ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาหารขยะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''อาหารขยะ''' (Junk Food)<sup>[http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=920]</sup> หมายถึง อาหารที่ม...
 
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
sahavicha ลอกมาจาก teenee
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''อาหารขยะ''' (Junk Food)<sup>[http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=920]</sup> หมายถึง อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารน้อย ซึ่งประกอบด้วย น้ำตาล แป้ง และไขมัน ซึ่งเมื่อรับประทานเป็นประจำ จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย อาหารขยะเช่น ลูกอม น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น
'''อาหารขยะ''' (Junk Food) หมายถึง อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารน้อย ซึ่งประกอบด้วย น้ำตาล แป้ง และไขมัน ซึ่งเมื่อรับประทานเป็นประจำ จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย อาหารขยะเช่น ลูกอม น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น
อาหารขยะมีการใช้สารอาหารต่างๆในการปรุงแต่งและดัดแปลง เพื่อให้อาหารมีรสชาติที่อร่อยแหละง่ายต่อการรับประทาน เช่น ผงชูรส สารแต่งสีอาหาร สารกันบูด สารกันหืน สารเพิ่มเนื้อและสารที่ทำให้ข้น ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารอันตราย ถ้าได้รับในปริมาณสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือในปริมาณเกินกว่าร่างกายจะรับได้ อาจมีผลเสียต่อร่างกายได้
อาหารขยะมีการใช้สารอาหารต่างๆในการปรุงแต่งและดัดแปลง เพื่อให้อาหารมีรสชาติที่อร่อยแหละง่ายต่อการรับประทาน เช่น ผงชูรส สารแต่งสีอาหาร สารกันบูด สารกันหืน สารเพิ่มเนื้อและสารที่ทำให้ข้น ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารอันตราย ถ้าได้รับในปริมาณสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือในปริมาณเกินกว่าร่างกายจะรับได้ อาจมีผลเสียต่อร่างกายได้<ref>http://variety.teenee.com/foodforbrain/16208.html</ref>


== ประเภทของอาหารขยะ ==
== ประเภทของอาหารขยะ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:46, 11 พฤษภาคม 2558

อาหารขยะ (Junk Food) หมายถึง อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารน้อย ซึ่งประกอบด้วย น้ำตาล แป้ง และไขมัน ซึ่งเมื่อรับประทานเป็นประจำ จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย อาหารขยะเช่น ลูกอม น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น อาหารขยะมีการใช้สารอาหารต่างๆในการปรุงแต่งและดัดแปลง เพื่อให้อาหารมีรสชาติที่อร่อยแหละง่ายต่อการรับประทาน เช่น ผงชูรส สารแต่งสีอาหาร สารกันบูด สารกันหืน สารเพิ่มเนื้อและสารที่ทำให้ข้น ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารอันตราย ถ้าได้รับในปริมาณสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือในปริมาณเกินกว่าร่างกายจะรับได้ อาจมีผลเสียต่อร่างกายได้[1]

ประเภทของอาหารขยะ

ประเภทอาหารขยะ แบ่งตามลักษณะอาหาร

  • ซากอาหาร เป็นอาหารที่ไม่สด มีวิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์น้อย รับประทานเข้าไปแล้วเป็นโทษกับร่างกายได้
  • อาหารดัดแปลงเป็นอาหารที่นำมาจากธรรมชาติ มาดัดแปลงทำให้อร่อยลิ้น ดูน่ารับประทาน เก็บไว้ได้นาน รับประทานเข้าไปแล้วทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินไป ในขณะที่กระบวนการดัดแปลงทำลายวิตามิน เกลือแร่และเอนไซม์จนหมดสิ้น เช่น น้ำตาลทรายขาว กุนเชียง ไส้กรอก ลูกชิ้น เป็นอาหารที่ดัดแปลงมาจากเนื้อหมู มีการเจือปนสารกันบูดและสีผสมอาหารเข้าไป
  • อาหารปลอมปน เป็นอาหารที่ไม่บริสุทธิ์ มีการปรุงแต่งรส กลิ่น สี ใส่สิ่งปลอมปนลงไปในอาหาร ทำให้อาหารมีรสอร่อย สีสวยน่ารับประทาน ทำให้กรอบ ไม่เปื่อย ไม่บูด โดยการเติมสารเคมีลงไปในอาหาร ทำให้เกิดอันตรายเป็นพิษต่อร่างกายได้ เช่น สารเร่งเนื้อแดง เพื่อทำให้เนื้อหมูมีสีแดงน่ารับประทาน ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น กุ้งแห้ง ขนมลูก กวาดหลากสี ซึ่งขายท้องตลาดล้วนอันตราย ตรวจพบว่า มีส่วนผสมของสีย้อมผ้า ซึ่งมีผลเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ

ประเภทอาหารขยะ แบ่งตาม ส่วนประกอบ/คุณค่าทางโภชนาการ ของอาหาร

  • อาหารประเภททอด เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด จะใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวทอด เพราะว่ามีราคาที่ค่อนข้างถูก ทนต่อความร้อนหรืออุณหภูมิสูงในน้ำมันทอดได้ดี การที่เรารับประทานอาหารขยะ เราจะได้รับไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องการสำหรับ 1 มื้อ ถ้ารับประทานบ่อยเกินไปอาจมีระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นได้
  • อาหารหรือขนมที่มีเกลือ โดยทั่วไปแล้วร่างกายของเราต้องการเพียงเล็กน้อยภายในหนึ่งวัน แต่อาหารประเภทอาหารขยะ จะมีปริมาณโซเดียมเป็นส่วนผสมในสัดส่วนที่สูงมากหากรับประทานเข้าไปในปริมาณมากจะทำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ปริมาณโซเดียมที่มากที่สุดต่อ 1 วันที่คนเราต้องการนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 มก.
  • อาหารประเภทน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ลูกอม โดนัท จะมีระดับน้ำตาลในปริมาณสูงมาก การที่เราทานเข้าไปในปริมาณมากย่อมส่งผลเสียโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว อาจทำให้เกิดโรคต่างๆได้ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน นอกจากนี้ยังเป็นต้นเหตุของการเกิดฟันผุอีกด้วย
  • อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตจะเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายก็จริงแต่หากเรากินเข้าไปมากเกินความต้องการในหนึ่งมื้อ ส่วนที่เหลือใช้ก็จะเก็บสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย ก็จะทำให้เกิดโรคอ้วน

สภาพของปัญหาอาหารขยะ

ในปัจจุบัน ชีวิตประจำวันของผู้คน โดยเฉพาะคนในเมืองหลวง มีความเป็นอยู่ที่เร่งรีบมากกว่าในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก การจะหาอาหารจานหลักมารับประทาน หรือนั่งรออาหาร หรือรับประทานอาหารจานหลักในร้านอาหารเป็นเวลานาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกอย่างมากที่จะทำในหลายๆโอกาส จึงเป็นสาเหตุให้ผู้คน หันไปบริโภคอาหารขยะมากขึ้น เพราะความสะดวกสบาย และความรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ของสังคมที่เร่งรีบในยุคนี้ อีกประการหนึ่ง ผู้คนส่วนใหญ่ในสมัยนี้มีความเป็นสังคมวัตถุนิยมสูงมาก ผู้คนส่วนใหญ่จึงหันมานิยมรับประทานอาหารขยะต่างๆ ตามกระแสสังคมนิยม เพียงเพราะความอยากรู้อยากลองของใหม่ก็ดี เลียนแบบบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมก็ดี หรือเพียงต้องการอวดรวย เพราะคิดว่า การได้รับประทานอาหารเหล่านั้น ทำให้ตนเองมีหน้ามีตาในสังคม มีผู้คนสนใจ และไม่ตกเทรนด์ อาหารขยะเป็นอาหารที่มีราคาแพงเกินความเป็นจริงอย่างมาก เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ นอกจากนี้ ร้านอาหารเหล่านี้ มักจะตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ซึ่งมีความพลุกพล่านของผู้คนสูง ทำให้มีค่าสถานที่และสาธารณูปโภคในอัตราสูง จึงเป็นสาเหตุทำให้ราคาขายสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับคุณค่าของสารอาหารที่ได้รับ การบริโภคอาหารขยะเป็นจำนวนมาก หรือรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆมากมาย และกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ผลกระทบจากปัญหาอาหารขยะ

การบริโภคอาหารขยะในปริมาณมากนั้น ส่งผลเสียทั้งต่อตัวผู้บริโภคเอง และประเทศชาติทางอ้อมด้วย ตัวผู้บริโภคนั้นจะทำให้เป็นโรคต่างๆมากมาย เช่น

