ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โตโยต้า เซ็นจูรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jimmy Classic (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jimmy Classic (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
}}
}}


'''โตโยต้า เซ็นทูรี''' ({{lang-en|Toyota Century}}) เป็น[[รถยนต์]]นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ แบบซีดาน 4 ประตู ที่ผลิตขึ้นเฉพาะตลาดใน[[ประเทศญี่ปุ่น]] ในฐานะ[[รถธง]]ของโตโยต้า จัดเป็นรถยนต์รุ่นที่มีเกียรติภูมิสูงสุดในบรรดารถโตโยต้า, เล็กซัส รวมถึงยี่ห้อในเครือโตโยต้าทั้งหมด
'''โตโยต้า เซ็นทูรี''' ({{lang-en|Toyota Century}}) เป็น[[รถยนต์]]นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ แบบซีดาน 4 ประตู ที่ผลิตขึ้นเฉพาะตลาดใน[[ประเทศญี่ปุ่น]] ในฐานะ[[รถธง]]ของโตโยต้า จัดเป็นรถยนต์รุ่นที่มีเกียรติภูมิสูงสุดในบรรดารถโตโยต้า, เล็กซัส รวมถึงยี่ห้อในเครือโตโยต้าทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบัน เซ็นทูรียังเป็นหนึ่งในรถประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (ร่วมกับ [[เล็กซัส แอลเอส]] 600เอชแอล รุ่นปัจจุบัน), รถในขบวนรัฐพิธี, รถรับรองแขกบ้านแขกเมือง และนอกจากนี้ยังมีรุ่นพิเศษ '''โตโยต้า เซ็นทูรี รอยัล''' ซึ่งเป็นพระราชพาหนะในสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ และยานพาหนะเพื่อการรับรองพระราชอาคันตุกะในสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีญี่ปุ่นอีกด้วย[https://www.youtube.com/watch?v=2qBKUhkfAkI Japanese Emperor's Limousine : Toyota Century Royal]


การผลิตรุ่นแรกเริ่มขึ้นในปี [[ค.ศ. 1967]] ตลอดเวลาที่ผ่านมา รูปลักษณ์ของเซ็นทูรีได้ปรับเปลี่ยนไปเพียงน้อยมาก ซึ่งเซ็นทูรีเอง จัดว่าเป็นรถยนต์ซีดานญี่ปุ่นที่ถูกผลิตขึ้นมาเป็นลำดับที่สาม ภายหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] โดยที่ชื่อ "เซ็นทูรี" นั้น มาจากการครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 100 ของ[[ซะกิชิ โทะโยะดะ]] ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมรถยนต์ในญี่ปุ่นและผู้ก่อตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมโตโยต้า
การผลิตรุ่นแรกเริ่มขึ้นในปี [[ค.ศ. 1967]] ตลอดเวลาที่ผ่านมา รูปลักษณ์ของเซ็นทูรีได้ปรับเปลี่ยนไปเพียงน้อยมาก ซึ่งเซ็นทูรีเอง จัดว่าเป็นรถยนต์ซีดานญี่ปุ่นที่ถูกผลิตขึ้นมาเป็นลำดับที่สาม ภายหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] โดยที่ชื่อ "เซ็นทูรี" นั้น มาจากการครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 100 ของ[[ซะกิชิ โทะโยะดะ]] ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมรถยนต์ในญี่ปุ่นและผู้ก่อตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมโตโยต้า
บรรทัด 83: บรรทัด 83:
เนื่องจากเซ็นทูรี เป็นรถที่หรูหราที่สุดของโตโยต้าตลอดกาล ดังนั้นนับตั้งแต่ปี 1967 แม้จะมีผู้ใช้งานน้อยมาก แต่โตโยต้าก็มีการบำรุงรักษาเซ็นทูรีเป็นอย่างดี เพื่อรักษาสถานภาพนี้ไว้แม้กระทั่งในปัจจุบัน ทุกวันนี้เซ็นทูรีมีเกียรติและศักดิ์ศรีเหนือกว่ารถญี่ปุ่นทุกรุ่นแม้กระทั่ง[[เล็กซัส]] นอกจากนี้ เซ็นทูรียังแบ่งปันฐานะ[[รถธง]] ร่วมกับ[[โตโยต้า คราวน์ มาเจสตา|คราวน์ มาเจสตา]] ที่มีขนาดเกือบจะเท่ากับเซ็นทูรี แต่มีลักษณะบางประการที่ดูทันสมัยมากขึ้นซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าที่มีอายุน้อยกว่า
เนื่องจากเซ็นทูรี เป็นรถที่หรูหราที่สุดของโตโยต้าตลอดกาล ดังนั้นนับตั้งแต่ปี 1967 แม้จะมีผู้ใช้งานน้อยมาก แต่โตโยต้าก็มีการบำรุงรักษาเซ็นทูรีเป็นอย่างดี เพื่อรักษาสถานภาพนี้ไว้แม้กระทั่งในปัจจุบัน ทุกวันนี้เซ็นทูรีมีเกียรติและศักดิ์ศรีเหนือกว่ารถญี่ปุ่นทุกรุ่นแม้กระทั่ง[[เล็กซัส]] นอกจากนี้ เซ็นทูรียังแบ่งปันฐานะ[[รถธง]] ร่วมกับ[[โตโยต้า คราวน์ มาเจสตา|คราวน์ มาเจสตา]] ที่มีขนาดเกือบจะเท่ากับเซ็นทูรี แต่มีลักษณะบางประการที่ดูทันสมัยมากขึ้นซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าที่มีอายุน้อยกว่า


