติยศนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์]</ref> แล้วเดินทางไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้าน[[ธรณีวิทยา]]ที่สหรัฐอเมริกา จากนั้นเข้ารับราชการจนตำแหน่งสุดท้ายเป็นเลขาธิการ[[กระทรวงพลังงาน (ประเทศไทย)|สำนักงานพลังงานแห่งชาติ]] <ref name="อินทรทูต">[http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=9861 การดิ้นรนครั้งสุดท้ายของ ROTHCHILD ไทยนาม "อินทรทูต"!?] นิตยสารผู้จัดการ, พฤษภาคม 2529</ref> เคยเป็นหนึ่งใน[[คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม]] (ก.ว.) ชุดแรก เมื่อ พ.ศ. 2505 <ref>[http://www.eit.or.th/content.php?&option=com_content&id=301&sid=5 วสท. ผู้ก่อกำเนิด สภาวิศวกร] บทความโดย ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม อุปนายก วสท.</ref>
นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ มี[[ชื่อเล่น]]ว่า "จ้อย"เป็นบุตรของ พันโท พระโสภิณพินิจ (ลัง ชาลีจันทร์)กับ ท่านผูหญิงโสภิณพินิจ(บึ้ง ชาลีจันทร์) เกิดเมื่อปี 2460 ศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาจาก[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] <ref>[http://www.debsirin.or.th/history/anew2-1.html หอเชิดชูเกียรติยศนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์]</ref> แล้วเดินทางไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้าน[[ธรณีวิทยา]]ที่สหรัฐอเมริกา จากนั้นเข้ารับราชการจนตำแหน่งสุดท้ายเป็นเลขาธิการ[[กระทรวงพลังงาน (ประเทศไทย)|สำนักงานพลังงานแห่งชาติ]] <ref name="อินทรทูต">[http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=9861 การดิ้นรนครั้งสุดท้ายของ ROTHCHILD ไทยนาม "อินทรทูต"!?] นิตยสารผู้จัดการ, พฤษภาคม 2529</ref> เคยเป็นหนึ่งใน[[คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม]] (ก.ว.) ชุดแรก เมื่อ พ.ศ. 2505 <ref>[http://www.eit.or.th/content.php?&option=com_content&id=301&sid=5 วสท. ผู้ก่อกำเนิด สภาวิศวกร] บทความโดย ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม อุปนายก วสท.</ref>


นายนิธิพัฒน์สมรสกับ นางอินทิรา อินทรทูต บุตรสาวของ[[พระพินิจชนคดี]] อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับ[[หม่อมหลวงอรุณ สนิทวงศ์]] มีบุตรชายคือ นาย[[เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์]]
นายนิธิพัฒน์สมรสกับ นางอินทิรา อินทรทูต บุตรสาวของ[[พระพินิจชนคดี]] อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับ[[หม่อมหลวงอรุณ สนิทวงศ์]] มีบุตรชายคือ นาย[[เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:48, 13 พฤษภาคม 2558

นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ก่อนหน้าประกายเพชร อินทุโสภณ
ถัดไปเสริมศักดิ์ เทพาคำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2463
เสียชีวิตพ.ศ. 2536
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสอินทิรา ชาลีจันทร์

นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ (พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2536 [1]) อดีตเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา [2] อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี [3] และรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วย ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ช่วง พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2519 อีกทั้งยังเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกที่ไม่ได้เป็นทหาร

ประวัติ

นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ มีชื่อเล่นว่า "จ้อย"เป็นบุตรของ พันโท พระโสภิณพินิจ (ลัง ชาลีจันทร์)กับ ท่านผูหญิงโสภิณพินิจ(บึ้ง ชาลีจันทร์) เกิดเมื่อปี 2460 ศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ [4] แล้วเดินทางไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านธรณีวิทยาที่สหรัฐอเมริกา จากนั้นเข้ารับราชการจนตำแหน่งสุดท้ายเป็นเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ [5] เคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) ชุดแรก เมื่อ พ.ศ. 2505 [6]

นายนิธิพัฒน์สมรสกับ นางอินทิรา อินทรทูต บุตรสาวของพระพินิจชนคดี อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับหม่อมหลวงอรุณ สนิทวงศ์ มีบุตรชายคือ นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์

งานการเมือง

นายนิธิพัฒน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7] และลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2517 และเข้าทำงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมทั้งลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางกอกใหญ่ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช [5] นับเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของประเทศไทย ที่ไม่ได้เป็นทหาร

บั้นปลายของชีวิต

หลังจากพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 นายนิธิพัฒน์หันไปทำธุรกิจส่วนตัว และดูแลกิจการธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลภรรยา และนายนิธิพัฒน์ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2536 รวมอายุ 73 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ และคณะ. ปิยานุสรณ์. กรุงเทพฯ : ที่ระลึกในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2537, 2537. 378 หน้า. , 378 หน้า
  2. จากบทความ"เสรีไทย"
  3. รายนามเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี
  4. หอเชิดชูเกียรติยศนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์
  5. 5.0 5.1 การดิ้นรนครั้งสุดท้ายของ ROTHCHILD ไทยนาม "อินทรทูต"!? นิตยสารผู้จัดการ, พฤษภาคม 2529
  6. วสท. ผู้ก่อกำเนิด สภาวิศวกร บทความโดย ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม อุปนายก วสท.
  7. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า