ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิธีราชาภิเษก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
เรียบเรียงส่วนนำใหม่
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''พิธีราชาภิเษก'''<ref>[http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ศัพท์นิติศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน]</ref> ({{lang-en|Coronation}}) เป็นพิธีการเพื่อสถาปนาพระมหากษัตริย์ และ/หรือ คู่อภิเษก เป็นสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ ของการเข้าสู่อำนาจ ของการเป็นผู้ปกครอง
'''พิธีราชาภิเษก'''<ref>[http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ศัพท์นิติศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน]</ref> ({{lang-en|Coronation}}) เป็นพิธีการเพื่อสถาปนาพระมหากษัตริย์ และ/หรือ คู่อภิเษก ด้วยพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เกี่ยวข้องกับการวางมงกุฎบนพระเศียรของพระองค์หรือการนำเสนอ[[ราชกกุธภัณฑ์]]รายการอื่นเป็นพิธีกรรม พิธีการอาจรวมการตรัสคำปฏิญาณพิเศษโดยพระมหากษัตริย์ การแสดงคารวะโดยคนในบังคับของผู้ปกครองใหม่ และการแสดงพิธีกรรมอื่นซึ่งมีความสำคัญพิเศษต่อชาตินั้น ๆ


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:30, 29 มีนาคม 2558

พิธีราชาภิเษก[1] (อังกฤษ: Coronation) เป็นพิธีการเพื่อสถาปนาพระมหากษัตริย์ และ/หรือ คู่อภิเษก ด้วยพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เกี่ยวข้องกับการวางมงกุฎบนพระเศียรของพระองค์หรือการนำเสนอราชกกุธภัณฑ์รายการอื่นเป็นพิธีกรรม พิธีการอาจรวมการตรัสคำปฏิญาณพิเศษโดยพระมหากษัตริย์ การแสดงคารวะโดยคนในบังคับของผู้ปกครองใหม่ และการแสดงพิธีกรรมอื่นซึ่งมีความสำคัญพิเศษต่อชาตินั้น ๆ

ประวัติ

พิธีราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (พ.ศ. 1972) จากบางส่วนของภาพวาด ฌ็องดาร์ก (Jeanne d'Arc) พ.ศ. 2429-2433 โดยฌูลส์ เออแฌน เลอเนิปเวอ

พระราชพิธีราชาภิเษก คือพิธีทางการที่พระมหากษัตริย์และ/หรือคู่อภิเษกสมรส รับมอบพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตามปกติแล้วมักจะเกี่ยวข้องกับการสวมมงกุฎลงบนพระเศียรพร้อมด้วยเครื่องราชกกุธภัณฑ์ชิ้นอื่น พิธีนี้ยังอาจรวมไปถึงการกล่าวถ้อยคำปฏิญาณ การถวายความเคารพแก่ผู้ปกครองพระองค์ใหม่ของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ และ/หรือการประกอบพิธีกรรมอันมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ต่อความเป็นรัฐชาติ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา พระราชพิธีราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยชี้นำทางด้านสังคม การเมือง และศาสนา จนมาถึงจุดที่พระราชพิธีราชาภิเษกของหลายประเทศถูกปรับเปลี่ยนให้มีความเรียบง่ายมากขึ้น เหลือไว้เพียงพิธีกรรมที่สำคัญบางประการเช่น เช่น การเถลิงราชบัลลังก์ (enthronement) การเถลิงพระราชอิสริยยศ (investiture) หรือการเข้ารับพร (benediction) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระราชพิธีราชาภิเษกแบบดั่งเดิมยังคงได้รับการสืบทอดเอาไว้ในสหราชอาณาจักร ตองกา และประเทศในทวีปเอเชียอีกหลายประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว พิธีราชาภิเษก ใช้หมายความถึงพิธีที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติอย่างเป็นทางการ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการสวมมงกุฎลงบนพระเศียรหรือไม่แต่อย่างใด

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการผูกเอาสัญลักษณ์ของรัฐเข้ากับพระมหากษัตริย์ บ่อยครั้งที่พระราชพิธีราชาภิเษกจะมีพิธีเจิม (anointing) ด้วยน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ (holy oil) หรือด้วยน้ำมนต์ ซึ่งที่ใดก็ตามที่พบพิธีกรรมเช่นนี้ เช่นในสหราชอาณาจักรและตองกา จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่งของฝ่ายศาสนจักรโดยเปิดเผย ในขณะที่อีกหลายแห่งใช้พิธีการชำระล้าง การดื่มเครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์ หรือพิธีกรรมทางศาสนาอื่นๆ การนำศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับพิธีราชาภิเษกเช่นนี้ก็เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงความเป็นเทวราชาที่พระมหากษัตริย์ได้รับมอบมาจากพระเจ้า สื่อให้เห็นถึงกระบวนทัศน์ทางจิตวิญญาณที่มีต่อศาสนาอันเกี่ยวข้องกับความเป็นรัฐชาติ