เหมือนกับสุดยอดรถหรูอื่นๆ เซ็นทูรีได้รับการออกแบบให้เอาใจใส่ผู้โดยสารด้านหลังเป็นพิเศษ จะเห็นได้ว่าเบาะหลังสามารถปรับเอนได้และมีระบบนวดในตัว และมีแผงควบคุมระบบอำนวยความสะดวกต่างๆเกือบทุกอย่างในรถอยู่ในพนักพิงแขนด้านหลัง ประตูรถหลังสามารถเปิดเองได้ด้วยระบบไฟฟ้า เซ็นทูรี่รุ่นปัจจุบันนี้ ในปัจจุบันสนนราคาอยู่ที่ 12,080,000 [[เยน]] แต่ในทศวรรษที่แล้ว ราคาสูงกว่าปัจจุบันอยู่มาก
เหมือนกับสุดยอดรถหรูอื่นๆ เซ็นทูรีได้รับการออกแบบให้เอาใจใส่ผู้โดยสารด้านหลังเป็นพิเศษ จะเห็นได้ว่าเบาะหลังสามารถปรับเอนได้และมีระบบนวดในตัว และมีแผงควบคุมระบบอำนวยความสะดวกต่างๆเกือบทุกอย่างในรถอยู่ในพนักพิงแขนด้านหลัง ประตูรถหลังสามารถเปิดเองได้ด้วยระบบไฟฟ้า เซ็นทูรี่รุ่นปัจจุบันนี้ ในปัจจุบันสนนราคาอยู่ที่ 12,080,000 [[เยน]] แต่ในทศวรรษที่แล้ว ราคาสูงกว่าปัจจุบันอยู่มาก


=== การพัฒนาที่สำคัญในรุ่นที่สอง ===
=== การพัฒนาที่สำคัญในรุ่นที่สอง ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:21, 3 มกราคม 2558

Toyota Century
โตโยต้า เซ็นทูรี รุ่นแรก
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโตโยต้า
เริ่มผลิตเมื่อ1967–ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่
รูปแบบตัวถัง4-ประตู ซีดาน
โครงสร้างFR layout

