ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาตุรกีออตโตมัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
บรรทัด 206: บรรทัด 206:


[[หมวดหมู่:ภาษาในประเทศตุรกี]]
[[หมวดหมู่:ภาษาในประเทศตุรกี]]

{{Link FA|he}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:25, 7 มีนาคม 2558

ภาษาตุรกีออตโตมัน
لسان عثمانى lisân-ı Osmânî
ประเทศที่มีการพูดจักรวรรดิออตโตมัน-ตุรกี
สูญแล้วเปลี่ยนรูปไปเป็นภาษาตุรกีสมัยใหม่
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ แบบจักรวรรดิออตโตมัน
รหัสภาษา
ISO 639-2ota
ISO 639-3ota

ภาษาตุรกีออตโตมัน (ภาษาอังกฤษ: Ottoman Turkish; ภาษาตุรกี: Osmanlıca หรือ Osmanlı Türkçesi; ภาษาตุรกีออตโตมัน: لسان عثمانی‎ lisân-ı Osmânî) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาตุรกีที่เคยเป็นภาษาในการปกครองและภาษาเขียนในจักรวรรดิออตโตมัน เป็นภาษาที่มีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียมาก เขียนด้วยอักษรอาหรับ ภาษานี้ไม่เป็นที่เข้าใจในหมู่ชาวตุรกีที่มีการศึกษาต่ำ[2] อย่างไรก็ตาม ภาษาตุรกีที่ใช้พูดในทุกวันนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาตุรกีออตโตมันเช่นกัน

โครงสร้าง

เช่นเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆที่ใช้พูดในหมู่ชาวมุสลิม คำยืมภาษาอาหรับไม่ได้เกิดจากการติดต่อกันโดยตรงระหว่างภาษาตุรกีออตโตมันกับภาษาอาหรับ แต่มีหลักฐานว่ามาจากการเปลี่ยนเสียงตามแบบภาษาเปอร์เซียสำหรับคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ การที่ยังคงรักษาการลักษณะการออกเสียงของการยืมคำจากภาษาอาหรับแบบนี้ไว้ได้ แสดงว่ามีการแพร่หลายของผู้พูดภาษาเปอร์เซียที่มีคำจากภาษาอาหรับอยู่มากเข้ามาในบริเวณนี้ ก่อนการก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมัน ชนกลุ่มนี้เคยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเปอร์เซียก่อนจะอพยพมาทางตะวันตกเข้ามายังบริเวณที่ชนเผ่าเตอร์กอาศัยอยู่ ภาษาตุรกีออตโตมันมีคำยืมภาษาอาหรับที่มีรูปแบบของภาษาเปอร์เซียในแบบเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆที่เคยมีการติดต่อค้าขายกับชาวอาหรับเช่น ภาษาตาตาร์และภาษาอุยกูร์ ภาษาตุรกีออตโตมันมี 3 ระดับคือ

  • Fasih Türkçe: เป็นภาษาที่ใช้ในกวีนิพนธ์และการปกครอง
  • Orta Türkçe: เป็นภาษาที่ใช้สำรับชนชั้นสูงและการค้าขาย
  • Kaba Türkçe: เป็นภาษาสำหรับคนชั้นต่ำ

คนที่ใช้ภาษาทั้งสามระดับจะมีจุดประสงค์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น อาลักษณ์จะใช้คำจากภาษาอาหรับ Arabic asel (عسل) เพื่อหมายถึงน้ำผึ้งเมื่อเขียนเอกสาร แต่จะใช้คำพื้นเมืองภาษาตุรกี bal เมื่อต้องการซื้อน้ำผึ้ง

ภาษาไทย/อังกฤษ ตุรกีออตโตมัน ตุรกีสมัยใหม่
obligatory واجب vâcib zorunlu
hardship مشکل müşkül güçlük, zorluk
เมือง شهر şehir kent/şehir
สงคราม جنگ cenk savaş