ในอดีต บ่อยครั้งที่หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับราชสันตติวงศ์มองว่าพระราชพิธีราชาภิเษกกับเทพเจ้าเชื่อมโยงอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ ในอารยธรรมโบราณบางแห่ง พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองมักจะถูกมองว่าเป็นเทพเจ้าหรือมีเชื้อสายมาจากพระเจ้า: ในอียิปต์โบราณ ผู้คนเชื่อกันว่าฟาโรห์คือบุตรแห่งเทพรา เทพแห่งดวงอาทิตย์ ในขณะที่ญี่ปุ่น เชื่อว่าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงสืบสายพระโลหิตมาจากอะมะเตะระซุ สุริยเทพีของญี่ปุ่น ในโรมโบราณมีการประกาศให้ประชาชนบูชาจักรพรรดิ และในยุคกลาง กษัตริย์ยุโรปทรงถือเอาว่าตนครอบครองเทวสิทธิราชย์ที่จะปกครอง พระราชพิธีราชาภิเษกนี้เองจึงถูกใช้ฉายให้เห็นถึงภาพความเกี่ยวโยงกันระหว่างกษัตริย์และเทพเจ้า แต่ในสมัยปัจจุบันการเป็นประชาธิปไตย (democratization) และการแยกศาสนาออกจากรัฐ (secularization) มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้แนวคิดความเชื่อมโยงกันระหว่างกษัตริย์และเทพเจ้าลดลงไปมาก ดังนั้นพระราชพิธีราชาภิเษก (หรือองค์ประกอบทางศาสนา) มักจะถูกละทิ้งไปโดยสิ้นเชิง หรือถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นพิธีอันสะท้อนแก่นสารของความเป็นรัฐตามรัฐธรรมนูญที่ประชาชนในรัฐนั้นๆ ให้การยึดถือ อย่างไรก็ตามราชาธิปไตยของบางประเทศยังคงดำรงมิติทางด้านศาสนาในกระบวนการขึ้นสู่อำนาจ (การขึ้นครองราชสมบัติ) อย่างเปิดเผย บางแห่งลดทอนความสลับซับซ้อนลงมาเหลือเป็นเพียงพระราชพิธีการเถลิงราชบัลลังก์ (enthronement) หรือพระราชพิธีกล่าวคำพระราชปฏิญาณเป็นพระมหากษัตริย์ (inauguration) หรือไม่กระทำการพระราชพิธีอันใดเลย

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493

ตามโบราณราชประเพณีของไทย พระนามของผู้ได้รับการเลือกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ก็ยังคงใช้ขานพระนามเดิม เป็นแต่เพิ่มคำว่า “ซึ่งทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน” ต่อท้ายพระนาม เครื่องยศบางอย่างก็ต้องลด เช่น พระเศวตฉัตร มีเพียง 7 ชั้น มิใช่ 9 ชั้น คำสั่งของพระองค์ ก็ไม่เรียกว่าพระบรมราชโองการ จนกว่าจะได้ทรงรับการบรมราชาภิเษก จึงถวายพระเกียรติยศโดยสมบูรณ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์คือ ศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย กล่าวคือ พ่อขุนผาเมืองอภิเษกพระสหายคือ พ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้ครองกรุงสุโขทัย แต่ก็ไม่มีรายละเอียดการประกอบพระราชพิธี ว่ามีขั้นตอนอย่างใด

จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้ทรงทำพระราชพิธีนี้อย่างสังเขป เมื่อพุทธศักราช 2325 ครั้งหนึ่งก่อนแล้วทรงตั้งคณะกรรมการ โดยมีเจ้าพระยาเพชรพิชัย ซึ่งเป็นข้าราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นประธาน สอบสวนแบบแผนโดยถี่ถ้วน ตั้งขึ้นเป็นตำรา แล้วทรงทำบรมราชาภิเษกเต็มตำราอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพุทธศักราช 2328 และได้ใช้เป็นแบบแผนในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของรัชกาลต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละรัชกาล ก็ได้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อย ให้เหมาะแก่กาลสมัย ที่สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นปราชญ์ในทางอักษรศาสตร์ และโบราณราชประเพณี ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกราบบังคมทูล ของพราหมณ์และราชบัณฑิต ขณะถวายเครื่องราชกกุธกัณฑ์ กับพระราชดำรัสตอบเป็นภาษาบาลี และคำแปลเป็นภาษาไทย ทั้งนี้ อาจวิเคราะห์ได้ว่า พระราชพิธีนี้ มีคติที่มาจากลัทธิพราหมณ์ ผสมกับความเชื่อทางพุทธศาสนา ส่วนบทมนต์ต่างๆ ของพราหมณ์นั้น นักวิชาการภาษาตะวันออกโบราณ วินิจฉัยว่า เป็นภาษาทมิฬโบราณ

ส่วนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ 9 เมื่อพุทธศักราช 2493 นั้น ทางราชสำนักได้ยึดการบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เป็นหลัก แต่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองที่ยังไม่อุดมสมบูรณ์ เพราะเพิ่งผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง และเพื่อให้เหมาะสมกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญด้วย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น