โตโยต้า เซ็นทูรี (อังกฤษ: Toyota Century) เป็นรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ แบบซีดาน 4 ประตู ที่ผลิตขึ้นเฉพาะตลาดในประเทศญี่ปุ่น ในฐานะรถธงของโตโยต้า จัดเป็นรถยนต์รุ่นที่มีเกียรติภูมิสูงสุดในบรรดารถโตโยต้า, เล็กซัส รวมถึงยี่ห้อในเครือโตโยต้าทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบัน เซ็นทูรียังเป็นหนึ่งในรถประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (ร่วมกับ เล็กซัส แอลเอส 600เอชแอล รุ่นปัจจุบัน), รถในขบวนรัฐพิธี, รถรับรองแขกบ้านแขกเมือง และนอกจากนี้ยังมีรุ่นพิเศษ โตโยต้า เซ็นทูรี รอยัล ซึ่งเป็นพระราชพาหนะในสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ และยานพาหนะเพื่อการรับรองพระราชอาคันตุกะในสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีญี่ปุ่นอีกด้วยJapanese Emperor's Limousine : Toyota Century Royal

การผลิตรุ่นแรกเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1967 ตลอดเวลาที่ผ่านมา รูปลักษณ์ของเซ็นทูรีได้ปรับเปลี่ยนไปเพียงน้อยมาก ซึ่งเซ็นทูรีเอง จัดว่าเป็นรถยนต์ซีดานญี่ปุ่นที่ถูกผลิตขึ้นมาเป็นลำดับที่สาม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ชื่อ "เซ็นทูรี" นั้น มาจากการครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 100 ของซะกิชิ โทะโยะดะ ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมรถยนต์ในญี่ปุ่นและผู้ก่อตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมโตโยต้า

เซ็นทูรีรุ่นแรกสุดนั้นมาพร้อมกับเครื่องยนต์ V8 ในขณะที่รุ่นปัจจุบัน เป็นเครื่องยนต์ V12 จัดว่าเป็นรถยนต์ซีดานเพียงรุ่นเดียวของญี่ปุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ขนาดนี้ แม้ว่าเซ็นทูรีจะเป็นรถยนต์ซีดานหรูขนาดใหญ่ที่มีความพิเศษ แต่ก็ไม่ได้มีจำหน่ายในนามหรือศูนย์ฯของเล็กซัส ที่จัดเป็นตรารถยนต์ชั้นหรูของโตโยต้า แต่มีจำหน่ายเฉพาะในศูนย์เครือ Toyota Store เท่านั้น

ลักษณะภายนอกของเซ็นทูรีทั้งสองรุ่นนั้น มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เค้าโครงทั้งหมดยังคงความเป็นเซ็นทูรีแบบรุ่นแรก เนื่องจากเซ็นทูรี่เป็นรถยนต์แสดงถึงการประสบความสำเร็จในเชิงอนุรักษ์นิยมและความเป็นญี่ปุ่นอย่างเข้มข้น รูปโฉมของเซ็นทูรีเป็นที่โดดเด่นในประเทศเอเชียตะวันออก จากการที่มันมีสีดำเงา แม้ว่าในอดีต นิสสัน พรีซิเดนท์ ซึ่งเป็นรถระดับเดียวกัน จัดเป็นคู่แข่งโดยตรงกับเซ็นทูรี แต่พรีซิเดนท์จะประสบความสำเร็จในแนวของความร่วมสมัยและมีความเป็นตะวันตกมากกว่าเซ็นทูรี