ประวัติศาสตร์

ภาษาตุรกีออตโตมันแบ่งเป็นสามยุคคือ

  • Eski Osmanlı Türkçesi เป็นภาษาที่ใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่ 21 มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับภาษาตุรกีที่ใช้โดยเซลจุกและถือเป็นส่วนหนึ่งของภาษาตุรกีอนาโตเลียโบราณ
  • Orta Osmanlı Türkçesi เป็นภาษายุคกลางหรือภาษาตุรกีออตโตมันคลาสสิก เป็นภาษาที่ใช้ในกวีนิพนธ์และการปกครองตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 จนถึงยุคของตันซิมัต เป็นรูปแบบของภาษาตุรกีออตโตมันในความรู้สึกของคนทั่วไป
  • Yeni Osmanlı Türkçesi ภาษายุคใหม่ เป็นภาษาที่เปลี่ยนรูปไปในช่วง พ.ศ. 2393 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 25 โดยได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของโลกตะวันตก

การเปลี่ยนรูปของภาษา

ใน พ.ศ. 2471 หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการจัดตั้งสาธารณรัฐตุรกี ได้มีการเปลี่ยนรูปของภาษาโดยมุสตาฟา เกมาล อตาเตอร์ก โดยการแทนที่คำยืมภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับด้วยคำดั้งเดิมในภาษาตุรกีที่มีความหมายเหมือนกัน และใช้อักษรละตินแทนอักษรอาหรับ ถือเป็นการสร้างภาษาตุรกีรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของชาติในยุคหลังจักรวรรคิออตโตมัน

มรดก

ภาษาตุรกีออตโตมันไม่ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของภาษาตุรกีสมัยใหม่ ความแตกต่างที่สำคัญของภาษาตุรกีทั้งสองแบบนี้คือการสร้างคำประกอบตามแบบไวยากรณ์ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียในภาษาแบบออตโตมัน ตัวอย่างเช่น คำว่า takdîr-i ilâhî เป็นการสร้างคำแบบภาษาเปอร์เซีย ภาษาตุรกีสมัยใหม่จะเป็น ilâhî takdîr

อักษร

ภาษาตุรกีออตโตมันเขียนด้วยอักษรอาหรับแบบจักรวรรดิออตโตมันแต่ก็มีภาษาตุรกีออตโตมันที่เขียนด้วยอักษรอาร์เมเนียด้วย เช่น นวนิยายเรื่อง Akabi ที่เป็นนิยายเรื่องแรกในจักรวรรดิออตโตมันเขียนเมื่อ พ.ศ. 2394 ใช้อักษรอาร์เมเนียนอกจากนั้น ยังเคยมีการเขียนภาษานี้ด้วยอักษรกรีก และอักษรฮีบรูแบบราชี ซึ่งใช้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิมที่พูดภาษากรีกยังนิยมเขียนภาษาตุรกีออตโตมันด้วยอักษรกรีก

ตัวเดี่ยว ท้ายคำ กลางคำ ต้นคำ ชื่อ ALA-LC Transliteration ภาษาตุรกีสมัยใหม่
elif a, â a, e
hemze ˀ ', a, e, i, u, ü
be b, p b
pe p p
te t t
se s s
cim c, ç c
çim ç ç
ha h
h
dal d d
zel z z
re r r
ze z z
je j j
sin s s
şın ş ş
sad s
ﺿ dad ż, d, z
t
z
ayın ʿ ', h
gayın ġ g, ğ
fe f f
kaf k
kef k, g, ñ k, g, ğ, n
gef¹ g g, ğ
nef, sağır (deaf) kef ñ n
lam l l
mim m m
nun n n
vav v, o, ô, ö, u, û, ü v, o, ö, u, ü
he h, e, a h, e, a
lamelif la
ye y, ı, i, î y, ı, i

1A correct Ottoman variant of gef will have the "mini-kaf" of ﻙ and the doubled upper stroke of گ. This feature is surely rare in current fonts.


การศึกษาเกี่ยวกับภาษาตุรกีออตโตมัน

ในปัจจุบันยังมีการเรียนการสอนภาษาตุรกีออตโตมันอยู่ทั่วโลก ชาวตุรกียังคงเรียนภาษานี้ในฐานะภาษาคลาสสิกที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

อ้างอิง

  1. Ethnologue
  2. Glenny, M "The Balkans - Nationalism, War, and the Great Powers, 1804-1999", Penguin, New York 2001. pg99

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ห้องเรียนออนไลน์

ข้อมูลออนไลน์

พจนานุกรมตุรกีออตโตมันออนไลน์