ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดุสิต ศิริวรรณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Misssuree (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขภาพที่เหมาะสม เพิ่มเติม เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่บุคคลที่อ้างถึง
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
| name = ดุสิต ศิริวรรณ
| name = ดุสิต ศิริวรรณ
| image = Dusit s.jpg
| image = Dusit1.JPG
| imagesize = 150 px
| imagesize = 200 px
| order = [[รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]]
| order = [[รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]]
| primeminister = [[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]]
| primeminister = [[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:39, 2 กุมภาพันธ์ 2558

ดุสิต ศิริวรรณ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520
นายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร
ก่อนหน้าสุรินทร์ มาศดิตถ์
นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์
ถัดไปบุญเรือน บัวจรูญ
สมพร บุญยคุปต์
ถวิล รายนานนท์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
นายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร
ก่อนหน้าวีระ มุสิกพงศ์
ถัดไปกำจัด กีพานิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 (78 ปี)
ศาสนาพุทธ

ดุสิต ศิริวรรณ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ประวัติ

ดุสิต ศิริวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4010

ประวัติงานราชการประจำ

  1. อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
  2. อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา
  3. ไปช่วยราชการเป็นอาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. ไปช่วยราชการเป็นที่ปรึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)

งานการเมือง

ดุสิต ศิริวรรณ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรี(ครม.) คณะที่ 39 ของประเทศไทย [1] และปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ในระหว่างปี พ.ศ. 2519- พ.ศ. 2520 เป็นอดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2516 อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ.2534 - 2535 และอดีตสมาชิกวุฒิสภาสองสมัยระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2543 [2] [3]

คดีหมิ่นประมาทอดีตรองผู้ว่าฯ กทม.

ดุสิต ศิริวรรณ และนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งร่วมกันจัดรายการโทรทัศน์ "เช้าวันนี้ที่เมืองไทย" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) และ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ถูกนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา โดยทั้งสองกล่าวหาว่านายสามารถทุจริตในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครในรายการโทรทัศน์[4]

ศาลมีคำวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้งคู่เป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ทั้งนี้สมัครได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วหลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่สมัครกลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก ศาลมีคำสั่งจำคุกสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ รวม 4 กระทง ๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และนายดุสิต ศิริวรรณ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และใช้เงินสด 200,000 บาท ประกันตัวไป

ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของนายสมัคร สุนทรเวช เนื่องจากถึงแก่ความตาย สำหรับกรณีของนายดุสิต ศิริวรรณ นั้น ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ให้แก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นให้รอการกำหนดโทษ เนื่องจากการกระทำของนายดุสิตฯ ตามที่โจทก์ฟ้องนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม นอกจากนี้ นายดุสิตฯ ได้ประกอบคุณงามความดี ตลอดจนไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่พิพากษาให้ลงโทษจำคุกนายดุสิตฯ นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยจึงพิพากษาแก้ให้รอการกำหนดโทษเป็นระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 [6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศวันที่ 22 ตุลาคม 2519 [1]
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  3. วาระการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา 2543
  4. สองคู่หูกอดคอกันตาย 'ศาลสั่งจำคุก 2ปี' จาก กรุงเทพธุรกิจ 12 เมษายน พ.ศ. 2550
  5. คำพิพากษา สมัคร สุนทรเวช /ดุสิต ศิริวรรณ สำเนาจาก ผู้จัดการออนไลน์ 12 เมษายน 2550
  6. อ้างอิงจาก : คำพิพากษาฎีกาที่ 7251/2556 วันที่ 27 พฤษภาคม 2556 คดีระหว่างนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ โจทก์ นายสมัคร สุนทรเวช ที่ 1 นายดุสิต ศิริวรรณ ที่ 2 จำเลย
  7. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ จำนวน ๔,๘๙๖ ราย) เล่ม 116 ตอนที่ 20ข วันที่ 2 ธันวาคม 2542
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๑)