เดิมทีนั้น โตโยต้า คราวน์ คือรถยนต์ที่หรูหราที่สุดที่โตโยต้ามี แต่คราวน์นั้นถือเป็นรถประเภทหรูหราขนาดกลาง (ระดับเดียวกับ เมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส, นิสสัน เซดริค, พรินซ์ กลอเรีย) แต่ต่อมา เมื่อตลาดรถญี่ปุ่นเริ่มมีบุคคลชั้นสูงต้องการยานยนต์ที่มีเทคโนโลยีและความหรูหรามากขึ้นจนกระทั่งรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นเท่าที่มีขณะนั้นยังไม่สามารถตอบสนองได้ ดังนั้น ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นหลายรายจึงเริ่มสร้างรถยนต์ที่มีความหรูหรามากขึ้น ให้เทียบเท่ารถยนต์ประเภทหรูหราขนาดใหญ่ โดยช่วงแรกมักจะเป็นรุ่นพิเศษของรถยนต์รุ่นที่มีอยู่แล้วไปก่อน เช่น "นิสสัน เซดริก สเปเชียล" เป็นต้น สำหรับโตโยต้าก็เช่นกัน ในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) ได้เปิดตัวรุ่นพิเศษคือ "โตโยต้า คราวน์ 8" ซึ่งมีพื้นฐานมาจากโตโยต้า คราวน์ รุ่นที่สอง (S40) แต่จะมีขนาดตัวถังใหญ่กว่าคราวน์รุ่นปกติ (โดยขนาดขึ้นไปใกล้เคียงกับ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส-คลาส W111 ในยุคเดียวกัน) เครื่องยนต์ 2.6 ลิตร V8 รหัส 3V

นอกจากนี้ Crown 8 ยังติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานมาเป็นจำนวนมาก คือ กระจกหน้าต่างไฟฟ้า, ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ (Cruise Control), ระบบประตูดูดด้วยแม่เหล็ก, เกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด และอีกมากมาย ซึ่งนับเป็นอุปกรณ์ที่หาได้ยากยิ่งในรถยนต์ยุค พ.ศ. 2507 ต่อมา โตโยต้าได้พัฒนาคราวน์ 8 รุ่นที่สอง แต่รุ่นใหม่นี้จะแยกออกมาเป็นรุ่นอิสระไม่ใช้ชื่อคราวน์ 8 อีกต่อไป โดยตั้งชื่อใหม่ว่า เซ็นทูรี นั่นเอง

รุ่นแรก (ค.ศ. 1967-1997)

รุ่นแรก[1]
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อ1967–1997
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง4-ประตู ซีดาน
โครงสร้างFR layout
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์3.0L 3V V8 (1967-1973)
3.4L 4V-U V8 (1973-1982)
4.0L 5V-EU V8 (1982-1997)
ระบบเกียร์3-สปีด ธรรมดา
4-สปีด ธรรมดา
3-สปีด อัตโนมัติ
4-สปีด อัตโนมัติ
มิติ
ระยะฐานล้อ112.2  in (2860  mm)
118.5  in (3010  mm) (L-Type)
ความยาว201.6  in (5120  mm)
207.5  in (5270  mm) (L-Type)
ความกว้าง74.4 in (1890 mm)
ความสูง57.1  in (1450 mm)
น้ำหนัก3885 lb (1760 kg)

เซ็นทูรีปี 1967 มีการติดตั้งเครื่องยนต์ 3.0 L 3V และในปี 1973 ด้วยเครื่องยนต์ 3.4 L 4V-U และก็มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์อีกครั้งเป็น 4.0 L 5V-EU ในปี 1982 พร้อมกับการติดตั้งหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง โปรดทราบว่า 3V, 4V-U และ 5V-EU ไม่ได้หมายถึงจำนวนของหัวสูบในเครื่องยนต์ เป็นเพียงชื่อรุ่นของเครื่องยนต์โตโยต้าเท่านั้น

โตโยต้า เซ็นทูรี รุ่นแรกสามารถครองความประทับใจจากผู้โดยสารเป็นเวลานานกว่า 30 ปีตลอดช่วงเวลาของมัน และไม่ถูกแก้ไขใดๆนอกจากการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์และรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเพื่อความงดงาม เซ็นทูรีมีการผลิตในจำนวนจำกัด และในด้านการผลิตนั้น เซ็นทูรียังเข้าข่ายค่านิยมในกลุ่มผลิตภัณฑ์ "เกือบทำมือ" ด้วยความเป็นที่สุดของเซ็นทูรีนี้เอง ทำให้มันถูกใช้เป็นรถยนต์สำหรับสมาชิกพระราชวงศ์, นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น, บุคคลสำคัญในรัฐบาล และผู้บริหารระดับสูง

