ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบอบทักษิณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jittat (คุย | ส่วนร่วม)
Jittat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4: บรรทัด 4:


== คำจำกัดความ ==
== คำจำกัดความ ==
[[เกษียร เตชะพีระ]] เป็นผู้ให้นิยามคำว่าระบอบทักษิณ<ref>เกษียร เตชะพีระ, "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุนจากการเลือกตั้ง", [[มติชน (หนังสือพิมพ์)|มติชนรายวัน]] ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2546. อ้างอิงตาม เกษียร เตชะพีระ, "ระบอบทักษิณ", [[ฟ้าเดียวกัน]] ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มค-มีค 2547.</ref>เป็นคนแรก{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} โดยนิยามว่าเป็นระบอบอาญาสิทธิทุนนิยมจากการเลือกตั้ง (elected capitalist absolutism) โดยอธิบายองค์ประกอบออกเป็นส่วนคือ 1. มีลักษณะสมบูรณาญาสิทธิทุนในแง่การใช้อำนาจการเมือง 2. มีหัวหน้าฝ่ายบริหารทางการเมืองของชนชั้นนายทุน
[[เกษียร เตชะพีระ]] เป็นผู้ให้นิยามคำว่าระบอบทักษิณ<ref>เกษียร เตชะพีระ, "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุนจากการเลือกตั้ง", [[มติชน (หนังสือพิมพ์)|มติชนรายวัน]] ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2546. อ้างอิงตาม เกษียร เตชะพีระ, "ระบอบทักษิณ", [[ฟ้าเดียวกัน]] ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มค-มีค 2547.</ref>เป็นคนแรก{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} โดยนิยามว่าเป็นระบอบอาญาสิทธิทุนนิยมจากการเลือกตั้ง (elected capitalist absolutism) โดยคำนิยามดังกล่าวสามารถแยกอธิบายองค์ประกอบออกเป็นสองส่วนคือ 1. มีลักษณะสมบูรณาญาสิทธิทุนในแง่การใช้อำนาจการเมือง 2. มีหัวหน้าฝ่ายบริหารทางการเมืองของชนชั้นนายทุน


หลังจากนั้นได้มีการพยายามให้นิยามกับคำว่าระบอบทักษิณอีกหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น ในความคิดของ อ. [[แก้วสรร อติโพธิ]] ได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ <ref>[http://files.thaiday.com/download/stop.pdf คำจำกัดความและรายละเอียดของระบอบทักษิณ โดย อ.แก้วสรร อติโพธิ]</ref> ดังนี้
หลังจากนั้นได้มีการพยายามให้นิยามกับคำว่าระบอบทักษิณอีกหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น ในความคิดของ อ. [[แก้วสรร อติโพธิ]] ได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ <ref>[http://files.thaiday.com/download/stop.pdf คำจำกัดความและรายละเอียดของระบอบทักษิณ โดย อ.แก้วสรร อติโพธิ]</ref> ดังนี้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:06, 3 มิถุนายน 2550

ระบอบทักษิณ (Thaksinocracy) เป็นคำนิยามที่นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์และนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ตั้งขึ้นเพื่อนิยามการปกครองของประเทศไทยภายใต้การปกครองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าเป็นระบอบที่ยึดกับความคิดและตัวตนของ พ.ต.ท.ทักษิณ จนไม่สนใจถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประเทศแปรสภาพไปอยู่ในรูปแบบของเผด็จการรัฐสภา มุ่งโจมตีนโยบายในการบริหารประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเพิ่มความชอบธรรมให้กับเหตุการณ์การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นในช่วงพ.ศ. 2548-2549 อย่างไรก็ตาม คำนิยามนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนที่ต้องการขับไล่พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น

คำจำกัดความ

เกษียร เตชะพีระ เป็นผู้ให้นิยามคำว่าระบอบทักษิณ[1]เป็นคนแรก[ต้องการอ้างอิง] โดยนิยามว่าเป็นระบอบอาญาสิทธิทุนนิยมจากการเลือกตั้ง (elected capitalist absolutism) โดยคำนิยามดังกล่าวสามารถแยกอธิบายองค์ประกอบออกเป็นสองส่วนคือ 1. มีลักษณะสมบูรณาญาสิทธิทุนในแง่การใช้อำนาจการเมือง 2. มีหัวหน้าฝ่ายบริหารทางการเมืองของชนชั้นนายทุน

หลังจากนั้นได้มีการพยายามให้นิยามกับคำว่าระบอบทักษิณอีกหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น ในความคิดของ อ. แก้วสรร อติโพธิ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ [2] ดังนี้ 1. ยักยอกรัฐธรรมนูญ ยึดครองประชาธิปไตย การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวพันธ์หรือมีผลประโยชน์แอบแฝงเพื่อหมู่คณะของตนเอง, 2. หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ สร้างกระแสระบบทุนนิยมโดยลืมความเป็นรากเหง้าความเป็นไทย, 3 โกงกินชาติบ้านเมือง ปัญหาคอรัปชั่นจำนวนมากมายไม่ได้แก้ไข ทำผลธุรกิจแอบแฝง, 4. ทำให้บ้านเมืองสิ้นความสงบสุข เป็นตัวกลางในการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในประเทศชาติ

สาเหตุของการกล่าวหา

ประเด็นที่กลุ่มเครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณใช้อ้างเป็นเหตุผลในการขับไล่[5]

  • ผลประโยชน์ทับซ้อน
  • ปกปิดข้อมูลข่าวสาร
  • ทำผิดจริยธรรม
  • นโยบายสร้างปัญหา
  • รวยผิดปกติ
  • เอฟทีเอแลกผลประโยชน์
  • ปัญหาภาคใต้
  • วาทะปากพาแตกแยก
  • แปรรูปผิด ไม่รับผิด
  • คนรอบข้างยังชิงลาออก
  • นโยบายประชานิยม
  • การทำเอฟทีเอ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. เกษียร เตชะพีระ, "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุนจากการเลือกตั้ง", มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2546. อ้างอิงตาม เกษียร เตชะพีระ, "ระบอบทักษิณ", ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มค-มีค 2547.
  2. คำจำกัดความและรายละเอียดของระบอบทักษิณ โดย อ.แก้วสรร อติโพธิ
  3. คำสั่งศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาฯ
  4. ประมวลข่าว ลิ่วล้อเคลื่อนพล-ระดมฟ้อง"สนธิ"หมิ่นฯ! และกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธานในพิธีทำบุญประเทศ ภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  5. เว็บไซต์ของกลุ่มเครือข่ายฯ
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย