ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระทิง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
| binomial_authority = ([[Charles Hamilton Smith|Smith]], [[ค.ศ. 1827|1827]])
| binomial_authority = ([[Charles Hamilton Smith|Smith]], [[ค.ศ. 1827|1827]])
| subdivision_ranks = [[ชนิดย่อย]]
| subdivision_ranks = [[ชนิดย่อย]]
| subdivision = {{hidden begin|ชนิืดย่อย}}
| subdivision = {{hidden begin|ชนิดย่อย}}
* ''B. g. laosiensis''<br />
* ''B. g. laosiensis''<br />
* '' B. g. gaurus''<br />
* '' B. g. gaurus''<br />
บรรทัด 60: บรรทัด 60:


== พฤติกรรม ==
== พฤติกรรม ==
[[File:Indian gaur at Mysore zoo.jpg|thumb|left|กระทิงในสวนสัตว์]]
[[ไฟล์:Indian gaur at Mysore zoo.jpg|thumb|left|กระทิงในสวนสัตว์]]
[[ภาพ:Herd of Gaur at Bandipur national park.JPG|thumb|left|ฝูงกระทิงที่[[Bandipur National Park|อุทยานแห่งชาติบันดิปอร์]] อินเดีย]]
[[ภาพ:Herd of Gaur at Bandipur national park.JPG|thumb|left|ฝูงกระทิงที่[[Bandipur National Park|อุทยานแห่งชาติบันดิปอร์]] อินเดีย]]
มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกตั้งแต่ 2-60 ตัว สมาชิกในฝูงประกอบด้วยตัวเมียและลูก บางครั้งอาจเข้าไปหากินรวมฝูงกับ[[วัวแดง]] (''B. javanicus'') หรือสัตว์กินพืชชนิดอื่น ตัวผู้มักอาศัยอยู่ตามลำพังแต่จะเข้าไปอยู่รวมฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ฝูงกระทิงจะเดินหากินสลับไปกับการนอนหลับพักผ่อนตลอดทั้งวัน โดยบางตัวจะนอนหลับท่ายืนหรือนอนราบกับพื้น สามารถอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า ทั้ง[[ป่าเบญจพรรณ]], [[ป่าเต็งรัง]], [[ป่าดิบ|ป่าดิบแล้ง]], [[ป่าดิบ|ป่าดิบเขา]] หรือบางครั้งก็อาจเข้าไปหากินอยู่ตามไร่ร้างหรือป่าที่อยู่ในสภาพฟื้นฟูจากการทำลาย มักหากินอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเนื่องจากอดน้ำไม่เก่ง ช่วงฤดูหลังไฟไหม้ป่า จะออกหากินยอดไม้อ่อนและหญ้าระบัดที่มีอยู่มากตามทุ่งหญ้า และป่าเต็งรัง
มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกตั้งแต่ 2-60 ตัว สมาชิกในฝูงประกอบด้วยตัวเมียและลูก บางครั้งอาจเข้าไปหากินรวมฝูงกับ[[วัวแดง]] (''B. javanicus'') หรือสัตว์กินพืชชนิดอื่น ตัวผู้มักอาศัยอยู่ตามลำพังแต่จะเข้าไปอยู่รวมฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ฝูงกระทิงจะเดินหากินสลับไปกับการนอนหลับพักผ่อนตลอดทั้งวัน โดยบางตัวจะนอนหลับท่ายืนหรือนอนราบกับพื้น สามารถอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า ทั้ง[[ป่าเบญจพรรณ]], [[ป่าเต็งรัง]], [[ป่าดิบ|ป่าดิบแล้ง]], [[ป่าดิบ|ป่าดิบเขา]] หรือบางครั้งก็อาจเข้าไปหากินอยู่ตามไร่ร้างหรือป่าที่อยู่ในสภาพฟื้นฟูจากการทำลาย มักหากินอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเนื่องจากอดน้ำไม่เก่ง ช่วงฤดูหลังไฟไหม้ป่า จะออกหากินยอดไม้อ่อนและหญ้าระบัดที่มีอยู่มากตามทุ่งหญ้า และป่าเต็งรัง
บรรทัด 67: บรรทัด 67:
สถานะในประเทศไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 พบกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ เช่น เขาแผงม้า ใน[[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]] และ[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา]] ใน[[จังหวัดยะลา]] เป็นต้น สถานะใน[[สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ]] (IUCN) จัดให้อยู่ในระดับ CR (Critically Endangered) หมายถึงมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในพื้นที่ธรรมชาติขณะนี้
สถานะในประเทศไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 พบกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ เช่น เขาแผงม้า ใน[[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]] และ[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา]] ใน[[จังหวัดยะลา]] เป็นต้น สถานะใน[[สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ]] (IUCN) จัดให้อยู่ในระดับ CR (Critically Endangered) หมายถึงมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในพื้นที่ธรรมชาติขณะนี้


ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557 ได้เกิดมีวัวสายพันธุ์ฺใหม่เกิดขึ้นจำนวน 4 ตัว เป็นตัวผู้ 3 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว ที่เกิดจากที่กระทิงผสมข้ามสายพันธุ์กับ[[วัวพันธุ์ไทย|วัวบ้านสายพันธุ์พื้นเมือง]] ที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ลูกที่ได้เป็นวัวลูกผสมที่มีรูปร่างใหญ่โต บึกบึน แข็งแรง รูปร่างคล้ายกระทิง แต่ที่ขาทั้ง 4 ข้างไม่มีรอยขาวเหมือนสวมถุงเท้า<ref>{{cite web|url=http://www.thairath.co.th/content/471744|title=ชาวสังขละ แห่ดู 'ลูกวัว'ตัวใหญ่เหมือน'กระทิงป่า'|date=28 December 2014|accessdate=23 January 2015|publisher=ไทยรัฐ}}</ref> และในช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 ก็มีลูกวัวพันธุ์ผสมกรณีคล้ายกันจำนวน 11 ตัว ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างกระทิงน้ำหนัก 1 ตัน กับวัวบ้านสายพันธุ์พื้นเมือง ที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กลายเป็นวัวสายพันธุ์ใหม่ที่มีรูปร่างแข็งแรง ล่ำสัน มีความปราดเปรียว แต่ไม่ดุร้าย ซึ่งในทางวิชาการจะนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อไปในอนาคต<ref>{{cite web|url=http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20150121/630115/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87.html|title=พบวัวสายพันธุ์ใหม่ลูกผสมกระทิงป่า-วัวพันธุ์พื้นเมือง |date=21 January 2015|accessdate=22 January 2015|publisher=กรุงเทพธุรกิจ}}</ref>
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557 ได้เกิดมีวัวสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นจำนวน 4 ตัว เป็นตัวผู้ 3 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว ที่เกิดจากที่กระทิงผสมข้ามสายพันธุ์กับ[[วัวพันธุ์ไทย|วัวบ้านสายพันธุ์พื้นเมือง]] ที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ลูกที่ได้เป็นวัวลูกผสมที่มีรูปร่างใหญ่โต บึกบึน แข็งแรง รูปร่างคล้ายกระทิง แต่ที่ขาทั้ง 4 ข้างไม่มีรอยขาวเหมือนสวมถุงเท้า<ref>{{cite web|url=http://www.thairath.co.th/content/471744|title=ชาวสังขละ แห่ดู 'ลูกวัว'ตัวใหญ่เหมือน'กระทิงป่า'|date=28 December 2014|accessdate=23 January 2015|publisher=ไทยรัฐ}}</ref> และในช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 ก็มีลูกวัวพันธุ์ผสมกรณีคล้ายกันจำนวน 11 ตัว ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างกระทิงน้ำหนัก 1 ตัน กับวัวบ้านสายพันธุ์พื้นเมือง ที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กลายเป็นวัวสายพันธุ์ใหม่ที่มีรูปร่างแข็งแรง ล่ำสัน มีความปราดเปรียว แต่ไม่ดุร้าย ซึ่งในทางวิชาการจะนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อไปในอนาคต<ref>{{cite web|url=http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20150121/630115/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87.html|title=พบวัวสายพันธุ์ใหม่ลูกผสมกระทิงป่า-วัวพันธุ์พื้นเมือง |date=21 January 2015|accessdate=22 January 2015|publisher=กรุงเทพธุรกิจ}}</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:55, 24 มกราคม 2558

กระทิง
กระทิงตัวผู้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Bovinae
สกุล: Bos
สปีชีส์: B.  gaurus
ชื่อทวินาม
Bos gaurus
(Smith, 1827)
ชนิดย่อย
  • B. g. laosiensis
  • B. g. gaurus
  • B. g. readei
  • B. g. hubbacki
  • B. g. frontalis
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Bos asseel Horsfield, 1851
  • Bos cavifrons Hodgson, 1837
  • Bos frontalis Lambert, 1804
  • Bos gaur Sundevall, 1846
  • Bos gaurus Lydekker, 1907 ssp. hubbacki
  • Bos gour Hardwicke, 1827
  • Bos subhemachalus Hodgson, 1837
  • Bubalibos annamiticus Heude, 1901
  • Gauribos brachyrhinus Heude, 1901
  • Gauribos laosiensis Heude, 1901
  • Gauribos mekongensis Heude, 1901
  • Gauribos sylvanus Heude, 1901
  • Uribos platyceros Heude, 1901

กระทิง หรือ เมย[2] (อังกฤษ: Gaur, Indian bison) เป็นวัวป่าชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae

ลักษณะ

มีขนยาว ตัวสีดำหรือดำแกมน้ำตาล เว้นแต่ที่ตรงหน้าผากและครึ่งล่างของขาทั้ง 4 เป็นสีขาวเทา ๆ หรือเหลืองอย่างสีทอง เรีบกว่า "หน้าโพ" ขาทั้ง 4 ข้างตั้งแต่เหนือเข่าลงไปถึงกีบเท้ามีสีขาวเทาหรือเหลืองทอง ทำให้มองดูเหมือนสวมถุงเท้า สีขนของกระทิงบริเวณหน้าผากและถุงเท้าเกิดจากคราบน้ำมันในเหงื่อซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ชนิดนี้ คอสั้น และมีพืม (เหนียงคอ) ห้อยยาวลงมาจากใต้คอ เขามีสีเขียวเข้ม ปลายเขามีสีดบริเวณโคนเขามีรอยย่นซึ่งรอยนี้จะมีมากขึ้นเมื่อสูงวัยขึ้น

กระทิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ลูกที่เกิดขึ้นจะมีสีน้ำตาลแกมแดงเหมือนสีขนของเก้ง มีเส้นสีดำพาดกลางหลัง ลูกกระทิงขนาดเล็กจะยังไม่มีถุงเท้าเหมือนกระทิงตัวโต มีความยาวลำตัวและหัว 250-300 เซนติเมตร หาง 70-105 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ 170-185 เซนติเมตร น้ำหนัก 650-900 กิโลกรัม โดยตัวผู้มีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของจีน, อินเดีย, ภูฐาน, เนปาล, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย โดยแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อย 5 ชนิด

ชนิดย่อย

  • B. g. laosiensis พบในพม่าถึงจีน
  • B. g. gaurus พบในอินเดียและเนปาล
  • B. g. readei
  • B. g. hubbacki พบในไทยและมาเลเซีย
  • B. g. frontalis หรือ กระทิงเขาทุย มีเขาที่สั้น เชื่อว่าเป็นลูกผสมระหว่างกระทิงกับวัวบ้าน พบในอินเดีย

พฤติกรรม

กระทิงในสวนสัตว์
ฝูงกระทิงที่อุทยานแห่งชาติบันดิปอร์ อินเดีย

มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกตั้งแต่ 2-60 ตัว สมาชิกในฝูงประกอบด้วยตัวเมียและลูก บางครั้งอาจเข้าไปหากินรวมฝูงกับวัวแดง (B. javanicus) หรือสัตว์กินพืชชนิดอื่น ตัวผู้มักอาศัยอยู่ตามลำพังแต่จะเข้าไปอยู่รวมฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ฝูงกระทิงจะเดินหากินสลับไปกับการนอนหลับพักผ่อนตลอดทั้งวัน โดยบางตัวจะนอนหลับท่ายืนหรือนอนราบกับพื้น สามารถอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า ทั้งป่าเบญจพรรณ, ป่าเต็งรัง, ป่าดิบแล้ง, ป่าดิบเขา หรือบางครั้งก็อาจเข้าไปหากินอยู่ตามไร่ร้างหรือป่าที่อยู่ในสภาพฟื้นฟูจากการทำลาย มักหากินอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเนื่องจากอดน้ำไม่เก่ง ช่วงฤดูหลังไฟไหม้ป่า จะออกหากินยอดไม้อ่อนและหญ้าระบัดที่มีอยู่มากตามทุ่งหญ้า และป่าเต็งรัง

สถานะ

สถานะในประเทศไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 พบกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ เช่น เขาแผงม้า ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ในจังหวัดยะลา เป็นต้น สถานะในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในระดับ CR (Critically Endangered) หมายถึงมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในพื้นที่ธรรมชาติขณะนี้

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557 ได้เกิดมีวัวสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นจำนวน 4 ตัว เป็นตัวผู้ 3 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว ที่เกิดจากที่กระทิงผสมข้ามสายพันธุ์กับวัวบ้านสายพันธุ์พื้นเมือง ที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ลูกที่ได้เป็นวัวลูกผสมที่มีรูปร่างใหญ่โต บึกบึน แข็งแรง รูปร่างคล้ายกระทิง แต่ที่ขาทั้ง 4 ข้างไม่มีรอยขาวเหมือนสวมถุงเท้า[3] และในช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 ก็มีลูกวัวพันธุ์ผสมกรณีคล้ายกันจำนวน 11 ตัว ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างกระทิงน้ำหนัก 1 ตัน กับวัวบ้านสายพันธุ์พื้นเมือง ที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กลายเป็นวัวสายพันธุ์ใหม่ที่มีรูปร่างแข็งแรง ล่ำสัน มีความปราดเปรียว แต่ไม่ดุร้าย ซึ่งในทางวิชาการจะนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อไปในอนาคต[4]

อ้างอิง

  1. Duckworth, J.W., Steinmetz, R., Timmins, R.J., Pattanavibool, A., Than Zaw, Do Tuoc, Hedges, S. (2008). "Bos gaurus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. กระทิง, แฟ้มสัตว์โลก, โลกสีเขียว
  3. "ชาวสังขละ แห่ดู 'ลูกวัว'ตัวใหญ่เหมือน'กระทิงป่า'". ไทยรัฐ. 28 December 2014. สืบค้นเมื่อ 23 January 2015.
  4. "พบวัวสายพันธุ์ใหม่ลูกผสมกระทิงป่า-วัวพันธุ์พื้นเมือง". กรุงเทพธุรกิจ. 21 January 2015. สืบค้นเมื่อ 22 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Bos gaurus ที่วิกิสปีชีส์