การพัฒนาที่สำคัญในรุ่นแรก

  • 1973: VG21; ระบบการล็อคแม่เหล็กไฟฟ้า, ไฟท้าย และ จานเบรกด้านหน้ามีการเปลี่ยนแปลง
  • 1975: แผนการยกเลิกระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา
  • 1982: การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจำนวนมากทั้งภายในและภายนอก อาทิเปลี่ยนมาเป็นเครื่องยนต์ 3400cc แบบ 4V-EU และ 4000cc แบบ 5V-EU
  • 1987: การเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก และระบบเกียร์ นำมิเตอร์แบบดิจิตอลมาใช้
  • 1992: ปรับแต่งกระจังหน้าและล้อ, โปรแกรมควบคุมถุงลมนิรภัย
  • 1994: เสาอากาศในตัวบริเวณหน้าต่างหลัง

รหัสแชสซีของรุ่นแรก

  • VG20: 3.0 L 3V V8, 1967–1973
  • VG21: 3.4 L 4V-U V8, 1973
  • VG30: 3.4 L 4V-U V8, 1973–1977
  • C-VG30: 1977
  • E-VG35: 1978–1982
  • VG40: 4.0 L 5V-EU V8, 1982–1997
  • VG45: 4.0 L 5V-EU V8 (L-Type) 1990-1997

รุ่นที่สอง (ค.ศ. 1997-ปัจจุบัน)

รุ่นที่สอง[2]
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อ1997–ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง4-ประตู ซีดาน
โครงสร้างFR layout
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์5.0 L 1GZ-FE V12, 280 PS (206 kW; 276 hp)
ระบบเกียร์5-สปีด อัตโนมัติ
6-สปีด อัตโนมัติ
มิติ
ระยะฐานล้อ3,025 mm (119.1 in)
ความยาว5,270 mm (207 in)
ความกว้าง1,890 mm (74 in)
ความสูง1,475 mm (58.1 in)
น้ำหนัก1,990 kg (4,390 lb)

เซ็นทูรีได้รับการออกแบบอย่างสมบูรณ์ในปี 1997 แม้ว่ารูปลักษณ์ใหม่จะมีลักษณะคล้ายกับรุ่นแรกมาก แต่ในรุ่นปัจจุบันนี้ ถูกขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 280 PS (206 kW; 276 แรงม้า) 5.0 L 1GZ-FE V12 ที่มาพร้อมกับเกียร์ 5-สปีด อัตโนมัติ และ 6-สปีด อัจฉริยะ นอกจากนี้ยังมีระบบช่วงล่างแบบถุงลม (air suspension) เซ็นทูรีรุ่นใหม่นี้ ถือเป็นรถยนต์ญี่ปุ่นรุ่นแรก ที่มีเครื่องยนต์ V12 อยู่ด้านหน้า

เนื่องจากเซ็นทูรี เป็นรถที่หรูหราที่สุดของโตโยต้าตลอดกาล ดังนั้นนับตั้งแต่ปี 1967 แม้จะมีผู้ใช้งานน้อยมาก แต่โตโยต้าก็มีการบำรุงรักษาเซ็นทูรีเป็นอย่างดี เพื่อรักษาสถานภาพนี้ไว้แม้กระทั่งในปัจจุบัน ทุกวันนี้เซ็นทูรีมีเกียรติและศักดิ์ศรีเหนือกว่ารถญี่ปุ่นทุกรุ่นแม้กระทั่งเล็กซัส นอกจากนี้ เซ็นทูรียังแบ่งปันฐานะรถธง ร่วมกับคราวน์ มาเจสตา ที่มีขนาดเกือบจะเท่ากับเซ็นทูรี แต่มีลักษณะบางประการที่ดูทันสมัยมากขึ้นซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าที่มีอายุน้อยกว่า

