ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จตุรมิตรสามัคคี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 128: บรรทัด 128:
[[หมวดหมู่:โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:ฟุตบอลในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:ฟุตบอลในประเทศไทย]]

[[en:Jaturamitr]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:12, 5 มิถุนายน 2550

ไฟล์:Jaturamitr.gif
ตราการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2548

การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่าง 4 โรงเรียนมัธยมชายเก่าแก่ของประเทศไทย ได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งจัดขึ้นทุก 2 ปี เพื่อเป็นการเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์ และนักเรียนทั้งฝ่ายนักกีฬาและฝ่ายกองเชียร์

การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 24 จะจัดขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน ถึง 24 พฤศจิกายน 2550[ต้องการอ้างอิง] โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพ

ประวัติและความเป็นมา

การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี นั้น เป็นความคิดริเริ่มของอาจารย์โปร่ง ส่งแสงเติม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับอาจารย์อารีย์ เสมประสาท อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ทั้ง 2 ท่านได้มาขอความร่วมมือกับอาจารย์บุญอวบ บูรณะบุตร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และอาจารย์บรรณา ชโนดม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอัสสัมชัญ ในอันที่จะร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง 4 สถาบันขึ้น เพื่อเป็นการเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์ และนักเรียนทั้งฝ่ายนักกีฬาและฝ่ายกองเชียร์ ซึ่งอาจารย์ทั้ง 4 ท่าน ได้มีความเห็นพ้องกันในความคิดอันนี้

ตราโรงเรียนในเครือจตุรมิตร

การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2507 โดยลำดับการแข่งขันและการเป็นเจ้าภาพ ดังนี้

ครั้งที่ วันแข่ง เจ้าภาพ ผู้ชนะอันดับ 1
1 16 ตุลาคม ถึง 18 พฤศจิกายนพ.ศ. 2507 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
2 19 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายนพ.ศ. 2508 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย
ในปี พ.ศ. 2509 และ พ.ศ. 2510 งดการแข่งขัน เพราะสนามไม่ว่าง เนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ และกีฬาแหลมทอง ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน
3 16 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 อัสสัมชัญ สวนกุหลาบวิทยาลัย
4 21 ตุลาคม ถึง 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
5 21 พฤศจิกายน ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 สวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
6 22 ตุลาคม ถึง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2514 เทพศิรินทร์ เทพศิรินทร์
7 20 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 อัสสัมชัญ สวนกุหลาบวิทยาลัย
แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และภาวะทางการเมืองไม่อำนวยให้จัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี จึงว่างเว้นไประยะหนึ่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2520 และได้มีการจัดขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2521 เป็นครั้งที่ 8
8 24 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แต่ในวันชิงชนะเลิศ ทั้ง 4 โรงเรียนได้ร่วมเป็นเจ้าภาพ โดยใช้สนามจุฬาลงกรณ์เป็นสนามแข่งขัน สวนกุหลาบวิทยาลัย
หลังจากการแข่งขันครั้งที่ 8 แล้วก็เว้นอีก 2 ปี จึงได้มาเริ่มจัดการแข่งขันขึ้นในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งนับเป็นการแข่งขันครั้งที่ 9
9 28 พฤศจิกายน ถึง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2524 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
10 27 พฤศจิกายน ถึง 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย
11 20 พฤศจิกายน ถึง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 อัสสัมชัญ สวนกุหลาบวิทยาลัย
12 23 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2527 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
13 1 พฤศจิกายน ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วม อัสสัมชัญ
ต่อมาคณะกรรมการการแข่งขันฟุตบอลจุตรมิตรสามัคคีนั้น ได้ตกลงกันว่า ถ้ามีการแข่งขันทุกปีอาจทำให้ สิ้นเปลือง แต่ถ้าเว้นปีไปก็เกรงว่า การแข่งขันฟุตบอลจะขาดช่วง จึงตกลงกันว่าให้มีการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรปีเว้นปีโดยปีที่ไม่มีการแข่งขันให้จัดให้มีการแข่งขันฟุตบอล จตุรมิตรเหย้า-เยือนขึ้น ซึ่งเป็นการแข่งขันโดยใช้สนามภายในโรงเรียนเท่านั้น
14 19 ธันวาคม ถึง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย
15 15 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2532 อัสสัมชัญ อัสสัมชัญ
16 24 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2534 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
17 18 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2536 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย
18 25 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วม อัสสัมชัญ
19 13 ธันวาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2540 อัสสัมชัญ เทพศิรินทร์ ร่วม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
20 11 ธันวาคม ถึง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2542 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เทพศิรินทร์ ร่วม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
21 17 พฤศจิกายน ถึง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 สวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
22 12 มกราคม ถึง 18 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เทพศิรินทร์ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
23 26 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2548 อัสสัมชัญ อัสสัมชัญ ร่วม กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
24 17 พฤศจิกายน ถึง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (ยังไม่มีการแข่งขัน)[ต้องการอ้างอิง]