  • โรคอ้วน

เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันมากกว่าปกติ การสะสมของไขมันที่มากขึ้นนั้น อาจเนื่องมาจากร่างกายได้รับพลังงานเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ จึงมีการสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ

  • โรคเบาหวาน

เกิดจากการที่มีไขมันที่มากเกินไป ทำให้เกิดการต้านอินซูลิน(Insulin) ส่งผลให้เกิดการสะสมของน้ำตาล หรือกลูโคส(Glucose) ในร่างกาย ทำให้เป็นเบาหวาน ส่งผลให้หลอดเลือดในจอตาถูกทำลาย ทำให้ตาบอดแทรกซ้อนได้

  • โรคไขมันในเลือดสูง

เกิดจากการกินอาหารที่มีไขมันเป็นจำนวนมากเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดในสมองอุดตัน หลอดเลือดพิการ เพราะมีไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด

  • โรคตับ

เกิดจากภาวะไขมันสะสมในตับมาก ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือโรคไขมันในเลือดสูง

  • โรคหัวใจ

เกิดจากภาวะคลอเลสเตอรอลสูง เพราะกินอาหารที่มีไขมันเป็นประจำ เป็นระยะเวลานาน จนเกิดการสะสมเป็นปริมาณมากในร่างกาย อีกทั้งยังส่งผลให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคไต

  • โรคข้อกระดูกอักเสบ

เนื่องจากน้ำหนักร่างกายที่มากเกินไป ส่งผลให้ข้อกระดูกบริเวณข้อเข่า และสะโพก ที่ต้องรองรับน้ำหนักของร่างกาย เสื่อมสภาพ ทั้งนี้ เนื่องจากอาหารเหล่านี้ มีไขมัน และเกลือ หรือน้ำตาล ในปริมาณที่สูงมาก จึงเป็นสาเหตุหลักของโรคดังกล่าวข้างตน และส่งผลกระทบโดยรวมต่อประเทศ เพราะการจำหน่ายอาหารเหล่านี้ ทางร้านค้าที่เป็นเจ้าของกิจการจำเป็นจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ เป็นจำนวนเงินที่มาก ในการนำสินค้าอาหารเข้ามาขายภายในประเทศ เป็นเหตุให้เกิดการเสียดุลการค้า และทำให้ประเทศต้องเสียเงินไปกับสวัสดิการด้านสุขภาพมากเกินความจำเป็น เพื่อมารองรับการรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากอาหารเหล่านี้โดยไม่มีความจำเป็น

วิธีรับมือและแก้ไขปัญหาอาหารขยะ

ทุกคนควรรับประทานอาหารที่มีพลังงาน และสารอาหารเพียงพอไม่มาก หรือน้อยเกินไป รับประทานไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมดที่รับประทานใน 1 วัน รับประทานไขมันอิ่มตัวซึ่งมีมากในไขมันสัตว์และเนื้อสัตว์ให้น้อยกว่าร้อยละ 10 รับประทานคลอเลสเตอรอลน้อยกว่า 300 มิลลิกรัม/วัน (ไข่แดง 1 ฟองจะมีคลอเลสเตอรอลประมาณ 300 มิลลิกรัม) รับประทานคาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้จากอาหารประเภทแป้งหรือข้าวร้อยละ 50-60 โปรตีนซึ่งได้จากอาหารประเภทเนื้อนมไข่ร้อยละ 15-20 และควรรับประทานผัก และผลไม้สดเพื่อให้ได้ใยอาหารเป็นประจำ ซึ่งกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำแนวทางการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการดังนี้[1]

  • กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
  • กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
  • กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ
  • กินปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
  • ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
  • กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานและเค็มจัด
  • กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
  • งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

จะเห็นได้ว่า อาหารที่ดีสำหรับสุขภาพคนเรานั้นก็คือ อาหารไทย และอาหารของชาวเอเซียที่มีข้าวหรือแป้งเป็นอาหารหลัก และรับประทานพืชผักผลไม้สดกันเป็นประจำ ไม่เหมือนกับอาหารของฝรั่งหรือชาวตะวันตก ที่มีไขมัน และโปรตีนมากเกินไปจนก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเราควรจะเลือกกินเฉพาะ เวลาที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น เพื่อประโยชน์และสุขภาพของร่ายกายของเราเอง โดยเฉพาะในระยะยาว

  1. http://variety.teenee.com/foodforbrain/16208.html