ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อังเกลา แมร์เคิล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link GA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
[[หมวดหมู่:นักการเมืองสตรี]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองสตรี]]
{{โครงชีวประวัติ}}
{{โครงชีวประวัติ}}

{{Link GA|de}}
{{Link GA|no}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:39, 7 มีนาคม 2558

อังเกลา แมร์เคิล
Angela Merkel
นายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ก่อนหน้าแกร์ฮาร์ด ชเรอเดอร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ และการปลอดอาวุธนิวเคลียร์
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าเคลาส์ เทิพเฟอร์
ถัดไปเยือร์เกิน ทริตติน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสตรีและเยาวชน
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม พ.ศ. 2534 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
ก่อนหน้าฮันเนลอร์ รอนส์ช
ถัดไปคลอเดีย โนลเท
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี
ศาสนาลูเธอรัน
พรรคการเมืองพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน(CDU)
คู่สมรส(1) อุลริค แมร์เคิล
(2520 - 2525)
(2) โยอาคิม เซาเวอร์
(2525 - ปัจจุบัน)
อาชีพนักเคมี
เว็บไซต์[1]

อังเกลา โดโรเทอา แมร์เคิล (เยอรมัน: Angela Dorothea Merkel; นามสกุลเดิม คัสเนอร์; เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2497เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของเยอรมนี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งสู่รัฐสภาเยอรมันจากรัฐเมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น เป็นประธานพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (CDU) ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2543 และเป็นประธานกลุ่มพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน-สหภาพสังคมคริสเตียนในรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึง พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นนางแมร์เคิลยังเป็นผู้นำรัฐบาลผสมกับพรรคสหภาพสังคมคริสเตียน (CSU) และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังภายจากการเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 นางแมร์เคิลชนะการเลือกตั้งสมัยที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมีพรรคประชาธิปไตยเสรี (เยอรมนี) (FDP) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล และชนะการเลือกตั้งสมัยที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2556 โดยมีพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล[1] เป็นครั้งที่ 2 ของรัฐบาลนี้และครั้งที่ 3 ในการเมืองเยอรมนี

ในปี พ.ศ. 2550 นางแมร์เคิลยังดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรียุโรปและประธานกลุ่มประเทศจีแปด นอกจากนั้นนางดำเนินบทบาทในการเจรจาสนธิสัญญาลิสบอนและปฏิญญาเบอร์ลินอีกด้วย ด้านนโยบายภายในประเทศ เรื่องของการปฏิรูปเรื่องการดูแลสุขภาพและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานในอนาคตนับเป็นเรื่องใหญ่ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนาง

นางแมร์เคิลเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศเยอรมนี นางได้รับการเลือกจากนิตยสาร Forbes ให้เป็นสตรีที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2550 นางแมร์เคิลยังเป็นสตรีคนที่สองในการเป็นประธานกลุ่มประเทศจีแปดต่อจากนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2551 นางแมร์เคิลได้รับรางวัลชาร์เลอมาญ (Charlemagne) "สำหรับการทำงานเพื่อปฏิรูปสหภาพยุโรป" จากประธานาธิบดีนีกอลา ซาร์กอซีแห่งฝรั่งเศส

นางแมร์เคิลเกิดที่เมืองฮัมบูร์ก และได้ศึกษาทางด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิจ หลังจบการศึกษา แมร์เคิลที่สถาบันวิทยาศาสตร์เยอรมนี และได้ลาออกในปี พ.ศ. 2533 เพื่อเข้ามาเล่นการเมือง

อ้างอิง