ประเพณีชาวจตุรมิตร

ทุกๆวันสำคัญของทางราชการ ชาวจตุรมิตรมีกิจกรรมที่สำคัญ จึงมีการนัดหมายกันทุกครั้งและถือเป็นประเพณีที่ 4 สถาบันได้ร่วมใจกันปฏิบัติมาช้านานกิจกรรมเหล่านั้นได้แก่

1.วันที่ 5 ธันวาคม ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.วันที่ 12 สิงหาคม ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
3.วันที่ 23 ตุลาคม ถวายบังคมเนื่องในวันปิยมหาราช
4.วันที่ 25 พฤศจิกายน ถวายบังคมเนื่องในวันมหาธีรราชเจ้า
5.วันที่ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ

มีการริเริ่มในการเข้าค่ายจตุมิตรสัมพันธ์ก็ หรือวงโยธวาธิตของ 4 โรงเรียน และวงดนตรีไทยจตุรมิตรได้ไปร่วมถวายพระพรที่สถานีโทรทัศน์ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
นอกจากนี้ชาวจตุรมิตรสามัคคีซาบซึ้งกันทั่วหน้าเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลลงนามพระปรมาภิไธยของพระองค์ 1 ถ้วย และถ้วยจำลองอีก 3 ถ้วยชาวจตุรมิตรจึงร่วมใจทำงานเต็มที่เพื่อถวายควมจงรักภักดีแด่พระองค์ และรวบรวมรายได้จากการจัดงานนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย เหมือนเช่นเคยปฏิบัติมาทุกปี

จตุรมิตรสามัคคีอาวุโส

ความเป็นมา การจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีอาวุโส เริ่มจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2540 โดยมีจุดประสงค์เพื่อความสนุกสนานสามัคคี เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 4 สถาบัน เสมือนญาติมิตร และแสดงออกถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาของชาวจตุรมิตรอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในวงการกีฬาและสังคมไทย โดยแต่ละสถาบันจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ สถาบันละ 2 ปี


เพลงจตุรมิตรสามัคคี

จตุรมิตรสามัคคีดีเด่น
จตุรมิตรนั้นเป็นสายใย
ยึดดวงใจให้เราสี่พี่น้องต่างปองรักกัน
จิตใจนั้นของเราเป็นเลิศ
สุดประเสริฐเพราะความสามัคคี
มิตรและไมตรีเราทั้งสี่นี้มาร่วมกัน
สวนกุหลาบฯ เทพศิรินทร์จำให้มั่น
อัสสัมชัญ กรุงเทพคริสเตียน ร่วมเพียรจัดหา
เกียรติยศชื่อเสียงก้องลือชา
ซึ้งในคุณค่าคำว่า สามัคคี
จตุรมิตรสามัคคีดีเลิศ
ช่วยชูเชิดบรรเจิดเกรียงไกร
รักดังดวงใจ
จรรโลงให้คงอยู่ชั่วนิรันคร์

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น