เหมือนกับสุดยอดรถหรูอื่นๆ เซ็นทูรีได้รับการออกแบบให้เอาใจใส่ผู้โดยสารด้านหลังเป็นพิเศษ จะเห็นได้ว่าเบาะหลังสามารถปรับเอนได้และมีระบบนวดในตัว และมีแผงควบคุมระบบอำนวยความสะดวกต่างๆเกือบทุกอย่างในรถอยู่ในพนักพิงแขนด้านหลัง ประตูรถหลังสามารถเปิดเองได้ด้วยระบบไฟฟ้า เซ็นทูรี่รุ่นปัจจุบันนี้ ในปัจจุบันสนนราคาอยู่ที่ 12,080,000 เยน แต่ในทศวรรษที่แล้ว ราคาสูงกว่าปัจจุบันอยู่มาก

การพัฒนาที่สำคัญในรุ่นที่สอง

  • 2003: มีเซ็นทูรี รุ่นใช้ก๊าซ CNG ที่ใช้เครื่องยนต์ 1GZ-FNE
  • 2005: ระบบส่งกำลังแบบ 6-สปีด อัตโนมัติ, เครื่องเล่นดีวีดี
  • 2006: ไฟเบรก แบบ แอลอีดี
  • 2008: ไฟหน้าแบบ Multi-reflex (ไฟต่ำเท่านั้น), มีเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์
  • 2010: ระบบนำทางด้วยเสียง, กระจกแบบพิเศษตัดรังสี UV และอินฟราเรด, ฉนวนกันเสียงคุณภาพสูง

เซ็นทูรี รอยัล

Toyota Century Royal
เซ็นทูรี รอยัล ยามทำหน้าที่รถยนต์พระที่นั่ง
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อ2006
4 คัน
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง4-ประตู ลีมูซีน
โครงสร้างFR layout
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์5.0 L V12 1GZ-FE
ระบบเกียร์6-สปีด อัตโนมัติ (6 Super ECT)
มิติ
ระยะฐานล้อ3,025 mm (119.1 in))
ความยาว6,155 mm (242.3 in)
ความกว้าง2,050 mm (81 in)
ความสูง1,770 mm (70 in)
น้ำหนัก2,920 kg (6,440 lb)

โตโยต้า เซ็นทูรี รอยัล เป็นรถยนต์พระราชพาหนะประจำสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ

เซ็นทูรี รอยัล เป็นเซ็นทูรีที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ สนนราคาอยู่ที่ 52,500,000 เยน ซึ่งถูกผลิตตามคำร้องขอจากสำนักพระราชวังญี่ปุ่น[3] เพื่อใช้งานเป็นรถยนต์พระที่นั่งสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง เซ็นทูรีรุ่นพิเศษนี้ ภายในห้องโดยสาร เบาะถูกหุ้มด้วยหนังสัตว์ชนิดพิเศษ รองเยื้องก้าวตรงขอบประตูด้วยแกรนิต หลังคาถูกบุด้วยกระดาษสา ในด้านสมรรถนะ ใช้เครื่องยนต์ร่วมกับเซ็นทูรี รุ่นที่สอง 5.0 L-V12 280 แรงม้า (206 kW; 276 bhp) ในด้านการรักษาความปลอดภัยก็เป็นไปตามมาตรฐานของรถสำหรับผู้นำประเทศ

เดิมที โตโยต้าจะผลิตเซ็นทูรี รอยัล เป็นจำนวนเพียง 5 คันตามคำร้อง แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูงและเกินความจำเป็น จึงได้ผลิตออกมาเพียง 4 คันเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในสี่นี้ เป็นรถสำหรับรับ-ส่งผู้นำต่างประเทศ หรือแขกในพระองค์ มายังพระราชวังโตเกียว ในโอกาสที่เข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิ

อ้างอิง

  1. Toyota Century, Japanese sales brochure, circa 1990
  2. Toyota Century (second generation), Japanese sales brochure, #TB0018-0105 (2001)
  3. "Goryō new vehicles - the Imperial Household Management Division" (ภาษาญี่ปุ่น). 2006-07-12. สืบค้นเมื่อ 2009-11-14.

แหล่งข้อมูลอื่น